ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

อำเภอพรหมบุรี

อำเภอพรหมบุรีตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

เมืองพรหมบุรีนั้นสร้างขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานกันว่า เป็นเมืองที่พระเจ้าพรหม (พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก) ผู้ครองเมืองไชยปราการ (ฝาง) ได้โปรดให้สร้างขึ้นขนานนามว่า เมืองพรหมบุรี ตั้งอยู่ใต้วัดอัมพวัน หมู่ที่ 5 ตำบลพรหมบุรีในปัจจุบัน ตามหลักฐานที่ปรากฏชัดเจนนั้น มีเมืองพรหมบุรีตั้งแต่ครั้งสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แล้ว และได้ตั้งเมืองพรหมบุรีเป็นเมืองหลานหลวง นอกจากนี้แล้วยังเป็นหัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นในหน้าด่านทางด้านทิศเหนืออีกด้วย โดยมีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่านหลัก แสดงให้เห็นว่าเมืองพรหมบุรีมีอยู่แล้วเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยา

ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้ทรงจัดการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองชั้นในเป็นเมืองจัตวา ดังนั้น เมืองพรหมบุรีจึงเปลี่ยนฐานะเป็นเมืองจัตวา

ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมืองพรหมบุรีขึ้นกับกรุงธนบุรี ในประชุมพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงสำเนาท้องตรา พ.ศ. 2316 เกณฑ์ผู้รักษาเมืองพรหมบุรียกทัพไปสกัดข้าศึกด้านตะวันออกและคุมพรรคพวกสุ่มกำลังยกลงไปขุดคูเลนพระนครเมืองธนบุรี

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ เมืองพรหมบุรีอยู่ในอำนาจปกครองของสมุหนายก โดยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น เมืองพรหมบุรีคงมีฐานะเป็นเมืองตลอดมา ในกฎมณเฑียรบาลเป็นเมืองสำหรับหลานหลวงครอง ในกฎหมายลักพาบทหนึ่งเรียกชื่อว่า "พระพรหมนคร" แต่ในทางการปกครองได้ถูกจัดให้เป็นหัวเมืองจัตวา มีเจ้าเมืองปกครองตลอดมา ได้มีการย้ายที่ตั้งเมืองจากใต้วัดอัมพวันไปอยู่ที่ปากปางหมื่นหาญ (อยู่เหนือตลาดปากบาง หมู่ที่ 1 ตำบลพรหมบุรี) ต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่จวนหัวป่า เหนือวัดพรหมเทพาวาส

ต่อมาในปี พ.ศ. 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองพรหมบุรีเป็นเมืองอยู่ในมณฑลกรุงเก่า (ต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา) และปี พ.ศ. 2439 ยุบเมืองพรหมบุรีเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองสิงห์บุรี เรียกว่า อำเภอพรหมบุรี โดยได้ทำการสร้างที่ว่าการอำเภอที่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ที่ตั้งโรงเรียนพรหมวิทยาคารในปัจจุบัน) หมู่ที่ 3 ตำบลพรหมบุรี

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2486 นายอนันต์ โพธิพันธ์ นายอำเภอพรหมบุรีได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่เหนือวัดกุฎีทอง หมู่ที่ 3 ตำบลบางน้ำเชี่ยว เนื่องจากที่ตั้งอำเภอเดิมใกล้ตัวเมืองสิงห์บุรี แต่ห่างไกลจากตำบลอื่น ๆ และประกอบกับมีราษฎรในพื้นที่ตำบลบางน้ำเชี่ยวได้บริจาคที่ดินในการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่

ต่อมาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2532 เวลา 08.19-09.30 น.ประกอบด้วยภูมิปาโลแห่งฤกษ์ นายพนม นันทวิสิทธิ์ นายอำเภอพรหมบุรี ผู้ดำเนินการก่อสร้าง นายพิจิตร วงษ์จินดา นายอำเภอพรหมบุรี ผู้ดำเนินการปรับปรุง นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี ประธานวางศิลาฤกษ์ ในการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ เนื่องจากอำเภอเดิมมีสภาพทรุดโทรม และคับแคบ โดยได้รับงบประมาณจากกรมการปกครองและมีราษฎรในพื้นที่ร่วมบริจาคในการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ โดยก่อสร้างบริเวณตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอหลังเดิม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ที่ 3 ตำบลบางน้ำเชี่ยว และใช้เป็นที่ว่าการอำเภอจนถึงปัจจุบัน

39 นายอนันต์ จรุงโรจน์รัศมี ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556 40 นายธรรมนูญ แก้วคำ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556 ถึงปัจจุบัน

อำเภอพรหมบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวม 42 หมู่บ้าน ได้แก่

