อาเลฟ (อังกฤษ: Aleph) เป็นอักษรตัวแรกของอักษรฮีบรู ตรงกับอักษรอาหรับ (?; “อลิฟ”) อักษรกรีก “อัลฟา” และอักษรละติน “A” พัฒนามาจากอักษรฟินิเชีย ??leph ซึ่งมาจากอักษรคานาอันไนต์ ?alp “วัว”
อักษรนี้ในภาษาอาหรับใช้แทนเสียง /อ/ หรือเสียงสระอา เพื่อแสดงว่าอลิฟนั้นแทนเสียงพยัญชนะหรือสระจึงเพิ่มฮัมซะฮ์ (?) ขึ้นมา เรียกว่า ฮัมซะตุลก็อฏอิ ฮัมซะฮ์ไม่ถือว่าเป็นตัวอักษรเต็มตัวเท่ากับอักษรอื่น ๆ เพราะมักจะใช้คู่กับตัวพาคือ วาว (?), ยาอ์ที่ไม่มีจุดข้างล่าง (?) และอลิฟ (?) อลิฟใช้คู่กับฮัมซะฮ์เมื่อเป็นพยางค์แรกของคำและประสมสระเสียงสั้น โดยอยู่ข้างบน (?) เมื่อเป็นเสียงสระอะหรืออุ และอยู่ข้างล่าง (?) เมื่อเป็นเสียงสระอิ ถ้าอลิฟเป็นสระเสียงยาวจะไม่แสดงฮัมซะฮ์
ฮัมซะฮ์ชนิดที่ 2 ฮัมซะตุลวัศลิ ใช้เฉพาะกับหน่วยเสียงแรกของคำว่า ?? (อัล) อันเป็นคำกำหนดชี้เฉพาะหรือคำในกรณีใกล้เคียงกัน ต่างจากฮัมซะฮ์ชนิดแรกตรงที่ว่า จะถูกยกเลิกเมื่อมีสระอยู่ข้างหน้า ฮัมซะฮ์ชนิดนี้ใช้อะลิฟเป็นตัวพาเท่านั้น ปกติจะไม่เขียนอักษรฮัมซะฮ์ แต่จะเขียนอลิฟเพียงอย่างเดียว
อลิฟมัดดะ (alif madda) ใช้ในกรณีที่อะลิฟ 2 ตัวเขียนติดกัน (เสียงอา) จะเขียนอะลิฟในรูป (?) เช่น ?????? (อัลกุรอาน)
อลิฟมักศูเราะฮ์ (alif maqs?rah) รูปร่างเหมือนตัวยาอ์ที่ไม่มีจุดข้างล่าง (?) ใช้เฉพาะตำแหน่งท้ายคำเท่านั้น ใช้แทนเสียงสระอาเช่นเดียวกับอลิฟ