อักษรสิเลฏินาครี ใกล้เคียงกับอักษรไกถีของรัฐพิหาร จุดกำเนิดยังไม่แน่ชัด เริ่มพบครั้งแรกเมื่อราว พ.ศ. 2092 – 2317 เชื่อกันว่าสร้างขึ้นโดยนักบุญ ชาจาลันและคณะที่พูดภาษาอาหรับ เพื่อใช้เขียนภาษาสิเลฏี เมื่อประมาณ พ.ศ. 2200 ภาษาเปอร์เซียกลายเป็นภาษาราชการในรัฐที่ปกครองด้วยสุลต่าน และมีการนำอักษรอาหรับดัดแปลงมาใช้ อักษรนี้จึงใช้ในชีวิตประจำวันเท่านั้น
พ.ศ. 2403 ชาวสิลเหติชื่อ มวลวี อับดุลการิม ผู้เรียนทางด้านธุรกิจการพิมพ์ในยุโรปหลายปี ได้คิดค้นแม่พิมพ์ไม้เพื่อพิมพ์ภาษาสิเลฏีด้วยอักษรนี้ เขาจัดตั้งสำนักพิมพ์อิสลามขึ้น การพิมพ์เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2413 สิ้นสุดเมื่อ พ.ศ. 2513 อักษรนี้เขียนจากซ้ายไปขวาแต่หนังสือที่พิมพ์ด้วยอักษรนี้จะเรียงหน้าจากขวาไปซ้าย ทำให้ปกแรกของหนังสือในภาษานี้ตรงกับปกหลังของหนังสืออื่น
พื้นฐานจากพยางค์: อักษรในอานาโตเลีย (คาเรีย ? ลิเชีย ? ลิเดีย ? ลูเวีย) ? รูปลิ่ม (ซูเมอร์ ? แอกแคด ? อีลาไมต์) ? ตงปา ? ตันกัท ? มายา ? อี้พื้นฐานจากอักษรจีน: คันจิ ? คีตัน ? อักษรจีน (ตัวเต็ม ? ตัวย่อ) ? จื๋อโนม ? จูร์เชน ? น่าซี ? สือดิบผู้จ่อง ? ฮันจา