กิลเลอเมต ( ? ? )จุดไข่ปลา ( …, ... )จุลภาค ( , )ซอลิดัส ( ? )ทวิภาค ( : )ทับ ( / )นขลิขิต ( ), [ ], { }, < >บุพสัญญา ( " )ปรัศนี ( ? )มหัพภาค ( . )ยัติภังค์ ( -, ? )ยัติภาค ( ?, –, —, ? )สัญประกาศ ( _ )เสมอภาค ( = )อะพอสทรอฟี ( ', ?, ’ )อัญประกาศ ( “ ”, ‘ ’, " " )อัฒภาค ( ; )อัศเจรีย์ ( ! )
แคเรต ( ^ )เซกชัน ( )ดอกจัน ( * )แด็กเกอร์ ( ? ) ( ? )ทิลเดอ ( ~ )นัมเบอร์ ( # )นูเมอโร ( ? )บวกและลบ (+ ?)บวกหรือลบ (?)บุลเลต ( • )แบ็กสแลช ( \ )ปรัศนีกลับหัว ( ? )เปอร์เซ็นต์ ( %, ?, ? )พิลโครว์ ( )ไพป์ ( |, ? )ไพรม์ ( ? )สกุลเงิน ( ? ) ?, $, €, ?, ?, ?, ?องศา ( ? )ออเบอลุส (?)อันเดอร์สกอร์ ( _ )อัศเจรีย์กลับหัว ( ? )แอมเพอร์แซนด์ ( & )แอต ( @ )
กรณฑ์ ( ? )ซาร์แคซึมมาร์กดัชนี ( ? )เพราะฉะนั้น ( ? )ลอซินจ์ ( ? )อ้างอิง ( ? )อินเทอร์รอแบง ( ? )แอสเทอริซึม ( ? )ไอรอนนีมาร์ก ( ? )
อัญประกาศ หรือ เครื่องหมายคำพูด เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากล ใช้เขียนสกัดข้างหน้าและข้างหลังของ อักษร คำ วลี หรือประโยค ที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ ให้ดูแตกต่างจากข้อความที่อยู่รอบข้าง ลักษณะคล้ายลูกน้ำแต่เขียนไว้ข้างบน (บางภาษาเขียนไว้ข้างล่างก็มี) มักเขียนเป็นคู่เรียกว่า อัญประกาศคู่ ข้างหน้าเขียนหัวคว่ำ ข้างหลังเขียนหัวหงาย ( “ ” ) หรือปรากฏเป็น อัญประกาศเดี่ยว ( ‘ ’ ) บางครั้งอาจพบการใช้ขีดตั้งเล็ก ๆ เพื่อความสะดวก ( " " หรือ ' ' )
ถ้ามีส่วนที่เน้นซ้อนกันสองชั้น ชั้นนอกที่สุดให้ใช้อัญประกาศคู่ "..." ส่วนชั้นในให้ใช้อัญประกาศเดี่ยว '...' ไม่ควรใช้ซ้อนกันมากกว่าสองชั้น เพราะอาจทำให้สับสนได้ ตัวอย่างเช่น :-
นักเรียนคนหนึ่งเล่าให้ครูฟังว่า "ผมมีน้องชาย 2 คน เป็นเด็กช่างพูดทั้งคู่ พอเห็นผม กลับไปบ้าน น้องคนเล็ก มักพูดกับคุณแม่ว่า 'คุณแม่ครับ, พี่แป๊วกลับจากโรงเรียนแล้วครับ' แล้วแกก็วิ่งมารับผม และขอให้ผมเปิดรูปภาพในหนังสือให้แกดู"
การเขียนอัญประกาศ ควรเว้นวรรคก่อนอัญประกาศเปิดหนึ่งเคาะ หลังอัญประกาศปิดหนึ่งเคาะ ส่วนข้อความภายในให้เขียนติดกับอัญประกาศ เช่น xxx “yyy” xxx