ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

อากาศยาน

อากาศยาน (อังกฤษ: aircraft)หมายถึงสิ่งหรือเครื่องที่สามารถบินได้โดยได้รับการรองรับจากอากาศ, หรือโดยทั่วไปคือชั้นบรรยากาศของโลก. มันสามารถต้านแรงดึงดูดของโลกโดยใช้แรงลอยตัว(แรงยกอยู่กับที่)(อังกฤษ: Buoyancy หรือ static lift) หรือใช้แรงยกพลศาสตร์(อังกฤษ: dynamic lift)ของ airfoil อย่างใดอย่างหนึ่ง, หรือมีไม่กี่กรณีที่ใช้แรงขับลงด้านล่าง(อังกฤษ: downward thrust)จากเครื่องยนต์ไอพ่น

กิจกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับอากาศยานเรียกว่า การบิน (อังกฤษ: aviation). อากาศยานที่มีลูกเรือจะถูกบินโดยนักบินที่อยู่บนเครื่อง, แต่ยานพาหนะทางอากาศไร้คนขับอาจถูกควบคุมโดยระยะไกลหรือควบคุมตัวเองโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครื่อง. อากาศยานถูกแยกประเภทโดยเกณฑ์ที่แตกต่างกัน เช่นรูปแบบของการยกตัว, การขับเคลื่อน, การใช้งานและอื่นๆ.

อากาศยานที่มีคนขับนั้นขับด้วยบุคคลที่เรียกว่า นักบิน จนกระทั่งในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 ก็มีอากาศยานแบบที่ไม่มีคนขับเกิดขึ้น มีชื่อเรียกว่า "drone" ในช่วงทศวรรษที่ 1960 นั้น กองทัพสหรัฐได้นำคำว่า อากาศยานที่ควบคุมจากระยะไกล (อังกฤษ: remotely piloted vehicle (RPV)) มาใช้เรียกชื่ออากาศยานชนิดนี้ ปัจจุบันอากาศยานชนิดนี้มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า อากาศยานไร้คนขับ (อังกฤษ: unmanned aerial vehicle (UAV))

อากาศยานแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ อากาศยานที่เบากว่าอากาศ (อังกฤษ: lighter than air หรือ aerostat) และ อากาศยานที่หนักกว่าอากาศ (อังกฤษ: heavier than air หรือ aerodyne)

อากาศยานประเภทนี้ใช้แรงลอยตัวในการลอยขึ้นสู่อากาศเช่นเดียวกับที่เรือลอยอยู่ในน้ำ ส่วนใหญ่จะใช้ถุงแก๊สหรือผ้าคลุมขนาดใหญ่แล้วเติมแก๊สที่มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ต่ำเข้าไป เช่น ฮีเลียม, ไฮโดรเจน หรืออากาศร้อนที่จะเบากว่าอากาศที่อยู่รอบๆ น้ำหนักที่ใส่เข้าไปรวมกับน้ำหนักของอากาศยานจะมีค่าเท่ากับน้ำหนักของอากาศที่อากาศยานประเภทนี้เข้าไปแทนที่ (คุณสมบัติของแรงลอยตัว)

ย้อนกลับไปเมื่อ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช บอลลูนอากาศร้อนขนาดเล็กที่มีชื่อว่า โคมแห่ง Kongming หรือโคมลอยฟ้า ถือว่าเป็นอากาศยานชนิดที่สองที่สามารถบินได้, อากาศยานชนิดแรกคือ ว่าว นั่นเอง

บอลลูนแต่เดิมเป็นสิ่งบินที่เบากว่าอากาศ, ในขณะที่เรือเหาะ(อังกฤษ: airship)ถูกใช้สำหรับสิ่งบินขนาดใหญ่และใช้เครื่องยนต์ - ปกติจะเป็นปีกคงที่[ต้องการอ้างอิง] - แม้ว่ายังไม่มีสักเครื่องที่ถูกสร้างขึ้น. การประดิษฐ์บอลลูนที่ใช้เครื่องยนต์, เรียกว่าบอลลูนที่ควบคุมได้ (อังกฤษ: dirigible balloons), และต่อมาเป็นลำตัวแข็งที่ยอมให้เพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้น, เริ่มที่จะเปลี่ยนวิธีการใช้คำเหล่านี้. สิ่งบินที่เบากว่าอากาศที่มีกำลังสูง, บ่งบอกคุณลักษณะโดยโครงสร้างด้านนอกที่แข็งแกร่งและผิวแบบอากาศพลศาสตร์ที่แยกต่างหากรอบๆถุงใส่แก๊ส, ได้ถูกสร้างขึ้น, ชื่อ Zeppelin ขนาดใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงมากที่สุด. ยังคงไม่มียานอากาศที่มีปีกคงที่หรือบอลลูนที่ไม่แข็งแกร่งที่ใหญ่มากพอที่จะถูกเรียกว่าเรือเหาะได้, ดังนั้น 'เรือเหาะ'ได้กลายมาเป็นคำพ้องของสิ่งบินประเภทนี้. จากนั้น หลายๆอุบัติเหตุ, เช่นภัยพิบัติฮินเดนเบอร์กในปี 1937 ได้นำไปสู่การตายของเรือเหาะเหล่านี้.

สิ่งบินที่เบากว่าอากาศที่บังคับทิศทางได้, ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์เรียกว่า เรือบิน(อังกฤษ: dirigible). บางครั้งคำนี้ถูกนำมาใช้กับบอลลูนที่ไม่แข็งเท่านั้นและบางครั้ง บอลลูนเรือบิน(อังกฤษ: dirigible balloon) ถือได้ว่าเป็นคำนิยามของเรือเหาะ (ซึ่งก็อาจจะแข็งหรือไม่แข็ง). เรือบินที่ไม่แข็งมีลักษณะเป็นถุงแก๊สอากาศพลศาสตร์ในระดับปานกลางที่มีครีบปรับการทรงตัวที่ด้านหลัง. ยานเหล่านี้ไม่นานนี้กลายเป็นที่รู้จักว่าเป็น เรือเหาะที่ไม่แข็งหรือ blimps. ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, รูปทรงนี้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการผูกบอลลูนรวมกัน; ในสภาพอากาศลมแรง, วิธีนี้จะช่วยทั้งลดความเครียดในเชือกโยงและรักษาการทรงตัวของบอลลูน. ชื่อเล่น blimp ถูกนำมาพัฒนาพร้อมกับรูปทรง. ในสมัยโบราณที่ทันสมัย เรือบินขนาดเล็กหรือเรือเหาะใดๆจะเรียกว่า blimp, ไม่ว่า blimp จะมีเครื่องยนต์หรือไม่มีเครื่องยนต์ก็ตาม.

อากาศยานประเภทหนักกว่าอากาศนี้จะใช้วิธีการผลักอากาศหรือแก๊สลงไปข้างล่างเพื่อให้อากาศหรือแก๊สเหล่านั้นเกิดแรงปฏิกิริยาขึ้นมายกอากาศยานประเภทนี้ขึ้นมา (ตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน) การเคลื่อนที่ลักษณะไดนามิคผ่านอากาศนี้เป็นที่มาของชื่อ aerodyne ปัจจุบันมี 2 วิธีเท่านั้นที่จะสร้างแรกยกเหล่านี้ได้ ได้แก่ แรงยกทางอากาศพลศาสตร์(อังกฤษ: aerodynamic lift) และแรงยกด้วยกำลังเครื่องยนต์ (อังกฤษ: powered lift)

แรงยกด้วยอากาศพลศาสตร์ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปีก, โดยเครื่องบินปีกคงที่จะถูกทำให้ลอยอยู่ในอากาศโดยเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของปีก, และปีกหมุน(อังกฤษ: rotorcraft)โดยหมุนโรเตอร์รูปปีกซึ่งบางครั้งเรียกว่าปีกหมุน. ปีกเป็นพื้นผิวที่เรียบและวางตัวในแนวนอน, มักจะมีรูปร่างในภาคตัดขวางเป็น aerofoil. ในการบิน, อากาศต้องไหลผ่านปีกและสร้างแรงยก. 'ปีกยืดหยุ่น'เป็นปีกทำจากผ้าหรือวัสดุแผ่นบางๆ, มักจะแผ่อยู่บนกรอบที่แข็ง. 'ว่าว'ผูกติดอยู่กับพื้นดินและอาศัยความเร็วลมเหนือปีกของมัน, ซึ่งอาจยืดหยุ่นหรือแข็ง, คงที่, หรือแบบหมุน.

ด้วยการยกตัวด้วยเครื่องยนต์, อากาศยานจะส่งแรงผลักดันของเครื่องยนต์ลงด้านล่างในแนวดิ่ง. อากาศยานแบบ V/STOL, เช่น Harrier Jump Jet และ F-35B จะบินขึ้นและบินลงในแนวดิ่งได้โดยใช้แรงยกจากเครื่องยนต์และถ่ายโอนแรงยกนั้นไปขับเคลื่อนตัวยานให้ไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง.

