อักษรโซมาลี (Somali or af Soomaali) หรือออสมันยา ประดิษฐ์ขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463 – 2465 โดย ซิสมัน ยูซุฟ เคนดีก ( Cismaan Yuusuf Keenadiid) น้องชายของสุลต่านแห่งออบเบีย มีชื่อเรียกในภาษาโซมาลีว่า การเขียนภาษาโซมาลี (far soomaali) หรือซิสมานยะ ( cismaanya) อักษรนี้เข้ามาแทนที่ความพยายามของ เชค อูเวย์ที่พยายามใช้อักษรอาหรับเขียนภาษาโซมาลี และต่อมาถูกแทนที่ด้วยอักษรละติน โดย มูส ซาจิ อิสมาซีล กาลาอัล (Muuse Xaaji Ismaaciil Galaal) ต่อมาใน พ.ศ. 2504 ได้มีการปรับปรุงอักษรละตินและอักษรโซมาลีเพื่อใช้ในโซมาเลีย แต่ใน พ.ศ. 2512 เริ่มมีความพยายามที่จะเลือกระบบใดระบบหนึ่งเป็นระบบของประเทศ อักษรละตินถูกปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2515 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่กำหนดให้ภาษาโซมาลีเป็นภาษาประจำชาติของโซมาเลีย
อักษรนี้ไม่มีการใช้แล้วในปัจจุบัน แม้ใน พ.ศ. 2513 มีคนกลุ่มเล็กๆใช้อักษรนี้ในการสื่อสารระหว่างกัน รวมทั้งพิมพ์หนังสือและวารสารที่ใช้อักษรนี้ เขียนจากซ้ายไปขวา แนวนอน ชื่ออักษรเรียกตามชื่ออักษรอาหรับ อักษรวาวและยาใช้แทนสระอูและสระอี ภาษาโซมาลีมีวรรณยุกต์แต่ไม่ถูกกำหนดในระบบการเขียน
พื้นฐานจากพยางค์: อักษรในอานาโตเลีย (คาเรีย ? ลิเชีย ? ลิเดีย ? ลูเวีย) ? รูปลิ่ม (ซูเมอร์ ? แอกแคด ? อีลาไมต์) ? ตงปา ? ตันกัท ? มายา ? อี้พื้นฐานจากอักษรจีน: คันจิ ? คีตัน ? อักษรจีน (ตัวเต็ม ? ตัวย่อ) ? จื๋อโนม ? จูร์เชน ? น่าซี ? สือดิบผู้จ่อง ? ฮันจา