ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

อ.ส.ม.ท.

บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: MCOT Public Company Limited; ชื่อย่อ: บมจ.อสมท, MCOT PCL.) เป็นรัฐวิสาหกิจในรูปบริษัทมหาชนจำกัด และเป็นกิจการสื่อสารมวลชน ภายใต้การกำกับของรัฐบาลไทย โดยสำนักนายกรัฐมนตรี ประกอบธุรกิจสื่อสารมวลชน อันประกอบด้วย กิจการวิทยุโทรทัศน์ แพร่ภาพออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง จากสถานีแม่ข่ายในกรุงเทพมหานคร ไปยังสถานีเครือข่ายในภูมิภาค 35 สถานี มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมเกือบทั่วประเทศไทย กิจการวิทยุกระจายเสียง ส่งกระจายเสียงด้วยระบบเอฟเอ็ม ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค จำนวน 35 สถานี และในระบบเอเอ็ม ในส่วนกลาง 2 สถานี สำนักข่าวไทย ดำเนินการผลิต รวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข่าวสาร ทั้งทางสื่อโทรทัศน์ และวิทยุกระจายเสียง รวมไปถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยที่ทำการส่วนกลางในปัจจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ 63/1 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

เนื่องจากจอมพล ป.พิบูลสงคราม เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการจัดบริการวิทยุและโทรทัศน์ ขึ้นในประเทศไทย โดยนำเสนอในรูป โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แต่กลุ่มข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ เปลี่ยนไปใช้วิธีจัดตั้งในรูปนิติบุคคลชื่อว่า บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495

ต่อมาภายหลัง บจก.ไทยโทรทัศน์ ประสบปัญหาการดำเนินกิจการ คณะรัฐมนตรีซึ่งนำโดยธานินทร์ กรัยวิเชียร จึงลงมติให้ยุบเลิกกิจการ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 และมีการตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2520 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2520 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้ง องค์การของรัฐบาล พุทธศักราช 2496 เพื่อดำเนินการจัดตั้ง องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประกอบกิจการสื่อสารมวลชน และกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่อง หรือใกล้เคียงกับกิจการสื่อสารมวลชน ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร รวมถึงให้โอนพนักงานและลูกจ้างของ บจก.ไทยโทรทัศน์ เข้าเป็นพนักงาน ขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งรับโอนกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของ บจก.ไทยโทรทัศน์ มาดำเนินงานสืบต่อ ซึ่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520

ต่อมาในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2520 องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ก่อตั้งสำนักข่าวไทยขึ้นอีกหน่วยงานหนึ่ง เพื่อดำเนินงานผลิตและเผยแพร่ข่าวสาร นับว่าเป็นสำนักข่าวแห่งแรกของไทย และในปี พ.ศ. 2532 องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ โทรทัศน์ผ่านระบบเคเบิล, สัมปทานให้เอกชนเช่าสัมปทานและความถี่ และร่วมดำเนินธุรกิจกับเอกชน ในการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก เป็นครั้งแรกของประเทศไทย คือ ไอบีซี (เริ่มสัญญาเมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2532) ซึ่งต่อมารวมกิจการกับยูทีวี (เริ่มสัญญาเมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ปัจจุบันคือทรูวิชันส์) ทั้งนี้ ยังมีสถานีโทรทัศน์ไทยสกายอีกแห่งหนึ่ง (ปัจจุบันยุติการออกอากาศแล้ว)

จากนั้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2547 องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อแปลงสภาพองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคล ประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจฯ โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 3,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 600 ล้านหุ้น ปัจจุบันมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวนร้อยละ 65 บมจ.อสมท เข้าจดทะเบียนซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และกระจายหุ้นสู่มหาชน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ก่อนหน้านั้น องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท พาโนราม่า เวิลด์ไวด์ จำกัด เป็นบริษัทย่อย เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สำหรับผลิตรายการและสารคดีให้กับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ บมจ.อสมท), หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อเผยแพร่หรือจำหน่ายแก่สถานีโทรทัศน์ ทั้งในและต่างประเทศ

กิจการวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ซึ่งเป็นของ บมจ.อสมท โดยตรงคือ ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจาก สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 (2498-2517), สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 (2517-2545) และ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ (2545-2558) ตามลำดับ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 และเปลี่ยนมาออกอากาศ ด้วยระบบโทรทัศน์สี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ดำเนินการแพร่ภาพตลอด 24 ชั่วโมง โดยออกอากาศจากสถานีแม่ข่าย ซึ่งตั้งอยู่ภายในสำนักงานใหญ่ ถนนพระราม 9 ไปยังสถานีเครือข่ายในส่วนภูมิภาค จำนวน 35 สถานีทั่วประเทศ มีขอบเขตการให้บริการ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ประมาณร้อยละ 87 และมีประชาชนอยู่ในเขตพื้นที่บริการ ประมาณร้อยละ 88.5

กิจการวิทยุโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ซึ่งดำเนินงานโดย บมจ.อสมท ได้แก่ เครือข่ายโทรทัศน์ดาวเทียมเอ็มคอต ปัจจุบันออกอากาศด้วยระบบดิจิทัลตลอด 24 ชั่วโมง จำนวน 2 ช่องรายการคือ เอ็มคอตวัน (MCOT1) และเอ็มคอตเวิลด์ (MCOT World) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นโอกาสคล้ายวันสถาปนา องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ครบรอบ 30 ปี โดยทั้งสองช่องรายการ ออกอากาศรายการ และสาระต่างๆ รวมทั้งข่าวสาร การถ่ายทอดสด และกีฬาต่างๆ เป็นต้น

