ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

อังกฤษสมัยแองโกล-แซ็กซอน

อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน (อังกฤษ: History of Anglo-Saxon England) (ค.ศ. 410 - ค.ศ. 1066) อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซันเป็นประวัติศาตร์ของต้นยุคกลางของอังกฤษที่เริ่มตั้งแต่ปลายสมัยโรมันบริเตนจนมาถีงการก่อตั้งราชอาณาจักรต่าง ๆ ของแองโกล-แซกซัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และมาสิ้นสุดลงเมื่อชาวนอร์มันได้รับชัยชนะต่ออังกฤษ ในปี ค.ศ. 1066 ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นสมัยที่รู้จักกันทางโบราณคดีว่าบริเตนสมัยหลังโรมัน (Sub-Roman Britain) หรือที่รู้จักกันตามความนิยมว่า "ยุคมืด" (Dark Ages) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมาก็เริ่มมีการก่อตั้งอาณาจักรที่ใหญ่ขึ้นที่เรียกกันรวม ๆ กันว่า "เจ็ดอาณาจักร" ในช่วงนี้อังกฤษแบ่งเขตการปกครองระหว่างอาณาจักรต่าง ๆ ของแองโกล-แซกซันและบริเตน การรุกรานของไวกิงในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงหลายประการในบริเตน ผู้รุกรานชาวเดนมาร์กโจมตีที่ตั้งถิ่นฐานต่าง ๆ ไปทั่วบริเตน แต่การตั้งถิ่นฐานของชาวเดนมาร์กต่อมาจำกัดอยู่แต่เพียงในบริเวณทางด้านตะวันออกของเกาะอังกฤษ ขณะที่ผู้รุกรานจากนอร์เวย์ที่เข้ามาทางไอร์แลนด์โจมตีทางฝั่งตะวันตกของทั้งอังกฤษและเวลส์ แต่ในที่สุดแองโกล-แซกซันก็มีอำนาจในการปกครองไปทั่วทั้งเกาะอังกฤษสลับกับเดนมาร์กในบางช่วงในบางครั้ง ทางด้านความสัมพันธ์กับแผ่นดินใหญ่ยุโรปก็ความสำคัญมาจนกระทั่งปลายสมัยแองโกล-แซกซัน

ที่มาของแองโกล-แซกซันมีด้วยกันต่าง ๆ ทั้งหลักฐานทางเอกสารและทางตำนาน แต่หลักฐานทางเอกสารที่สำคัญมีด้วยกันสี่ฉบับ ๆ แรกมาจากบันทึก "การล่มสลายและการพิชิตบริเตน" (De Excidio et Conquestu Britanniae) โดยนักบุญกิลดาส์ ที่เขียนราวค.ศ. 540 เป็นบันทึกที่หนักไปในทางการวิจารณ์กษัตริย์บริติชมากกว่าที่จะบรรยายเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เอกสารฉบับที่สอง "ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับศาสนาของชนอังกฤษ" เขียนโดยนักบุญบีด ราว ค.ศ. 731 ใช้บันทึกของกิลดาส์เป็นพื้นฐานและก็อ้างอิงหลักฐานอื่นด้วย ฉบับที่สาม "ประวัติศาสตร์อังกฤษ" ที่กล่าวกันว่าเขียนโดยนักประพันธ์ชื่อเน็นเนียสที่อาจจะเขียนราว ค.ศ. 800 เน็นเนียสก็เช่นเดียวกับกิลดาส์บรรยายเหตุการณ์จากมุมมองของบริติช ฉบับสุดท้ายคือ "บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน" ที่บางส่วนมีพื้นฐานมาจากงานของบีดแต่ก็ผสมตำนานเกี่ยวกับการก่อตั้งราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ แต่ที่สำคัญที่สุดในบรรดาเอกสารสี่ฉบับก็คือ "ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับศาสนาของชนอังกฤษ" ของบีด และ "บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน"

