อักษรลาว เป็นชื่ออักษรที่รัฐบาลลาวรับรองให้ใช้เขียนภาษาลาว ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการในปัจจุบัน มีพัฒนาการมาจากอักษรลาวเดิม (หรือในอีกชื่อหนึ่ง คือ อักษรไทน้อย) ซึ่งเริ่มพัฒนาขึ้นในสมัยราชวงศ์ล้านช้าง เมื่อราว พ.ศ. 1900 โดยได้รับอิทธิพลจากอักษรลาวโบราณสมัยรัชกาลพระเจ้าฟ้างุ้มเป็นต้นมา ซึ่งที่มาจากอักษรมอญและ อักษรเขมร (อักษรขอม) อีกต่อหนึ่ง ลักษณะการใช้งานยังคงมีระบบการเขียนคล้ายอักษรไทยโบราณ ที่ไม่ใช้แล้วในอักษรไทยปัจจุบัน เช่น การใช้ไม้กงแทนเสียงสระโอะเมื่อมีตัวสะกด หรือการใช้ตัวเชิงของอักษร ย แทนสระเอียเมื่อมีตัวสะกด เป็นต้น
อักษรลาวมี 2 แบบคืออักษรลาว (อักษรลาวโบราณภาษาลาวเรียกว่า อักษรลาวเดิม พบในภาคอีสานของไทยด้วยเช่นกัน) และอักษรธรรมลาว อักษรลาวประกอบด้วยพยัญชนะ 33 รูป 21 เสียง และสระ 28 รูป 27 เสียง เขียนจากซ้ายไปขวา ระบบการเขียนในภาษาลาวจะซับซ้อนน้อยกว่าในภาษาไทยและภาษาเขมร จึงสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่า เนื่องจากภาษาลาวจะเขียนตามเสียงโดยตรง
วิวัฒนาการของอักษรลาวนั้นมีผู้ที่ให้ความเห็นแตกต่างกันไป ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดซ์ เคยให้ความเห็นว่าอักษรลาวนั้น น่าจะมีที่มาจากอักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เกิดขึ้นที่เมืองสุโขทัย แล้วแพร่หลายไปยังเมืองที่ติดต่อกันในดินแดนล้านช้างและล้านนา แต่ภายหลังตัวอักษรไทยในดินแดนล้านช้างได้เปลี่ยนเป็นตัวลาว แนวคิดนี้ได้ถูกลบล้างไปเพราะขัดแย้งกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของลาว เนื่องจากมีการค้นพบอักษรลาวเก่าที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกันและเก่าแก่กว่าอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง และสมัยพระยาลิไทย จารึกที่ถ้ำจอมเพ็ชร และวัดวิชุน เมืองหลวงพระบาง ทำให้เชื่อว่า อักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหงได้รับอิทธิพลมาจากอักษรลาวเดิม สันนิษฐานว่า เชื้อพระวงศ์ของพ่อขุนรามคำแหงเป็นตระกูลลาวสายหนึ่งที่อพยพลงไปทางตอนใต้จึงได้นำเอาอักษรลาวเก่าไปใช้และพัฒนาเป็นอักษรในสุโขทัยด้วย
นักวิชาการลาวเชื่อว่าคนลาวที่อยู่ในดินแดนล้านช้างมีอักษรเป็นของตนเองมานาน อักษรลาวคล้ายกับตัวอักษรไทยเพราะวิวัฒนาการมาจากอักษรเทวนาครี อันเป็นอักษรของพวกอินเดียทางเหนือ มหาสิลา วีระวงส์ เห็นว่าชาติลาวมีตัวหนังสือของตัวเองมาหลายร้อยปี หรืออาจจะเป็นพันปีก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหงของไทย โดยอักษรลาวเป็นอักษรไทพวกหนึ่งที่เรียกว่า อักษรไทน้อย ซึ่งได้กลายเป็นหนังสือลาวในเวลาต่อมา อักษรไทยน้อยนี้ น่าจะมีที่มาจากอักษรเทวนาครีของอินเดียดังกล่าวไปแล้ว
นักวิชาการไทยบางกลุ่มเห็นว่า อักษรลาวนั้นมีวิวัฒนาการไม่ต่างจากอักษรไทย และเขมร คือล้วนมีรากฐานมาจากตัวอักษรอินเดียใต้ของราชวงศ์ปัลลวะ หาใช่อักษรอินเดียฝ่ายเหนืออย่างเทวนาครีไม่ แต่แนวคิดนี้ได้ถูกลบล้างไปด้วยปรากฏว่า อักษรที่ปรากฏอยู่ในจารึกของลาวนั้นมีความเก่าแก่กว่าอักษรที่ปรากฏอยู่ในจารึกของไทย และเก่าแก่กว่าอักษรสมัยพ่อขุนรามคำแหงของไทย อักษรลาวและอักษรไทยจึงไม่น่าจะพัฒนามาพร้อมกัน หากแต่อักษรได้น่าจะวิวัฒนาการมาจากอักษรลาว
หากจะกล่าวโดยละเอียดคือ อักษรลาวนั้นวิวัฒนาการมาจากอักษรลาวโบราณสมัยเชียงดง-เชียงทอง ราวรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ่มหรือพระเจ้าสามแสนไทก็ว่าได้ โดยวิวัฒนาการของอักษรลาวนั้นเริ่มจากการเกิดอักษรชนิดหนึ่งที่มีเชื่อเรียกว่าอักษรฝักขาม (ซึ่งเป็นตัวอักษรที่ได้รับวิวัฒนาการมาจากอักษรลาวในสมัยล้านช้าง และปรากฏหลักฐานการวิวัฒนาการในเอกสารตราตั้ง (ลายจุ้ม-ดวงจุ้ม) ของกษัตริย์ลาวในสมัยต่างๆ ทั้งหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ จากนั้นจึงวิวัฒนาการต่อไปเป็นอักษรไทยน้อย และอักษรลาวตามลำดับ อักษรลาวโบราณบางส่วนได้มีอิทธิพลต่ออักษรไทยในสมัยหลังสุโขทัยเป็นต้นมา ตลอดจนเป็นต้นกำเนิดอักษรฝักขามและอักษรธรรมของล้านนาด้วย
อักษรแบบนี้ได้มีการคิดตัวอักษรเพิ่มเติมให้ครบวรรคในภาษาบาลี เพื่อให้สะดวกในการเขียนเรื่องต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรม โดยมีสาเหตุจากปัญหาความยุ่งยากในการจัดทำตัวพิมพ์อักษรธรรมลาวเพื่อเขียนเรื่องต่างๆ ทางศาสนา
อักขรวีธีของอักษรลาวแบบนี้สะกดตามเค้าเดิมของภาษาอย่างเคร่งครัด มีการใช้ตัวสะกดตัวการันต์ เพื่อให้รู้ต้นเค้าของคำว่าเป็นคำภาษาลาวเดิมหรือคำภาษาต่างประเทศ เช่น คำภาษาบาลี-สันสกฤต ซึ่งคล้ายกับระบบการเขียนภาษาไทยในปัจจุบัน ระบบการเขียนแบบนี้เคยใช้ในสมัยที่ประเทศลาวยังไม่มีระบบการเขียนที่แน่นอน ขาดหลักการที่ชัดเจน ใช้ในสมัยที่ลาวยังเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส จนถึงปี พ.ศ. 2491
แบบนี้สะกดตามแบบที่ได้กำหนดในพระราชโองการ (พระราชบัญญัติ) เลขที่ 10 พ.ศ. 2491 ในรัชสมัยของพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ซึ่งได้บัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดหลักการเขียนภาษาลาวให้มีความแน่นอนและชัดเจนยิ่งขึ้น อักขรวิธีของระบบนี้ คือ สะกดคำตามเสียงอ่านแต่ยังคงรักษาเค้าเดิมของภาษาไว้ การสะกดการันต์ยังคงมีการใช้ แต่ได้เลิกใช้อักษรบางตัวลงจากแบบแรกเพื่อให้เขียนง่ายขึ้น ซึ่งคล้ายกับการเขียนภาษาไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 อักษรลาวรูปแบบนี้ใช้อยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2491-2518 คือ นับตั้งแต่ประเทศลาวได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปัจจุบันยังมีคงการใช้อยู่ในกลุ่มคนลาวอพยพในต่างประเทศ
