อักษรขอมไทย เป็นอักษรขอมที่นำมาใช้เขียนภาษาไทย ซึ่งมีอักขรวิธีต่างจากการใช้อักษรขอมเขียนภาษาบาลีและภาษาเขมร อักษรดังกล่าวนี้สามารถพบได้ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ตำรายา ตำราคาถาอาคม รูปยันต์ต่าง ๆ โดยมากปรากฏในแถบภาคกลาง และอาจพบได้บ้างในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
พยัญชนะมีทั้งหมด 35 ตัว โดยแต่ละตัวมีทั้งรูปตัวเต็มกับตัวเชิงหรือพยัญชนะซ้อน มีการจัดแบ่งเป็นวรรคตามระบบภาษาสันสกฤต
รูปพยัญชนะอักษรขอมไทยน้อยกว่าอักษรไทย 9 ตัว โดยรูปพยัญชนะที่ขาดไป 9 ตัว คือ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ และ ฮ ซึ่งการเขียนคำที่มีพยัญชนะที่ขาดไปเป็นดังนี้
พยัญชนะทุกตัวใช้เป็นพยัญชนะต้นได้ทั้งหมด ในกรณีของอักษรนำและตัวควบกล้ำ ตัวแรกใช้รูปตัวเต็ม ตัวต่อไปใช้รูปตัวเชิง
นิยมเขียนด้วยรูปตัวเชิงใต้พยัญชนะต้นหรือสระ เว้นแต่พยัญชนะมีรูปสระหรือตัวควบกล้ำอยู่ข้างล่างอยู่แล้วจึงใช้รูปตัวเต็ม
การใช้ไม่แน่นอนมีทั้งที่ไม่เติมวรรณยุกต์ ใช้รูปวรรณยุกต์ต่างจากปัจจุบัน หรือใช้เหมือนกัน
มีทั้งเขียนบนพยัญชนะต้นและตัวสะกด บางครั้งไม่ใช้ไม้หันอากาศแต่เพิ่มตัวสะกดเป็น 2 ตัวแทน เช่น วนฺน = วัน, ทงั = ทั้ง
พื้นฐานจากพยางค์: อักษรในอานาโตเลีย (คาเรีย ? ลิเชีย ? ลิเดีย ? ลูเวีย) ? รูปลิ่ม (ซูเมอร์ ? แอกแคด ? อีลาไมต์) ? ตงปา ? ตันกัท ? มายา ? อี้พื้นฐานจากอักษรจีน: คันจิ ? คีตัน ? อักษรจีน (ตัวเต็ม ? ตัวย่อ) ? จื๋อโนม ? จูร์เชน ? น่าซี ? สือดิบผู้จ่อง ? ฮันจา