กิจการวิทยุกระจายเสียง ในการกำกับดูแลของ บมจ.อสมท คือ สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์น เรดิโอ ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2497 ภายใต้ชื่อ สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ของ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ในปัจจุบันทำการส่งกระจายเสียงทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีจำนวนสถานีทั่วประเทศทั้งหมดจำนวน 62 สถานี ประกอบไปด้วย สถานีวิทยุที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวน 9 สถานี แบ่งเป็นระบบ FM 7 สถานีและระบบ AM 2 สถานี และในส่วนภูมิภาค ส่งกระจายเสียงในระบบ FM 53 สถานี มีขอบเขตการให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศประมาณ 92.4% และมีประชาชนอยู่ในเขตพื้นที่บริการประมาณ 93.8% ในปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการขออนุญาตเพื่อทำการจัดตั้งสถานีเครือข่ายเพิ่มเติม เพื่อขยายขอบเขตการให้บริการ

กิจการบริการข่าวสาร ในการกำกับดูแลของ บมจ.อสมท คือ สำนักข่าวไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2520 เป็นศูนย์กลางในการผลิต รวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร โดยนำเสนอผ่านทางสื่อของบริษัท ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ ทีวี, เครือข่ายสถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์น เรดิโอ, สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเว็บไซต์อีกด้วย นอกจากนี้ยังได้ขยายความร่วมมือด้านต่าง ๆ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข่าวสารกับสำนักข่าว และสื่อสำคัญ ๆ ทั่วโลก

บมจ.อสมท มีธุรกิจย่อยสองแห่งคือ บริษัท พาโนรามา เวิลด์ไวด์ จำกัด เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์และสารคดีโทรทัศน์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 และบริษัท ซี้ดเอ็มคอท จำกัด เพื่อผลิตรายการทางวิทยุกระจายเสียง จัดกิจกรรมบันเทิง ผลิตสื่อวีดิทัศน์และดนตรี รวมถึงธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง โดย บมจ.อสมท มีสัดส่วนการถือหุ้น ในทั้งสองบริษัทอยู่ที่ร้อยละ 49.0

นอกจากนี้ บมจ.อสมท ยังร่วมดำเนินกิจการกับผู้ประกอบการรายอื่น ประกอบด้วย 2 กิจการหลักที่สำคัญคือ ร่วมกับบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด (บีอีซี) ในการดำเนินกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อสมท รวมทั้งให้เช่าเวลาจัดรายการ และโฆษณาทางสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 105.5 เมกะเฮิร์ตซ์ และร่วมกับบริษัท ทรูวิชันส์ จำกัด (มหาชน) (เดิมคือบริษัท อินเตอร์เนชันแนลบรอดแคสติงคอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ยูทีวีเคเบิลเน็ตเวิร์ก จำกัด (มหาชน) ก่อนจะควบรวมกิจการเมื่อปี พ.ศ. 2541) ในการดำเนินกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก โดยมีชื่อว่า ทรูวิชันส์ (เดิมชื่อ ไอบีซี/ยูทีวี, ยูบีซี, ยูบีซี-ทรู, ทรูวิชันส์-ยูบีซี)

อนึ่ง บมจ.อสมท ยังเคยร่วมกับบริษัท สยามบรอดแคสติง จำกัด เพื่อดำเนินกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก ภายใต้ชื่อไทยสกายทีวี ระหว่างปี พ.ศ. 2534-2540 อีกด้วย

หลังการก่อตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย จึงเปลี่ยนสัญลักษณ์เป็นรูปวงกลม ภายในเป็นรูปคลื่นกระจายสัญญาณ โดยฝั่งบนมีสีที่กระจายอยู่ 3 สี คือ แดง เขียว น้ำเงิน และมีตัวอักษรคำว่า อ.ส.ม.ท. แบบโค้งสีดำ อยู่ฝั่งล่างพื้นหลังเป็นเหลือง ซึ่งอยู่ฝั่งล่าง แต่ในเอกสารจะใช้แบบโครงเส้น

หลังจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ก็ใช้สัญลักษณ์เดิมของโมเดิร์นไนน์ทีวี มาเป็นสัญลักษณ์ประจำหน่วยงาน

ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดขององค์กรแห่งนี้ เรียกว่า ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) ส่วนตำแหน่งผู้บริหารองค์กรนั้น มีการเปลี่ยนชื่อไปตามการแปรรูปองค์กร แต่ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ ถือว่าเป็น "ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์" ในทุกสมัยจนถึงปัจจุบัน โดยในยุคแรกคือ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ใช้ชื่อตำแหน่งว่า กรรมการผู้จัดการ ต่อมาในยุค องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ใช้ชื่อตำแหน่งว่า ผู้อำนวยการ และในยุคปัจจุบันคือ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ใช้ชื่อตำแหน่งว่า กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ โดยที่ปรากฏต่อไปนี้ เป็นรายนามของผู้บริหารนับแต่ พ.ศ. 2520 จนถึงปัจจุบัน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301