อนุสัญญาคอนสแตนติโนเปิล
อนุสัญญาคอนสแตนติโนเปิล (อังกฤษ: Convention of Constantinople) เป็นสนธิสัญญาซึ่งลงนามโดยสหราชอาณาจักร เยอรมนี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย และจักรวรรดิออตโตมัน เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1888 ในคริสร์ทศวรรษ 1880 อังกฤษได้ยึดครองทางกายภาพเหนือคลองสุเอซและอียิปต์ ฝรั่งเศส ผู้ซึ่งเคยมีสิทธิ์เหนือคลองและยังคงถือหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทคลองสุเอซไว้ หวังว่าจะทำให้การควบคุมของอังกฤษอ่อนแอลงและพยายามที่จะโน้มน้าวให้ชาติยุโรปสนับสนุนการทำให้คลองเป็นเขตระหว่างประเทศ ทั้งสองชาติยินยอมให้คลองเป็นกลางตามสนธิสัญญาดังกล่าว มาตรา 1 รับประกันให้เรือทุกลำผ่านเข้าออกคลองได้ทั้งในช่วงสงครามและสันติภาพ แต่มาตรา 10 กลับอนุญาตให้เคดีฟดำเนินมาตรการเพื่อ "การป้องกันอียิปต์และการธำรงรักษาความสงบเรียบร้อย" ข้อความหลังได้ถูกใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์โดยอังกฤษในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และโดยอียิปต์เพื่อต่อต้านการเดินเรือของอิสราเอลภายหลัง ค.ศ. 1948 ชาติผู้ลงนามประกอบด้วยมหาอำนาจยุโรปทั้งหมดในเวลานั้น และสนธิสัญญาดังกล่าวได้ถูกตีความว่าเป็นการรับประกันสิทธิ์ในการผ่านเข้าออกคลองสุเอซของเรือใด ๆ ทั้งในช่วงสงครามและสันติภาพ
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/อนุสัญญาคอนสแตนติโนเปิล
|