แอลเบเนีย (อังกฤษ: Albania; แอลเบเนีย: Shqip?ri) หรือ สาธารณรัฐแอลเบเนีย (อังกฤษ: Republic of Albania; แอลเบเนีย: Republika e Shqip?ris?) เป็นประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ พรมแดนทางเหนือติดต่อกับมอนเตเนโกร ตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับเซอร์เบีย (คอซอวอ) ทางตะวันออกติดต่อกับมาซิโดเนีย และทางใต้ติดต่อกับกรีซ ชายฝั่งตะวันตกจรดทะเลเอเดรียติก ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลไอโอเนียน ปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
สภาพภูมิศาสตร์เป็นสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติอย่างหนึ่งทำให้แอลเบเนียมีความแตกต่างทางภาษา ความแปลกแยกทางการเมืองกับประเทศอื่นๆในยุโรป เนื่องจากมีแนวภูเขาสูงเป็นปราการฝั่งตะวันออก ความสูงประมาณ 2,000 เมตร ซึ่งทอดยาวต่อเนื่องจากเทือกเขา Dinaric Alps วางตัวเป็นแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ไปยังตะวันออกเฉียงใต้ สูงชันไปตามแนวที่ราบชายฝั่ง โดยทั่วไป หินส่วนใหญ่ เป็นหินปูน ส่วนในภาคกลางมีสินแร่เชิ้อเพลิงเป็นจำนวนมาก เช่น ทองแดง เหล็ก นิกเกิล และโครเมียม
เคยเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิออตโตมัน ต่อมาได้ประกาศเอกราชและเกิดปัญหาความวุ่นวายภายในประเทศมาก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับอิตาลีจนถูกอิตาลียึดครอง แอลเบเนียส่งทหารให้อิตาลีทำสงครามตลอด เมื่อสิ้นสุดสงครามโลก พรรคคอมมิวนิสต์แอลเบเนียเข้าครองอำนาจปกครองประเทศแบบคอมมิวนิสต์ จนมีการปฏิรูปการเมืองใหม่เมื่อ พ.ศ. 2534 และปรับระบบของประเทศเป็นระบบเศรษฐกิจเสรี
ในยุครุ่งเรืองของการก่อตั้งจักรวรรดิออตโตมันนั้น ทางออตโตมันได้จัดตั้งกองทหารรักษาการณ์ทั่วทั้งแอลเบเนียทางตอนใต้ช่วงปี พ.ศ. 1958 (ค.ศ. 1415) และสามารถเข้ายึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของแอลเบเนียในช่วงปี พ.ศ. 1974 (ค.ศ. 1431) อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 1986 (ค.ศ. 1443) การปฏิวัติครั้งใหญ่ได้ประทุขึ้นภายใต้การนำของวีรบุรุษชาวแอลเบเนียนาม Skanderbeg ซึ่งดำเนินไปจนถึงปี พ.ศ. 2022 (ค.ศ. 1479) ซึ่งหลายครั้งก็สามารถเอาชนะกองทัพของจักรวรรดิออตโตมันที่นำโดยสุลต่าน Murad II และ เมห์เหม็ดที่ 2 Skanderbeg ได้สร้างความเป็นปึกแผ่นเบื้องต้นกับเจ้านายต่างๆในแอลเบเนีย ซึ่งในภายหลังได้สถาปนาเป็นศูนย์กลางอำนาจเหนือแผ่นดินที่ยังมิได้ถูกยึดครองของแอลเบเนีย กลายเป็นลอร์ดผู้ปกครองแอลเบเนีย เขาได้พยายามอย่างหนักแต่ก็ล้มเหลวในการสร้างพันธมิตรยุโรปในการต่อต้านออตโตมัน เขาถูกขัดขวางในทุกความพยายามโดยชาวเติร์กที่ต้องการกลับมาควบคุมแอลเบเนีย ซึ่งถูกมองว่าเป็นเหมือนเส้นทางหลักในการเข้ายึดอิตาลีและยุโรปตะวันตก การต่อสู้กับมหาอำนาจที่เหนือกว่าในยุคนั้นของเขาได้ความเคารพจากชาติอื่นๆในยุโรป และเนเปืล, รัฐพระสันตะปาปา, เวนิส และรากูซาก็ได้ให้ความช่วยเหลือแก่เขาทางการเงินและการทหารด้วย
ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศมาจากการเลือกตั้งโดยสภาประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ปัจจุบัน คือ นาย Alfred Moisiu นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อ โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาประชาชน ดำรงตำแหน่ง 4 ปี ปัจจุบัน คือ นาย Sali Berisha
ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยเป็นระบบสภาเดียว คือ สภาประชาชน (People’s Assembly) มีสมาชิก 140 คน โดย 100 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง อีก 40 คนมาจากระบบปาร์ตี้-ลิสต์
ประเทศแอลเบเนียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 เขตบริหาร (administrative zones - qark or prefektur?) แต่ละเขตบริหารแบ่งย่อยลงไปอีกเป็น เขต (districts - rreth) รวมทั้งหมด 36 เขต
เป็นวัฒนธรรมมุสลิมบอลข่านเพราะในอดีตเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิออตโตมันเติร์ก ทำให้มีประชากรเป็นชาวมุสลิมเป็นส่วนมากร้อยละ 70 ที่เหลือเป็นชาวคริสต์ร้อยละ 30