จรวดล้วนๆปกติจะไม่ได้พิจารณาว่าเป็น Aerodyne, เพราะมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับอากาศสำหรับการยกตัว (และแม้แต่ยังสามารถบินไปในอวกาศได้); อย่างไรก็ตามหลายยานพาหนะที่ใช้แรงยกแบบอากาศพลศาสตร์ได้รับการขับเคลื่อนหรือการช่วยเหลือจากมอเตอร์จรวด เข่น ขีปนาวุธขับเคลื่อนโดยจรวดที่มีการยกตัวด้วยอากาศพลศาสตร์ที่ความเร็วสูงมากเนื่องจากการไหลเวียนของอากาศเหนือร่างกายของพวกมัน.

บรรพบุรุษของอากาศยานปีกคงที่คือว่าว. ในขณะที่เครื่องบินปีกคงที่อาศัยความเร็วไปข้างหน้าเพื่อสร้างการไหลของอากาศเหนือปีก, ว่าวก็ผูกติดอยู่กับพื้นดินและอาศัยลมพัดผ่านปีกของมันเพื่อสร้างแรงยก. ว่าวเป็นชนิดแรกของอากาศยานที่บินได้และถูกคิดค้นในประเทศจีนประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล. การวิจัยตามหลักอากาศพลศาสตร์หลายครั้งมากที่ทำกับว่าวก่อนทดสอบกับเครื่องบิน, อุโมงค์ลมและโปรแกรมสร้างแบบจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ก็มีการนำมาใช้.

ยานที่หนักกว่าอากาศเครื่องแรกที่สามารถควบคุมการบินได้อย่างเป็นอิสระคือเครื่องร่อน(อังกฤษ: glider). เครื่องร่อนที่ออกแบบโดย George Cayley ได้ทำการบินที่ควบคุมได้จริงโดยมนุษย์เป็นผู้ขับเป็นครั้งแรกในปี 1853.

อากาศยานปีกคงที่ (หรือ aeroplane หรือ airplane)ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์และทำงานได้จริงในทางปฏิบัติได้รับการคิดค้นโดย Wilbur และ Orville Wright. นอกเหนือไปจากวิธีการในการขับเคลื่อน, อากาศยานปีกคงที่โดยทั่วไปถูกกำหนดตามคุณลักษณะของ'รูปแบบของปีก'(อังกฤษ: wing configuration)ของพวกมัน. คุณลักษณะของปีกที่สำคัญที่สุดคือ

อากาศยาน'ปีกบิน'(อังกฤษ: flying wing)จะไม่มีลำตัว, ถึงแม้ว่ามันอาจจะมีปุ่มหรือฝักขนาดเล็ก. ตรงข้ามกันคือ'ลำตัวยก'(อังกฤษ: lifting body), ซึ่งไม่มีปีก, แม้ว่ามันอาจจะมีพื้นผิวกันโคลงและการควบคุมขนาดเล็ก.

ยานพาหนะปีกในผลกระทบพื้นดิน(อังกฤษ: wing-in-ground-effect)อาจจะถือว่าเป็นอากาศยานปีกคงที่. พวกมัน"บิน"ได้อย่างมีประสิทธิภาพใกล้กับพื้นผิวของพื้นดินหรือพื้นน้ำ, เช่นเดียวกับเครื่องบินทั่วไปในระหว่างการบินขึ้น. ตัวอย่างคือ ekranoplan ของรัสเซีย (ชื่อเล่น "ปีศาจทะเลสาบแคสเปียน") อากาศยานขับเคลื่อนด้วยแรงมนุษย์(อังกฤษ: Manned-powered aircraft) ยังพึ่งพา ground-effect เพื่อยังคงลอยอยู่ในอากาศด้วยกำลังของนักบินที่น้อยนิด, แต่นี่เป็นเพียงเพราะว่าพวกมันมีแรงขับต่ำมากเกินไป - ในความเป็นจริง ตัวยานทั้งหมด(อังกฤษ: airframe)มีความสามารถในการบินได้สูงกว่านั้น.

อากาศยานปีกหมุน หรือ Rotorcraft ใช้การหมุนของโรเตอร์ไปหมุนใบพัดที่มีหน้าตัดเป็นรูปแพนอากาศ (Airfoil) เพื่อสร้างแรงยก. ตัวอย่างของอากาศยานประเภทนี้คือ เฮลิคอปเตอร์, autogyro และพันธ์ผสมหลายอย่างเช่น gyrodyne และ Compound rotorcraft.

