อักษรธรรมล้านนา หรือ ตัวเมือง (คำเมือง: อักขรธัมม์ล้านนา รฤ ตัวเมือง; ไทลื้อ: ?? , ธรรม, "คัมภีร์") หรือ อักษรยวน ภาษาไทยกลางในอดีตเรียกว่า ไทยเฉียง เป็นอักษรที่ใช้ในสามภาษา ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นเหนือ, ภาษาไทลื้อและภาษาเขิน นอกเหนือจากนี้ อักษรล้านนายังใช้กับลาวธรรม (หรือลาวเก่า) และภาษาถิ่นอื่นในคัมภีร์ใบลานพุทธและสมุดบันทึก อักษรนี้ยังเรียก อักษรธรรมหรืออักษรยวน
ภาษาไทยถิ่นเหนือเป็นภาษาใกล้ชิดกับภาษาไทยและเป็นสมาชิกของตระกูลภาษาเชียงแสน มีผู้พูดเกือบ 6,000,000 คนในภาคเหนือของประเทศไทย และหลายพันคนในประเทศลาว ซึ่งมีจำนวนน้อยที่รู้อักษรล้านนา อักษรนี้ยังใช้อยู่ในพระสงฆ์อายุมาก ภาษาไทยถิ่นเหนือมีหกวรรณยุกต์ ขณะที่ภาษาไทยมีห้าวรรณยุกต์ ทำให้การถอดเสียงเป็นอักษรไทยมีปัญหา มีความสนใจในอักษรล้านนาขึ้นมาอีกบ้างในหมู่คนหนุ่มสาว แต่ความยุ่งยากเพิ่มขึ้น คือ แบบภาษาพูดสมัยใหม่ ที่เรียก คำเมือง ออกเสียงต่างจากแบบเก่า
อักษรธรรมล้านนาจัดตามกลุ่มพยัญชนะวรรคตามพยัญชนะภาษาบาลี แบ่งออกเป็น 5 วรรค วรรคละ 5 ตัว เรียกว่า“พยัญชนะวรรค”หรือ“พยัญชนะในวรรค”อีก 8 ตัวไม่จัดอยู่ในวรรคเรียกว่า“พยัญชนะอวรรค”หรือ“พยัญชนะนอกวรรค”หรือ“พยัญชนะเศษวรรค”ส่วนการอ่านออกเสียงเรียกพยัญชนะทั้งหมดนั้น จะเรียกว่า“ตั๋ว”เช่น ตั๋ว กะ/ก/ ตั๋ว ขะ/ข/ ตั๋ว จะ/จ/ เป็นต้น
อักษรไทยที่ปรากฏเป็นการถ่ายอักษรเท่านั้น เสียงจริงของอักษรแสดงไว้ในสัทอักษรสากล ซึ่งอาจจะออกเสียงต่างไปจากอักษรไทย
พยัญชนะซ้อน (ตัวซ้อน) เป็นพยัญชนะที่ใส่ไว้ใต้พยัญชนะตัวอื่นเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ คือ 1. เพื่อห้ามไม่ให้พยัญชนะที่ไปซ้อน (ตัวข่ม) ออกเสียงสระอะ หรือ 2. เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวสะกด ซึ่งพยัญชนะที่ล้านนารับมาจากภาษาอื่นตั้งแต่แรกจะมีรูปพยัญชนะซ้อนทุกตัว ยกเว้น กับ เท่านั้นที่ไม่มี พยัญชนะที่มีรูปพยัญชนะซ้อนมีดังต่อไปนี้
พยัญชนะนอกเหนือจากนี้ ซึ่งได้แก่ เป็นพยัญชนะที่ล้านนาประดิษฐ์ขึ้นมาเอง ดังนั้นจึงไม่มีรูปพยัญชนะซ้อน แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้สามารถเขียนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศได้ใกล้เคียงกับภาษาเดิมมากที่สุด จึงสมควรมีการประดิษฐ์รูปพยัญชนะซ้อนของ และ ขึ้นมาเพิ่มเติม
เป็นสระที่ไม่สามารถออกเสียงได้ด้วยตัวเอง ต้องนำไปผสมกับพยัญชนะก่อนจึงจะสามารถออกเสียงได้
เป็นสระที่มาจากภาษาบาลี สามารถออกเสียงได้ด้วยตัวเองไม่จำเป็นต้องนำไปผสมกับพยัญชนะก่อน แต่บางครั้งก็มีการนำไปผสมกับพยัญชนะหรือสระแท้ เช่น คำว่า "เอา" สามารถเขียนได้โดยเขียนสระจากภาษาบาลี 'อู' ตามด้วย สระแท้ 'า' คือ ??
