อำเภอขุขันธ์ เป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นกับจังหวัดศรีสะเกษ เป็นอำเภอเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานควบคู่มากับการตั้ง “เมืองขุขันธ์” ในอดีตมีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุมพื้นที่ที่เป็นอำเภอต่างๆ หลายอำเภอของจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน โดยก่อนปี พ.ศ 2481 ใช้นามว่า “อำเภอห้วยเหนือ” ขึ้นปกครองของเมืองขุขันธ์ ประชาชนส่วนมากนับถือศาสนาพุทธและมีอาชีพทำนากันเป็นส่วนมาก
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณที่เป็นเขตจังหวัดศรีสะเกษและสุรินทร์ ในปัจจุบันนี้ เดิมเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนชาติพันธุ์เขมรและชนชาติพันธ์กวย ซึ่งเรียกโดยรวมว่า เขมรป่าดง มีชุมชนที่สำคัญ คือ บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน ซึ่งต่อมาเป็นเมืองขุขันธ์ ปีพุทธศักราช ๒๓๐๒ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ แห่งกรุงศรีอยุธยา พญาช้างเผือกได้แตกโรงไปอยู่รวมกับโขลงช้างป่าในเขตภูเขาพนมดงรัก(??????????) จึงโปรดเกล้าฯให้ทหารคู่พระทัย (ทองด้วงและบุญมา) นำไพร่พลออกติดตาม โดยได้รับการช่วยเหลือจาก ตากะจะ หัวหน้ากลุ่มชนบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน และเชียงขัน ร่วมกับหัวหน้ากลุ่มชาวเขมรป่าดงที่ชำนาญการจับช้าง?คือ เชียงปุ่มแห่งบ้านเมืองที เชียงสีแห่งบ้านกุดหวาย เชียงฆะแห่งบ้านอัจจะปะนึง และเชียงไชยแห่งบ้านจาระพัด ออกติดตามจนพบและสามารถจับพญาช้างเผือกได้ และตามคณะนำส่งถึงกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ ตากะจะ เป็นหลวงแก้วสุวรรณ ตำแหน่งนายกองหัวหน้าหมู่บ้าน และเชียงขัน เป็นหลวงปราบ ผู้ช่วยนายกองหัวหน้าหมู่บ้าน
ประวัติพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน ผู้สร้างเมืองขุขันธ์ พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน ทีชื่อเดิมว่า ตากะจะ เป็นหัวหน้าชาวเขมรป่าดงบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน เมือปี พุทธศักราช ๒๓๐๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยา พญาช้างเผือกแตกโรงหนีเข้าป่า ไปอยู่รวมกับโขลงช้างป่าในเทือกเขาพนมดงเร็ก ตากะจะและเชียงขันธ์ พร้อมหัวหน้าชาวเขมรป่าดง รับอาสาตามจับพญาช้างเผือกได้และตามคณะนำส่งถึงกรุงศรีอยุธยา ด้วยความชอบในครั้งนี้จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ ตากะจะ เป็นหลวงแก้วสุวรรณ ตำแหน่งกัวหน้านายกองปกครองหมู่บ้าน
ชาวลาวเวียง คือ ชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และจำปาศักดิ์ ในช่วงสงครามตีเมืองเวียงจันทน์ของกองทัพสยาม ตั้งแต่สมัยธนบุรี - ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ หลังจากที่ฝ่ายไทยยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ และหลวงพระบาง
การยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์ จำปาศักดิ์จนได้รับชัยชนะ ได้กวาดต้อนชาวเวียงจันทร์มาเป็นจำนวนมาก มาอยู่ที่ ต.สิ ,ต.ขุนหาญ ,ต.ห้วยจันทน์ อำเภอขุนหาญ ต.หมากเขียบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ ,บ้านตาอุด บ้านโสน อำเภอขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ
