อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยในที่นี้ เป็นการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยโดยหน่วยงานของไทยเอง และนิตยสารของต่างประเทศ
สำหรับหน่วยงานของไทย ในปี พ.ศ. 2549 นี้ ทางกระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้มีการจัดลำดับมหาวิทยาลัยรัฐในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดย 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
สำหรับในต่างประเทศได้มีการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกจากทั้ง นิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ นิตยสารเอเชียวีก บริษัท แควกเควเรลลี ไซมอนด์ส จำกัด, CWTS, CWUR ฯลฯ รวมทั้งการจัดอันดับความเป็นอิเล็กทรอนิกส์และการเข้าถึงเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยจากเว็บไซต์เว็บโอเมตริกซ์ โดยมหาวิทยาลัยในประเทศไทยบางส่วนได้ถูกเสนอชื่อเข้าไปในนั้น ในขณะที่บางลำดับเช่นจาก มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวถง ไม่มีรายชื่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยแต่อย่างใด
จุดประสงค์ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยแตกต่างกันไปตามหน่วยงานหรือนิตยสารที่จัด โดยทาง สกอ. ให้เหตุผลว่าจัดเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจให้กับนักเรียนที่จะใช้ในการเลือกสอบเข้าเรียนในสถาบันต่างๆ ขณะที่ สมศ. ให้เหตุผลว่าจัดเพื่อในการประเมินตนเองและประกันคุณภาพ ในขณะที่เว็บไซต์เว็บโอเมตริกซ์มีจุดประสงค์เพื่อการประเมินตนเองในด้านการเข้าถึงอย่างเปิดกว้างของข้อมูล (Open Access) ของสถาบันอุดมศึกษา โดยไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย
เช่นเดียวกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศทั่วไป นิตยสารได้มีจุดขายในการโฆษณาหนังสือของตนเอง ขณะที่มีการให้ความรู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยแก่นักเรียน นักศึกษา รวมถึงทางบริษัทที่จะจ้างงานบุคคลจากมหาวิทยาลัยนั้น
การจัดอันดับโดย สกอ. ได้มีการจัดทำเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ในการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยรัฐ โดยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 50 มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่เข้าร่วมแต่เสนอว่าไม่ต้องการอยู่ในอันดับ และมหาวิทยาลัยเอกชนไม่ได้ร่วมด้วยเนื่องจากสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยแจ้งว่ายังไม่ให้ข้อมูลในปีนั้น
Quacquarelli Symonds (QS) ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาคเอเชียและระดับโลก แบ่งเป็นโดยภาพรวม และจัดแยกสาขาออกเป็น 5 สาขา (สาขาละ 100 อันดับ) ได้แก่ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวการแพทย์ สาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และสาขาสังคมศาสตร์ โดยสถาบันอุดมศึกษาไทยได้รับการจัดอันดับ ดังนี้
หมายเหตุ : การจัดอันดับระหว่างปี ค.ศ. 2004 - ค.ศ. 2009 เป็นการจัดร่วมกันระหว่าง THES และ QS ส่วนปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นไป เป็นการจัดอันดับเฉพาะของ QS เท่านั้น
นิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ (THES) ได้จัดทำอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก โดยแบ่งเป็นโดยภาพรวม และจัดแยกสาขาออกเป็น 5 สาขา ได้แก่ สาขาเทคโนโลยี (วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ) สาขาเวชชีวศาสตร์ สาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาสังคมศาสตร์ โดยมีชื่อมหาวิทยาลัยไทยอยู่ในอันดับ ตามปี และสาขาต่อไปนี้
ไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ร่วมมือกับ Quacquarelli Symonds ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกระหว่างปี ค.ศ. 2004 - ค.ศ. 2009 โดยดูผลการจัดอันดับดังกล่าวได้ที่ THES-QS
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก Round University Rankings 2016 โดย RUR Rankings Agency ของประเทศรัสเซีย เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (a ranking of leading world universities) ในปี ค.ศ. 2016 มีเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับโดยพิจารณาตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยใน ระดับสากล 4 ด้าน 20 ตัวชี้วัด คือด้านการสอน (Teaching) 5 ตัวชี้วัด คิดเป็น 40% การวิจัย (Research) 5 ตัวชี้วัด 40% ด้านความเป็นนานาชาติ (International Diversity) 5 ตัวชี้วัด 10% และด้านความยั่งยืนทางการเงิน (Financial Sustainability) 5 ตัวชี้วัด 10%
University Ranking by Academic Performance หรือ “URAP” เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกที่ก่อตั้งขึ้นโดยสถาบันสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเทคนิคตะวันออกกลาง (Informatics Institute of Middle East Technical University) ประเทศตุรกี ในปี ค.ศ.2009 โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ต้องการที่จะพัฒนาระบบการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง เป็นต้น โดยเริ่มทำการเผยแพร่งานวิจัยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา
U.S. News & World Report นิตยสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากที่สุดของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกล่าสุด “2016 Best Global Universities Rankings” จากการสำรวจมหาวิทยาลัย 60 ประเทศทั่วโลก และมีเกณฑ์จัดอันดับหลายด้าน เช่น ชื่อเสียงการวิจัยในระดับโลก และระดับภูมิภาค สื่อสิ่งพิมพ์ การถูกนำไปอ้างอิง ความร่วมมือระหว่างประเทศ จำนวนบุคลากรระดับปริญญาเอก เป็นต้น โดยมีมหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับเพียง 2 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
SCImago Institutions Ranking (SIR) เป็น การจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งจะไม่ใด้นับเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่จะนับสถาบันเฉพาะทางด้วย เช่น สถาบันเทคโนโลยี วิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น
การจัดอันดับของ Webometrics จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวน Link ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บนั้นๆจากเว็บภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วยSearch Engine และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในกลุ่มของไฟล์ .pdf .ps .ppt และ .doc และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citation) แบบออนไลน์ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) โดยจะจัดอันดับปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ เดือนมกราคม และ เดือนกรกฎาคม
เป็นการจัดอันดับโดยอาศัยข้อมูลจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวรสารที่มีอยู่ในฐานข้อมูลของ Web of Science ซึ่งเป็นฐานข้อมูลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลก รวมทั้งหมด 842 มหาวิทยาลัย จาก 53 ประเทศทั่วโลก
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ CWUR พิจารณาจากคุณภาพการศึกษา การมีงานทำของบัณฑิต ผลงานของคณาจารย์ที่ได้รับรางวัล การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของคณาจารย์ ฯลฯ โดยเริ่มจัดอันดับตั้งแต่ปี 2012 โดยในปี 2012 และปี 2013 จะจัดอันดับ 100 อันดับมหาวิทยาลัยของโลก และตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา จะจัดอันดับ 1,000 อันดับ โดยมีมหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับ 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่
Nature Index จัดโดยวารสารในเครือ Nature Publishing Group ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก โดยนับจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ต่อปีในวารสารที่ในเครือ Nature Publishing Group
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย