อักษรไทใหญ่ (ไทใหญ่? ???????????? ลิกตัวไท [ลิ้กโต๋ไต๊], สัทอักษร: /l?k.t?.t?j/) พัฒนามาจากอักษรไทใต้คงเก่า ซึ่งเป็นอักษรที่ใช่ในหมู่ชาวไทใหญ่ทั้งหมด โดยยังคงมีลักษณะกลม เนื่องจากไม่ได้เปลี่ยนไปเขียนด้วยพู่กันเหมือนอักษรไทใต้คง เมื่อรัฐฉานตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2428 ทางอังกฤษได้ส่งเสริมให้ชาวไทใหญ่พัฒนาอักษรของตนขึ้นใหม่ และจัดให้มีการพิมพ์ ทำให้รูปอักษรที่เกิดจากการหล่อตัวพิมพ์มีลักษณะป้อม กลมคล้ายอักษรพม่ามากขึ้น
ชาวไทใหญ่มีอักษรใช้ 2 ชนิดคือ ลิ่กถั่วงอกใช้เขียนเอกสารทั่วไปกับลิ่กยวนใช้เขียนเอกสารทางศาสนา อักษรไทใหญ่ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ นักประวัติศาสตร์พม่าเชื่อว่ารับมาจากพม่า ในขณะที่ชาวไทใหญ่เชื่อว่าพัฒนามาจากอักษรเทวนาครี และอักษรมอญ โดยอักษร "อ" ของอักษรไทใหญ่ มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนอักษรชนิดใดเลย แต่คล้ายกับตัว"อ" ของอักษรมอญในจารึกภาษามอญที่เจดีย์ปีชเวชานดอ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 โดยทั่วไป ทฤษฎีที่อธิบายที่มาของอักษรไทใหญ่เป็นดังนี้
อักษรของชาวไทเหนือในเขตใต้คงเป็นตัวเหลี่ยมหรือลิ่กถั่วงอก มีหลักฐานว่าในสมัยราชวงศ์หมิง มีการตั้งสำนักงานหยีสี่เป้าเพื่อแปลเอกสารที่เขียนด้วยภาษาไทเหนือ แสดงว่าชาวไทใหญ่มีอักษรเป็นของตนเองมานาน
อักษรไทใหญ่มีพยัญชนะไม่ครบสำหรับเขียนภาษาบาลี ทำให้เป็นไปได้ว่าชาวไทใหญ่มีอักษรใช้ก่อนพุทธศาสนาจะเข้ามาถึง เมื่อได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา ชาวไทใหญ่จึงรับอักษรพม่าเข้ามาใช้เขียนแทนเสียงที่อักษรไทใหญ่ไม่มี
เอกสารภาษาไทใหญ่ที่เก่าแก่และเขียนด้วยลิ่กถั่วงอกคือ พื้นศาสนาแสน ลิ่กถั่วงอกนี้ผอม รูปเหลี่ยม เอนซ้าย จากนั้นจึงพัฒนาการเขียนมาสู่ระบบกำเยน อักษรกลมมากขึ้น และเริ่มนำอักษรพม่ามาใช้ และเพิ่มสัญลักษณ์เครื่องหมายต่าง ๆ ต่อมาจึงพัฒนาเป็นระบบตัวมน ซึ่งพบในชาวไทใหญ่ในรัฐฉาน ส่วนชาวไทมาวยังใช้อักษรแบบเดิม
เมื่อเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 24 วรรณกรรมภาษาไทใหญ่ได้รับอิทธิพลจากภาษาพม่ามากขึ้น มีการใช้ภาษาพม่าปะปนกับภาษาไทใหญ่มากขึ้น เมื่อมีการพิมพ์ไบเบิลภาษาไทใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2428 ตัวพิมพ์ของอักษรไทใหญ่มีลักษณะกลมมนคล้ายอักษรพม่ามากขึ้น และมีเครื่องหมายเฉพาะที่ต่างไปจากอักษรไทใหญ่ในคัมภีร์
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 รัฐบาลของสมาพันธรัฐไทใหญ่ได้ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปอักษรไทใหญ่ที่เมืองตองจี และได้ปรับปรุงอักษรไทใหญ่ใหม่เรียกว่าใหม่สูงลิ่กไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2512 สภาไทใหญ่ได้ปรับปรุงตัวอักษรใหม่อีก และใน พ.ศ. 2517 ก็มีการปรับปรุงอักษรไทใหญ่อีกชุดหนึ่งที่เมืองสีป้อ ทำให้มีประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับอักษรไทใหญ่มากและยังหาข้อสรุปไม่ได้
แต่เดิม ชาวไทใหญ่ใช้ลิ่กยวนเขียนภาษาบาลี ต่อมาพยายามเปลี่ยนมาใช้ลิ่กถั่วงอกและลิ่กตัวมน แต่อักษรไม่พอ ทำให้ไม่มีระบบการเขียนเป็นมาตรฐาน ต่อมาจึงมีการนำอักษรพม่ามาใช้เขียนภาษาบาลี ในปัจจุบัน ได้มีความพยายามที่จะเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทใหญ่อีกครั้ง มีการจัดประชุมระหว่างพระสงฆ์ไทใหญ่และชาวไทใหญ่หลายครั้งเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ใน พ.ศ. 2500 ที่ประชุมเสนอให้เขียนพระไตรปิฎกด้วยอักษรพม่าแล้วแปลเป็นภาษาไทใหญ่ที่เขียนด้วยอักษรไทใหญ่ แต่พระสงฆ์ไทใหญ่ก็ยังไม่พอใจ ใน พ.ศ. 2518 มีการจัดประชุมพระสงฆ์ไทใหญ่ที่เชียงใหม่ และได้มีการประดิษฐ์อักษรไทใหญ่สำหรับเขียนภาษาบาลี แต่ยังไม่มีระบบใดได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ
อักษรไทใหญ่ในยูนิโคด ใช้รหัสช่วงเดียวกันกับอักษรพม่า เพียงแต่มีส่วนขยายของอักษรไทใหญ่เพิ่มขึ้นมาจากอักษรพม่าตามปกติ
พื้นฐานจากพยางค์: อักษรในอานาโตเลีย (คาเรีย ? ลิเชีย ? ลิเดีย ? ลูเวีย) ? รูปลิ่ม (ซูเมอร์ ? แอกแคด ? อีลาไมต์) ? ตงปา ? ตันกัท ? มายา ? อี้พื้นฐานจากอักษรจีน: คันจิ ? คีตัน ? อักษรจีน (ตัวเต็ม ? ตัวย่อ) ? จื๋อโนม ? จูร์เชน ? น่าซี ? สือดิบผู้จ่อง ? ฮันจา