อักษรคุรมุขี หรือ อักษรกูร์มูคี หรือ อักษรเกอร์มุกห์ เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาปัญจาบ ประดิษฐ์โดยคุรุนานักเทพ คุรุคนแรกของศาสนาซิกข์ และเผยแพร่โดยคุรุอังกัตเทพ คุรุคนที่ 2 เมื่อราว พ.ศ. 2100 พัฒนามาจากอักษรสรทะ ใช้เขียนคัมภีร์คุรุครันถสาหิบทั้ง 1,430 หน้า คำว่าคุรมุขีแปลว่า “มาจากปากของคุรุ” ภาษาอื่นที่เขียนด้วยอักษรคุรมุขีได้คือ ภาษาพรัช ภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต และภาษาสินธี
ต้นกำเนิดของอักษรนี้คืออักษรพราหมี อักษรคุรมุขีรุ่นแรกพัฒนามาเป็นอักษรคุปตะเมื่อราว พ.ศ. 900–1300 ตามด้วยอักษรสรทะ เมื่อราว พ.ศ. 1300 สุดท้ายปรับรูปเป็นอักษรสรทะแบบเทวเสศะเมื่อราว พ.ศ. 1500–1900 อักษรคุรมุขีปัจจุบันประดิษฐ์โดยคุรุองค์ที่ 2 ของศาสนาสิกข์คือ คุรุอังกัตเทพ แต่ก็อาจกล่าวได้ว่าที่จริงแล้วคุรุท่านนี้ได้จัดมาตรฐานของอักษรนี้ใหม่มากกว่า รูปแบบของอักษรคุรมุขีพบในอักษรโบราณตั้งแต่ราว พ.ศ. 1000–1500 แม้แต่คุรุนานักเทพ ก็เคยใช้อักษรแบบอักษรคุรมุขีในงานเขียนของท่าน
คุรุอังกัตเทพปรับปรุงอักษรนี้เพื่อใข้เขียนคัมภีร์ของศาสนาสิกข์ อักษรที่ใช้เขียนภาษาปัญจาบมาก่อนหน้านี้คืออักษรตกริและอักษรลันทะ อักษรลันทะที่แปลว่า “ไม่มีหาง” เป็นอักษรที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวันและการค้า แต่ไม่ใช้ในทางวรรณกรรมเพราะไม่มีรูปสระ จึงเป็นเหตุให้ท่านคุรุไม่นำอักษรนี้ไปใช้เพราะจะเกิดปัญหาในการออกเสียง
การที่อักษรนี้ใช้เขียนคัมภีร์ศาสนาสิกข์จึงทำให้มีความสำคัญในทางวรรณกรรมสำหรับชาวสิกข์ อักษรนี้เป็นอักษรราชการของปัญจาบตะวันออก ส่วนปัญจาบตะวันตกใช้อักษรอาหรับดัดแปลงแบบอูรดูเรียกว่า ชาร์มูคี อักษรคุรมุขีมี 35 ตัว 3 ตัวแรกเป็นฐานของเสียงสระไม่ใช่พยัญชนะ และมีพยัญชนะอีก 6 ตัวสร้างขึ้นโดยเติมจุดใต้พยัญชนะเดิม พยัญชนะทุกตัวมีพื้นเสียงเป็นอะ สระลอยคือ อุระ ไอระ และอิริ นอกจากไอระที่ใช้แทนเสียง /อ/ แล้ว ไม่มีรูปพยัญชนะใดที่เขียนโดยไม่มีรูปสระ
การถอดเป็นอักษรไทยตามรูป ใช้กับภาษาที่จัดพยัญชนะวรรคตามแบบภาษาบาลี, ภาษาสันสกฤตเท่านั้นดูเพิ่มที่พยัญชนะวรรค
สำหรับผู้ใช้วินโดวส์เอ็กซ์พี (Windows XP) สามารถอ่านอักษรคุรมุขีหรือพิมพ์ข้อความสั้น ๆ ด้วยโปรแกรม Character Map ฟอนต์ Raavi
พื้นฐานจากพยางค์: อักษรในอานาโตเลีย (คาเรีย ? ลิเชีย ? ลิเดีย ? ลูเวีย) ? รูปลิ่ม (ซูเมอร์ ? แอกแคด ? อีลาไมต์) ? ตงปา ? ตันกัท ? มายา ? อี้พื้นฐานจากอักษรจีน: คันจิ ? คีตัน ? อักษรจีน (ตัวเต็ม ? ตัวย่อ) ? จื๋อโนม ? จูร์เชน ? น่าซี ? สือดิบผู้จ่อง ? ฮันจา