"เฮลิคอปเตอร์"มีโรเตอร์หนึ่งตัวหมุนด้วยเพลาที่ขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์. โรเตอร์จะผลักอากาศลงล่างเพื่อสร้างแรงขับ. โดยเอียงโรเตอร์ไปข้างหน้า, อากาศที่พัดลงด้านล่างจะเอียงไปข้างหลัง, สร้างแรงผลักให้บินไปข้างหน้า. เฮลิคอปเตอร์บางลำมีโรเตอร์มากกว่าหนึ่งตัวและมีไม่กี่ลำที่ใช้ไอพ่นหมุนโรเตอร์.

Autogyroมีโรเตอร์ที่ไม่ต่อเข้ากับเครื่องยนต์, แต่มีเครื่องสร้างพลังงานแยกส่วนเพื่อสร้างแรงผลัก. โรเตอร์จะถูกทำให้เอียงไปช้างหลัง. เมื่อ autogyro เคลื่อนไปข้างหน้า, อากาศจะเป่าขึ้นข้างบนไปที่โรเตอร์, ทำให้มันหมุน. การหมุนนี้ไปเพิ่มความเร็วของอากาศที่ไหลผ่านโรเตอร์, เป็นการสร้างแรงยก. Rotor kite เป็น autogyro ที่ไม่ต่อเข้ากับเครื่องยนต์, ซึ่งมันจะถูกลากเพื่อสร้างความเร็วไปข้างหน้าหรอถูกล่ามไว้กับพื้นด้วยสมออยู่กับที่ท่ามกลางกระแสลมแรงเพื่อให้ว่าวบิน.

Compound rotorcraft มีปีกที่สร้างแรงยกในการบินไปข้างหน้า. ในปัจจุบัน มันถูกแยกประเภทเป็นแบบ"การยกด้วยกำลัง"(อังกฤษ: powered lift) และไม่ใช่ rotorcraft.

Tiltrotor (เช่น V-22 Osprey), tiltwing, tailsitter, และ coleopter มีโรเตอร์/ใบพัดในแนวนอนสำหรับการบินแนวดิ่ง, และในแนวดิ่งสำหรับการบินไปข้างหน้า.

เครื่องร่อนเป็นอากาศยานที่หนักกว่าอากาศที่ไม่ได้ใช้กำลังขับเคลื่อนหลังจากขึ้นสู่อากาศแล้ว. การบินขึ้นอาจจะโดยวิ่งไปข้างหน้าและโดดลงจากสถานที่สูง, หรือโดยดึงขึ้นไปในอากาศโดยลาก, ด้วยกว้านบนพื้นดิน, หรือโดยยานพาหนะที่"ลาก"ด้วยกำลังเครื่องยนต์. สำหรับเครื่องร่อนในการรักษาความเร็วไปข้างหน้าในอากาศและแรงยก, มันจะต้องร่อนลงเมื่อสัมพันธ์กับอากาศ (แต่ไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับพื้นดิน). เครื่องร่อนจำนวนมากสามารถ 'ทะยาน'ขึ้นในอากาศ - ไปที่ความสูงจากกระแสลมที่พัดขึ้น(อังกฤษ: updrafts) เช่นกระแสลมร้อน. ตัวอย่างที่ควบคุมได้ในทางปฏิบัติครั้งแรกได้รับการออกแบบและสร้างโดยนักวิทยาศาสตร์และเป็นผู้บุกเบิกชาวอังกฤษ George Cayley, หลายคนจำได้ว่าเขาเป็นวิศวกรการบินคน. ตัวอย่างทั่วไปของเครื่องร่อนคือ sailplane, hang glider และ paraglider.

บอลลูนจะลอยไปด้วยลม. แม้ว่าปกตินักบินจะสามารถควบคุมระดับความสูง, โดยให้ความร้อนกับอากาศหรือโดยทิ้งน้ำหนักถ่วง, ทำการควบคุมทิศทางในบางครั้ง (เนื่องจากทิศทางลมเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความสูง). บอลลูนไฮบริดรูปปีกสามารถร่อนตามทิศทางเมื่อกำลังลอยสูงขึ้นหรือกำลังตกลง; แต่บอลลูนรูปทรงกลมไม่มีการควบคุมทิศทางอย่างนั้น.

