อักษรจีนตัวย่อ (จีนตัวย่อ: ???/???; จีนตัวเต็ม: ???/???; พินอิน: ji?nt?z?/ji?nhu?z? เจี่ยนถี่จื้อ/เจี่ยนฮั่วจื้อ) หรืออักษรคอมมิวนิสต์เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน อักษรคอมมิวนิสต์ถูกกำหนดและบังคับใช้โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492ท่ามกลางกระแสอำนาจนิยมคอมมิวนิสต์ มิใช่เกิดจากวิวัฒนาการ เหตุที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวย่อ หรือ Simplified Chinese character ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนที่ถูกต้อง หรือ Traditional Chinese Character (อักษรจีนที่มีมาแต่เดิม) อักษรจีนที่ถูกต้องได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลหลายชุมชนที่มีการตั้งชุมชนโดยผู้อพยพชาวจีนรุ่นเก่า ส่วนอักษรคอมมิวนิสต์ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนโดยผู้อพยพชาวจีนรุ่นใหม่หลังการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนที่ถูกต้องเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรคอมมิวนิสต์เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งปัจจุบันใช้อักษรคอมมิวนิสต์เป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างหนึ่งเพื่อแบ่งแยกความเป็นจีนที่ชอบธรรมและแสดงอิทธิพลของตนให้เป็นที่ประจักษ์แจ้งทางสายตาผ่านตัวอักษรจากไต้หวันในเวทีการเมืองโลก
แม้ว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้เริ่มบังคับใช้อักษรคอมมิวนิสต์อย่างจริงจังใน พ.ศ. 2492 แต่อักษรจีนแบบไม่เป็นทางการจำนวนหนึ่งที่รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนนำมากำหนดเป็นอักษรคอมมิวนิสต์นั้นก็ปรากฏก่อนหน้านั้นมานานแล้วโดยเฉพาะใข้ในการเขียนแบบหวัด และในสมัยราชวงศ์จิ๋น (พ.ศ. 322 - 337) ได้นำมาใช้ในการพิมพ์ แต่ก็มีอักษรคอมมิวนิสต์หลายๆตัวที่ถูกกำหนดขึ้นมาใหม่โดยมิได้อิงกับตัวอักษรแบบหวัดแต่อย่างใด ในสมัยที่พรรคก๊กมินตั๋งปกครองประเทศจีนอยู่นั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและนักเขียนก็ได้เสนอความคิดว่า การใช้อักษรจีนตัวย่อจะช่วยเพิ่มอัตราการอ่านออกเขียนได้ของชาวจีนมากขึ้น โดยมีความเชื่อว่าสาเหตุที่สมัยก่อนมีประชาชนรู้หนังสือน้อยก็เพราะว่าภาษาจีน ใช้ระบบตัวอักษรรูปภาพ หนึ่งตัวแทนหนึ่งเสียง-หนึ่งคำ ดังนั้นจึงมีตัวอักษรจำนวนมหาศาล ต่างกับหลายภาษาทั่วโลก ที่ใช้ระบบอักษรผสมตัวอักษรสะกดแทนเสียง
ในสาธารณรัฐประชาชนจีน มีการออกประกาศใช้อักษรจีนตัวย่อครั้งแรก 2 ฉบับ คือใน พ.ศ. 2499 และ พ.ศ. 2507 ในระหว่างที่พึ่งมีการประกาศใช้นั้น เกิดความสับสนในการใช้ตัวอักษรจีนอย่างมาก ตัวอักษรที่ใช้ในครั้งนั้นเป็นตัวอักษรย่อบางส่วนผสมกับตัวอักษรดั้งเดิม และได้มีการประกาศใช้อักษรจีนตัวย่อครั้งที่ 2 หรือที่เรียกว่า ?? เอ้อร์เจียน ในพ.ศ. 2520 ในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรม โดยฝ่ายซ้ายจัดในประเทศจีน แต่ในการประกาศใช้ครั้งที่ 2 นี้ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร จนถึง พ.ศ. 2529 ได้ยกเลิกการประกาศครั้งที่ 2 นี้ไป ในขณะเดียวกัน ก็มีการแก้ไขการประกาศใช้อักษรจีนตัวย่อครั้งที่ 1 ถึง 6 ครั้ง (รวมถึงการนำตัวอักษรดั้งเดิม 3 ตัวมาใช้แทนตัวอักษรที่ย่อไปแล้วในประกาศครั้งที่ 1 ได้แก่ ?, ?, ?) อย่างไรก็ตาม แม้อักษรจีนตัวย่อตามประกาศใช้ครั้งที่ 2 จะถูกยกเลิกไป แต่ระหว่างนั้นก็ได้มีการสอนในโรงเรียนไปแล้ว และยังใช้ในการเขียนพู่กันด้วย
