หมากล้อม หรือ โกะ (ญี่ปุ่น: ?? (??) igo อิโงะ ?); จีนตัวย่อ: ??; จีนตัวเต็ม: ??; พินอิน: w?iq? เหวยฉี; เกาหลี: ??, MC: Baduk, MR: Paduk) เดิมถือกำเนิดขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว เป็นสิ่งแสดงถึงความเก่าแก่และลึกซึ้งของอารยธรรมจีน
เหวยฉีเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ปัญญาชนชั้นสูงและขุนนางผู้บริหารประเทศ ในสมัยนั้น เหวยฉีหรือหมากล้อมเป็นหมากกระดานประจำชาติจีน ถูกจัดเป็น 1 ใน 4 ศิลปะประจำชาติจีน (ได้แก่ หมากล้อม ดนตรี กลอน ภาพ) เป็นภูมิปัญญาจีนแท้ ในขณะที่หมากรุกจีนยังมีเค้าว่ารับมาจากอินเดียและเพิ่งจะแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ถังเท่านั้น
ต่อมา เหวยฉี ได้แพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ที่ญี่ปุ่นนี้เอง ที่เป็นแผ่นดินทองของ "โกะ" ซึ่งเป็นคำที่ญี่ปุ่นใช้เรียกเหวยฉีหรือหมากล้อม
โกะรุ่งเรืองอย่างมากในญี่ปุ่น สมัยโชกุนโทะกุงะวะ ได้สนับสนุนให้ทหารเล่นโกะ เปลี่ยนวิธีการรบด้วยกำลังเป็นการรบด้วยปัญญา และยังสนับสนุนให้โกะแพร่หลายมากยิ่งขึ้นอีก โชกุนโทะกุงะวะได้ตั้งสำนักโกะขึ้น 4 สำนัก เพื่อคัดเลือกผู้เป็นยอดฝีมือโกะของญี่ปุ่น โดยจัดให้สำนักทั้ง 4 คือ ฮงนินโบ, อิโนอูเอะ, ยาสุอิ และ ฮายาชิ ส่งตัวแทนมาประลองฝีมือเพื่อชิงตำแหน่ง "เมย์จิน" จากการส่งเสริมโกะของญี่ปุ่น ทำให้อีกประมาณ 100 ปีต่อมา มาตรฐานฝีมือนักเล่นโกะของญี่ปุ่นก็ก้าวนำจีน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของโกะรวมทั้งประเทศเกาหลีไปไกลแล้ว
ปัจจุบันทั่วโลกเล่นโกะกันอย่างแพร่หลาย โกะเรียกเป็นสากลว่า "Go" ปัจจุบัน โกะแพร่หลายในกว่า 50 ประเทศ ทวีปออสเตรเลียและอเมริกาเหนือทุกประเทศ อเมริกาใต้, ยุโรป, เอเชีย เกือบทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย ในทวีปแอฟริกาแพร่หลายในประเทศแอฟริกาใต้
ใน พ.ศ. 2522 ได้เกิด "สมาพันธ์หมากล้อมนานาชาติ" (International Go Federation) ขึ้น มีประเทศสมาชิกเริ่มแรก 15 ประเทศ ในพ.ศ. 2535 เพิ่มเป็น 50 ประเทศ ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2526 ประชากรที่เล่นโกะในจีนประมาณว่ามี 10 ล้านคน, ญี่ปุ่น 10 ล้านคน, เกาหลี 10 ล้านคน (เกาหลีมีประชากรทั้งหมด 44 ล้านคน ประชากรที่เล่นโกะมีถึงเกือบ 1 ใน 4 ของประชากรประเทศ), ในไต้หวัน 1 ล้านคน, สหรัฐอเมริกา 1 ล้านคน