อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ (อาหรับ: ??? ?? ??? ?????; อังกฤษ: ?Al? ibn Ab? ??lib) เป็นบุตรเขยของศาสนทูตมุฮัมมัด อิมามที่ 1 ตามทัศนะชีอะฮ์ อย่างไรก็ตามทัศนะของมัซฮับซุนนี อิมามอะลีเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่ 4 และศูฟีย์เกือบทุกสายถือว่าเป็นปฐมาจารย์ ต่างก็ยกย่อง อะลี ว่าเป็นสาวกผู้ทรงธรรมและเป็นปราชญ์ผู้ประเสริฐเลิศ
อะลีกำเนิดในกะอ์บะฮ์ มหานครมักกะฮ์ วันที่ 13 เดือนเราะญับ ปีช้างที่ 30 ตรงกับวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 599 หรือปีที่ 10 ก่อนมับอัษการแต่งตั้งศาสดามุฮัมมัด
อิมามอะลี ถูกพวกคอวาริจญ์คนหนึ่งลอบทำร้ายที่เมืองกูฟะหฺ วันที่ 17 รอมะฎอน ปี ฮ.ศ. 40 ด้วยการใช้ดาบฟันอาบยาพิษฟันบนศีรษะของท่าน และแล้ว วันที่ 21 รอมะฎอน ปี ฮ.ศ. 40 ตรงกับวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 661 ท่านก็สิ้นอายุขัย สุสานอันประเสริฐของท่านอยู่ที่ เมืองนะญัฟประเทศอิรัก
นะหฺญุลบะลาเฆาะหฺ (ยอดโวหาร) เรียกในภาษาอังกฤษว่า Peak of Elloquence เป็นหนังสือรวบรวมสุนทโรวาทและสุภาษิตของอะลี ที่เป็นมรดกอันล้ำค่าตกทอดมาจนถึงวันนี้ รวบรวมโดยชะรีฟ อัรรอฎีย์
เมื่อมอบธงชัยให้แก่มุฮัมมัด อิบนุลฮะนะฟียะหฺ กล่าวว่า "แม้นภูเขาจะเคลื่อนที่เธอก็จงมั่นอย่าเคลื่อนที่ จงกัดกรามของเธอ จงให้อัลลอหฺทรงยืมกะโหลกศีรษะของเธอ จงตอกเท้าเข้าในธรณี ยิงจักษุให้ไกลสุดหมู่มนุษย์ จงลดสายตาของเธอลงต่ำ และจงทราบเถิดว่า ชัยชนะนั้นมาจากอัลลอหฺพระพิสุทธิคุณ"
นอกจากคำปาฐกถา และฮะดีษแล้ว ยังมีบทกวีมากมาย ที่บันทึกจากอิมามอะลี และมีการรวบรวมเป็นเล่ม
๐ จงอย่ารีบเร่งไปสู่การลงโทษบุคคลผู้หนึ่ง ในความผิดหนึ่งที่เขากระทำ แต่จงปล่อยให้มีโอกาสเพื่อการขออภัย ในระหว่างการกระทำผิดและ การลงโทษ
๐ จงลงโทษคนใช้ของท่านหากเขาฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้า แต่จงอภัยให้กับการที่เขาดื้อดึงไม่ทำตามท่าน
๐ เมื่อท่านมีชัยชนะเหนือศัตรูของท่านจงอภัยให้กับเขา อันเป็นหนทางที่ท่านจะตอบแทนการขอบคุณต่อพระเจ้าที่พระองค์ได้ทรงประทานพลัง อำนาจในการพิชิตให้กับท่าน
๐ ถ้าหากท่านมีโอกาสและมีอำนาจเหนือศัตรูของท่าน ก็จงให้อภัยกับเขาเพื่อเป็นการขอบคุณพระเจ้าต่อชัยชนะนี้