หลักฐานอื่น ๆ ก็ใช้ประกอบหลักฐานทางเอกสาร เช่นหลักฐานการตั้งถิ่นฐานทางโบราณคดีที่เห็นได้จากประเพณีการฝังศพและการใช้ที่ดิน จากการวิจัยซากศพที่พบไม่ไกลจากแอ็บบิงดันอ้างว่าชาวแซกซันตั้งถิ่นฐานอยู่ด้วยกันกับชาวบริเตน ซึ่งเป็นปัญหาในการถกเถียงกันทางด้านการศึกษาว่าการตั้งถิ่นฐานของชาวแซกซันเป็นการตั้งถิ่นฐานแบบแทนที่ หรือเป็นการเข้ามาผสมกับผู้คนชาวโรมัน-บริเตนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่แต่เดิมในบริเวณทางใต้และตะวันออกของบริเตน ดาร์ก ("บริเตนและการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน" ค.ศ. 2002) และเลย์ค็อก ("รัฐบริทาเนียล่ม" ค.ศ. 2008) ต่างก็ถกกันในหัวข้อนี้และวิจัยจากหลักฐานสนับสนุนต่าง ๆ

หลักฐานอื่นก็มีกฎหมายแองโกล-แซกซันต่าง ๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่ตั้นแต่รัชสมัยของเอเธสเบิร์ตแห่งเคนต์ (?thelberht of Kent) และไอเนแห่งเวสเซ็กซ์ (Ine of Wessex) และเพิ่มจำนวนขึ้นมากมายหลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช กฎบัตรแองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxon Charters) ที่ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการมอบที่ดินใช้เป็นหลักฐานได้ตลอดสมัย หลักฐานการเขียนอื่น ๆ ก็รวมทั้งวรรณกรรมนักบุญ, จดหมาย (มักจะเป็นการติดต่อระหว่างนักบวชและบางครั้งผู้นำทางการเมืองเช่นชาร์เลอมาญ และออฟฟาแห่งเมอร์เซีย) และกวีนิพนธ์แองโกล-แซกซัน

ในช่วงสิบปีที่แล้วก็ได้มีการศึกษาทางพันธกรรมของชาวอังกฤษในสมัยปัจจุบันที่นำไปใช้ในการสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับประชากรในสมัยแองโกล-แซกซันและจำนวนผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 สรุปกันว่าการมาตั้งถิ่นฐานเป็นการตั้งถิ่นฐานของชนกลุ่มใหญ่ แต่เมื่อไม่นานมานี้เชื่อกันว่าเป็นการมาตั้งถิ่นฐานของชนชั้นผู้นำจำนวนไม่มากนักที่สนับสนุนจากการศึกษาโดยวิจัยดีเอ็นเอ

การวางรากฐานของลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่โรมันออกจากบริเตนมาจนถึงการก่อตั้งราชอาณาจักรแองโกล-แซกซันเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เหตุการณ์เกี่ยวกับการออกจากบริเตนของโรมันบันทึกใน "ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์อังกฤษ" (Historia Regum Britanniae) เขียนโดยเจฟฟรีย์แห่งมอนมอธ (Geoffrey of Monmouth) ซึ่งเป็นบันทึกที่ไม่น่าเชื่อถือเท่าใดนักนอกจากจะใช้เป็นเอกสารสำหรับตำนานจากยุคกลาง และใช้ในการเป็นหลักฐานประกอบกับหลักฐานอื่น ๆ ราชอาณาจักรแองโกล-แซกซันแห่งเคนต์, เบอร์นิเซีย, ไดรา และลินซีย์ เชื่อกันว่ามีรากฐานมาจากข้อมูลของภาษาเคลต์ซึ่งทำให้เห็นว่ามีความต่อเนื่องทางการเมืองกับชนเคลต์ แต่อาณาจักรทางด้านตะวันตกเวสเซ็กซ์และเมอร์เซียเกือบจะไม่มีความสัมพันธ์กับเขตแดนที่มีอยู่ในขณะนั้น

