อักษรรูปลิ่ม (อังกฤษ: Cuneiform script) เป็นระบบการเขียนที่หลากหลาย เป็นได้ทั้งอักษรพยางค์ อักษรคำ และอักษรที่มีระบบสระ-พยัญชนะ คำว่า “cuneiform” ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาละติน “cuneus” แปลว่าลิ่ม ดังนั้นอักษรรูปลิ่มจึงรวมอักษรที่มีรูปร่างคล้ายลิ่มทั้งหมด ภาษาหลายตระกูล ทั้งตระกูลเซมิติก ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน และอื่น ๆ ที่เขียนด้วย อักษรนี้ เช่น
ตัวอย่างเก่าสุดของอักษรในเมโสโปเตเมีย เริ่มราว 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช พบในบริเวณอูรุก (Uruk) นิปเปอร์ ซูซา และอูร์ (Ur) ส่วนใหญ่เป็นบันทึกเกี่ยวกับการค้าขาย บันทึกเหล่านี้พัฒนามาจากระบบการนับที่ใช้มาตั้งแต่ 5,000 ปี ก่อนหน้านั้น แผ่นดินเหนียวเริ่มใช้ตั้งแต่ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชในเมโสโปเตเมียโดยทั่วไป เป็นรูปทรง 3 มิติ มี 2 ชนิดคือ แบบแผ่นแบนและแผ่นซ้อน
แผ่นดินเหนียวเหล่านี้ถูกเก็บในห่อที่แข็งแรง ทำด้วยดินเหนียว โดยใช้วัตถุที่เป็นของแข็งและแหลม มาเขียนให้เป็นเรื่องราว เรียกว่าบุลลา (bulla) เพื่อป้องกันการสูญหาย เนื่องจากการนับแผ่นดินเหนียวภายในบุลลาหลังการผนึกทำได้ยาก การแก้ปัญหาจึงใช้การกดแผ่นดินเหนียวลงบนผิวนอกของบุลลาในขณะที่ดินเหนียวยังอ่อนตัวอยู่ แล้วจึงใส่แผ่นดินเหนียวเข้าไปข้างในและปิดผนึก การนับจำนวนแผ่นดินเหนียวอีกครั้งใช้การนับรอยกดบนผิวด้านนอก จากรอยกดนี้ ชาวซูเมอร์ได้พัฒนามาเป็นสัญลักษณ์รูปลิ่ม เพื่อใช้บอกความหมายและจำนวน เช่น รูปลิ่ม 1 อัน หมายถึง 1 รูปวงกลม หมายถึง 10 การบันทึกว่า “แกะ 5 ตัว” ใช้การกดลงบนดินเหนียวเป็นรูปลิ่ม 5 อัน แล้วตามด้วยสัญลักษณ์ของแกะ
พื้นฐานจากพยางค์: อักษรในอานาโตเลีย (คาเรีย ? ลิเชีย ? ลิเดีย ? ลูเวีย) ? รูปลิ่ม (ซูเมอร์ ? แอกแคด ? อีลาไมต์) ? ตงปา ? ตันกัท ? มายา ? อี้พื้นฐานจากอักษรจีน: คันจิ ? คีตัน ? อักษรจีน (ตัวเต็ม ? ตัวย่อ) ? จื๋อโนม ? จูร์เชน ? น่าซี ? สือดิบผู้จ่อง ? ฮันจา