อักษรบาตัก (อังกฤษ: Karo Batak syllabic alphabet) หรือ สุรัต บาตัก พัฒนามาจากอักษรพราหมี ผ่านทางอักษรปัลลวะและอักษรกวิรุ่นเก่า เขียนจากล่างขึ้นบนในแนวตั้ง เริ่มจากซ้ายไปขวา มีที่มาจาการเขียนบนไม้ไผ่ เฉพาะนักบวชเท่านั้นที่อ่านเขียนอักษรนี้ได้ มีความแตกต่างกันเล็กน้อยสำหรับอักษรที่ใช้เขียนภาษาต่างกัน
ชาวบาตัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะชนชั้นปกครองสามารถใช้อักษรบาตักได้ ส่วนใหญ่ใช้เขียนคาถาอาคมและปฏิทิน หลังจากที่ชาวยุโรปมาถึงบาตัก เริ่มจากมิชชันนารีชาวเยอรมัน และชาวดัทช์ใน พ.ศ. 2421 ได้นำอักษรละตินมาใช้คู่กับอักษรบาตัก โดยใช้สอนในโรงเรียน และใช้ในเอกสารทางศาสนาคริสต์
อักษรบาตักเขียนจากบนลงล่างและจากซ้ายไปขวา พยัญชนะมีพื้นเสียงเป็น /a/ และมีเครื่องหมายกำกับถ้าไม่มีเสียงสระ เสียงสระอื่น เสียงตัวสะกด เสียงตัวสะกด ? และ[x] แสดงด้วยเครื่องหมายบน ล่าง หรือหลังพยัญชนะ เช่น ba เขียนด้วยอักษร ba ตัวเดียว bi เขียนเป็น ba.i bang เขียนเป็น ba? bing เขียนเป็น ba?.i อักษรที่เป็นตัวสะกดจะมีเครื่องหมายต่อท้าย เช่น bam เขียนเป็น ba.ma.# bim เขียนเป็น ba.ma.i.# อักษรบาตักต่างจากอักษรในตระกูลอักษรพราหมีคือไม่มีการเชื่อมพยัญชนะเมื่อเขียนเป็นกลุ่ม
เครื่องหมายสำหรับ Ng () และ H () ใช้เขียนเหนือเครื่องหมายแทนที่จะเขียนบนอักษรหลัก
ตัวอย่าง: ping, pong, peh, และ pih.
พื้นฐานจากพยางค์: อักษรในอานาโตเลีย (คาเรีย ? ลิเชีย ? ลิเดีย ? ลูเวีย) ? รูปลิ่ม (ซูเมอร์ ? แอกแคด ? อีลาไมต์) ? ตงปา ? ตันกัท ? มายา ? อี้พื้นฐานจากอักษรจีน: คันจิ ? คีตัน ? อักษรจีน (ตัวเต็ม ? ตัวย่อ) ? จื๋อโนม ? จูร์เชน ? น่าซี ? สือดิบผู้จ่อง ? ฮันจา