หลักฐานทางโบราณคดีของคริสต์ทศวรรษหลัง ๆ ภายใต้การปกครองของโรมันแสดงให้เห็นสัญญาณของความเสื่อมโทรมในตัวเมืองและชีวิตในวิลลา นอกจากนั้นก็มีหลักฐานการโจมตีของแซกซันในบริเตนระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 4 และมีการก่อสร้างป้อมปราการตามชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะอังกฤษ แต่นักวิชาการบางคนมีความเห็นว่าที่ตั้งเหล่านี้เป็นที่ตั้งทางการค้าขายที่ชาวแซกซันก่อตั้งขึ้นแทนที่จะเป็นการใช้ทางการทหาร เหรียญกษาปณ์ที่ตีหลัง ค.ศ. 402 หาดูได้ยากซึ่งทำให้ทราบได้ว่าการจ่ายค่าจ้างให้แก่กองทหารโรมันยุติลงไปแล้ว ต่อมาคอนสแตนตินที่ 3 ผู้ได้รับการประกาศให้เป็นจักรพรรดิโดยกองทหารในปี ค.ศ. 407 ก็นำกองทัพบริติชข้ามช่องแคบอังกฤษแต่ทรงถูกสังหารในยุทธการในปี ค.ศ. 411 ในปี ค.ศ. 410 จักรพรรดิโฮโนเรียส (Honorius) ประกาศให้ชาวโรมัน-บริติชป้องกันตนเอง แต่ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 โรมัน-บริติชก็ยังมีความรู้สึกว่าสามารถยื่นคำร้องต่อกงสุลเฟลเวียส เอเทียส (Flavius A?tius) ให้มาช่วยต่อต้านการรุกราน แม้ว่าการปกครองของโรมันจะยุติลงในบริเตนแต่วิถีการใช้ชีวิตอย่างชาวโรมันยังคงปฏิบัติกันอยู่ต่อมาอีกหลายชั่วคน

ดูเหมือนว่าโรมันบริเตนจะแบ่งแยกเป็นอาณาจักรย่อย ๆ หลายอาณาจักรแต่มีการควบคุมโดยทั่วไปโดยสภา กิลดาส์อ้างว่าสภานี้เป็นผู้ชวนทหารรับจ้างแซกซันเข้ามายังบริเตนเพื่อต่อต้านผู้ปล้นสดมภ์แต่ทหารแซกซันก็ปฏิวัติเมื่อไม่ได้รับค่าจ้าง บีดเชื่อว่าแซกซันเข้ามาในบริเตนราว ค.ศ. 446 แต่ปีที่ว่านี้ก็เป็นที่เคลือบแคลงกันในปัจจุบัน ช่วงระยะเวลาการต่อสู้ที่เกิดขึ้นก็นำชัยชนะมาให้ทั้งฝ่ายแซกซันและบริติช แม้ว่าลำดับเวลาจะเป็นสิ่งที่ยากที่จะเอาให้แน่นอนได้แต่ดูเหมือนว่าในปี ค.ศ. 495 ฝ่ายบริเตนก็ได้รับชัยชนะและสร้างความเสียหายอย่างหนักให้แก่ฝ่ายแองโกล-แซกซันในยุทธการมอนส์บาโดนิคัส (Battle of Mons Badonicus) หลักฐานทางโบราณคดีและจากบันทึกของกิลดาส์ระบุว่าเป็นการทำให้การมาตั้งถิ่นฐานของแซกซันหยุดชะงักลงชั่วระยะเวลาหนึ่ง ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 แซกซันก็มาขึ้นฝั่งอีกครั้งที่บริเวณเซาท์แธมป์ตันและเดินทางขึ้นไปทางค็อตสวอลด์และชิลเทิร์นส์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แซกซันก็ควบคุมอาณาบริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษยกเว้นคอร์นวอลล์ซึ่งไม่ได้เข้ามาอยู่ภายไต้การปกครองของแซกซันอย่างเต็มที่จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 10 แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วเราจะเรียกผู้ที่เข้ามาในช่วงนี้ว่า "แซกซัน" แต่อันที่จริงแล้วก็มีชนกลุ่มอื่นที่เข้ามาด้วยในขณะเดียวกันที่รวมทั้ง ชนแองเกิล, ชนฟริเชียน และชนจูต แซกซันอาจจะเป็นผู้ให้ชื่อ เอสเซ็กซ์, มิดเดิลเซ็กซ์, ซัสเซ็กซ์ และเวสต์เซ็กซ์ ส่วนชนแองเกิลตั้งถิ่นฐานในบริเวณอีสต์แองเกลีย, เมอร์เซีย, เบอร์นิเซีย และไดรา ขณะที่ชนจูตตั้งถิ่นฐานในบริเวณเคนต์และไอล์ออฟไวท์

จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าเครื่องใช้ของแซกซันของสมัยแรกที่พบพบทางตะวันออกของอังกฤษมิใช้ในบริเวณเคนต์ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่กล่าว นอกจากนั้นแล้วก็ยังพบในบริเวณลุ่มแม่น้ำเทมส์ทางตอนเหนือแต่สันนิษฐานกันว่าเป็นสิ่งของที่เป็นของทหารรับจ้างของกษัตริย์บริติช กิลดาส์กล่าวถึงสงครามกลางเมืองระหว่างชนบริติชด้วยกันเองที่เกิดขึ้น นอกจากนั้นก็ยังมีสงครามระหว่างกลุ่มแซกซันต่าง ๆ ก่อนที่จะรวมกันเป็นอาณาจักรต่าง ๆ

ส่วนทางฝ่ายชนบริติชเองก็เริ่มมีการย้ายถิ่นฐานออกจากเกาะอังกฤษข้ามช่องแคบอังกฤษมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 และไปตั้งถิ่นฐานทางแหลมด้านตะวันตก (อาร์มอริคา (Armorica)) ของกอล และก่อตั้งเป็นบริตตานี หลังจากนั้นก็มีหลักฐานที่เชื่อกันว่ามีการโยกย้ายถิ่นฐานต่อมาอีกครั้งจากบริเวณเดวอนและคอร์นวอลล์ บางกลุ่มก็ย้ายไปตั้งถิ่นฐานทางด้านเหนือของสเปนในบริเวณที่เรียกว่าบริโตเนีย (Britonia) ในบริเวณกาลิเซียปัจจุบัน แต่การโยกย้ายถิ่นฐานเหล่านี้ควรจะศึกษาร่วมกับการการโยกย้ายถิ่นฐานของชาวยุโรปโดยทั่วไปในยุคเดียวกัน และจากหลักฐานทางพันธุกรรมและทางโบราณคดีทำให้เกิดความเคลือบแคลงกันถึงขนาดการโยกย้ายถิ่นฐานของชนแองโกล-แซกซันมายังบริเตน (Anglo-Saxon migration to Britain)

การเผยแพร่คริสต์ศาสนา (Anglo-Saxon Christianity) ไปในหมู่ชนแองโกล-แซกซันเริ่มราว ค.ศ. 600 โดยมีอิทธิพลจากคริสต์ศาสนาของเคลต์ (Celtic Christianity) จากทางตะวันตกเฉียงเหนือโดยสถาบันโรมันคาทอลิกจากทางตะวันออกเฉียงใต้ นักบุญออกันตินอัครบาทหลวงแห่งแคนเตอร์บรีองค์แรกรับหน้าที่เป็นอัครบาทหลวงในปี ค.ศ. 597 ในปี ค.ศ. 601 พระองค์ก็ได้ประทานศีลจุ่มให้แก่พระเจ้าแผ่นดินแองโกล-แซกซันองค์แรกที่เป็นคริสต์ศาสนิกชนเอเธลเบิร์ตแห่งเคนต์ เพ็นดาแห่งเมอร์เซีย (Penda of Mercia) พระเจ้าแผ่นดินนอกศาสนาองค์สุดท้ายของแองโกล-แซกซันเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 655 การเผยแพร่คริสต์ศาสนาของแองโกล-แซกซันไปยังแผ่นดินใหญ่ยุโรปเริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่เป็นผลทำให้จักรวรรดิแฟรงค์ (Frankish Empire) เกือบทั้งหมดกลายเป็นคริสเตียนภายในปี ค.ศ. 800.

ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 7 และคริสต์ศตวรรษที่ 8 อำนาจก็โยกย้ายไปมาระหว่างราชอาณาจักรใหญ่ต่าง ๆ บีดบันทึกว่าเอเธลเบิร์ตแห่งเคนต์เป็นประมุขผู้มีอำนาจมากกว่าผู้อื่นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 6 แต่อำนาจก็ย้ายขึ้นไปทางเหนือไปยังราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรียที่เป็นราชอาณาจักรที่เกิดจากการรวมราชอาณาจักรเบอร์นิเซียและไดราเข้าด้วยกัน เอ็ดวินแห่งนอร์ทัมเบรียอาจจะเป็นผู้มีอำนาจมากกว่าผู้ใดในบริเตนในขณะนั้นแต่ก็อาจจะเป็นเพียงความเห็นของบีดผู้ออกจะลำเอียงไปทางการเชิดชูราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรียกว่าราชอาณาจักรอื่น แต่นอร์ทัมเบรียก็ประสบปัญหาผู้มีสิทธิในการครองราชอาณาจักรอยู่เป็นประจำ ซึ่งทำให้เมอร์เซียกลายเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจโดยเฉพาะภายไต้การปกครองของเพ็นดาแห่งเมอร์เซีย หลังจากการพ่ายแพ้ในยุทธการที่เทร้นท์ในปี ค.ศ. 679 ต่อเมอร์เซีย และในยุทธการที่เน็คเทนส์เมียร์ในปี ค.ศ. 685 ต่อชนพิกต์ (Pict) นอร์ทัมเบรียก็หมดอำนาจ

ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 เมอร์เซียก็กลายเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจเหนืออาณาจักรอื่น ๆ แต่ก็ไม่ตลอดเวลา เอเธลบอลด์และออฟฟาแห่งเมอร์เซียเป็นกษัตริย์ผู้มีอำนาจสองพระองค์ โดยเฉพาะออฟฟาผู้ที่ชาร์เลอมาญทรงถือว่าเป็นโอเวอร์ลอร์ด (overlord) ของทางไต้ของบริเตน ที่เห็นได้จากความที่ทรงมีอำนาจพอที่จะระดมผู้คนให้มาสร้างเขื่อนออฟฟา (Offa's Dyke) ซึ่งเป็นเขื่อนดินที่ยาวเกือบตลอดพรมแดนเวลส์และอังกฤษปัจจุบัน แต่การขยายอำนาจของเวสต์เซ็กซ์และการต่อต้านของอาณาจักรย่อย ๆ ทำให้เป็นการเป็นอุปสรรคต่ออำนาจของเมอร์เซียโดยตลอด และเมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 อำนาจของเมอร์เซียก็สิ้นสุดลง

ช่วงเวลานี้เรียกกันว่าสมัยเจ็ดอาณาจักรแต่ก็เป็นวลีที่เลิกใช้กันในบรรดาผู้ศึกษาในสถาบันกันแล้ว คำว่าเจ็ดอาณาจักรมาจากราชอาณาจักรที่ประกอบด้วย นอร์ทัมเบรีย, เมอร์เซีย, อีสต์แองเกลีย, เอสเซ็กซ์, เคนต์, ซัสเซ็กซ์ และเวสเซ็กซ์ ที่เป็นอาณาจักรสำคัญทางไต้ของอังกฤษในของยุคนั้น แต่นักการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ชี้ให้เห็นว่ายังมีอาณาจักรอื่นที่มีความสำคัญตลอดสมัยนั้นที่รวมทั้ง: Hwicce, มากอนเซท (Magonsaete), ลินซีย์ และมิดเดิลแองเกลีย

บันทึกแรกที่กล่าวถึงการโจมตีของไวกิงเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 793 ที่สำนักสงฆ์ลินดิสฟาร์น (Lindisfarne) จากบันทึกในบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน แต่ในขณะนั้นชนไวกิงก็ตั้งถิ่นฐานกันอย่างเป็นหลักแหล่งแล้วในออร์กนีย์และเชตแลนด์ (Shetland) นอกจากนั้นก็ยังคงมีการโจมตีที่เกิดขึ้นที่อื่นบ้างแล้วก่อนหน้านั้นที่ไม่ได้รับการบันทึก หลักฐานที่กล่าวถึงการโจมตีที่ไอโอนา (Iona) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 794. การรุกรานของไวกิงโดยเฉพาะจากกองทัพของชนป่าเถื่อนอันยิ่งใหญ่ (Great Heathen Army) ของชาวเดนมาร์กทำความสั่นสะเทือนให้แก่ระบบการปกครองและการสังคมในบริเตนและไอร์แลนด์ ชัยชนะของสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชที่เอ็ดดิงทันในปี ค.ศ. 878 เป็นชนวนให้เกิดการรุกรานของเดนมาร์ก แต่เมื่อถึงเวลานั้นนอร์ทัมเบรียก็หมดอำนาจลงแล้วและกลายเป็นอาณาจักรเบอร์นิเซียกับอาณาจักรไวกิง ส่วนเมอร์เซียก็แบ่งแยกเป็นสองอาณาจักร และอีสต์แองเกลียก็สลายตัวจากการเป็นอาณาจักรของแองโกล-แซกซัน การรุกรานของไวกิงมีผลคล้ายคลึงกันในอาณาบริเวณของชนไอริช, สกอต, พิกต์ และบางส่วนของเวลส์ โดยเฉพาะทางเหนือของอังกฤษที่เป็นสาเหตุของการก่อตั้งราชอาณาจักรอัลบา (Alba) ที่ต่อมากลายมาเป็นสกอตแลนด์

