อำเภอสวรรคโลกตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอต่าง ๆ ดังนี้
แหล่งน้ำที่สำคัญของอำเภอคือ แม่น้ำยม อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 32.92 องศาเซลเซียส ต่ำสุดอยู่ที่ 22.59 องศาเซลเซียส ในถดูหนาวอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 12 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนทั้งปี 1,233.10 มิลลิเมตร (พ.ศ. 2547)
เมืองสวรรคโลกเดิมตั้งอยู่ขึ้นไปทางทิศเหนือตามลำน้ำยม (บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยในปัจจุบัน) ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงในนาม "เมืองศรีสัชนาลัย" ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาประมาณปี พ.ศ. 1994 พระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา ได้ยกทัพมายึดเมืองศรีสัชนาลัย และได้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้เป็น "เมืองเชียงชื่น" ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2017 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตีเมืองเชียงชื่นคืนได้สำเร็จและทรงเปลี่ยนชื่อเมืองเชียงชื่นเป็น "เมืองสวรรคโลก" นับแต่บัดนั้น
ในสมัยกรุงธนบุรีถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองสวรรคโลกนั้นถูกพม่าข้าศึกเข้ามาตีบ่อยครั้ง เจ้าเมืองสวรรคโลกจึงตัดสินใจย้ายที่ตั้งเมืองมาตั้งอยู่ที่บ้านท่าชัย (ในเขตตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัยปัจจุบัน) ต่อมาราว พ.ศ. 2379 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เมืองสวรรคโลกมีปลัดปกครองนามว่า "นาค" ได้นำงาช้างเนียมไปถวายพระเจ้าอยู่หัว เกิดความดีความชอบ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระยาสวรรคโลก มีบรรดาศักดิ์เป็น พระยาวิชิตภักดี (ต้นตระกูลวิชิตนาค) ได้ใช้บ้านพักหรือจวนที่บ้านวังไม้ขอน เป็นที่ว่าการเมืองสวรรคโลก ดังนั้นเมืองสวรรคโลกจึงย้ายมาจากบ้านท่าชัยมาตั้งรกรากที่เมืองสวรรคโลกใหม่ (สวรรคโลกปัจจุบัน) นับแต่นั้นมา
ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2459 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อเมืองสวรรคโลกเป็น จังหวัดสวรรคโลก มีอำเภอในการปกครอง 2 อำเภอ คือ อำเภอสวรรคโลกและอำเภอศรีสัชนาลัย และในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยุบจังหวัดสุโขทัยให้มาอยู่ในความปกครองของจังหวัดสวรรคโลก จังหวัดสวรรคโลกจึงมีอำเภออยู่ในความปกครอง 5 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่
ราวเดือนเมษายน พ.ศ. 2482 กระทรวงมหาดไทยสั่งยุบจังหวัดสวรรคโลกให้ไปตั้งจังหวัดสุโขทัย ฐานะของจังหวัดสวรรคโลกจึงถูกลดให้เป็น อำเภอสวรรคโลก นับแต่นั้นมา แต่ถึงแม้ว่าจังหวัดสวรรคโลกจะถูกยุบไปแล้วแต่ชื่อ "จังหวัดสวรรคโลก" ยังปรากฏกับสถานที่ราชการสองแห่งคือ ศาลจังหวัดสวรรคโลกและสำนักงานอัยการจังหวัดสวรรคโลก และชื่อ "เมืองสวรรคโลก" ก็ปรากฏกับสถานที่สองแห่งคือ เทศบาลเมืองสวรรคโลกและโรงเรียนเทศบาลเมืองสวรรคโลก
สรุปแล้ว นับแต่เมืองสวรรคโลกมีผู้ปกครองอย่างเป็นทางการคือ พระยาวิชิตภักดี ได้โยกย้ายเมืองสวรรคโลกมาที่สวรรคโลกปัจจุบันตั้งแต่ พ.ศ. 2379 ถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลาทั้งสิ้น 173 ปี
เมืองสวรรคโลกเป็นเมืองเศรษฐกิจการค้าที่สำคัญของจังหวัดสุโขทัย มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก ที่อยู่ในตัวเมืองสวรรคโลก สวนหลวงพระร่วงเฉลิมพระเกียรติ (ทุ่งแม่ระวิง) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (เมืองเก่าสวรรคโลก) อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย (ป่าคา) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (เมืองเก่าสุโขทัย) อุทยานแห่งชาติรามคำแหง (เขาหลวง) และอื่น ๆ อีกมากมาย
ในเขตเทศบาลเมืองสวรรคโลก มีประชากรรวมทั้งสิ้น 18,172 คน แบ่งเป็นชาย 8,671 คน หญิง 9,501 คน ที่อยู่อาศัยจำนวน 5,908 หลังคาเรือน (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2550)