ว่าวเป็นอากาศยานประเภทหนึ่ง ที่ผูกโยงอยู่กับพื้นดินหรือวัตถุอื่นๆ(อยู่กับที่หรือเคลื่อนที่) ที่ช่วยรักษาความตึงในสายโยงหรือสายว่าว; พวกมันพึ่งพาลมเสมือนหรือลมจริงที่เป่าเหนือและใต้ลำตัวของพวกเขาในการสร้างแรงยกและแรงต้าน. Kytoons เป็นพันธ์ผสใระหว่างว่าวกับบอลลูนที่มีรูปทรงและโยงกับเชือกเพื่อสร้างการรับลม, และอาจอยู่ในกลุ่มเบากว่าอากาศ, ลอยตัวเป็นกลาง, หรือหนักกว่าอากาศ.

อากาศยานที่ใช้เครื่องยนต์มีแหล่งที่มาของพลังงานกลอยู่บนเครื่องหนึ่งแหล่งหรือมากกว่า, โดยปกติเครื่องยนต์ของอากาศยานส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ลูกสูบหรือกังหันก๊าซที่มีน้ำหนักเบา. เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์จะถูกเก็บไว้ในถังที่อยู่ในปีก, แต่เครื่องบินขนาดใหญ่ยังมีถังเชื้อเพลิงเพิ่มเติมในลำตัว.

อากาศยานที่ใช้ใบพัดจะใช้ใบพัดหนึ่งใบหรือมากกว่า, เป็นเหมือนสกรูแทงเข้าไปในอากาศ(อังกฤษ: airscrew) เพื่อสร้างแรงผลักดันในทิศทางเดินหน้า. โดยทั่วไป ใบพัดจะถูกติดตั้งไว้ที่ส่วนหน้าของแหล่งกำเนิดกำลังใน'รูปแบบของการฉุดลาก'(อังกฤษ: tractor configuration) แต่อาจติดตั้งไว้ข้างหลังก็ได้ใน'รูปแบบของการผลัก'(อังกฤษ: pusher configuration). ใบพัดมีหลายรูปแบบเช่น contra-rotating propellers และ ducted fan เป็นต้น

แหล่งจ่ายพลังงานที่ใช้หมุนใบพัดมีหลายชนิด. เรือบินในยุคแรกใช้กำลังคนหรือเครื่องยนต์ไอน้ำ. ลูกสูบเครื่องยนต์ลูกสูบสันดาปภายในถูกนำมาใช้ในทางปฏิบัติมากขึ้นแทบจะทุกลำของเครื่องบินปีกคงที่จนถึงสงครามโลกครั้งที่สองและยังคงใช้อยู่ในเครื่องบินขนาดเล็กจำนวนมาก. บางชนิดใช้เครื่องยนต์กังหันเพื่อหมุนใบพัดในรูปแบบของเทอร์โบปรอปหรือ propfan. การบินด้วยพลังมนุษย์ทำได้สำเร็จ, แต่ยังไม่ได้กลายเป็นวิธีการขนส่งในทางปฏิบัติ. อากาศยานไร้คนขับและรูปแบบยังมีการใช้แหล่งพลังงานเช่นมอเตอร์ไฟฟ้าและหนังสติ๊ก.

อากาศยานไอพ่นจะใช้เครื่องยนต์ไอพ่นที่ใช้อากาศ (อังกฤษ: Airbreathing jet engine), ที่ดูดอากาศเข้าไป, เผาเชื้อเพลิงด้วยอากาศนั้นในห้องเผาใหม้(อังกฤษ: combustion chamber), แล้วอัดไอเสียออกทางด้านหลังเพื่อสร้างแรงขับ.

เครื่องยนต์ turbojet และ turbofan ใช้กังหันปั่นเพื่อขับใบพัดหนึ่งตัวหรือมากกว่า, เพื่อสร้างแรงผลักดันเพิ่มเติม. afterburner อาจถูกใช้เพื่อฉีดเชื้อเพลิงส่วนเกินเข้าไปในไอเสียที่ร้อน, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง"ไอพ่นเร็ว"ที่ใช้ในการทหาร. การใช้กังหันไม่ได้เป็นเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งยวด: การออกแบบอื่นๆ รวมถึง pulse jet และ ramjet ก็ใช้ได้. ออกแบบที่เรียบง่ายทางกลไกเหล่านี้ไม่สามารถใช้งานได้เมื่ออยู่กับที่, ดังนั้นอากาศยานจะต้องบินให้เร็วโดยวิธีการอื่น. การปรับเปลี่ยนอื่นๆหลายอย่างได้ถูกนำมาใช้, รวมทั้ง motorjet และลูกผสมเช่น J58 ของบริษัท แพรตต์แอนด์วิทนีย์, ซึ่งสามารถแปลงไปมาระหว่างการดำเนินงานแบบ turbojet และ ramjet.

