มโนรมย์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยนาท ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ปรากฏว่าเป็น “เมือง” มาก่อนซึ่งสร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยให้ชื่อว่า “เมืองมโนรมย์ ”
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงเล่าเรื่องเกี่ยวกับเมืองมโนรมย์ไว้ในหนังสือ สร้างเมือง ดังนี้ เมืองมโนรมย์เดิมอยู่แขวงเมืองชัยนาท เหตุที่ตั้งขึ้นใหม่เป็นเมืองต่างหากมีตำนานเล่ากันมาในท้องถิ่น ว่าเมื่อรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขุนศรีสิทธิกรรฐ์ปลัดโขลงไปพบช้างเผือกในแขวงศรีสวัสดิ์ และคล้องช้าง เผือกตัวนั้นได้ และในหนังสือพงศาวดารว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชขึ้นไปรับถึงเมืองนครสวรรค์ เมื่อปีจอ (พ.ศ. 2101) เมื่อมาถึงพระนครมีการสมโภชระวางขึ้นเป็นพระอินทร์ไอยรา สมเด็จพระนารายณ์ทรงถามขุนศรี สิทธิกรรฐ์ผู้ซึ่งทำการคล้องช้างเผือกตัวนั้นได้ว่า ต้องการอะไรเป็นสิ่งตอบแทนทำความดีความชอบ ขุนศรีสิทธิกรรฐ์กราบทูลว่า “ อยากเป็นเจ้าเมือง ” สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระสรวลแล้วตรัสว่า “มันอยาก เป็นเจ้าเมืองก็ให้มันเป็น” จึงโปรดแบ่งพื้นที่ในแขวงเมืองชัยนาทให้ปกครองซึ่งบริเวณบ้านของขุนศรีสิทธิกรรฐ์ คนนั้นเป็น “ เมืองมโนรมย์ “ แต่ให้อาณาเขตปกครองเพียงสุดเสียงช้างร้อง เมืองมโนรมย์จึงเป็นเมืองเล็ก กว่าหัวเมืองใกล้เคียงอื่นๆ ใครเป็นเจ้าเมืองมักจะมีนามต่อท้ายว่า “สิทธิกรรม” เช่น ขุนศรีสิทธิกรรม (ใย ) พระศรี- สิทธิกรรม (ทรัพย์) หลวงศรีสิทธิกรรม (เปล่ง) และขุนอนุสรณ์สิทธิกรรม เมืองมโนรมย์ครั้งแรกตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกบริเวณวัดจวน ตำบลท่าฉนวน ห่างจากที่ว่าการอำเภอปัจจุบัน ไปทางทิศเหนือประมาณ 10 กิโลเมตรแต่เนื่องจากตัวเมืองขณะนั้นอยู่ในที่แคบบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกและได้ ถูกกระแสน้ำเซาะตลิ่งพัง (ในปัจจุบันนี้บริเวณที่ตั้งเมืองดังกล่าวได้ถูกกระแสน้ำเซาะพังลงแม่น้ำเจ้าพระยาลงหมดแล้ว) เหตุนี้จึงย้ายตัวเมืองไปตั้งบริเวณบ้านหาดมะตูม ตำบลศิลาดาน ซึ่งเห็นว่าเป็นบริเวณที่เหมาะสมกว่า ต่อมาเมื่อสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการจัดการปกครองระบบใหม่คือ การปกครองส่วนภูมิภาคปัจจุบัน จึงได้ลดเมืองมโนรมย์มาเป็นอำเภออยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดชัยนาทขณะนั้นอำเภอมโนรมย์มีเขตการปกครอง ข้ามไปถึงแม่น้ำสะแกกรัง มีตำบลหาดทนง ตำบลเกาะเทโพ และตำบลท่าซุง (อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานีในปัจจุบัน) อยู่ในเขตการปกครองอำเภอมโนรมย์ด้วย สมัยนั้นการคมนาคมขนส่งสินค้าและการสัญจรไปมาของประชาชนในการ คมนาคมทางน้ำ โดยอาศัยลำแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมทางเรือ บรรทุกสินค้า และคนโดยสารจาก จังหวัดนครสวรรค์มาตามลำน้ำเจ้าพระยา และจากจังหวัดอุทัยธานีตามลำน้ำท่าจีนออกทางปากคลองมะขามเฒ่าจะมาจอด พักรอผู้โดยสารและขนส่งสินค้าเข้ากรุงเทพฯ บริเวณอำเภอมโนรมย์ จึงเรียกว่า“ คุ้งสำเภา” ในระยะนั้นอำเภอมโนรมย์ มีความเจริญทางเศรษฐกิจด้านพาณิชย กรรมมาก จึงได้ย้ายเมืองมโนรมย์ และตั้งที่ว่าการอำเภอมโนรมย์ใหม่ (เมื่อปีพ.ศ. 2452) เพื่อให้อยู่ใจกลางเมืองและย่านชุมชนบริเวณตำบลคุ้งสำเภา ซึ่งเป็นที่ว่า การอำเภอมโนรมย์ในปัจจุบันนี้ ครั้นต่อมาสมัยหลังปี พ.ศ. 2452 การคมนาคมเปลี่ยนจากทางน้ำมาเป็นทางบกการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารใช้รถยนต์เป็นพาหนะ โดยมีถนนพหลโยธินเป็นเส้นทางหลักที่ใช้ในการคมนาคม สภาพเศรษฐกิจด้านพาณิชย์ของอำเภอมโนรมย์ที่เคยรุ่งเรืองกลับซบเซาลง ในปี พ.ศ. 2486 จึงได้มีการปรับปรุงเขตการปกครองใหม่โดยแบ่งพื้นที่เขตตำบลหาดทนง ตำบลหาดเทโพและตำบลท่าซุง ไปขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานีโดยถือลำแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นเขตแดน
อำเภอมโนรมย์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้