ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

อะทอลล์

อะทอลล์ (อังกฤษ: Atoll) เป็นเกาะปะการังรูปวงแหวนที่ล้อมรอบลากูน ที่อาจล้อมปิดลากูนโดยสมบูรณ์หรือล้อมรอบเป็นบางส่วนก็ได้

คำว่าอะทอลล์มาจากภาษาดิเวฮิ (ภาษาอินโด-อารยัน) เป็นภาษาที่ใช้พูดกันบนหมู่เกาะมัลดีฟส์ ออกเสียงว่า แอททอลฮุ (ภาษาดิเวฮิ): ??????, /'?t???u/)OED พบบันทึกเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกในปี ค.ศ. 1625 เขียนว่า atollon อย่างไรก็ตามคำๆนี้ถูกใช้โดยชาร์ลส์ ดาร์วิน (1842, หน้า 2) ซึ่งเป็นผู้บรรยายลักษณะของอะทอลล์ว่าเป็นลักษณะพิเศษของหมู่เกาะที่มีคุณสมบัติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่มีแนวปะการังอาศัยอยู่ นิยามสมัยใหม่ของคำว่า อะทอลล์ เป็นไปตามที่แมคนีลอธิบายไว้ (1954, หน้า 396) ว่า "เป็นแนวปะการังรูปวงแหวนล้อมรอบลากูนที่ไม่มีส่วนของโหนกยื่นออกไปนอกเสียจากปะการังและเกาะเล็กเกาะน้อยที่ประกอบไปด้วยเศษชิ้นส่วนปะการัง" และการอธิบายของแฟร์บริดจ์ (1950 หน้า 341) ว่า "เป็นลักษณะเฉพาะของแนวปะการังรูปวงแหวนที่ล้อมรอบลากูนที่อยู่ตรงกลาง"

การกระจายตัวของอะทอลล์ทั่วโลกพบอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก (หนาแน่นอยู่ในหมู่เกาะตูอาโมตู หมู่เกาะแคโรไลน์ หมู่เกาะมาร์แชลล์ หมู่เกาะทะเลคอรอล และกลุ่มของเกาะคิริบาตี ตูวาลู และโตเกเลา) และมหาสมุทรอินเดีย (อะทอลล์ของมัลดีฟส์ หมู่เกาะลักกาดีฟ หมู่เกาะชากอส และหมู่เกาะรอบนอกของเซเชลส์) อะทอลล์โบราณมีลักษณะเป็นเนินในพื้นที่หินปูนเรียกว่ารีฟนอล อะทอลล์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองโดยคิดเฉพาะส่วนพื้นที่ที่เป็นบกคือเกาะอัลดาบราด้วยพื้นที่ 155 ตารางกิโลเมตร อะทอลล์ที่ใหญ่ที่สุดโดยคิดเป็นกลุ่มของเกาะคืออะทอลล์ฮูวาดุ อยู่ทางตอนใต้ของมัลดีฟส์รวมแล้วมีจำนวน 255 เกาะ

ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ปะการังที่สร้างแนวปะการังสามารถอาศัยอยู่เจริญงอกงามได้ในเขตร้อนและกึ่งร้อนในทะเลที่มีน้ำอบอุ่น ดังนั้นอะทอลล์จึงพบได้เฉพาะในเขตร้อนและกึ่งร้อน อะทอลล์ที่อยู่ทางด้านเหนือสุดของโลกคืออะทอลล์เคอร์ที่ละติจูด 28? 24' เหนือใกล้ ๆ อะทอลล์อื่น ๆ ของหมู่เกาะฮาวายด้านตะวันตกเฉียงเหนือ อะทอลล์ทางด้านใต้สุดของโลกคือแนวปะการังเอลิซาเบธที่ละติจูด 29? 58' ใต้ ใกล้ ๆ กับแนวปะการังมิดเดิลตันที่ละติจูด 29? 29' ใต้ในทะเลแทสมันซึ่งทั้งสองอะทอลล์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนหมู่เกาะคอรอลซี อะทอลล์ทางซีกโลกใต้อื่น ๆได้แก่เกาะดูซีอยู่ในกลุ่มของหมู่เกาะพิตแคร์นที่ระดับละติจูด 24? 40' บางครั้งเกาะเบอร์มิวดาก็ถูกอ้างว่าเป็นอะทอลล์ที่อยู่ทางด้านเหนือสุดที่ระดับละติจูด 32? 24' ซึ่งที่ระดับละติจูดนี้แนวปะการังจะพัฒนาขึ้นมาไม่ได้ถ้าปราศจากกระแสน้ำอุ่นกัลฟสตรีม อย่างไรก็ตาม เบอร์มิวดาถือได้ว่าเป็นอะทอลล์เทียมด้วยรูปแบบทั่วไปของมันมีความละม้ายคล้ายคลึงกับอะทอลล์แต่มีการกำเนิดต่างจากอะทอลล์เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ไม่พบอะทอลล์ที่แนวเส้นศูนย์สูตรโดยตรง อะทอลล์ที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรที่สุดคืออะรานูกะแห่งคิริบาติ ด้วยปลายด้านใต้สุดของมันห่างจากเส้นศูนย์สูตรไปทางทิศเหนือเพียง 12 กิโลเมตร

จากการเปรียบเทียบจะพบว่าส่วนที่เป็นพื้นดินของอะทอลล์จะเล็กกว่าพื้นที่ทั้งหมดมาก ๆ จากลิฟู (ขนาดพื้นดิน 1,146 ตารางกิโลเมตร) เป็นอะทอลล์ที่มีส่วนของปะการังยกขึ้นมาใหญ่ที่สุดของโลกตามด้วยเกาะเรนเนลล์ (660 ตารางกิโลเมตร) อย่างไรก็ตามจะพบว่าอะทอลล์ที่ใหญ่ที่สุดในแง่ของส่วนของพื้นดินคือคิริบาติซึ่งก็เป็นอะทอลล์ที่มีส่วนของปะการังยกขึ้นด้วย (ส่วนของพื้นดิน 321.37 ตารางกิโลเมตร และแหล่งข้อมูลอื่นให้ไว้ถึง 575 ตารางกิโลเมตร) ด้วยพื้นที่ลากูนหลัก 160 ตารางกิโลเมตร และลากูนอื่น ๆ 168 ตารางกิโลเมตร (แหล่งข้อมูลอื่นให้มีพื้นที่ลากูนทั้งหมด 319 ตารางกิโลเมตร)

ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้อธิบายการเกิดอะทอลล์ในมหาสมุทรแปซิฟิก (1842) จากการสังเกตเมื่อครั้งเดินเรือรอบโลกเป็นระยะเวลา 5 ปี HMS Beagle (1831–1836) คำอธิบายของเขาซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีความถูกต้องโดยได้พิจารณาว่ามีความเกี่ยวข้องกับเกาะภูเขาไฟกลางมหาสมุทร ที่ได้พัฒนาเป็นแนวปะการังแล้วในที่สุดเป็นอะทอลล์ โดยมีลำดับของกระบวนการเกิดเริ่มต้นจากการทรุดตัวลงไปอย่างช้าๆของเกาะภูเขาไฟ เขาให้เหตุผลว่าแนวปะการังชายฝั่งรอบๆเกาะภูเขาไฟในทะเลเขตร้อนจะเติบโตขึ้นไปขณะที่เกาะจะจมลงและทำให้เกิดอะทอลล์ (เกาะแนวปะการัง) (อย่างที่พบในอายตูทากิ บาราบารา และอื่นๆ) แนวปะการังชายฝั่งจะกลายเป็นแบริเออร์รีฟที่เป็นเหตุผลว่าด้านนอกของแนวปะการังจะดำรงตัวมันเองอยู่ได้ใกล้ๆระดับทะเลที่มีการเจริญเติบโตต่อไปอย่างต่อเนื่องขณะที่ส่วนด้านในของแนวปะการังจะมีสภาพที่เสื่อมสภาพเกิดเป็นลากูนเนื่องจากมีสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อตัวปะการังและสาหร่ายซึ่งเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญยิ่งในการที่จะทำให้แนวปะการังมีการเติบโต ด้วยระยะเวลา ภูเขาไฟที่ดับแล้วจะจมตัวลงไปใต้น้ำทะเลขณะที่แนวปะการังจะเจริญเติบโตขึ้นมาปรากฏอยู่ และนี่ทำให้เกาะดังกล่าวกลายเป็นอะทอลล์