เมื่อเทียบกับใบพัด, เครื่องยนต์ไอพ่นสามารถให้แรงขับที่สูงกว่า, ความเร็วสูงกว่า, และบินสูงประมาณ 40,000 ฟุต (12,000 เมตร), ประสิทธิภาพมากกว่ามาก. พวกมันยังประหยัดน้ำมันมากกว่าจรวด. ผลก็คือ เกือบทั้งหมดของอากาศยานขนาดใหญ่ที่ต้องการความเร็วสูงหรือการบินที่ระดับสูงจะใช้เครื่องยนต์เจ็ต.

อากาศยานปีกหมุนบางอย่าง เช่นเฮลิคอปเตอร์ มีปีกหรือ"โรเตอร์"ที่หมุนโดยเครื่องยนต์, ที่แผ่นโรเตอร์สามารถบิดทำมุมไปข้างหน้าเล็กน้อยเพื่อให้สัดส่วนหนึ่งของแรงยกถูกชี้นำให้ไปข้างหน้า. โรเตอร์, เหมือนใบพัด, อาจถูกขับเคลื่อนโดยวิธีที่หลากหลายเช่นลูกสูบเครื่องยนต์หรือกังหัน. การทดลองหลายครั้งยังใช้'หัวฉีดเจ็ทที่ปลายของแผ่นโรเตอร์'(อังกฤษ: tip jet)อีกด้วย

อากาศยานขับเคลื่อนด้วยจรวด(อังกฤษ: Rocket-powered aircraft) ได้มีการทดลองเป็นครั้งคราวและเครื่องบินขับไล่ Messerschmitt "Komet" ได้แสดงความสามารถในสงครามโลกครั้งที่สอง. ตั้งแต่นั้นมาพวกมันถูกจำกัดให้เป็นแค่อากาศยานเพื่อการวิจัยเท่านั้น, เช่น North American X-15, ซึ่งเดินทางขึ้นไปในอวกาศในที่ซึ่งเครื่องยนต์ที่ใช้อากาศหายใจ(อังกฤษ: air-breathing engine) ไม่สามารถทำงานได้ (จรวดบรรทุก oxidant ของมันไปเอง). จรวดมักจะถูกนำมาใช้เป็นตัวเสริมสำหรับแหล่งพลังงานหลัก, โดยทั่วไปสำหรับการบินขึ้นโดยใช้จรวดช่วยส่ง(อังกฤษ: rocket-assisted take off)ของอากาศยานบรรทุกสัมภาระขนาดหนัก, แต่ยังให้ความสามารถในการวิ่งออกอย่างรุนแรงด้วยความเร็วสูงในการออกแบบไฮบริดบางอย่างเช่น Saunders-Roe SR.53.

คือ โครงสร้างหลัก หรือโครงส่วนรับแรงต่างๆ ทางกล ซึ่งเป็นโครงสร้างทั้งหมดของอากาศยานยกเว้นส่วนของระบบขับดัน การออกแบบโครงสร้างนี้ต้องคำนึงถึงหลักอากาศพลศาสตร์ (aerodynamics) วัสดุศาสตร์ (materials technology) กระบวนการผลิต (manufacturing methods) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความปลอดภัย สุงสุดและอยู่ในงบประมาณที่เหมาะสม

ปีกของอากาศยานมีหลากหลายรูปแบบ บางประเภทมีปีก 2 ปีก บางประเภทมีมากกว่านั้น ถ้าเราจินตาการว่าตัดขวางปีกออกมา(crossection) จะเห็นเป็นแพนอากาศ (air foil) หน้าที่หลักของปีกคือ สร้างแรงยกที่ทำให้อากาศยานลอยอยู่ในอากาศได้ นอกจากนี้ในอากาศยานบางรุ่น ปีกยังเป็นส่วนที่ไว้ติดตั้งเครื่องยนต์ หรือเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย

ประกอบด้วยเครื่องยนต์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เครื่องยนต์เป็นส่วนประกอบที่ทำให้อากาศยานมีแรงขับดัน (thrust) ให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ สำหรับเครื่องบินแล้ว เครื่องยนต์จัดเป็นองค์ประกอบที่มีราคาแพงที่สุดชุดหนึ่งของเครื่องบินนั้นๆ เครื่องยนต์ของอากาศยาน ก็มีหลากหลายชนิด เช่นเครื่องยนต์ใบพัด เครื่องยนต์ไอพ่น เป็นต้น ในเครื่องบินพาณิชบางลำอาจมีเครื่องยนต์มากกว่าที่จำเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ เครื่องบินบางลำ สามารถบินต่อหรือหาที่ลงจอดได้ หากเครื่องยนต์บางเครื่องไม่ทำงาน สำหรับเครื่องบินพาณิช จากบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินเดียวกัน อาจจะติดตั้งเครื่องยนต์แตกต่างผู้ผลิตได้