นอกจากนี้ การใช้อักษรจีนตัวย่อในสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นจุดเริ่มต้นของการยกเลิกอักษรเขียนแทนเสียงแบบเก่า และจุดกำเนิดของการเขียนแทนเสียงแบบพินอิน หรือ ฮั่นอวี้พินอิน (Hanyu Pinyin) อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปตัวอักษรจีนไม่ได้รับความนิยมมากเหมือนอย่างที่ฝ่ายซ้ายจัดคาดไว้แต่แรก หลังจากการยกเลิกประกาศครั้งที่ 2 ไปแล้ว ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งมั่นว่าจะรักษาระบบอักษรจีนให้คงที่ และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ หรือนำตัวอักษรจีนที่่ถูกต้อง กลับมาใช้อีกในอนาคต
พรรคคอมมิวนิสต์กลัวว่าประชาชนจะสับสนเกี่ยวความแตกต่างระหว่างอักษรจีนที่ถูกต้องและอักษรคอมมิวนิสต์ จึงอ้างเหตุนี้ในการห้ามใช้อักษรจีนที่ถูกต้องในสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อมา พรรคคอมมิวนิสต์เห็นว่าสิ่งพิมพ์ในประเทศยังมีการใช้อักษรจีนที่ถูกต้องอยู่ จึงได้ออกกฎหมายภาษาและตัวอักษรแห่งชาติขึ้นห้ามมิให้มีการใช้อักษรจีนที่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน เนื่องจากสาธารณรัฐประชาชนจีนถือว่าอักษรคอมมิวนิสต์ถือเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมที่ประสบความสำเร็จของตน ปัจจุบันอักษรจีนที่ถูกต้องจึงไม่ได้รับการส่งเสริมใดๆทั้งสิ้นจากรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน และมีใช้อยู่ในวงแคบและจำกัด
ปัจจุบันประเทศไต้หวัน ฮ่องกง และมาเก๊า ยังคงใช้อักษรจีนที่ถูกต้องเนื่องจากมิได้อยู่ภายใต้อำนาจกฏหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงใช้อักษรจีนที่่ถูกต้องสืบเนื่องมาโดยตลอดไม่ขาดสาย
ปัจจุบันการใช้อักษรคอมมิวนิสต์ในดินแดนไทยแพร่หลายเป็นอย่างมาก เนื่องจากชาวจีนโพ้นทะเลรุ่นแรกๆที่ใช้อักษรจีนที่ถูกต้องได้ล้มหายตายจากไปเรื่อยๆ สื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์จากไต้หวันหรือฮ่องกงไม่ได้ผูกขาดตลาดเหมือนแต่ก่อน นอกจากนี้อิทธิพลทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ขยายตัวอย่างมากในดินแดนไทยในช่วงหลายๆปีมานี้ รวมถึงสถานศึกษาหลายแห่งได้นำอักษรคอมมิวนิสต์มาใช้เนื่องจากผู้สอนเป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่หรือได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งถือค่านิยมตีค่าในด้านลบ และไม่เห็นคุณค่าของตัวอักษรจีนที่ถูกต้อง หรือไม่ก็เข้าใจว่าสิ่งที่รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนกำหนดบังคับใช้คือสิ่งที่ถูกต้องและเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมจีนทั้งหมด
พื้นฐานจากพยางค์: อักษรในอานาโตเลีย (คาเรีย ? ลิเชีย ? ลิเดีย ? ลูเวีย) ? รูปลิ่ม (ซูเมอร์ ? แอกแคด ? อีลาไมต์) ? ตงปา ? ตันกัท ? มายา ? อี้พื้นฐานจากอักษรจีน: คันจิ ? คีตัน ? อักษรจีน (ตัวเต็ม ? ตัวย่อ) ? จื๋อโนม ? จูร์เชน ? น่าซี ? สือดิบผู้จ่อง ? ฮันจา