คูค่ายพม่า ตั้งอยู่บริเวณวัดหลังคู หมู่ที่ 1 บ้านเจดีย์หัก ตำบลบ้านแป้ง ลักษณะเป็นเนินดินยาว รูปร่างคล้ายตัวแอล กว้างประมาณ 5-15 เมตร ยาวประมาณ 3 กิโลเมตร ส่วนหนึ่งของแนวค่ายมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ตัดผ่าน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า พม่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2127 เมื่อครั้งพระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพมาที่เมืองชัยนาท และให้กองทัพหน้าลงมาตั้งค่ายที่ปากน้ำบางพุทรา แขวงเมืองพรหม โดยจะมาสมทบกับเจ้าเมืองพะสิมซึ่งยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อรวมกำลังกันเข้าตีกรุงศรีอยุธยา กองทัพไทยได้ต่อสู้จนกองทัพพม่าที่ปากน้ำบางพุทราต้องถอยร่นไปที่เมืองชัยนาท พระเจ้าเชียงใหม่จึงได้โปรดถอยทัพกลับและทิ้งร่องรอยคูค่ายให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ปัจจุบันได้ปรับปรุงให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับผักผ่อนหย่อนใจของประชาชน

วัดกุฎีทอง หมู่ที่ 3 ตำบลบางน้ำเชี่ยว ภายในวัดมีมณฑปลักษณะเหมือนเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้บนยอด ภายในเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วิถีชีวิต ประเพณีวัฒธรรมชาวไทยพวน ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษาจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ชาวไทยพวน เครื่องมือจับปลา เสื้อผ้า เครื่องประดับ ยวดยานพาหนะ ฯลฯ งานประเพณีต่าง ๆ ของชาวไทยพวนจะจัดขึ้นที่วัดกุฎีทองแห่งนี้

วัดอัมพวันเป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก สภาพทั่วไปนั้นมีต้นไม้ประมาณ 300 ต้น เป็นไม้ดอกไม้ใบที่ปลูกใหม่ เดิมสภาพพื้นที่จะเป็นที่ที่น้ำท่วมถึง มาบัดนี้ทางวัดได้ทำถนนและคูกั้นน้ำ จึงสามารถป้องกันน้ำไว้ได้ จึงได้มีการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น

หลักฐานการตั้งวัด จากการสำรวจทางราชการประมาณกาลตั้งแต่ พ.ศ. 2175 การสร้างอุโบสถ ผูกพัทธสีมามาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อรัชกาลที่ 3 ครั้งที่ 2 นี้ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 กว้าง 40 เมตร ยาว 70 เมตร และได้ผูกพัทธสีมา วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2513

ประวัติความเป็นมาของวัด วัดอัมพวันเป็นชื่อเดิมมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ศิลาจารึกในอุโบสถหลังเก่าจารึกเป็นภาษาจีนว่า คนจีนได้สร้างอุโบสถวัดอัมพวัน สมัยเหม็งเชี้ยว คนจีนได้นำเรือกำปั่นมาทำการค้าขายกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองลพบุรี มากับชาวฮอลันดา จอดหน้าวัดอัมพวัน ได้สร้างโบสถ์วัดอัมพวัน สมัยเจ้าอาวาสวัดอัมพวันชื่อ พระครูญาณสังวร อายุ 99 ปี สร้างโบสถ์เสร็จแล้ว ฝรั่งเพื่อนคนจีนได้ขอพระราชทาน พระหน้าปรกหินทั้งสององค์จากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้คนจีนเอาไว้ในโบสถ์ จนถึงการสร้างโบสถ์หลังใหม่มาจนถึงทุกวันนี้

อุโบสถหลังเก่าได้ชำรุดและพังลง เมื่อวันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 ตรงกับวันแรม 7 ค่ำเดือน 3 ปีจอ เวลา 09.45 น. ได้รื้อถอนเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 ตรงกับแรม 7 ค่ำ เดือน 12 เวลา 10.00 น. ด้วยแรงชาวบ้านและรถยกของ ป.พัน 101 มาช่วยกันรื้ออุโบสถ เสร็จเรียบร้อยภายใน 4 วัน

เริ่มก่อสร้างอุโบสถ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 วางศิลาฤกษ์ 14-15 มีนาคม พ.ศ. 2512 สร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2513 รวมเวลาการก่อสร้าง 1 ปี 4 เดือน 15 วัน ผูกพัทธสีมาวันที่ 8-12 เมษายน พ.ศ. 2513

วัดนี้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ตามลำดับ มาถึง พ.ศ. 2513 กรมการศาสนาได้ยกย่องให้เกียรติเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างมาจนบัดนี้

ประเพณีกำฟ้าเป็นงานบุญพื้นบ้านของชาวไทยพวนที่หมู่บ้านน้ำเชี่ยวและหมู่บ้านโภคาวิวัฒน์ จัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาระลึกถึงเทพยดาผู้รักษาฟากฟ้าและบันดาลฝนตกต้องตามฤดูกาล ถือเอาวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันสุกดิบ พิธีกรรมจะกระทำเช่นเดียวกับประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวน จังหวัดลพบุรี และจังหวัดอื่น ๆ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301