เครื่องบินพาณิชที่บินข้ามเมืองใกลๆ ภายในประเทศ หรือบินข้ามประเทศ ข้ามทวีป ล้วนแต่ใช้เครื่องยนต์ไอพ่นเป็นตัวกำเนิดแรงขับดันทั้งสิ้น

เป็นส่วนที่นักบินใช้ในการควบคุมให้อากาศยานเคลื่อนที่ในทิศทางที่ต้องการ เช่น เงย (pitch), ก้ม (down), หมุน(roll), หัน(yaw)

ประกอบด้วยโครงสร้างที่ใช้ในการรองรับอากาศยานขณะอยู่บนภาคพื้น เช่นทำการลงจอด ซ่อมบำรุง หรือกำลังจะขึ้นบิน ที่สามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัดคือล้อยางขนาดใหญ่ ที่อยู่ใต้ท้องเครื่อง หรือหาง หรือ บริเวณปีก โดยทั่วระบบลงจอดนี้ จะสามารถพับเก็บได้ เพื่อลดแรงต้านขณะบิน

ไฟลท์เอนเวอลอป (อังกฤษ: Flight envelope) ของอากาศยานหมายถึงขีดความสามารถของอากาศยานในด้านความเร็ว, อัตราบรรทุก, และระดับความสูงที่สามารถดำเนินการบินได้อย่างปลอดภัย. คำนี้ยังหมายถึงการวัดอื่นๆ เช่นความสามารถทำงานด้านยุทธวิธี. เมื่อยานถูกผลัก, เช่นโดยปักหัวลงที่ความเร็วสูง, มันถูกเรียกว่า มันกำลังบิน"นอกเอนเวอลอป", บางอย่างที่ไม่ปลอดภัย.

พิสัย (อังกฤษ: range) คือระยะทางที่อากาศยานบินได้นับตั้งแต่ขึ้นบินจนกระทั่งลงจอด ค่าพิสัยถูกจำกัดโดยระยะเวลาที่อากาศยานยังสามารถบินอยู่ได้

สำหรับอากาศยานที่ใช้เครื่องยนต์เช่น เครื่องบินขนส่งหรือเครื่องบินโดยสาร ระยะเวลาที่เครื่องบินสามารถบินอยู่ได้ ประเมินจากปริมาณเชื้อเพลิงที่มีเทียบกับอัตราการใช้เชื้อเพลิงของเครื่องบินนั้นๆ

สำหรับอากาศยานที่ไม่ได้ใช้เครื่องยนต์ เช่นเครื่องร่อน บอลลูน หรือเรือเหาะ เป็นต้นนั้น ระยะเวลาการบินสูงสุดถูกจำกัดโดยปัจจัยต่างๆ เช่นสภาพอากาศ สภาพความพร้อมความอดทนของนักบิน ตัวอย่างเช่นบอลลูน ระยะเวลาที่สามารถทำการบินนั้น ถูกจำกัดโดยปริมาณแก็สเชื้อเพลิงที่ใช้สร้างอากาศร้อนเพื่อให้เกิดแรงยก ดังนั้นพิสัยจึงประเมินได้จากอัตราความเร็วเฉลี่ยของบอลลูนคูณด้วยระยะเวลาที่สามารถทำการบินได้

พลศาสตร์การบินเป็นวิทยาศาสตร์ของแนวทิศทางการวางตัวและการควบคุมของยานพาหนะทางอากาศในสามมิติ. พารามิเตอร์ด้านพลศาสตร์การบินที่สำคัญสามประการคือ'มุมของการหมุน'รอบ'แกนสามแกน'ของ'ศูนย์กลางของมวล', ที่เรียกว่า "เงย"(อังกฤษ: pitch),"ม้วน"(อังกฤษ: roll), และ "หัน"(อังกฤษ: yaw) (ค่อนข้างแตกต่างจากการใช้งานของพวกมันที่เป็น Tait-Bryan angles).

พลศาสตร์การบินเกี่ยวข้องกับเสถียรภาพและการควบคุมการหมุนของอากาศยานรอบๆแต่ละแกนเหล่านี้.