หลังจากการสมัยของการโจมตีและปล้นสดมภ์แล้วไวกิงก็เริ่มตั้งถิ่นฐานในอังกฤษ ศูนย์กลางที่สำคัญของไวกิงอยู่ที่ยอร์ก หรือที่เรียกว่ายอร์วิค (J?rv?k) โดยไวกิง หลังจากนั้นไวกิงก็พยายามสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างราชอาณาจักรยอร์คกับดับลินแต่ต่อมาก็ล้มเหลว การตั้งถิ่นฐานของชาวเดนส์และชาวนอร์เวย์มีความสำคัญพอที่จะทิ้งร่องรอยทางภาษาศาสตร์ไว้ในภาษาอังกฤษ; คำหลายคำที่ใช้ในภาษาอังกฤษมีรากมาจากภาษานอร์สโบราณ หรือชื่อทางภูมิศาสตร์ในบริเวณการตั้งถิ่นฐานก็มีรากมาจากสแกนดิเนเวีย

หลังจากสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อปี ค.ศ. 899 สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสพระราชโอรสก็ขึ้นครองราชสืบต่อจากพระองค์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดและพระอนุชาเขยเอเธลเรดแห่งเมอร์เซียก็ทรงต่อต้านการโจมตีของเดนมาร์กและเริ่มโครงการขยายดินแดน, ยึดอาณาบริเวณที่เป็นของเดนมาร์ก และก่อตั้งระบบป้อมปราการเพื่อป้องกันอาณาบริเวณที่เป็นเจ้าของ เมื่อเอเธลเรดสิ้นพระชนม์เอเธลเฟลดพระขนิษฐาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ปกครองในพระนาม "Lady of the Mercians" และดำเนินการขยายดินแดนต่อร่วมกับเชษฐา ในปี ค.ศ. 918 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงควบคุมอังกฤษในบริเวณตั้งแต่ใต้แม่น้ำฮัมเบอร์ลงมาได้ทั้งหมด ปีเดียวกันนั้นเอเธลเฟลดก็สิ้นพระชนม์ ราชอาณาจักรเมอร์เซียก็รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์

เอเธลสตันพระราชโอรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกที่ปกครองอังกฤษทั้งหมดหลังจากที่ทรงได้รับชัยชนะในนอร์ทัมเบรียในปี ค.ศ. 927 พระราชอิสริยศที่ทรงได้รับตามกฎบัตรแองโกล-แซกซันและบนเหรียญกษาปณ์ดูเหมือนว่าจะทรงมีอิทธิพลมากกว่าที่กล่าว หลังจากนั้นก็ทรงได้รับชัยชนะเมื่อนอร์ทัมเบรียพยายามแข็งข้อขึ้นอีกครั้งโดยไปเป็นพันธมิตรกับกองทัพสกอต-ไวกิงในยุทธการบรูนันเบอร์ (Battle of Brunanburh) แต่หลังจากที่พระเจ้าเอเธลสตันเสด็จสวรรคตการรวมตัวของอังกฤษก็ประสบอุปสรรคต่าง ๆ

พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 และพระเจ้าเอเดรด ผู้ครองราชย์ต่อมาต่างก็เสียอำนาจในการปกครองนอร์ทัมเบรียให้กับการโจมตีของชนนอร์สใหม่ก่อนที่จะได้คืนมาอีกครั้ง แต่เมื่อมาถึงสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้ปกครองอังกฤษในบริเวณเดียวกับเอเธลสตันอังกฤษก็รวมตัวกันอย่างถาวร


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406