อะทอลล์ทั้งหลายเป็นผลผลิตมาจากการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตในทะเลเขตร้อน ดังนั้นอะทอลล์เหล่านี้จะพบได้เฉพาะในเขตที่น้ำทะเลมีความอบอุ่นเพียงพอเท่านั้น เกาะภูเขาไฟที่อยู่นอกเขตที่อุณหภูมิของน้ำมีความอบอุ่นเพียงพอซึ่งเป็นที่ต้องการของสิ่งมีชีวิตที่จะสร้างแนวปะการังได้นั้นจะพัฒนาไปเป็นซีเมาต์ด้วยการจมตัวลงไปใต้ทะเลและส่วนพื้นผิวก็ถูกกัดเซาะผุพังทำลายไป ส่วนเกาะที่อยู่ในเขตที่อุณหภูมิของน้ำมีความอบอุ่นเพียงพอแนวปะการังก็จะเติบโตขึ้นไปในอัตราเดียวกันกับอัตราการจมตัวของเกาะ เกาะที่อยู่ในตำแหน่งใกล้เข้าไปทางขั้วโลกจะพัฒนาไปเป็นซีเมาต์ ขณะที่เกาะที่อยู่ใกล้เข้าไปทางเส้นศูนย์สูตรจะพัฒนาไปเป็นอะทอลล์ (ดู อะทอลล์เคอร์)

รีจินัลด์ อัลด์เวิร์ธ ดาลี ได้อธิบายการเกิดอะทอลล์ที่ค่อนข้างจะแตกต่างไปจากการอธิบายของชาร์ล ดาร์วิน คือ เกาะภูเขาไฟทั้งหลายได้ถูกกัดเซาะทำลายไปโดยคลื่นและกระแสน้ำทะเลระหว่างยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายซึ่งระดับทะเลในช่วงดังกล่าวอยู่ต่ำกว่าระดับปัจจุบันประมาณ 275 เมตร แล้วเกิดเป็นเกาะปะการัง (อะทอลล์) เมื่อทะเลค่อยๆเพิ่มระดับขึ้นจากการละลายของธารน้ำแข็ง มีการค้นพบร่องรอยของภูเขาไฟที่ลึกมากอยู่ใต้อะทอลล์หลายแห่ง (ดู อะทอลล์มิดเวย์) อย่างไรกตามยังมีข้อสงสัยอีกเล็กน้อยที่ว่าการเปลี่ยนแปลงระดับทะเลจะมีอิทธิพลต่ออะทอลล์และแนวปะการังอื่นๆจริงหรือ

อะทอลล์เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วยเป็นบริเวณที่แร่แคลไซต์มีการเปลี่ยนไปเป็นแร่โดโลไมต์ ที่ระดับความลึกระดับหนึ่งของน้ำทะเลซึ่งมีสารละลายของแคลเซี่ยมคาร์บอเนตที่ไม่อิ่มตัวแต่จะอิ่มตัวสำหรับแร่โดโลไมต์ การไหลวนอันเกิดจากน้ำขึ้นน้ำลงและกระแสน้ำช่วยกระตุ้นให้เกิดกระบวนการนี้ นอกจากนี้กระแสไฮโดรเทอร์มอลที่เกิดจากภูเขาไฟด้านใต้ของอะทอลล์อาจมีบทบาทสำคัญนี้ด้วย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301