อากาศยานที่ไม่เสถียรมีแนวโน้มที่จะหลุดออกจากเส้นทางการบินและดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะบิน. เครื่องบินที่มีเสถียรภาพมากมีแนวโน้มที่จะอยู่ในเส้นทางการบินจนเป็นเรื่องยากที่จะจัดการด้านกลยุทธ. ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการออกแบบใดๆเพื่อให้บรรลุในระดับความมั่นคงที่ต้องการ. เนื่องจากการใช้อย่างแพร่หลายของเครื่องคอมพิวเตอร์ดิจิตอล, มันจีงกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นสำหรับการออกแบบสำหรับความไม่แน่นอนโดยเนื้อแท้และเพื่อพึ่งพาระบบการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีเสถียรภาพเทียม

อากาศยานปีกคงที่ปกติจะไม่แน่นอนในเรื่องของ pitch, roll และ yaw. ความเสถียรด้าน pitch และ yaw ของการออกแบบปีกคงที่ทั่วไปต้องการตัวกันโคลงในแนวนอนและแนวดิ่ง(อังกฤษ: horizontal and vertical stabilisers), ที่ทำหน้าที่ในลักษณะที่คล้ายกับขนนกของลูกธนู. พื้นผิวที่มีความเสถียรเหล่านี้ทำให้เกิดความสมดุลของแรงอากาศพลศาสตร์และให้ความเสถียรกับพลศาสตร์การบินของ pitch และ yaw. ตัวกันโคลงเหล่านี้มักจะได้รับการติดตั้งอยู่บนส่วนหาง (แพนหาง), แม้ว่าในรูปแบบ canard, ปีกท้ายหลักใช้แทนที่ปีกหน้า(อังกฤษ: foreplane) ของ canard เพื่อใช้เป็นตัวรักษาความเสถียรของ pitch(อังกฤษ: pitch stabilizer). อากาศยานแบบปีกคู่และแบบไร้หาง(อังกฤษ: Tandem wing and Tailless aircraft)พึ่งพากฎทั่วไปเดียวกันเพื่อให้บรรลุความเสถียร, พื้นผิวท้ายอากาศยานเป็นที่หนึ่งที่มีเสถียรภาพ.

บอลลูนโดยทั่วไปจะมีเสถียรภาพมากด้าน pitch และ roll เนื่องจากใช้วิธีแขวนสัมภาระเป็นตัวถ่วงไว้ข้างใต้.

'พื้นผิวการควบคุมการบิน'(อังกฤษ: Flight control surfaces) ช่วยให้นักบินสามารถควบคุม'สภาพการวางตัวของการบิน'(อังกฤษ: flight attitude)ของอากาศยานและมันมักจะเป็นส่วนหนึ่งของปีกหรือติดตั้งอยู่บน, หรือเป็นส่วนหนึ่งของ, พื้นผิวรักษาเสถียรภาพที่เกี่ยวข้อง. การพัฒนาของพวกมันคือความก้าวหน้าที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของเครื่องบิน, ซึ่งมีจนถึงจุดที่ไม่สามารถควบคุมได้ในการบิน.

วิศวกรการบินมีหน้าที่พัฒนาระบบการควบคุมสำหรับการวางตัวของยาน (การทรงตัวหรือมุมมอง) รอบๆศูนย์ของมวล(อังกฤษ: center of mass)ของยาน. ระบบการควบคุมประกอบด้วยตัวกระตุ้น(อังกฤษ: actuator), ซึ่งใส่แรงต่างๆเข้าไปในทิศทางที่แตกต่างกัน, และสร้างกำลังการหมุนหรือโมเมนท์รอบๆศูนย์กลางพลศาสตร์ของอากาศยาน, ซึ่งจะไปเอียงอากาศยานในแนว pitch, roll และ yaw. ตัวอย่าง pitch moment เป็นแรงในแนวดิ่งที่จ่ายให้ในระยะทางข้างหน้าหรือข้างท้ายจากศูนย์กลางพลศาสตร์ของยาน, ทำให้เครื่องบินเงยขึ้นหรือก้มลง. ระบบการควบคุมบางครั้งยังถูกใช้ในการเพิ่มหรือลดแรงต้านเช่นในการชะลอตัวยานให้มีความเร็วที่ปลอดภัยสำหรับการ landing.

สองแรงอากาศพลศาสตร์หลักที่กระทำบนอากาศยานใดๆคือแรงยกที่รองรับมันในอากาศและแรงต้านที่ขัดขวางการเคลื่อนที่ของมัน. พื้นผิวการควบคุมหรือเทคนิคอื่นๆอาจถูกนำมาใช้เช่นกันเพื่อให้มีผลกระทบต่อแรงเหล่านี้โดยตรง, โดยไม่ก่อให้เกิดการหมุนใดๆ.


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406