อักษรนหวู่ซู (จีนตัวย่อ: ??; จีนตัวเต็ม: ??; พินอิน: N?sh? หนังสือผู้หญิง) เป็นอักษรที่ประดิษฐ์และใช้โดยผู้หญิงในมณฑลเหอหนาน ประเทศจีน ผู้หญิงถูกกีดกันจากระบบการศึกษาที่เป็นทางการเป็นเวลาหลายศตวรรษ และได้พัฒนาอักษรนหวู่ซูเพิ่อใช้ระหว่างกัน อักษรนี้ใช้ปักลงบนผ้าหรือเขียนลงหนังสือและพัดกระดาษ ใช้ในการประดิษฐ์ซัน เชา ชุ หรือสารวันที่สามที่เป็นหนังสือขนาดเล็ก ห่อด้วยผ้าที่แม่จะมอบให้ลูกสาวในวันแต่งงานหรือเพื่อนผู้หญิงที่สนิทกัน ซัน เชา ชุ ประกอบด้วยบทเพลง ความหวังและความปวดร้าว ผู้หญิงจะได้หนังสือนี้ในวันที่สามหลังการแต่งงาน ผู้เชี่ยวชาญอักษรนหวู่ซูคนสุดท้าย ยัง ฮวนยี ตายเมื่อ 20 ก.ย. พ.ศ. 2547 ขณะอายุได้ 98 ปี ปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจอักษรนหวู่ซูและผู้หญิงหันมาเรียนอักษรนี้เพื่อนำมาใช้อีกครั้ง
อักษรนี้มีสัญลักษณ์ 1800 – 2500 ตัว เขียนในแนวตั้งจากบนลงล่าง และจากขวาไปซ้าย มีพื้นฐานมาจากอักษรจีน มีการสอนกันเฉพาะในหมู่ผู้หญิงเท่านั้น ใช้เขียนสำเนียงเฉิงกวาน (??: Ch?nggu?n) ของภาษาจีนฮกเกี้ยน
พื้นฐานจากพยางค์: อักษรในอานาโตเลีย (คาเรีย ? ลิเชีย ? ลิเดีย ? ลูเวีย) ? รูปลิ่ม (ซูเมอร์ ? แอกแคด ? อีลาไมต์) ? ตงปา ? ตันกัท ? มายา ? อี้พื้นฐานจากอักษรจีน: คันจิ ? คีตัน ? อักษรจีน (ตัวเต็ม ? ตัวย่อ) ? จื๋อโนม ? จูร์เชน ? น่าซี ? สือดิบผู้จ่อง ? ฮันจา