นักปราชญ์ชาวซุนนะหฺอย่างน้อย ๑๐ ท่านได้รายงานฮะดีษเกี่ยวกับภักดีต่ออะลี เป็นทางนำสู่สวรรค์ เพราะการภักดีต่อท่านเป็นการภักดีต่ออัลลอหฺ
นักปราชญ์ชาวซีอะอย่างน้อย ๘ ท่านได้รายงานฮะดีษเกี่ยวกับการที่ ท่านนบีได้เรียกทักทายอะลีว่า "สวัสดี นายแห่งมุสลิมชน และ อิมามแห่งชนผู้ยำเกรง"
ฮะดีษดังกล่าวเป็นการอธิบายความหมายและจุดประสงค์ของอายะหฺอัลกุรอานในเรื่องของอิมามยังไม่น่าสงสัย
๒. ในการขอพรดังที่กล่าวมา ท่านนบีมูซา ได้ขอจากอัลลอหฺ ให้แต่งตั้ง "อะหฺลี" (คนในครอบครัวข้าฯ) เป็นผู้ช่วยกิจการ แล้วท่านนบีก็ได้ขอให้อัลลอหฺแต่ตั้งคนในครอบครัวของท่านเป็นผู้ช่วยกิจการของท่านเช่นกัน คนๆนั้นคือท่านอะลี ตามฮะดีษ ดังกล่าว นั่นก็เพราะว่าท่านมีคุณสมบัติที่ครบถ้วนเหมาะแก่การเป็นผู้นำ และเป็นผู้หนึ่งในจำนวนสี่คนที่ท่านนบีได้เอาผ้ามาคลุมเป็นสัญลักษณ์ ตอนอายะหฺ ๓๓:๓๓ ลงมา แล้วขอพรว่า โอ้อัลลอหฺ พวกเขาเหล่านี้คือครอบครัวของข้าฯ ขอให้พระองค์ขจัดความโสโครกออกไปจากพวกเขา และได้ทรงขัดเกลาให้พวกเขาสะอาด
ถึงแม้ ท่านหญิงอุมมุซะละมะหฺ ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ต้องการเข้ามาในผ้านั้น ท่านนบีก็ไม่อนุญาตให้ นี่เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า ภรรยาท่านนบีไม่ใช่อะหฺลุลบัยตฺตามที่อัลกุรอานประสงค์ (มีตำราชาวซุนนะหฺระบุเรื่องนี้ อย่างน้อย ๕๓ เล่ม)
อายะหฺ ๓๓:๓๓ เป็นหลักฐานบ่งบอกถึงความสะอาดของท่านอะลีผู้ที่ได้รับสมญานามว่าเป็นวะลีย์ (ผู้ปกครอง) ดั่งที่กล่าวมาข้างต้นในข้อ ๑.
๓. เมื่อท่านอะลีเป็นผู้ปกครองดั่งที่กล่าวมาแล้ว ผู้ตามก็ต้องจงรักภักดี และการจงรักภักดีนี้จึงเป็นหลักการศรัทธาที่สามารถจะเป็นเครื่องตัดสินว่า คน ๆ หนึ่งเป็นผู้ศรัทธาหรือไม่ อัลกุรอานบอกว่า "จงกล่าวเถิด ว่าฉันจะไม่ขอสิ่งใดเป็นเครื่องตอบแทน นอกจากการรักต่อญาตินี้ (อัชชูรอ ๒๓) นั่นคือ อะลี ฟาฏิมะหฺ ฮะซัน และฮุเซน ตามฮะดีษที่รายงานในตำราชาวซุนนะหฺ อย่างน้อย ๓๓ เล่ม
ความรักที่เป็นภาคบังคับไม่ใช่ความรักธรรมดา และไม่ใช่ต่อคนธรรมดา ความรักนี้เป็นความรักต่อบรรดาผู้คนที่อัลลอหฺได้ประกันสวนสวรรค์ให้ ผู้ใดที่ไม่รักอะลีและอีก ๓ คนนั้น ก็จะกลายมุนาฟิกโดยไม่ต้องมาโต้แย้ง (ฮะดีษเกี่ยวกับเรื่องนี้มีอยู่ในตำราซุนนะหฺมากมาย) เพราะการรักที่อายะหฺดังกล่าวต้องการได้กลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งการศรัทธาที่ถูกต้อง