การประกอบอาชีพ: ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านพาณิชยกรรมและบริการทั่วไป (ร้อยละ 2.3 ของพื้นที่) กิจการพาณิชน์ที่เด่นในอำเภอเช่น บริษัท คิว คอร์ปอเรชั่น จำกัด
การเกษตรกรรม (ร้อยละ 29.9 ของพื้นที่) ส่วนใหญ่จะมีการเพาะปลูก-เกษตรกรรมอยู่ในเขตรอบนอกเทศบาล แต่ในเขตเทศบาลจะเป็นศูนย์รวมธุรกิจการค้าพืชไร่ที่สำคัญ จะมีทั้งแหล่งรับซื้อพืชไร่ต่าง ๆ ส่วนการอุตสาหกรรมนั้นมีการอุตสาหกรรมหลายประเภท อาทิ โรงงานสกัดน้ำมันพืช (ศรทอง) โรงงานทำไอศกรีม (จัมโบ้ เอ) โรงงานผลิตและย้อมกระดาษสา โรงสีข้าว โรงงานผลิตน้ำดื่ม ฯลฯ รายได้เฉลี่ยของประชากรต่อปีอยู่ระหว่าง 20,000 ถึง 30,000 บาท
ศาสนา: ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดที่สำคัญในอำเภอ ได้แก่ วัดสว่างอารมณ์วรวิหาร (วัดจวน) และวัดสวรรคาราม (วัดกลาง)
การศึกษา: ในเขตเทศบาลมีโรงเรียนทั้งโรงเรียนสังกัดเทศบาลและเอกชนทั้งสิ้น 9 โรงเรียน แบ่งออกเป็นโรงเรียนสังกัดเทศบาลฯ 5 โรง และโรงเรียนเอกชน 4 โรง คือ โรงเรียนพระหฤทัยสวรรคโลก โรงเรียนอนุบาลเบญจมาศ โรงเรียนป้วยมิ้ง และโรงเรียนกวางวา (นอกเขตมีอย่างเช่น โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา โรงเรียนอนุบาลสวรรคโลก ฯลฯ)
สาธารณสุข: โรงพยาบาล 1 แห่ง (นอกเขตเทศบาล) สถานีอนามัย 1 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุขสังกัดเทศบาล 1 แห่ง คลินิกเอกชนอีก 10 แห่ง
สวนหลวงพระร่วงเฉลิมพระเกียรติ (ทุ่งแม่ระวิง) ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลป่ากุมเกาะ แต่เดิมเคยเป็นหนองน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 830 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นน้ำ 645 ไร่ พื้นดิน 185 ไร่ ลักษณะของสวนนี้เป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบมองเห็นทิวทัศน์ได้ เหมาะสำหรับที่จะพักผ่อน ภายในบริเวณมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ สะพานไม้โบราณ ที่ข้ามอ่างน้ำเกาะกลางทุ่งแม่ระวิง มีความยาว 300 เมตร สักการบูชาพระร่วง ณ วงเวียนประดิษฐานรูปพระร่วง อยู่ปากทางเข้าเกาะกลางทุ่งแม่ระวิง สักการบูชาพระมหาโพธิสัตว์ เจ้าแม่กวนอิม องค์ขนาดใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ นมัสการศาลปู่ก๊อก ข้างที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลป่ากุมเกาะ พักผ่อนศาลาที่พักริมทาง ชมวิวทิวทัศน์รอบเกาะ และเป็นแหล่งศึกษาดูงานหลายด้าน เช่น โครงการเกษตรผสมผสาน ได้แก่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงไก่ พิพิธภัณฑ์ชาวนาแหล่งรวบรวมอุปกรณ์ชาวนาโบราณแสดงถึงวิถีชีวิตของชาวนาสมัยสุโขทัย แปลงสวนสมุนไพรสาธิต เรือนเพาะชำกล้าไม้ นอกจากนั้นภายในบริเวณสวนแห่งนี้มีอาคารเอนกประสงค์ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของดีจังหวัดสุโขทัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลป่ากุมเกาะ โทร. 0 5564 2100
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ก่อกำเนิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของพระสวรรควรนายก (ทองคำ จิตรธร) อดีตเจ้าอาวาสวัดสวรรคาราม (วัดกลาง) และเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย ซึ่งท่านมีความสนใจในการศึกษาและอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรม และได้สะสมโบราณศิลปวัตถุไว้จำนวนมาก กับทั้งได้แสดงเจตนารมณ์ว่าเมื่อมรณภาพแล้ว ให้ยกทรัพย์ที่สินสะสมไว้เป็นสมบัติของชาติ โดยขอให้กรมศิลปากรจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานขึ้นภายในวัดสวรรคาราม
ในปี พ.ศ. 2524 กรมศิลปากรได้รับมอบโบราณวัตถุจากวัดสวรรคารามและได้นำมาจัดแสดงรวมทั้งได้เคลื่อนย้ายโบราณวัตถุจำนวนหนึ่งจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจ ขุดค้น และขุดแต่งทางโบราณคดีในบริเวณเมืองศรีสัชนาลัย โบราณวัตถุประเภทเครื่องถ้วยสังคโลกที่กรมศิลปากรได้จากแหล่งเรืออับปางในอ่าวไทย บริเวณอ่าวสัตหีบ ใกล้เกาะคราม รวมทั้งโบราณวัตถุที่ประชาชนมอบให้ นำมาจัดแสดงไว้ด้วยกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงหลักฐานแห่งความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองที่สืบเนื่องมาแต่อดีตกาล
