อักษรจีน คืออักษรภาพ (logogram) ที่โดยหลัก ๆ ในปัจจุบันใช้สำหรับเขียนภาษาจีน (เรียกว่า ฮั่นจื้อ) และภาษาญี่ปุ่น (เรียกว่า คันจิ) นอกจากนี้ก็ยังใช้เขียนระบบเลขของภาษาอื่นด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเช่นภาษาเกาหลี (เรียกว่า ฮันจา) และภาษาเวียดนาม (เรียกว่า จื๋อโนม) และยังคงหลงเหลืออยู่ในภาษาเหล่านี้ในบางระดับ อักษรจีนเป็นระบบการเขียนที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องอันเก่าแก่ที่สุดในโลก นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การเขียนในจีนที่เก่าสุดเริ่มเมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มีหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับการเขียนในบริเวณอื่น ตัวอย่างการเขียนภาษาจีนที่เก่าสุดมีอายุราว 957 – 407 ปี ก่อนพุทธศักราช (ราชวงศ์ซาง) ซึ่งเป็นจารึกบนกระดูกวัวและกระดองเต่า
พ.ศ. 2442 หวัง ยิรง (Wang Yirong) นักวิชาการจากปักกิ่ง พบสัญลักษณ์คล้ายอักษรบนกระดูกมังกรที่เขาได้รับจากเภสัชกร ในเวลานั้น กระดูกมังกรซึ่งมักเป็นซากฟอสซิลของสัตว์ ยังใช้ในการแพทย์แผนจีน กระดูกสัตว์เหล่านั้นพบมาก ในซากปรักหักพังของเมืองหลวงในสมัยราชวงศ์ซัง ทางเหนือของมณฑลเหอหนาน
อักษรจีนอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า ฮั่นจื้อ ?? [??] (h?nzi). สัญลักษณ์แต่ละตัวแสดงคำในภาษาจีนและความหมาย มีจุดกำเนิดจากรูปคน สัตว์ หรือสิ่งอื่นๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป รูปร่างของอักษรมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างและไม่เหมือนกับสิ่งที่เลียนแบบอีกต่อไป สัญลักษณ์หลายตัวเกิดจากสัญลักษณ์ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมารวมกัน
ระบบอักษรจีนไม่มีข้อกำหนดเรื่องจำนวนอักษร พจนานุกรมที่ใหญ่ที่สุดชื่อ Zhonghua Zihai มีอักษร 85,568 ตัว แต่ส่วนใหญ่มีที่ใช้น้อย การรู้อักษรจีนเพียง 3,000 ตัวจะสามารถอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาจีนได้ราว 99 % ในการอ่านวรรณคดี งานเขียนทางเทคนิคหรือหนังสือโบราณ ต้องรู้ประมาณ 6,000 ตัว
อักษรจีนประกอบด้วยขีดตั้งแต่ 1-64 ขีด ในพจนานุกรมจะเรียงอักษรตามหมวดนำและจำนวนขีด เมื่อเขียนอักษรจีน อักษรแต่ละตัวจะมีระยะห่างเท่าๆ กัน ไม่ขึ้นกับจำนวนขีดที่มีอยู่ อักษรที่รวมเป็นคำประสมจะไม่รวมกลุ่มเป็นอักษรเดียวกัน เพราะฉะนั้นในการอ่านภาษาจีน นอกจากต้องรู้ถึงความหมายและการออกเสียงของแต่ละคำแล้ว ยังต้องรู้ด้วยว่าอักษรใดรวมเป็นคำเดียวกัน
"ก๋วยเตี๋ยวชนิดหนึ่ง" 57 ขีด เขียนยุ่งยากที่สุด คือไม่รู้ว่าจะขีดเส้นไหนก่อนหลัง (bi?ng) ไม่มีในยูนิโคด
อักษรจีนราว 2,000 ตัวที่ใช้ในประเทศจีนยุคคอมมิวนิสต์และประเทศสิงคโปร์ได้เปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่เขียนง่ายขึ้น แต่ในไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊าและมาเลเซียยังคงใช้อักษรจีนที่ถูกต้องอยู่ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม อักษรทั้ง 2 แบบก็ยังได้รับความนิยมจนปัจจุบัน
ก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนอักษรคอมมิวนิสต์ รัฐบาลจีนออกแถลงการณ์ให้เหตุผลว่า ต้องการให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการใช้อักษรจีนมากขึ้น จึงต้องลดจำนวนขีดของตัวอักษรลงมาเพื่อลดระดับความยาก โดยย่อหมวดนำหรือตัดบางส่วนออก และย่อรูปรวม แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นอักษรคอมมิวนิสต์ถูกกำหนดบังคับใช้โดยรัฐบาลจีนใหม่ท่ามกลางกระแสสังคมต่อต้านวัฒนธรรมเก่า และถือเป็นผลผลิตทางนโยบายทางวัฒนธรรมอันเป็นตัวแทนของรัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ที่รัฐบาลจีนใช้โฆษณาชวนเชื่ออย่างหนึ่ง และปัจจุบันได้กลายเป็นเครื่องมือหรือสัญลักษณ์ทางการเมืองเพื่อสื่อถึงความเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนในพื้นที่ต่างๆทั่วโลก
พื้นฐานจากพยางค์: อักษรในอานาโตเลีย (คาเรีย ? ลิเชีย ? ลิเดีย ? ลูเวีย) ? รูปลิ่ม (ซูเมอร์ ? แอกแคด ? อีลาไมต์) ? ตงปา ? ตันกัท ? มายา ? อี้พื้นฐานจากอักษรจีน: คันจิ ? คีตัน ? อักษรจีน (ตัวเต็ม ? ตัวย่อ) ? จื๋อโนม ? จูร์เชน ? น่าซี ? สือดิบผู้จ่อง ? ฮันจา