หนังสือเดินทางไทย เป็นหนังสือเดินทางที่ออกให้เฉพาะประชาชนไทยเท่านั้น โดยกองหนังสือเดินทางกระทรวงการต่างประเทศ อาจจะออกในประเทศไทยสถานเอกอัครราชทูตในต่างประเทศ หรือสถานกงสุลไทยทั้ง 86 แห่ง
ประวัติและวิวัฒนาการของหนังสือเดินทางประเทศไทย เริ่มมีหลักฐานและข้อมูลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มมีการออกเอกสารที่มีรูปแบบเพื่อใช้ในการเดินทางสำหรับคนไทยโดยออกเป็นหนังสือราชการที่เขียนด้วยลายมือ มีการกำหนดตราประทับคือตราพระคชสีห์น้อย ตราพระราชสีห์น้อย หรือตราสุครีพซึ่งเป็นรูปแบบที่แน่นอนบนเอกสาร มีกำหนดอายุ 1 ปี ในระยะเริ่มแรกเอกสารเดินทางที่ทางราชการออกให้จะใช้ในข้ามเขต เมือง มณฑลภายในประเทศ ซึ่งยังไม่มีเอกสารที่ใช้สำหรับเดินทางไปต่างประเทศ
ในเวลาต่อมาซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของหนังสือเดินทางประเทศไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยทางราชการสยาม (ราชการไทยในปัจจุบัน) ได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ว่าด้วยการเดินทางออกนอกพระราชอาณาเขต (ประเทศ) โดยกำหนดให้คนสยาม (พลเมืองไทย) ที่จะเดินทางไปเมืองต่างประเทศต้องมีจดหมายหรือหนังสือเดินทางสำหรับตัวทุกคนจากเจ้าเมือง หลังจากนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนให้ใช้หนังสือเดินทางไปต่างประเทศในลักษณะเป็นหนังสือเดินทางที่พิมพ์ด้วยภาษาฝรั่งเศส 2 หน้า โดยหน้าแรกเป็นหนังสือราชการที่มีข้อความขออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทาง ส่วนหน้าสองแสดงรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือหนังสือเดินทาง ซึ่งประกอบด้วยรูปถ่าย อายุ ความสูง สีผม ตา ใบหน้า ตำหนิ และลายมือชื่อผู้ถือหนังสือเดินทาง และมีอายุการใช้งาน 1 ปี
ในสมัยนั้นหนังสือเดินทางเรียกกันว่าเอกสารเดินทางประเภทตราเดินทาง เพื่อใช้เป็นหนังสือแสดงตัวสำหรับเดินทางไปในหัวเมือง ตามคำร้องขอของสถานทูตหรือสถานกงสุลต่างประเทศในไทย หรือเป็นการออกให้แก่คนต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยมีการสลักท้องตราประทานหรือตราเดินทางลงในเอกสารเดินทาง ผู้มีอำนาจในการออกหนังสืออาจจะเป็นเจ้าหน้าที่บ้านเมืองหลายระดับ ผู้ว่าราชการเมือง กรมการจังหวัด กระทรวงมหาดไทย หรือแม้แต่กำนัน ซึ่งไม่ได้มีการกำหนดว่าเป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดแน่นอน แต่ต้องได้รับคำสั่งจากเจ้าเมืองก่อน แต่ในสมัยนั้นชาวเมืองยังไม่ได้เห็นความสำคัญกับหนังสือเดินทางมากนัก เพราะยังไม่มีการตรวจลงตรา (visa) หรือละเลยที่จะตรวจลงตราทั้งในประเทศไทย และในต่างประเทศ ทำให้เกิดปัญหาขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาหนังสือเดินทางจึงเริ่มมีการพัฒนาโดยเป็นมาตรฐานสากลมากขึ้นตามลำดับดังนี้
หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-พาสปอร์ต (e-passport) หรืออาจะเรียกว่าหนังสือเดินทางที่บันทึกข้อมูลทางชีวภาพ (biometric passport) เป็นหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่ที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิคโดยปฏิบัติตามข้อกำหนดขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ทางกองหนังสือเดินทางเริ่มให้บริการได้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 แต่เปิดให้บริการเฉพาะผู้ทำหนังสือเดินทางประเภททูตและราชการเท่านั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เปิดให้บริการสำปรับประชาชนทั่วไปเพียงวันละ 100 เล่มเฉพาะที่กรมกงสุล และเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เปิดให้บริการหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่นี้เต็มรูปแบบทุกแห่งและทุกประเภทหนังสือเดินทาง ในปัจจุบันหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่นี้มีการใช้อย่างกว้างขวางในหลายประเทศเช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอื่น ๆ
กองหนังสือเดินทางกล่าวไว้ว่าหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่นี้มีประโยชน์มากขึ้นในหลายด้านเช่นด้านของการป้องกันการปลอมแปลงเนื่องจากต้องปลอมแปลงข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลทางชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทางให้ตรงกันสองอย่างซึ่งมีความเป็นไปได้ยากทำให้สามารถสกัดกั้นขบวนการก่อการร้ายข้ามชาติ และปัญหาการลักลอบเข้าเมือง อีกทั้งยังทำให้เวลาในการตรวจสอบข้อมูลผู้ถือหนังสือเดินทางรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น สุดท้ายยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยทำให้หนังสือเดินทางประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น
หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว โดยมีข้อกำหนดออกเฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่นใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติ
ประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้
หนังสือเดินทางชั่วคราว อายุ 1 ปี จะออกให้ในกรณีที่คนไทยทำหนังสือเดินทางสูญหายหรือหมดอายุ และมีความจำเป็นเร่งด่วนจะต้องเดินทางไปต่างประเทศ โดยไม่อาจรอการออกหนังสือเดินทาง E-Passport ได้ อย่างไรก็ดี หนังสือเดินทางชั่วคราวมีข้อจำกัดคือ ไม่มี machine readable bar code ซึ่งหากนำไปขอวีซ่า บางประเทศอาจไม่ยอมรับ
ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม
ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น
หนังสือเดินทางประเทศไทยสำหรับประชาชนทั่วไปรุ่นปัจจุบันจะมีสีแดงเลือดหมูโดยมีตราครุฑอยู่ตรงกลางที่ปกด้านหน้า และคำว่า "หนังสือเดินทาง ประเทศไทย" (อยู่ต่างบรรทัดกัน) อยู่ด้านบนสุด ส่วนคำว่า "THAILAND PASSPORT" (อยู่ต่างบรรทัดกัน) อยู่ใต้ตราครุฑ ด้านล่างสุดจะเป็นสัญลักษณ์ของหนังสือเดินทางที่มีข้อมูลทางชีวภาพ (biometric passport) อักษรและสัญลักษณ์ที่หน้าปกเป็นสีทอง
ข้อมูลจำเพาะผู้ถือหนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางประเทศไทยจะมีข้อมูล 2 ภาษา เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังต่อไปนี้
หนังสือเดินทางส่วนใหญ่จะมีหมายเหตุจากประเทศที่เป็นผู้ออกหนังสือเดินทางให้โดยเป็นการชี้แจงว่าผู้มือหนังสือเดินทางเป็นพลเมืองของประเทศนั้นและขอความกรุณาให้พลเมืองของประเทศตนสามารถผ่านเข้าไปในประเทศได้และได้รับการปฏิบัติต่อผู้ถือหนังสือเป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติของนานาชาติ หมายเหตุสำหรับหนังสือเดินทางประเทศไทยมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยมีข้อความว่า
"กระทรวงการต่างประเทศแห่งประเทศไทยจักร้องขอ ณ โอกาสนี้ยังผู้เกี่ยวข้อง ได้ยินยอมให้ประชาชน/ราษฎรแห่งราชอาณาจักรไทย ผู้ปรากฏนาม ณ ที่นี้ ได้ผ่านไปโดยเสรี มิให้ล่าช้าฤๅกีดกั้น ทั้งโปรดอนุเคราะห์และปกป้องโดยนิติธรรม
หนังสือเดินทางธรรมดา หนังสือเดินทางพระ หนังสือเดินทางราชการ เก็บค่าธรรมเนียมฉบับละ 1,000 บาท ส่วนหนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ เก็บค่าธรรมเนียมฉบับละ 400 บาท
รายชื่อประเทศและดินแดนที่ทำข้อตกลงโดยได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำการตรวจลงตรา (visa) หรือการตรวจลงตรา ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง (visa on arrival) ในการเข้าประเทศเหล่านี้สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางประเทศไทย
หมายเหตุ หนังสือเดินทางทุกประเภทในที่นี้หมายถึงหนังสือเดินทางประเทศไทยประเภททูต ราชการ และธรรมดา