ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

องค์การนาโต

องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (อังกฤษ: North Atlantic Treaty Organization; ฝรั่งเศส: Organisation du trait? de l'Atlantique nord) ย่อว่า เนโท (อังกฤษ: NATO) หรือ ออต็อง (ฝรั่งเศส: OTAN) หรือ นาโต (ตามที่คนไทยเรียก) เป็นพันธมิตรทางทหารระหว่างรัฐบาล ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ปัจจุบันมีสมาชิก 29 ประเทศ

สมาชิกก่อตั้งประกอบด้วยประเทศเบลเยียม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ต่อมาใน ค.ศ. 1952 กรีซและตุรกีได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ในขณะที่เยอรมนีเข้าร่วมเป็นสมาชิกใน ค.ศ. 1955 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

จากการลงนามในสนธิสัญญากรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2491 โดยมีเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักรนั้น ถือเป็นการเริ่มต้นขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งสนธิสัญญานี้ และเหตุการณ์การปิดกั้นเบอร์ลินของโซเวียต ทำให้มีการก่อตั้งองค์กรป้องกันสหภาพยุโรปตะวันตก (WEU) ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2491 และด้วยการสนับสนุนอย่างดีจากพันธมิตรสำคัญคือสหรัฐอเมริกาที่ต้องการถ่วงดุลอำนาจทางการทหารกับสหภาพโซเวียต ทำให้พันธมิตรทางทหารที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่นี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นอย่างรวดเร็ว

ส่วนการเริ่มต้นสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนืออย่างเป็นทางการนั้น เกิดขึ้นเมื่อมีการลงนามในวอชิงตันดีซี ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 โดยได้รวมสนธิทั้งห้าของของบรัสเซลส์เข้าไว้ด้วยกัน โดยมีสมาชิกที่ร่วมก่อตั้งในครั้งแรกนั้น คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา โปรตุเกส อิตาลี นอร์เวย์ เดนมาร์ก และไอซ์แลนด์ โดยเสียงสนับสนุนในการก่อตั้งนั้นไม่เป็นเอกฉันท์ เนื่องจากมีชาวไอซ์แลนด์บางกลุ่มต่อต้านการเข้าเป็นสมาชิกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2492

หลังจากที่สงครามเย็นสิ้นสุดลง เนโทได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างและปรับปรุงนโยบายในหลายๆ ด้านเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ดังนี้

ตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา สถานะ "ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มเนโท" มี 2 ประเภท คือ สถานะที่ 1 เป็นการให้ตาม title 10 หมวดที่ 2350 (a) ของ U.S. code (แก้ไขโดย Nunn Amendment ปี 2530) และสถานะที่ 2 เป็นการให้ตามกฎหมายว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ ปี 2541 (ตามที่ได้มีการแก้ไขโดย title 22 หมวดที่ 2321 (k) ของ U.S. Code) หมวดที่ 571

กฎหมายให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในการให้สถานะ “ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มเนโท” ด้วยความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในการ กำหนดสถานะ "ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มเนโท" โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA สามารถเข้าร่วมในโครงการวิจัยและการพัฒนาของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้ ประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA ประเภทนี้มี 11 ประเทศ ได้แก่ อิสราเอล อียิปต์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สาธารณรัฐเกาหลี (2530) จอร์แดน (2539) อาร์เจนติน่า (2541) นิวซีแลนด์ บาห์เรน (2545) ฟิลิปปินส์และไทย (2546)

• บริษัทของประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA สามารถเข้าร่วมการประมูลสัญญาการซ่อมบำรุง การซ่อมแซม หรือการปรับปรุงยุทโธปกรณ์ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในบางโครงการนอกผืนแผ่นดินสหรัฐฯ

• ประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA จะมีสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนาด้านการต่อต้านการก่อการร้ายร่วมกับสหรัฐฯ บางโครงการ

• กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ สามารถเข้าร่วมโครงการร่วมมือเพื่อการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงขีดความสามารถในการป้องกันประเทศของประเทศที่ได้รับสถานะ โดยรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายร่วมกันอย่างเป็นธรรม

กฎหมายให้อำนาจประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการให้สถานะ MNNA แก่ประเทศใดประเทศหนึ่งได้หลังจากที่ได้แจ้งต่อรัฐสภาภายใน 30 วัน โดยมีวัตถุประสงค์ตามกฎหมายว่าด้วย การให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการส่งออกอาวุธ การให้สถานะ MNNA ตามกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ในปี 2539 โดยเริ่มแรกมีประเทศที่ได้รับสถานะ คือ ออสเตรเลีย อิสราเอล อียิปต์ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และนิวซีแลนด์ ต่อมาได้มีการให้สถานะ MNNA เพิ่มเติมแก่ จอร์แดน (2539) อาร์เจนตินา (2541) บาห์เรน (2545) ฟิลิปปินส์ และไทย (2546) รวมทั้งหมด 11 ประเทศ

• สำหรับประเทศที่ได้รับสถานะ MNNA ที่อยู่ด้านทิศใต้หรือตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศกลุ่มเนโทจะได้รับสิทธิ์ได้รับอุปกรณ์ทางทหารส่วนเกินจากสหรัฐฯ เป็นลำดับแรก

