อักษรสระประกอบ เป็นรูปแบบของระบบการเขียนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยพยัญชนะและสระ แต่พยัญชนะจะมีความสำคัญมากกว่าสระ ซึ่งแตกต่างจากอักษรสระ-พยัญชนะ (alphabet) ที่เป็นระบบการเขียนทั้งสระและพยัญชนะจะมีความสำคัญเท่าเทียมกัน และแตกต่างจากอักษรไร้สระ (abjad) ซึ่งมักจะไม่มีรูปสระปรากฏอยู่เลย ในบรรดาระบบการเขียนทั้งหมดในโลกนี้ มีอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งของระบบการเขียนทั้งหมดที่เป็นอักษรสระประกอบ ซึ่งอักษรไทยก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน
คำว่า "อักษรสระประกอบ" เป็นคำแปลจากคำว่า abugida ซึ่งเป็นคำที่ Peter T. Daniels นำมาใช้เรียกระบบการเขียนรูปแบบนี้ โดยคำนี้มาจากชื่อของอักษรเอธิโอเปีย (’? bu gi da) ในภาษาเอธิโอเปีย โดยนำมาจากชื่ออักษรสี่ตัวของอักษรเอธิโอเปีย (ในทำนองเดียวกับคำว่า alphabet ที่มาจากชื่ออักษรกรีก แอลฟา และ บีตา) ต่อมาในปีค.ศ. 1997 William Bright ได้เสอนคำว่า alphasyllabary ขึ้นมาเพื่อเรียกอักษรในตระกูลพราหมี เนื่องจากระบบการเขียนแบบนี้มีลักษณะของอักษรพยางค์ (syllabary) และอักษรสระ-พยัญชนะร่วมกันอยู่ นักวิชาการในอดีตถือว่าอักษรสระประกอบเป็นอักษรพยางค์ประเภทหนึ่ง หรือเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างอักษรพยางค์และอักษรสระ-พยัญชนะ จึงยังคงเรียกอักษรของชนพื้นเมืองในแคนาดาว่า syllabics อยู่ นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ ที่ใช้เรียกระบบการเขียนแบบนี้อีก ได้แก่ neosyllabary pseudo-alphabet semisyllabary และ syllabic alphabet
โดยทั่วไปแล้ว อักษรสระประกอบจะประกอบด้วยพยัญชนะเป็นหลัก ซึ่งพยัญชนะแต่ละตัวจะกำหนดเสียงสระไว้อยู่แล้วโดยไม่ต้องมีรูปสระใด ๆ มากำกับ (ในอักษรไทย พยัญชนะจะออกเสียง อะ หรือ ออ เช่นในคำว่า บ่ หรือ ณ) ส่วนใหญ่จะเขียนจากซ้ายไปขวา สระจะกำหนดโดยดัดแปลงพยัญชนะด้วยการเติมเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ (อย่างในอักษรตระกูลพราหมี) โดยสระอาจจะอยู่ในตำแหน่งใด ๆ ก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องตามหลังพยัญชนะเสมอไป หรือพยัญชนะอาจจะเปลี่ยนรูปร่างไปเพื่อแสดงเสียงสระที่แตกต่างกัน (อย่างในอักษรของชนพื้นเมืองของแคนาดา)
สระที่ไม่มีเสียงพยัญชนะนำหน้าอาจประกฎคู่กับพยัญชนะพิเศษ (เช่น อ ในอักษรไทย) หรือปรากฏเป็นรูปสระลอย ซึ่งเป็นรูปพิเศษของสระแต่ละเสียงที่สามารถอยู่ได้ตามลำพังโดยไม่ต้องกำกับกับพยัญชนะ สระลอยยังคงมีใช้อยู่ในอักษรหลายประเภทในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่อักษรไทยนั้นเหลือเพียง ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เท่านั้น
อักษรทานะซึ่งใช้เขียนภาษาดิเวฮิของมัลดีฟส์ไม่มีรูปสระลอย มีเพียงรูปสระจมกับพยัญชนะพิเศษอย่าง อ ในอักษรไทยเท่านั้น
พื้นฐานจากพยางค์: อักษรในอานาโตเลีย (คาเรีย ? ลิเชีย ? ลิเดีย ? ลูเวีย) ? รูปลิ่ม (ซูเมอร์ ? แอกแคด ? อีลาไมต์) ? ตงปา ? ตันกัท ? มายา ? อี้พื้นฐานจากอักษรจีน: คันจิ ? คีตัน ? อักษรจีน (ตัวเต็ม ? ตัวย่อ) ? จื๋อโนม ? จูร์เชน ? น่าซี ? สือดิบผู้จ่อง ? ฮันจา