จากนั้นเมื่อจัดการจัดแสดงตามหลักพิพิธภัณฑ์แล้วเสร็จ กรมศิลปากรได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2527 และเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระสวรรควรนายกผู้อุทิศโบราณศิลปวัตถุให้เป็นสมบัติของชาติ จึงได้ตั้งชื่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินี้ว่า "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก" ภายในมีการจัดแสดงแบ่งออกเป็น 4 หัวเรื่องได้แก่
เปิดให้บริการในวันพุธถึงวันอาทิตย์ เวลา 09.00–16.00 น. ปิดทำการในวันจันทร์ วันอังคาร และในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 30 บาท ยกเว้น พระภิกษุ สามเณร นักบวช และนักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ
สนใจรายละเอียดติดต่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก โทร. 0 5564 1571 (ข้อมูลจากเอกสารให้ความรู้ของพิพิธภัณฑ์)
ตั้งอยู่ที่วัดคุ้งวารี ตำบลย่านยาว เป็นอนุสาวรีย์ทีสร้างขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติแก่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงและอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งจากการสันนิษฐานทางข้อมูลประวัติศาสตร์และลักษณะทางภูมิศาสตร์ บริเวณวัดคุ้งวารีแห่งนี้ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์หรือพ่อขุนบางกลางหาวให้ขณะนั้น ได้นำกองทัพของพระองค์มาพักแรมอยู่ที่นี่ก่อนที่จะเข้าไปโจมตีขอมสบาดโขลญลำโพงที่กำลังปกครองสุโขทัยอยู่ ร่วมกับพ่อขุนผาเมือง แล้วเมื่อศึกเสร็จสิ้น จึงสถาปนาตนขึ้นเป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์แห่งกรุงสุโขทัย
สันนิษฐานว่าเสาไม้นี้เป็นเสาหลักเมืองมาตั้งแต่สมัยของพระยาวิชิตภักดี (นาค) โดยสร้างไว้เป็นหลักเมืองของเมืองสวรรคโลก ครั้นเมื่อเกิดการโยกย้ายเมืองจากบ้านท่าชัยมาที่เมืองสวรรคโลกปัจจุบัน
รวมของพื้นบ้านที่เก่าแก่ของชาวสวรรคโลกไว้ อีกทั้งยังมีห้องเก็บภาพที่ควรจดจำในอดีตของเมืองสวรรคโลกต่างๆ มากมาย อาทิ รูปภาพที่ข้าหลวงประจำจังหวัดร่วมกันถ่ายเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จังหวัดสวรรคโลกจะถูกยุบลงเป็นอำเภอสวรรคโลก อาคารโรงเรียนอนันตนารี (โรงเรียนหญิงล้วนประจำจังหวัด) อาคารโรงเรียนสวรรควิทยา (โรงเรียนชายล้วนประจำจังหวัด) เหตุการณ์ไฟไหม้ในสวรรคโลก การรวมโรงเรียนอนันตนารีและโรงเรียนสวรรควิทยา เป็นโรงเรียนเดียวกันในนาม โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมเยียนพสกนิกรที่สวรรคโลก ฯลฯ
วัดสว่างอารมณ์วรวิหารหรือวัดจวน เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวสวรรคโลกมาแต่ช้านาน เพราะคำว่า "จวน" นั้นมาจากความหมายที่ว่า ที่ว่าการของผู้ปกครอง อันหมายถึงจวนของพระยาวิชิตภักดี พระยาผู้ปกครองเมืองสวรรคโลกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และได้ทำการโยกย้ายเมืองสวรรคโลกมาที่นี่ จึงได้สร้างวัดเพื่อเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองแก่เมืองสวรรคโลกโดยใช้ชื่อว่าวัดสว่างอารมณ์วรวิหารหรือวัดจวนที่ติดปากชาวบ้านเรียกกันจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันวัดสว่างอารมณ์วรวิหารเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญของชาวสวรรคโลก และเป็นที่ที่ใช้จัดงานต่าง ๆ เป็นประจำอีกด้วย
เป็นสถานที่ที่มีบรรยากาศดีมาก เป็นแหล่งประมง และป้องกันน้ำท่วม ปัจจุบันมีผู้ไปเที่ยวเป็นจำนวนมาก
เมืองบางขลังเป็นเมืองที่น่าจะสำคัญที่สุดในแง่ของจุดกำเนิดของชนชาติไทย เพราะเป็นเมืองแรกที่ชนชาติไทยเราตีได้จากขอม จากนั้นจึงได้เมืองสุโขทัยในภายหลัง ปัจจุบันได้รับการบูรณะจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ท่าอากาศยานสุโขทัย (บางกอกแอร์เวย์) อยู่ห่างจากเทศบาลไปทางทิศใต้ตามถนนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองกระจง มีเที่ยวบินเดินทาง ดังนี้