อักษรสิทธัม (สันสกฤต: ?????? สิทธํ หมายถึง ทำให้สำเร็จหรือสมบูรณ์แล้ว, อังกฤษ: Siddham script, ทิเบต: ????????; จีน: ????; พินอิน: X?t?n w?nzi; ญี่ปุ่น: ??, บนจิ) เป็นชื่ออักษรแบบหนึ่งของอินเดียตอนเหนือ ที่นิยมใช้เขียนภาษาสันสกฤต มีที่มาจากอักษรพราหมี โดยผ่านการพัฒนาจากอักษรคุปตะ ซึ่งก่อให้เกิดเป็นอักษรเทวนาครีในเวลาต่อมา และเกิดเป็นอักษรอื่นๆ จำนวนมากในเอเชีย เช่น อักษรทิเบต เป็นต้น อักษรสิทธัมเผยแพร่พร้อมคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาจากอินเดียเข้าไปสู่จีนและญี่ปุ่นตามลำดับ ตั้งแต่ พ.ศ. 1349 โดยกูไก ผู้เรียนภาษาสันสกฤตและศาสนาพุทธไปจากจีน ในญี่ปุ่นเรียกอักษรนี้ว่า บนจิ เขียนจากซ้ายไปขวา แนวนอน ปัจจุบันอักษรสิทธัมยังคงใช้ในการประกอบพิธีกรรมของนิกายชินงน (มนตรยาน) ในประเทศญี่ปุ่น
พื้นฐานจากพยางค์: อักษรในอานาโตเลีย (คาเรีย ? ลิเชีย ? ลิเดีย ? ลูเวีย) ? รูปลิ่ม (ซูเมอร์ ? แอกแคด ? อีลาไมต์) ? ตงปา ? ตันกัท ? มายา ? อี้พื้นฐานจากอักษรจีน: คันจิ ? คีตัน ? อักษรจีน (ตัวเต็ม ? ตัวย่อ) ? จื๋อโนม ? จูร์เชน ? น่าซี ? สือดิบผู้จ่อง ? ฮันจา