ครอบครัวเชลยชาวลาวเวียงจันทน์ถูกกวาดต้อนเข้ามาไทยในการตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 1 ปีพ.ศ. 2321 จากนั้นถูกกวาดต้อนเข้ามาอีกในการตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 2 ปีพ.ศ. 2335 และถูกกวาดต้อนเข้ามาเป็นครั้งที่ 3 ปีพ.ศ. 2369 - 2371 แต่ในสงครามตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 3 เมื่อปีพ.ศ. 2369 - 2371 กองทัพสยามได้กวาดต้อนผู้คนทั้งหมดในเขตเมืองเวียงจันทน์เข้ามาฝั่งไทย จนเวียงจันทน์ถึงกับเป็นเมืองร้างผู้คน
อำเภอขุขันธ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 50 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
อำเภอขุขันธ์มีประชากรทั้งสิ้น 149,679 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ 163.70 คน/ตารางกิโลเมตร แยกเป็นรายตำบล
อยู่ในตำบลห้วยเหนือ เป็นวัดที่มีประวัติแปลกไปจากวัดอื่น ๆ เพราะสร้างโดยคนไทยเชื้อสายจีนในเมืองขุขันธ์ในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจคือ
ตั้งอยู่ที่บ้านพราน ตำบลห้วยเหนือ โบราณสถานคือ อุโบสถที่สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย ผนังและฐานของอุโบสถก่อด้วยอิฐฉาบปูน หลังคาเป็นโครงไม้มุงด้วยสังกะสี ที่ขอบโครงหลังคาโดยรอบแกะสลักเป็นลายพันธุ์พฤกษา ส่วนที่จั่วสลักเป็นภาพในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งแกะสลักในสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่เรียกว่า หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 3.50 เมตร สูง 6.80 เมตร มีลักษณะศิลปะที่ผสมผสานกัน ระหว่างศิลปล้านช้าง และศิลปะอยุธยาตอนปลาย เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวขุขันธ์มาแต่ในอดีต ภายนอกอุโบสถทั้งสี่มุมมีธาตุ ลักษณะศิลปะล้านช้างตั้งอยู่ ปัจจุบันเหลือเพียงสามองค์ องค์ที่สมบูรณ์ที่สุด อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะคล้ายกับพระธาตุก่องข้าวน้อย ที่จังหวัดยโสธร วัดเขียนบูรพาราม ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ และกำหนดขอบเขตโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ. 2533 มีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ 50 ตารางวา
ตั้งอยู่ที่ ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ วัดโสภณวิหาร หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า " วัดบ้านลุมพุก " เป็นวัดเก่าไม่ปรากฏปีที่สร้าง ภายในวัดมีสิมเก่าแบบลาว ก่ออิฐถือปูน ยกพื้นสูง หน้าบันตกแต่งลายปูนปั้น ผนังเขียนภาพระบายสี หน้าต่างประดับด้วยลูกมะหวด พระประธานอิทธิพลศิลปะแบบลาว มีหลักเสมาปักไว้ในสิมต่างจากที่อื่นซึ่ง เป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่บริเวณแถบนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าภายในวัดยังพบสถูปคู่คล้ายกับพบที่บริเวณผา มออีแดงเชิงเขาพระวิหาร วัดบ้านลุมพุกมีความน่าสนใจตรงที่เป็นศาสนสถานทางพุทธศาสนาที่เข้ามามี บทบาทต่อจากศาสนสถานขอมที่ปราสาทตาเล็ง จึงเป็นสถานที่ๆ แสดงการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม และมี การรับอิทธิพลสถาปัตยกรรมแบบลาวที่สมบูรณ์แห่งหนึ่ง มาใช้ในชุมชนที่มีวัฒนธรรมเขมร ลักษณะความ เป็นท้องถิ่นที่ยังไม่สามารถอธิบายได้ คือ แนวคิดการสร้างศาสนสถานที่เปลี่ยนจากปราสาทขอมมาเป็นธาตุ ในพุทธศาสนา อาจทำให้เราคิดว่าเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงทางรูปแบบศิลปะในลักษณะของการผสมผสาน
