เขตการปกครองของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ การปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนภูมิภาค และการปกครองส่วนท้องถิ่น
การปกครองส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ประกอบไปด้วย จังหวัด ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด ไม่รวมกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2515 กรุงเทพมหานครเคยเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองส่วนภูมิภาค แต่ละจังหวัดนั้นมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครอง
แต่ละจังหวัดแบ่งออกเป็น อำเภอ ถึง 2010[update] ปัจจุบันประเทศไทยมี 878 อำเภอ มีระดับเทียบเท่ากับเขต มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครอง แต่ละจังหวัดมีอำเภอเมือง เช่น อำเภอเมืองของจังหวัดเชียงใหม่ คือ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีชื่อจังหวัดและชื่ออำเภอเมืองเหมือนกัน แต่ละอำเภอสามารถแบ่งออกได้เป็น ตำบล ซึ่งมีระดับเทียบเท่ากับแขวง ในกรุงเทพมหานคร แต่ละตำบลสามารถแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน ซึ่งเป็นเขตการปกครองหน่วยเล็กที่สุด
กรุงเทพมหานครและอีก 5 จังหวัดซึ่งอยู่ติดกัน หรือที่เรียกว่าปริมณฑล มักเรียกรวมกันว่าเป็น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากเขตเมืองของกรุงเทพมหานคร ขยายตัวมาถึงพื้นที่ดังกล่าวแล้ว
การแบ่งภูมิภาคในประเทศไทย มีการจำกัดความที่แตกต่างกัน โดยแบ่งอย่างเป็นทางการของราชบัณฑิตยสถานและคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสภาวิจัยแห่งชาติ ได้แบ่งภูมิภาคของไทยออกเป็น 6 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้
เป็นการจัดตั้งกลุ่มจังหวัดในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการบริหารงานแบบบูรณาการ โดยริเริ่มจัดตั้งโดยกำหนดจังหวัดต้นแบบการบริหารงานแบบบูรณาการ (CEO) ในสมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ปัจจุบันประเทศไทยแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็น 18 กลุ่มจังหวัด
นับตั้งแต่ราว พ.ศ. 2458 มาจนถึง พ.ศ. 2475 ประเทศไทยเคยมีเขตการปกครองซึ่งเรียกว่า มณฑลเทศาภิบาล โดยมีพื้นที่หน่วยใหญ่กว่ามณฑล เรียกว่าบริเวณ จังหวัดแรกๆ ของไทย เคยถูกเรียกว่าเมือง โดยพัฒนามาจากนครรัฐในประวัติศาสตร์ มีทั้งเมืองซึ่งเป็นอิสระจากกรุงเทพมหานคร (หรือที่กลายมาเป็นจังหวัดในปัจจุบัน) เช่นเดียวกับเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองดูแล ของเมืองใกล้เคียงที่มีอำนาจเหนือกว่า หรือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบรรณาการกึ่งเอกราช ในปี พ.ศ. 2449 เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงคำว่า "เมือง" ไปเป็น "จังหวัด" ก่อนที่จะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2459 หลังจากการยกเลิกมณฑล เขตการปกครองใหม่ที่ใช้แทนเรียกว่าภาค ในระยะแรกนั้น ประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ภาค โดยมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเป็น 9 ภาค เมื่อปี พ.ศ. 2494 แต่การแบ่งเขตการปกครองแบบนี้ ก็ยกเลิกไปในปี พ.ศ. 2499
สำหรับเทศบาล เคยมีชื่อเรียกว่าสุขาภิบาล ซึ่งส่วนใหญ่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านสุขาภิบาล เช่น การกำจัดของเสีย สุขาภิบาลก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2451 และยกระดับเป็นเทศบาลตำบลทั้งหมด เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 ส่วนกิ่งอำเภอ ถือเป็นอำเภอประเภทพิเศษ ซึ่งบางส่วนยังคงเป็นส่วนหนึ่งของอีกอำเภอหนึ่ง โดยปกติแล้ว กิ่งอำเภอซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่มักจะพัฒนาขึ้น จนกลายเป็นอำเภออย่างสมบูรณ์ภายในเวลาไม่กี่ปี โดยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กิ่งอำเภอซึ่งมีอยู่ 81 แห่ง ก็พัฒนาขึ้นเป็นอำเภอโดยสมบูรณ์ แม้ว่ากิ่งอำเภอหลายแห่ง จะยังมีคุณสมบัติไม่ถึงเกณฑ์ของอำเภออย่างสมบูรณ์ในขณะนั้นก็ตาม
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น