อักขรวิธีแบบนี้สะกดตามเสียงอ่านเท่านั้น คือ อ่านออกเสียงอย่างไรให้สะกดอย่างนั้น เริ่มใช้ในเขตปลดปล่อยของขบวนการปะเทดลาวก่อน หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว รัฐบาล สปป.ลาว จึงได้ปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อให้อักษรลาวสามารถเขียนง่ายอ่านง่ายขึ้น แต่ก็ทำให้เกิดจุดอ่อนหลายอย่าง และทำให้ภาษาลาวเกิดปัญหาการขาดหลักการสะกดคำที่ชัดเจนขึ้นอีกครั้ง เช่น ได้มีการตัดตัวการันต์ ตัว ร หันลิ้น (ภาษาลาวเรียกว่า ร รถ) ออก ทำให้ไม่สามารถเขียนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศและภาษาของชนเผ่าต่างๆ ได้ครบถ้วน อักษรลาวระบบนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการลาวได้บรรจุตัว ร หันลิ้นกลับมาใช้ใหม่ และมีการใช้ตัวการันต์สำหรับสะกดคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่นคำภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส ยกเว้นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต และคำลาวเดิม ยังสะกดตามเสียงอ่านอยู่เหมือนเดิม
ระบบการเขียนภาษาลาวในปัจจุบันยังขาดเอกภาพไม่มีมาตรฐานในการเขียนและการใช้คำศัพท์ เพราะยังไม่มีองค์กรที่มาควบคุมอย่างเป็นทางการ จึงมีลักษณะต่างคนต่างเขียนตามหลักการของตนเอง ทำให้เกิดความสับสนในการเขียนและการใช้คำศัพท์ ส่วนคนลาวที่อพยพไปอยู่ต่างประเทศหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2518 ก็ยังมีการใช้ภาษาลาวตามแบบที่ 2 ในสมัยที่ยังเป็นราชอาณาจักรลาวอยู่เหมือนเดิม ทำให้เกิดความสับสนระหว่างคนลาวในประเทศและนอกประเทศ แม้รัฐบาลและประชาชนลาวเริ่มตระหนักถึงความสำคัญในข้างต้นก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีมาตรการใดๆ ออกมาแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจน แต่ในอนาคตคาดว่ารัฐบาล สปป.ลาว จะมีการจัดตั้งองค์กรออกมาควบคุมเพื่อให้ระบบการใช้ภาษาลาวเป็นมาตรฐานเดียวกัน
อักษรลาว มีพยัญชนะ 33 รูป 21 เสียง สระมี 28 รูป 27 เสียง มีเสียงวรรณยุกต์ 6 เสียงซึ่งขึ้นกับพื้นเสียงของพยัญชนะ ลักษณะของคำ (คำเป็น คำตาย) เครื่องหมายวรรณยุกต์ และความยาวของเสียงสระ การเขียนยึดสำเนียงเวียงจันทน์เป็นหลัก ไม่มีระบบการถอดเป็นอักษรโรมันที่แน่นอน นิยมใช้ระบบถ่ายเสียงของภาษาฝรั่งเศส
พยัญชนะลาวทั้ง 33 รูป แบ่งเป็นพยัญชนะโดด 27 ตัว (ภาษาลาวเรียกว่า "พยัญชนะเค้า" แปลว่า พยัญชนะต้น) และพยัญชนะควบอีก 6 ตัว ซึ่งมีดังต่อไปนี้
พื้นฐานจากพยางค์: อักษรในอานาโตเลีย (คาเรีย ? ลิเชีย ? ลิเดีย ? ลูเวีย) ? รูปลิ่ม (ซูเมอร์ ? แอกแคด ? อีลาไมต์) ? ตงปา ? ตันกัท ? มายา ? อี้พื้นฐานจากอักษรจีน: คันจิ ? คีตัน ? อักษรจีน (ตัวเต็ม ? ตัวย่อ) ? จื๋อโนม ? จูร์เชน ? น่าซี ? สือดิบผู้จ่อง ? ฮันจา