• สิทธิ์ในการซื้อกระสุนที่ทำจากกากยูเรเนียมและสิทธิ์ได้รับคลังอาวุธยุทโธปกรณ์สำรองของสหรัฐฯ ที่ตั้งอยู่ในประเทศของตนนอกค่ายทหารสหรัฐฯ

• สิทธิ์ทำข้อตกลงกับรัฐบาลสหรัฐฯ ในการจัดการฝึกในแบบทวิภาคีหรือ พหุภาคีโดยใช้ระบบการใช้จ่ายต่างตอบแทนที่อาจยกเว้นการใช้คืนค่าใช้จ่ายทางอ้อม และค่าธรรมเนียมต่างๆ เฉพาะรายการ

• สิทธิ์ในการเช่าอุปกรณ์ทางทหารบางอย่างเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ตาม โครงการการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินทางทหารแก่รัฐบาลต่างประเทศของสหรัฐฯ

• สิทธิ์ในการขอยืมวัสดุ อุปกรณ์ และยุทโธปกรณ์ สำหรับโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมกันและสำหรับการทดสอบและประเมินผล

• สิทธิ์ในการขอให้มีการพิจารณาได้รับใบอนุญาตส่งออกดาวเทียมเพื่อการพาณิชย์ รวมถึงเทคโนโลยี ส่วนประกอบและระบบของดาวเทียมนั้นๆ โดยเร่งด่วน

การให้สถานะ MNNA ประเภทที่ 2 นี้ อาจถูกยกเลิกได้โดยดุลพินิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งต้องแจ้งรัฐสภาล่วงหน้า 30 วัน อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีการยกเลิกการให้สถานะ MNNA ประเภทนี้ และไม่มีหลักเกณฑ์ในการยกเลิกสถานะดังกล่าว

1. องค์กรฝ่ายพลเรือน 1.) คณะมนตรีแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Council - NAC) เป็นองค์กรหลักรับผิดชอบตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ของเนโทที่เกี่ยวกับการตีความสนธิสัญญาและการนำไปปฏิบัติ คณะมนตรีฯ ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศสมาชิก มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 2.) สำนักงานเลขาธิการเนโทตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม มีหน้าที่บริหารงานทั่วไปขององค์กร รวมถึงการวางแผนนโยบาย หัวหน้า สนง. / เลขาธิการเนโท คนปัจจุบัน คือ นาย Jaap de Hoop Scheffer (อดีต รมว. กต. เนเธอร์แลนด์) เข้ารับตำแหน่งเมื่อปี 2547 2. องค์กรฝ่ายทหาร • คณะกรรมาธิการทางทหาร (The Military Committee) มีหน้าที่ให้คำแนะนำด้านการทหารแก่คณะมนตรีและผู้บัญชาการกองกำลังผสม ประกอบด้วยเสนาธิการทหารของทุกประเทศภาคี ยกเว้นฝรั่งเศส และไอซ์แลนด์ (ซึ่งไม่มีกำลังทหาร) มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยเนโทได้แบ่งเขตยุทธศาสตร์ตามภูมิศาสตร์เป็น 3 เขต คือ 1.) เขตยุโรป (The European Command) อยู่ภายใต้การดูแลของผู้บัญชาการกองกำลังผสมยุโรป (Supreme Allied Commander Europe - SACEUR) โดยมีกองบัญชาการ เรียกว่า Supreme Headquaters Allied Powers Europe (SHAPE) ประกอบด้วยกองกำลังเคลื่อนที่เร็วจากประเทศสมาชิก ซึ่งพร้อมจะปฏิบัติการได้ทันที เขตการรับผิดชอบ คือ แอฟริกาเหนือ เมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปกลาง และยุโรปเหนือ ยกเว้นโปรตุเกส และสหราชอาณาจักร SHAPE มีกองบัญชาการย่อยในยุโรปเหนือที่เมืองโคสชัส ประเทศนอรเวย์ ในยุโรปกลางที่เมืองบรุนส์ชุน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในยุโรปใต้ที่เมือง Naples ประเทศอิตาลี 2.) เขตแอตแลนติก (The Atlantic Ocean Command) อยู่ภายใต้การดูแลของ Supreme Allied Commander Atlantic (SACLANT) เขตการรับผิดชอบตั้งแต่ขั้วโลกเหนือถึงเส้น Tropic of Cancer และจากฝั่งสหรัฐอเมริกาถึงยุโรป SACLANT มีหน้าที่หลักในการพิทักษ์เส้นทางเดินเรือในเขตแอตแลนติก ซึ่งเน้นลักษณะการปฏิบัติการกองกำลังทัพเรือแอตแลนติก (Standing Naval Force Atlantic -- STANA RR LNT) มีกองบัญชาการตั้งอยู่ที่ Norfolk สหรัฐฯ 3.) เขตช่องแคบ (The Channel Command) อยู่ภายใต้การดูแลของ Allied Commander in Chief Channel – CINCHAN) เขตการรับผิดชอบบริเวณช่องแคบอังกฤษ และทะเลเหนือตอนใต้ ทำหน้าที่คุ้มครองป้องกันเรือพาณิชย์ในเขตประสานงานกับ SACEUR ในการป้องกันภัยทางอากาศในเขตช่องแคบ CINCHAN มีกองกำลังเรือรบอยู่ภายใต้การควบคุมเรียกว่า Standing Naval Force Channel (STANAFORCHAN) มีกองบัญชาการอยู่ที่ Nortwood สหราชอาณาจักร


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406