เนื่องจากล้านนาได้นำเอาระบบอักขรวิธีของมอญมาใช้โดยแทบจะไม่มีการปรับเปลี่ยนเลย และภาษามอญเองก็เป็นภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ ดังนั้นในอดีตจึงไม่ปรากฏว่ามีการใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ในการเขียนอักษรธรรมล้านนาเลย (เคยมีการถกเถียงกันเรื่องชื่อของล้านนาว่าจริงๆแล้วชื่อ "ล้านนา" หรือ "ลานนา" กันแน่ แต่ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่า "ล้านนา") จนกระทั่งในระยะหลังเมื่ออิทธิพลของสยามแผ่เข้าไปในล้านนาจึงปรากฏการใช้รูปวรรณยุกต์ในการเขียนอักษรธรรมล้านนา
ภาษาไทยถิ่นเหนือสามารถผันได้ 6 เสียง (จริงๆแล้วมีทั้งหมด 7 หรือ 8 เสียง แต่ในแต่ละท้องถิ่นจะใช้เพียง 6 เสียงเท่านั้น) การผันจะใช้การจับคู่กันระหว่างอักษรสูงกับอักษรต่ำจึงทำให้ต้องใช้วรรณยุกต์เพียง 2 รูปเท่านั้น คือ เอก กับ โท (เทียบภาษาไทยกลาง) เช่น
การที่มีรูปวรรณยุกต์เพียง 2 รูปนี้ทำให้เกิดปัญหากับอักษรกลาง คือ ไม่สามารถแทนเสียงได้ครบทั้ง 6 เสียง ดังนั้นจึงอาจอนุโลมให้แต่ละรูปศัพท์แทนการออกเสียงได้ 2 เสียง
เสียงวรรณยุกต์สำเนียงเชียงใหม่มี 6 เสียง คือ เสียงจัตวา, เสียงเอก, เสียงโทพิเศษ, เสียงสามัญ, เสียงโท, และเสียงตรี
อักษรธรรมล้านนาได้รับการบรรจุลงในยูนิโคดตั้งแต่รุ่น 5.2 ดังนั้นเราจึงสามารถใช้อักษรธรรมล้านนาในคอมพิวเตอร์ได้โดยที่ไม่ต้องอาศัยช่วงรหัสของอักษรอื่นดังเช่นที่เคยทำกันในอดีตอีกต่อไป ระบบปฏิบัติการที่รองรับยูนิโคดอักษรธรรมล้านนาในตอนนี้ ได้แก่ Ubuntu 11.04 โดยอาศัยฟอนต์แบบโอเพ็นไทป์ (OpenType) ส่วนระบบปฏิบัติการ Windows นั้นยังไม่รองรับยูนิโคดอักษรธรรมล้านนา อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า Windows จะยังไม่รองรับยูนิโคดอักษรธรรมล้านนาแต่เราก็สามารถใช้ยูนิโคดอักษรธรรมล้านนาในเว็บเบราว์เซอร์ได้โดยใช้เว็บเบราว์เซอร์ Mozilla Firefox รุ่น 4.0 ขึ้นไป (อาศัยฟอนต์แบบโอเพ็นไทป์) นอกจากนี้แล้วยังสามารถใช้ยูนิโคดอักษรธรรมล้านนาในโปรแกรมสำนักงานได้โดยใช้โปรแกรม OpenOffice รุ่น 3.2 ขึ้นไป (อาศัยฟอนต์ที่มีตาราง Graphite)
พื้นฐานจากพยางค์: อักษรในอานาโตเลีย (คาเรีย ? ลิเชีย ? ลิเดีย ? ลูเวีย) ? รูปลิ่ม (ซูเมอร์ ? แอกแคด ? อีลาไมต์) ? ตงปา ? ตันกัท ? มายา ? อี้พื้นฐานจากอักษรจีน: คันจิ ? คีตัน ? อักษรจีน (ตัวเต็ม ? ตัวย่อ) ? จื๋อโนม ? จูร์เชน ? น่าซี ? สือดิบผู้จ่อง ? ฮันจา