วิกิพีเดียตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า ทุกคนสามารถแก้ไขได้ ฉะนั้น จึงมุ่งเป้าให้สาธารณะสามารถแก้ไขได้มากหน้าเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้ทุกคนสามารถเพิ่มสาระและแก้ไขข้อผิดพลาดให้ถูก อย่างไรก็ดี บางหน้าอาจอยู่ภายใต้การจำกัดทางเทคนิค (มักเพียงชั่วคราว) ว่าผู้ใดจะได้รับอนุญาตให้แก้ไขหน้าเหล่านั้นในบางพฤติการณ์ เพราะมีความเป็นไปได้ซึ่งระบุจำเพาะว่าจะเกิดความเสียหายหากยังปล่อยให้สาธารณะแก้ไขได้ การวางข้อจำกัดเช่นนี้ เรียกว่า การป้องกัน หรือ การล็อก
ผู้ดูแลระบบวิกิพีเดียเป็นผู้ล็อกและปลดล็อกหน้า แต่ผู้ใช้ทุกคนสามารถขอให้ดำเนินมาตรการเหล่านี้ได้ การล็อกอาจไม่มีกำหนด หรือหมดอายุหลังช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ที่ระบุก็ได้
การล็อกประเภทที่พบเห็นมากที่สุด คือ การล็อกสมบูรณ์ ซึ่งหมายความว่า มีเฉพาะผู้ดูแลระบบที่สามารถแก้ไขหน้านั้นได้ และการกึ่งล็อก ซึ่งหมายความว่า เฉพาะผู้ใช้ล็อกอินและที่บัญชีได้รับการยืนยัน (คือ บัญชีที่มีอายุอย่างน้อยสี่วัน และแก้ไขหรือโพสต์อย่างน้อยสิบครั้ง) ที่สามารถแก้ไขหน้านั้นได้ การล็อกรูปแบบอื่นมีรายละเอียดด้านล่าง ตามปกติหน้าที่ถูกล็อกจะติดเครื่องหมายสัญลักษณ์แม่กุญแจขนาดเล็กไว้มุมบนขวา สีของแม่กุญแจที่ต่างกันหมายถึงประเภทการล็อกที่ต่างกัน คุณสามารถเลื่อนเมาส์ไปเหนือสัญลักษณ์แม่กุญแจเพื่อดูว่าหน้านั้นถูกล็อกด้วยเหตุใดและนานเท่าไร
นโยบายนี้อธิบายประเภทและวิธีดำเนินการล็อกและปลดล็อก ตลอดจนเหตุผลที่ควรหรือไม่ควรใช้การล็อก ในรายละเอียด
การล็อกหรือปลดล็อกทุกประเภทสามารถขอได้ที่ วิกิพีเดีย:แจ้งผู้ดูแลระบบ การเปลี่ยนแปลงหน้าที่ล็อกสมบูรณ์ควรเสนอในหน้าอภิปรายของหน้านั้น และให้ผู้ดูแลระบบคนหนึ่งดำเนินการหากคำขอนั้นไม่เป็นที่ถกเถียงหรือมีการเห็นพ้องต้องกันแล้ว
ยกเว้นในกรณีหน้าในเนมสเปซมีเดียวิกิ ผู้ดูแลระบบสามารถปลดล็อกหน้าได้ หากเหตุผลที่ต้องล็อกไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป เวลาล่วงผ่านไปพอสมควรแล้ว หรือไม่มีการเห็นพ้องต้องกันว่ามีความจำเป็นต้องล็อกต่อไป แนะนำให้ติดต่อผู้ดูแลระบบที่ล็อกหน้านั้นในพฤติการณ์ที่ไม่ชัดเจน ปูมการล็อกและปลดล็อกมีที่หน้านี้
เฉพาะผู้ดูแลระบบสามารถแก้ไขหน้าที่ถูกล็อกสมบูรณ์ได้ การล็อกประเภทนี้อาจมีกำหนดระยะเวลาหนึ่ง ๆ หรืออาจไม่มีกำหนดก็ได้
การแก้ไขหน้าที่ถูกล็อกสมบูรณ์สามารถเสนอได้ในหน้าพูดคุย (หรือในฟอรัมอื่นที่เหมาะสม) เพื่ออภิปราย ผู้ดูแลระบบสามารถแก้ไขบทความที่ถูกล็อกซึ่งสะท้อนการเห็นพ้องต้องกัน
ในหน้าที่ประสบสงครามแก้ไข การล็อกสมบูรณ์ชั่วคราวสามารถบีบให้ภาคีทุกฝ่ายอภิปรายการแก้ไขของตนในหน้าพูดคุย ที่ซึ่งพวกเขาสามารถบรรลุการเห็นพ้องต้องกัน กรณีสงครามแก้ไขเอกเทศ และสงครามแก้ไขต่อเนื่องโดยผู้เขียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อาจจัดการโดยบล็อก เพื่อมิให้ไปกีดกันการแก้ไขหน้าตามปกติของผู้อื่น
ในการล็อกหน้าเพราะข้อพิพาทเนื้อหา ปกติผู้ดูแลระบบจะล็อกรุ่นปัจจุบัน ยกเว้นเมื่อรุ่นปัจจุบันมีเนื้อหาที่ละเมิดนโยบายด้านเนื้อหาอย่างชัดเจน เช่น การก่อกวน การละเมิดลิขสิทธิ์ หรือการหมิ่นประมาทบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะการล็อกรุ่นล่าสุดบางครั้งสนองสงครามแก้ไขโดยสร้างรุ่นที่มีข้อพิพาท ฉะนั้น ผู้ดูแลระบบอาจย้อนไปรุ่นเก่าของหน้าก่อนสงครามแก้ไขหากมีจุดชัดเจนก็ได้ หน้าที่ถูกล็อกเพราะข้อพิพาทเนื้อหาไม่ควรถูกแก้ไข ยกเว้นเพื่อทำการแก้ไขที่ไม่เป็นที่พิพาทหรือมีการเห็นพ้องต้องกันชัดเจน
การชิงล็อกบทความอย่างสมบูรณ์ก่อนขัดต่อสภาพเปิดอิสระของวิกิพีเดีย การล็อกสมบูรณ์ช่วงสั้น ๆ ใช้ในกรณีพบน้อยเมื่อบัญชียืนยันอัตโนมัติจำนวนมากถูกใช้เพื่อโจมตีเชิงก่อกวนต่อบทความหนึ่งอย่างต่อเนื่อง การก่อกวนต่อเนื่อง หรือความเป็นไปได้ของการก่อกวนในอนาคตสำหรับหน้าที่มีผู้เข้าชมสูง เป็นพื้นฐานของการล็อกสมบูรณ์ไม่บ่อยครั้งนัก
การกึ่งล็อกกีดกันมิให้ผู้ใช้ไม่ลงทะเบียน (เลขที่อยู่ไอพี) เช่นเดียวกับทุกบัญชีที่ยังไม่ได้รับการยืนยันอัตโนมัติหรือยืนยันแล้ว แก้ไข
ผู้ใช้ดังกล่าวสามารถขอแก้ไขหน้าที่กึ่งล็อกได้โดยเสนอในหน้าพูดคุย หากหน้าที่กล่าวถึงและหน้าพูดคุยถูกล็อกทั้งคู่ โปรดส่งคำขอแก้ไขของคุณไปยัง วิกิพีเดีย:เลขาชาววิกิพีเดีย แทน
ผู้ดูแลระบบอาจกึ่งล็อกหน้าที่อยู่ภายใต้การก่อกวนอย่างหนักและต่อเนื่อง หรือละเมิดนโยบายด้านเนื้อหา (เช่น ชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่และมุมมองที่เป็นกลาง) อย่างไม่มีกำหนด การกึ่งล็อกไม่ควรใช้เป็นมาตรการต่อต้านการก่อกวนที่ยังไม่เกิดขึ้น และไม่ควรใช้เพื่อให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ใช้ลงทะเบียนเหนือผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนในข้อพิพาทเนื้อหา (ที่สมเหตุผล)
ผู้ดูแลระบบสามารถล็อกการสร้างหน้าได้ผ่านอินเตอร์เฟซการล็อก ซึ่งการล็อกแบบนี้มีประโยชน์แก่บทความที่ถูกลบแต่มีการสร้างใหม่ซ้ำซาก การล็อกแบบนี้ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก รายการชื่อเรื่องที่ถูกล็อกดูได้ที่ ปูมชื่อเรื่องที่ถูกล็อก
การจำกัดชื่อเรื่องบทความใหม่เป็นการป้องกันไว้ก่อนใช้ผ่านระบบบัญชีดำชื่อเรื่อง ซึ่งให้การป้องกันที่ยืดหยุ่นกว่าด้วยการสนับสนุนสายอักขระย่อยและนิพจน์ทั่วไป
ผู้ร่วมเขียนที่ปรารถนาจะสร้างหน้าภายใต้ชื่อเรื่องที่ถูกล็อกโดยมีเนื้อหาที่เหมาะสมกว่า ควรติดต่อผู้ดูแลระบบ (มองหาผู้ที่เคยเกี่ยวข้อง)
การล็อกย้ายกีดกันมิให้ผู้ใดเปลี่ยนชื่อหน้าไปยังชื่อเรื่องใหม่ ยกเว้นผู้ดูแลระบบ การล็อกย้ายมักใช้ในกรณีต่อไปนี้
เช่นเดียวกับการล็อกสมบูรณ์ การล็อกเพราะสงครามแก้ไขไม่ควรถูกมองว่าเป็นการสนับสนุนชื่อปัจจุบัน เมื่อการล็อกย้ายมีผลระหว่างการอภิปรายขอย้าย หน้านั้นควรถูกล็อกที่ชื่อเรื่องก่อนหน้าคำขอย้ายเริ่มต้น
ป้องกันการอัพโหลดไฟล์และไม่สามารถถูกแทนที่ด้วยรุ่นใหม่ยกเว้นโดยผู้ดูแลระบบ การป้องกันการอัพโหลดไม่ปกป้องหน้าไฟล์จากการแก้ไข การป้องกันการอัพโหลดอาจนำมาใช้โดยผู้ดูแลระบบเพื่อ:
เช่นเดียวกับการคุ้มครองเต็มรูปแบบ ผู้ดูแลระบบควรหลีกเลี่ยงความยินยอมรุ่นของแฟ้มหนึ่งไปอีกแฟ้มหนึ่ง และการป้องกันไม่ควรได้รับการพิจารณาการรับรองของรุ่นของแฟ้มปัจจุบันข้อยกเว้นที่เห็นได้ชัด คือเมื่อไฟล์ที่ได้รับความคุ้มครองจากการอัปโหลดเพื่อการก่อกวน
บางบริเวณของวิกิพีเดียถูกซอฟต์แวร์มีเดียวิกิล็อกถาวร เนมสเปซมีเดียวิกิ ซึ่งกำหนดบางส่วนของอินเตอร์เฟซเว็บไซต์ ถูกล็อกสมบูรณ์ ผู้ดูแลระบบไม่สามารถนำการป้องกันนี้ออกได้ ยิ่งไปกว่านั้น หน้าซีเอสเอสและจาวาสคริปต์ของผู้ใช้ เช่น ผู้ใช้:Example/common.css ถูกล็อกสมบูรณ์โดยอัตโนมัติ มีเพียงบัญชีซึ่งเป็นเจ้าของหน้าเหล่านี้และผู้ดูลแระบบเท่านั้นที่สามารถแก้ไขได้ การป้องกันนี้บังคับใช้กับหน้าย่อยของผู้ใช้ใด ๆ ที่ต่อท้ายด้วย ".css" หรือ ".js" ไม่ว่าจะมีหน้าตามีเดียวิกิที่เทียบเท่ากันหรือไม่ก็ตาม ผู้ดูแลระบบสามารถดัดแปรหน้าเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนำสคริปต์ผู้ใช้ที่ถูกใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมออก
การล็อกแบบต่อเรียง (Cascading protection) เป็นการล็อกหน้าอย่างสมบูรณ์ และยังขยายการล็อกสมบูรณ์นั้นไปยังหน้าใด ๆ ที่รวมผ่านมายังหน้าที่ถูกล็อกนั้นโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม ซึ่งรวมถึงแม่แบบ ภาพและสื่ออื่นที่อยู่ในวิกิพีเดียภาษาไทย ไฟล์ที่เก็บบนคอมมอนส์จะไม่ถูกล็อกจากการล็อกแบบต่อเรียง ซึ่งจะต้องถูกอัปโหลดขึ้นมาไว้ในวิกิพีเดียภาษาไทยเป็นการชั่วคราว หรือถูกล็อกที่คอมมอนส์เอง
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/วิกิพีเดีย:นโยบายการล็อก