อาหารมาเลเซีย เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากหลายวัฒนธรรมทั่วโลก อิทธิพลหลักมาจากชาวมาเลย์ ชาวจีน และชาวอินเดีย นอกจากนั้นยังได้รับอิทธิพลจากชาวเปอรานากันและยูเรเซีย ชาวโอรังอัสลี และชนเผ่าต่างๆในซาราวักและซาบาห์ อาหารมาเลเซียจึงมีความหลากหลายมากโดยรวมทั้งการปรุงอาหารของมาเลย์ จีน อินเดีย อินโดนีเซียโดยเฉพาะในเกาะบอร์เนียว และได้รับอิทธิพลในส่วนน้อยมาจากไทย โปรตุเกส อังกฤษ อาหรับ ทำให้อาหารมาเลเซียมีความหลากหลายทั้งรสชาติ วิธีการ และมีความซับซ้อนมาก
ข้าวเป็นอาหารหลักที่สำคัญในมาเลเซีย อาหารจากข้าวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ นาซิเลอมัก ซึ่งเป็นข้าวที่หุงด้วยกะทิ กินกับปลา ถั่วลิสง แตงกวาหั่น ไข่ต้มและซัมบัล นาซิ เลอมักรับประทานกับอาหารได้หลายชนิดรวมทั้งเรินดัง นาซิ เลอมักถือเป็นอาหารประจำชาติของมาเลเซีย อาหารมาเลเซียที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารอินเดียจะใช้ซัมบัลที่มีรสค่อนข้างเผ็ด ส่วนซัมบัลที่ใส่ในนาซิ เลอมักจะมีรสหวานเล็กน้อย นาซิ เลอมักนั้นมักจะสับสนกับนาซิดาแฆที่เป็นที่นิยมทางชายฝั่งตะวันออกของมาเลเซียในบริเวณกลันตันและตรังกานู
ก๋วยเตี๋ยวพบมากในอาหารของชาวมาเลย์เชื้อสายจีน มีหลายประเภท เช่น บีหุน (??, ภาษาจีนฮกเกี้ยน: b?-h?n, ภาษามาเลย์: bihun) โฮฟุน (??, ภาษาจีนกวางตุ้ง: ho4 fan2) หมี่ (? หรือ ?, ภาษาจีนฮกเกี้ยน: m?, ภาษามาเลย์: mi) หมี่ซั่ว (?? or ??, ภาษาจีนฮกเกี้ยน: m?-s?a?) ยีมีน (?? หรือ ??, ภาษาจีนกวางตุ้ง: ji1 min6) ลังกาหรือวุ้นเส้น (??, ภาษาจีนฮกเกี้ยน: tang-h?n, ภาษาจีนกวางตุ้ง: dung1 fan2)
ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากอาหารอินเดีย เช่น โรตี จาไน โดไซ (????) อิดลี (?????) ปูรี (????)รวมทั้งขนมปังแบบตะวันตก
สัตว์ปีกดำเนินการด้วยมาตรฐานฮาลาล เนื้อวัวไม่พบในอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารอินเดีย เนื่องจากอิทธิพลของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ แต่เป็นที่นิยมในอาหารมุสลิมใช้ทำต้ม แกง หรืออบ และเนื้อวัวนี้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานฮาลาล เนื้อหมูจะบริโภคในกลุ่มที่ไม่ใช่มุสลิม ได้แก่ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน และชนพื้นเมืองเช่น ชาวอีบัน ชาวกาดาซัน ชาวโอรังอัสลี เนื้อแพะมีความสำคัญในอาหารมาเลย์มากกว่าเนื้อแกะ เป็นที่นิยมในอาหารมาเลย์ที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารอินเดีย
ในมาเลเซียรับประทานอาหารอินเดียหลายชนิด ทั้งกุ้ง ปู หมึก ปลาดุก หอย ปลิงทะเล ชนทุกเชื้อชาตินิยมรับประทานอาหารทะเล
ในมาเลเซียนิยมรับประทานปลาที่จับได้ในท้องถิ่น ส่วนปลานำเข้าเป็นปลาคอด ปลาแซลมอน ซึ่งจะอยู่ในรูปปลาแช่แข็ง
ในมาเลเซียมีผลไม้ตลอดท้งปี ผลไม้เขตร้อนส่วนใหญ่ปลูกได้ในมาเลเซียหรือนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ผลไม้ที่มีชื่อเสียงได้แก่ เงาะ ทุเรียน มังคุด ลิ้นจี่ มะม่วง ลำไย ฝรั่ง ลิ้นจี่
อาหารมาเลเซียมีความคล้ายคลึงกับอาหารอินโดนีเซียโดยเฉพาะในบริเวณเกาะสุมาตรา อาหารมาเลเซียได้รับอิทธิพลจากอาหารจีน อาหารอินเดีย อาหารไทย และประเทศอื่นๆ อาหารมาเลเซียหลายชนิดใส่เริมปะห์ ที่เป็นส่วนผสมของเครื่องเทศคล้ายกับผงมะสะหล่าของอินเดีย
มีอาหารในรัฐยะโฮร์หลายชนิดที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารชวาหรือเลียนแบบอาหารชวา รวมทั้งลนตง นาซิอัมเบิง และบนตรตหรือเบิรกัต ซึ่งนิยมเสิร์ฟในงานแต่งงาน ตัวอย่างอาหารในกลุ่มนี้
ชาวอินเดียมุสลิมในมาเลเซียหรือมามัก มีวัฒนธรรมที่ต่างไปจากชาวมาเลย์มุสลิม อาหารของชาวมามักที่มีชื่อเสียงได้แก่ นาซิ กันดาร์ซึ่งคล้ายกับอาหารอินโดนีเซียที่เรียกนาซิปาดัง นอกจากนั้นมีบิรยานี ที่กินกับแกงกะหรี่ไก่ ปลา เนื้อวัวหรือเนื้อแพะ กินกับผักดองและปาปาดัม อาหารของชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดียมีลักษณะใกล้เคียงกับอาหารในอินเดีย โดยเฉพาะอินเดียใต้ แม้จะมีอาหารหลายอย่างแสดงให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลจากอินเดียเหนือ อาหารในกลุ่มนี้มีแกงที่ใส่เครื่องเทศหลายชนิด กะทิ และใบสำมะหลุยหรือใบกะหรี่ แกงที่นิยมมีทั้งแกงไก่ แกงปลา แกงหมึก ตัวอย่างอาหารในกลุ่มนี้ได้แก่
อาหารของชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนตอนใต้ เช่น อาหารจีนฝูเจี้ยน อาหารจีนกวางตุ้ง อาหารจีนฮากกา แต่ก็ได้รับอิทธิพลจากส่วนผสมในท้องถิ่น และอาหารจากวัฒนธรรมอื่นๆ มีหมูเป็นส่วนผสมที่สำคัญ แต่ก็มีรูปแบบที่ทำจากไก่สำหรัยให้ชาวมาเลย์มุสลิมรับประทานได้ ตัวอย่างอาหารเหล่านี้ เช่น
อาหารย่าหยาเป็นอาหารที่พัฒนาขึ้นในกลุ่มของชาวย่าหยาหรือชาวจีนช่องแคบและเปอรานากันหรือลูกผสมระหว่างชาวจีน-มาเลย์ในมาเลเซียและสิงคโปร์ อาหารนี้ใช้ส่วนผสมแบบจีนแต่ใช้เครื่องปรุงแบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นกะทิ ตะไคร้ ขมิ้น พริก และซัมบัล มีบางส่วนได้รับอิทธิพลจากอาหารไทย ตัวอย่างของอาหารย่าหยา ได้แก่
ชาวซาราวักมีอาหารที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะซึ่งต่างจากพื้นที่บนคาบสมุทร มักเป็นอาหารของชาวพื้นเมือง บางส่วนได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนและอาหารอินเดีย อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของซาราวักได้แก่
เนื่องจากสังคมมาเลเซียเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ทำให้แต่ละวัฒนธรรมมีการผสมผสานกันเอง เช่น ชาวมาเลย์เชื้อสายจีนนำแกงของชาวอินเดียไปปรับปรุงให้มีรสเผ็ดน้อยลง ชาวมาเลย์และชาวอินเดียนำเส้นก๋วยเตี๋ยวของชาวจีนไปปรับปรุงจนกลายเป็นก๋วยเตี๋ยวแบบใหม่