ตั้งอยู่ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220 (ศรีสะเกษ-ขุขันธ์) บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของที่ว่าการอำเภอ ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 ดำเนินการก่อสร้างโดยเทศบาลตำบลห้วยเหนือ(ปัจจุบัน คือ เทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์) โดยได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน และได้รับงบประมาณสนับสนุนในการก่อสร้างส่วนหนึ่งจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ บริเวณโดยรอบของอนุสาวรีย์จะเป็นสวนหย่อม บริเวณด้านทิศใต้จะมีรูปปั้นพญาช้างเผือกและครอบครัว ส่วนบริเวณด้านหน้าจะเป็นลานอนุสาวรีย์ ซึ่งจะถูกใช้ประโยชน์เป็นลานออกกำลังกายของผู้สูงอายุชาวไทยเชื้อสายจีนทุกๆช่วงเวลาเย็น และใช้เป็นลานจัดกิจกรรม "งานรำลึกพระยาไกรภักดีฯ ประเพณีแซนโฎนตา บูชาหลักเมือง ลือเลื่องกล้วยแสนหวี" ซึ่งเป็นงานใหญ่และสำคัญของอำเภอทุกๆปี
ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 บ้านปราสาท ตำบลปราสาท เป็นปรางค์องค์เดียวตั้งอยู่บนฐาน องค์ปรางค์มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสองหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปัจจุบันเหลือเพียงผนังด้านหน้าและผนังด้านข้างบางส่วน มีประตูเข้าได้เพียงประตูเดียวด้านหน้า อีกสามด้านเป็นประตูหลอก ที่สำคัญคือเสาติดผนังของประตูหน้าทั้งสองข้างยังคงมีลวดลายก้านขดสลักเต็มแผ่นอย่างสวยงาม สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖–๑๗ นอกจากนี้บนพื้นรอบๆ ยังมีทับหลังวางอยู่หลายชิ้น ชิ้นหนึ่งวางอยู่หน้าประตูด้านทิศเหนือ สลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างในซุ้มเรือนแก้วเหนือหน้ากาล ซึ่งคายท่อนพวงมาลัยออกมาจากปากและยึดท่อนพวงมาลัยนั้นไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ทับหลังชิ้นอื่นๆ ลักษณะคล้ายกัน ทับหลังชิ้นหนึ่งมีแนวภาพตอนบนสลักเป็นรูปฤๅษีนั่งเรียงกันในท่าสมาธิ 7 ตอน จากลักษณะทางสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมที่ปรากฏกล่าวได้ว่าปราสาทตาเล็งสร้างขึ้นในศิลปะขอมแบบบาปวน ซึ่งมีอายุราว พ.ศ. 1560 - 1630
อยู่ที่หมู่ 12 บ้านสะอาง ตำบลห้วยเหนือ เป็นหนองน้ำที่มีขนาดใหญ่ และเป็นหนองที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของอำเภอขุขันธ์ เป็นแหล่งหาปลาของคนในชุมชน
ประเพณีแซนโฎนตา อำเภอขุขันธ์เดิมเป็นที่ตั้งของบริเวณเมืองขุขันธ์ ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของคนไทยหลายเชื้อสาย หลายภาษา เช่น เขมร ลาว ส่วย เยอ จีน เป็นต้น มีจารีตประเพณีและวัฒนธรรมที่งดงามของท้องถิ่นอยู่เป็นจำนวนมาก และหนึ่งในจำนวนนั้น ก็คือ ประเพณีแซนโฎนตา ซึ่งเป็นประเพณีเซ่นไหว้บรรพบุรุษของคนไทยเชื้อสายเขมร โดยคนไทยกลุ่มดังกล่าวได้ยึดถือปฏิบัติกันมาแต่ดั้งเดิม เนื่องจากอำเภอขุขันธ์มีคนไทยเชื้อสายเขมร อยู่เป็นจำนวนมาก บรรดาลูกหลานที่ไปทำงานต่างถิ่นจะกลับมาร่วมพิธีเซ่นไหว้ที่บ้านเป็นประจำทุกปี แต่การแซนโฎนตาได้กระทำกันในครอบครัว บางครอบครัวที่เป็นคนรุ่นใหม่เริ่มขาดความรู้ความเข้าใจในพิธีกรรมดังกล่าว ชาวอำเภอขุขันธ์จึงได้จัดงานประเพณีแซนโฎนตาขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา เพื่อเป็นการสืบสาน พัฒนาและส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณีในท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย