องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี (อังกฤษ: Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD) เป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และยอมรับระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการค้าเสรีในการร่วมกันและพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปและโลก แต่เดิมองค์กรนี้ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในนามองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรปหรือโออีอีซี (Organization for European Economic Co-operation : OEEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1948 (พ.ศ. 2491) ในช่วงสมัยสงครามเย็น วัตถุประสงค์คือเพื่อร่วมมือกันฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจของประเทศยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้กลับคืนมาและคงไว้อย่างมั่นคงตามแนวทางเศรษฐกิจทุนนิยมโดยแผนการมาร์แชลล์ สัญญาในการก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1948 โดยมีสมาชิกประเทศยุโรปตะวันตกจำนวน 19 ประเทศ เป็นผู้ลงนาม ได้แก่ ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, กรีซ, ไอซ์แลนด์, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, นอร์เวย์, เนเธอร์แลนด์ ,โปรตุเกส, อังกฤษ, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, ตุรกี, สหรัฐอเมริกา,เยอรมนีตะวันตกและแคว้นอิสระของตรีเอสเต
นอกจากจะเป็นการฟื้นฟูยุโรปแล้วยังเป็นการต่อต้านหยุดยั้งไม่ให้อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตมาเผยแพร่ที่ยุโรปตะวันตกเป็นการโน้มน้าวให้ยุโรปตะวันออกที่เป็นประเทศบริวารให้เห็นด้วยและเข้าร่วม แต่ในขณะเดียวกัน สหภาพโซเวียตภายใต้การนำของโจเซฟ สตาลินได้หวาดระแวงแผนการมาร์แชลล์ โดยมองว่า เป็นแผนการร้ายของสหรัฐฯที่จะขยายอิทธิพลและเผยแพร่ลัทธิระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจทุนนิยมเข้าสู่ยุโรปตะวันออกจึงทำการบีบบังคับประเทศบริวารในยุโรปตะวันออกให้ปฏิเสธแผนการดังกล่าวและได้เสนอแผนการโมโลตอฟ(Molotov Plan)ในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ขึ้นมาแทนเพื่อเป็นการโต้ตอบแผนการมาร์แชล พร้อมก่อตั้งสภาเพื่อความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจร่วมกันหรือโคมิคอน(Council for Mutual Economic Assistance or Comecon) หรือเรียกอีกชื่อว่า ซีม่า(CEMA)เพื่อเป็นการคานอำนาจจากองค์กรโออีอีซีเช่นเดียวกับสนธิสัญญาวอร์ซอต่อต้านองค์กรนาโต้ (แต่จนกระทั่งถึงปีค.ศ.1991 โคมิคอนก็ได้ถูกยกเลิกไปพร้อมกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต)
ต่อมาในช่วงหลังสงครามเย็นก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่จากองค์กรโออีอีซีมาเป็นโออีซีดี และมีการลงนามกันใหม่อีกครั้ง ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศล เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 โดยมีอดีตประเทศสมาชิกโออีอีซีจำนวน 18 ประเทศ(แคว้นอิสระของตรีเอสเตได้ล่มสลายไปเมื่อปีค.ศ.1975และรวมผนวกกับอิตาลี)และมีเพิ่มขึ้นมาอีก 2 ประเทศ เป็นผู้ลงนาม ได้แก่ แคนาดาและสเปนรวมเป็น 20 ประเทศ สัญญาดังกล่าวได้มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1961 ปัจจุบันองค์การโออีซีดีก็ได้มีสมาชิกเพิ่มมาอีก 14 ประเทศได้แก่ ชิลี, เช็ก, อิสราเอล,เม็กซิโก, ฮังการี, ออสเตรเลีย ,นิวซีแลนด์, เกาหลีใต้,โปแลนด์, อิหร่าน, เอสโตเนีย,สโลวาเกีย,สโลวีเนียและญี่ปุ่นรวมทั้งหมดเป็น 34 ประเทศ และมีประเทศที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมองค์การคือประเทศ รัสเซีย ตามพันธกรณีระหว่างประเทศ มีองค์การสำคัญในองค์การโออีซีดีคือคณะมนตรี ( Council ) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมดโดยมีคณะกรรมการบริหารรวมทั้งเลขาธิการ สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา