สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู (Han Gao Zu, ??) หรือ ฮั่นเกาซู หรือ ฮั่นโกโจ (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) ปฐมจักรพรรดิผู้สถาปนาราชวงศ์ฮั่น มีพระนามเดิมว่า หลิวปัง (Liu Bang, ??) หรือ เล่าปัง (ในสำเนียงแต้จิ๋ว) โดยมีกำเนิดเป็นลูกชาวนายากจน เกิดในอำเภอเพ่ยเสี้ยน (ปัจจุบันอยู่ทางเหนือของ มณฑลเจียงซู) เข้าร่วมกับทางการปราบโจรผู้ร้ายในยุควุ่นวายของบ้านเมืองในปลาย ราชวงศ์ฉิน มีตำแหน่งเป็นนายหมวดปราบโจรผู้ร้าย
กล่าวกันว่าพระองค์เป็นคนใจกว้าง เนื่องจากเห็นใจแรงงานที?่ถูกเกณฑ์ จึงแอบปล่อยพวกแรงงานที่ถูกเกณฑ์มาให้เป็นอิสระ ทำให้ตัวเองจำต้องหลบหนีไปจากบ้านเกิด ในปี 209 ก่อนคริสต์ศักราช ได้ก่อการกบฏด้วยการรวบรวมสมัครพรรคพวก เข้ายึดเพ่ยเสี้ยนซึ่งเป็นบ้านเกิดของตนหลังจากเฉิ่นเซิ่งกับอู๋กว่างได้ก่อกบฏขึ้นก่อน ต่อมาได้ยกทัพบุกเข้าเสียนหยาง เมืองหลวงของราชวงศ์ฉินและโค่นล้มการปกครองของราชวงศ์ฉิน ในที่สุด
เมื่อพระองค์ได้เข้าครองเมืองเสียนหยางเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ได้ทำร้ายหรือเข่นฆ่าพวกเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ฉินแต่อย่างใด แต่กลับสั่งการให้เก็บรักษาทรัพย์สมบัติในพระราชวังและวังอื่น ๆ ตลอดจนท้องพระคลังของราชวงศ์ฉินไว้อย่างดี นอกจากนั้น ยังห้าม ทหารของตนปล้นชิงทรัพย์สินที่มีค่าจากประชาชน ขณะเดียวกัน ตนเองก็ไม่รับของมีค่าที่ชาวเมืองมอบให้ ยิ่งกว่านั้น พระองค์ยังประกาศยกเลิกกฎหมายเก่าสมัยฉินซีฮ่องเต้ที่ได้บัญญัติโทษไว้โหดร้ายทารุณมาก เช่น ใครฆ่ากันตายต้องประหารชีวิตสามชั่วโคตร เป็นต้น โดยให้ใช้ "กฎหมายใหม่" ของตนที่เรียกว่า "บัญญัติ 3 ประการ" แทนกล่าวคือ "ฆ่าคนต้องชดใช้ชีวิตทำร้ายร่างกายหรือ โจรกรรมทรัพย์สินต้องชดใช้ความเสียหาย" ด้วยเหตุนี้ หลิวปังจึงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนทั่วไป
ต่อมาภายหลัง หลิวปังสู้รบเป็นเวลากว่า 4 ปี กับกองทัพที่นำโดย เซี่ยงอวี่ หรือฌ้อป้าอ๋อง ซึ่งเป็นกองกำลังอีกกองหนึ่งที่ลุกขึ้นต่อต้านราชวงศ์ฉินเช่นกัน ใน 202 ปีก่อนคริสตกาล หลิวปังได้นำกำลังทหารจำนวน 3 แสนนายปิดล้อมกองทัพของเซี่ยงอวี่ ทำให้เซี่ยงอวี่จนมุมและต้องฆ่าตัวตายริมแม่น้ำในที่สุดหลิวปังได้รับชัยชนะเบ็ดเสร็จและสถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นที่มณฑลซานตงในปัจจุบัน เมื่อ 202 ปีก่อนคริสตกาล
ในการต่อสู้กับเซียงอวี่ หรือ ฌ้อป้าอ๋อง นี้ ได้รับการกล่าวขานอย่างมากจนถึงปัจจุบัน ถูกเรียกว่า "สงคราม ฉู่-ฮั่น" (Chu-Han contention, ????) เป็นการรบกันระหว่างแคว้นฉู่กับแคว้นฮั่น ท้ายสุดแคว้นฮั่นของหลิวปังก็ชนะ ด้วยหลิวปังได้รับการสนับสนุนทั้งทางด้านบู๊ จาก ฮั่นสิน นายทหารที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นยอดขุนพล ซึ่งมีการเล่าขานต่อมาในยุคหลัง เช่น สามก๊ก เป็นต้น และทางการบุ๋นการปกครองบ้านเมือง ก็ได้รับการสนับสนุนจาก เตียวเหลียง และเซี่ยวเหอ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดเสนาบดีอีกเช่นกัน
หลิวปัง ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองและนักปกครองชั้นยอด กล่าวกันว่าครั้งหนึ่ง เมื่อได้ขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์เคยตรัสว่า
ความคิดอ่านสติปัญญาในการวางแผนข้าสู้เตียวเหลียงไม่ได้ ฝีมือในการสู้รบและนำทัพข้าก็สู้ฮั่นสินไม่ได้ ความรู้ความสามารถในการระดมพล ฝึกพล และสนับสนุนเสบียงอาหารแก่กองทัพข้าก็สู้เซียวเหอไม่ได้ แต่ความสามารถในการใช้ทั้งเตียวเหลียง ฮั่นสิน และเซียวเหอไม่มีใครสู้ข้าได้ นี่คือเหตุผลที่ทำให้กองทัพของเราได้รับชัยชนะ
เมื่อหลิวปังสถาปนาราชวงศ์ซีฮั่น (ฮั่นตะวันตก) แล้วก็ได้ใช้มาตรการต่าง ๆ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและทำการผลิต เนื่องจากสงครามได้ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปีจนทำให้จำนวนประชากรลดน้อยลง ตามที่ลู่เจี่ยทูลเสนอ หลิวปังดำเนินนโยบายนุ่มนวลกว่าสมัยราชวงศ์ฉิน ปลดระวางทหารให้กลับบ้านเพื่อทำไร่ไถนา ยกเว้นการเกณฑ์แรงงาน (หมายถึงการที่ชนชั้นปกครองในสมัยโบราณบีบบังคับกะเกณฑ์ ประชาชนมาทำงานให้โดยไม่มีค่าตอบแทน) เป็นเวลาหลายปีเพื่อจะสามารถทำการเพาะปลูกให้ได้ผล อนุญาตให้บรรดาผู้ลี้ภัยสงคราม กลับคืนสู่ถิ่นฐานของตน โดยคืนบ้านและที่ดินให้ตามเดิม ให้อิสรภาพแก่ผู้ที่ต้องขายตัวเป็นทาสเพื่อจะได้ไม่อดตายและลดภาษีที่ดินลง ภาษีรัชชูปการก็ลดลง เช่นกัน
ทางด้านปัญหาการปกครองอาณาจักรนั้น ในชั้นต้น หลิวปังใช้การปกครองที่ผสมผสานกันระหว่างการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่อำนาจส่วนกลางซึ่งองค์จักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เคยใช้กับการกระจาย อำนาจโดยแต่งตั้งขุนพลที่มีความดีความชอบเป็นพิเศษในสงคราม และเชื้อพระวงศ์สำคัญๆให้เป็นเจ้าหรือหวางไปครองเมืองโดยมีอำนาจ ปกครองดินแดนเขตแคว้น ศักดินาหรือเรียกว่า "ฟงกั๋ว" เวลาต่อมา หลิวปังเริ่มกำจัดพวก "หวาง" ที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ไปหมดและแต่ง ตั้ง "หวาง" ขึ้นใหม่ 9 องค์ด้วยกัน ล้วนเป็นเชื้อพระวงศ์แซ่หลิวหรือเล่าทั้งสิ้น (ฮ่องเต้ราชวงศ์ฮั่นทั้งหมด จึงเป็นแซ่เล่าทั้งหมด จนกระทั่งถึงสมัยสามก๊ก)
หลิวปังในวัยหนุ่มเป็นผู้ที่ไม่มีพิธีรีตองและดูหมิ่นสำนักปรัชญาขงจื๊อ เมื่อตั้งตนเป็นฮ่องเต้แล้ว พระองค์ทรงเห็นว่า ตนเองได้พิชิตอาณาจักรมาได้ด้วยการรบบนหลังม้า จึงเห็นว่า หนังสือของสำนักปรัชญาขงจื้อไร้ประโยชน์ ลู่เจี่ยเสนาบดีจึงทูล ว่า "อาณาจักรนั้น สามารถพิชิตได้ แต่จะปกครองบนหลังม้าไม่ได้" พระองค์สั่งให้ลู่เจี่ยแต่งหนังสือ เพื่อสืบหาความผิดพลาดและความล้มเหลวของจักรพรรดิราชวงศ์ฉินที่ยังผลให้ราชวงศ์ฉินต้องถูกโค่นล้มในที่สุด เพื่อให้คนรุ่นหลังถือเป็น อุทาหรณ์และรับเป็นบทเรียน
หลิวปังตั้งตนเป็นฮ่องเต้ใน 202 ปีก่อนคริสตกาล และย้ายเมืองหลวงจากเสียนหยางไปยังเมืองฉางอาน แต่ศักราชของราชวงศ์ฮั่น เริ่มนับตั้งแต่หลิวปังได้รับแต่งตั้งเป็น "ฮั่นหวาง" ใน 206 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากจักรพรรดิหลิวปังสิ้นสวรรคตและจักรพรรดิราชวงศ์ฮั่นในภายหลังได้ถวายพระนามในฐานะปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์ฮั่นว่า "ฮั่นเกาจู่"
หลิวปังยกทัพไปปราบปรามกลุ่มกบฏของอิงปู้ ถูกเกาทัณฑ์ยิงจน ประชวรหนักและสวรรคต ใน 195 ก่อนคริสต์ศักราช
เกาจู (หลิวปัง) ? ฮุ่ยตี้ (หลิวอิ๋ง) ? เซ่าตี้ (หลิวกง) ? เซ่าตี้ (หลิวหง) ? เหวินตี้ (หลิวเหิง) ? จิงตี้ (หลิวฉี่) ? อู่ตี้ (หลิวเช่อ) ? เจาตี้ (หลิวฝูหลิง) ? หลิวเฮ่อ ? เสวียนตี้ (หลิวสวิน) ? หยวนตี้ (หลิวซื่อ) ? เฉิงตี้ (หลิวเอ้า) ? ไอตี้ (หลิวซิน) ? ผิงตี้ (หลิวคั่น) ?
กวงอู่ตี้ (หลิวซิ่ว) ? หมิงตี้ (หลิวจวาง) ? จางตี้ (หลิวต๋า) ? เหอตี้ (หลิวจ้าว) ? ชางตี้ (หลิวหลง) ? อันตี้ (หลิวฮู่) ? จ้าวตี้ (หลิวอี้) ? ชุนตี้ (หลิวเป่า) ? ฉงอู่ตี้ (หลิวปิ่ง) ? จื่ออู่ตี้ (หลิวจ่วน) ? ฮวนเต้ (หลิวจื้อ) ? เลนเต้ (หลิวหง) ? เซ่าตี้ (หลิวเปี้ยน/หองจูเปียน) ? เหี้ยนเต้ (หลิวเสีย/หองจูเหียบ)