ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สโลวัก

สโลวาเกีย (อังกฤษ: Slovakia; สโลวัก: Slovensko) หรือ สาธารณรัฐสโลวัก (อังกฤษ: Slovak Republic; สโลวัก: Slovensk? republika) ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับสาธารณรัฐเช็ก ทางเหนือติดต่อกับโปแลนด์ ทางตะวันออกติดต่อกับยูเครน ทางใต้ติดต่อกับฮังการี และทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับออสเตรีย เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศคือเมืองหลวงบราติสลาวา ปัจจุบันสโลวาเกียเป็นรัฐสมาชิกรัฐหนึ่งของสหภาพยุโรป และได้เปลี่ยนสกุลเงินของประเทศจากกอรูนาสโลวักมาเป็นยูโรเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552

ที่ตั้ง อยู่ตอนกลางของทวีปยุโรป ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล ทิศเหนือติดกับโปแลนด์ ทิศใต้ติดกับฮังการี ทิศตะวันออกติดกับยูเครน และทิศตะวันตกติดกับสาธารณรัฐเช็ก และออสเตรีย พื้นที่ 49,035 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง กรุงบราติสลาวา (Bratislava) ภูมิอากาศ อากาศเย็นในหน้าร้อน และช่วงหน้าหนาวค่อนข้างหนาว มีหมอกและอากาศชื้น

ในช่วงเวลาประมาณ 450 ปีก่อนคริสต์ศักราช บริเวณดินแดนที่เป็นประเทศสโลวาเกียทุกวันนี้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของพวกเคลต์ซึ่งเป็นผู้สร้างออปปีดา (oppida - ชุมชนขนาดใหญ่ในช่วงปลายยุคเหล็ก มีลำน้ำล้อมรอบ) ที่บราติสลาวาและฮาฟรานอค เหรียญเงินที่มีชื่อของกษัตริย์เคลต์จารึกไว้ ที่เรียกว่า ไบอะเท็ก (Biatec) เป็นสิ่งแสดงถึงการใช้ตัวอักษรเป็นครั้งแรกในดินแดนแห่งนี้ ในปี ค.ศ. 6 (ประมาณ พ.ศ. 549) จักรวรรดิโรมันอันกว้างใหญ่ได้จัดตั้งและบำรุงแนวกองรักษาด่านรอบ ๆ แม่น้ำดานูบ ต่อมาราชอาณาจักรวานนีอุสได้ปรากฏขึ้นในสโลวาเกียตอนกลางและตะวันตก โดยจัดตั้งของพวกอนารยชนเผ่าควอดี ซึ่งเป็นชนเผ่าเยอรมันสาขาหนึ่ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 20-50 (ประมาณปี พ.ศ. 563-593)

ชาวสลาฟเข้ามาตั้งหลักแหล่งในดินแดนสโลวาเกียในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และภาคตะวันตกของสโลวาเกียกลายเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิกษัตริย์ซาโมในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ต่อมารัฐสโลวักที่ชื่อ ราชรัฐนีตรา (Principality of Nitra) ก็ได้ก่อตัวขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และเมื่อถึงปี ค.ศ. 828 (พ.ศ. 1371) เจ้าชายพรีบีนาสร้างโบสถ์คริสต์แห่งแรกขึ้นในสโลวาเกีย ราชรัฐนี้ได้เข้าร่วมกับแคว้นโมเรเวียเป็นบริเวณศูนย์อำนาจของจักรวรรดิเกรตโมเรเวีย (Great Moravian Empire) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 833 (พ.ศ. 1376) จุดสูงสุดของราชรัฐสโลวักแห่งนี้ได้มาถึงพร้อมกับการเข้ามาของนักบุญซีริลและนักบุญเมโทดีอุสในปี ค.ศ. 863 (พ.ศ. 1406) อยู่ในสมัยของเจ้าชายราสตีสลาฟ และอีกช่วงหนึ่งคือช่วงขยายดินแดนในสมัยพระเจ้าสเวตอพลุคที่ 1

ภายหลังการกระจัดกระจายของจักรวรรดิเกรตโมเรเวียในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 ชาวแมกยาร์ (ชาวฮังการี) ก็ค่อย ๆ เข้าครอบครองดินแดนสโลวาเกียปัจจุบัน ภายในศตวรรษเดียวกัน สโลวาเกียตะวันตกเฉียงใต้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของราชรัฐฮังการี (Hungarian principality) ซึ่งมีฐานะเป็นราชอาณาจักรฮังการี (Kingdom of Hungary) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1000 (พ.ศ. 1543) พื้นที่ส่วนใหญ่ของสโลวาเกียถูกผนวกเข้ากับราชอาณาจักรแห่งนี้เมื่อถึงปี ค.ศ. 1100 (พ.ศ. 1643) และพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อถึงปี ค.ศ. 1400 (พ.ศ. 1943)

เนื่องจากเศรษฐกิจระดับสูงและการพัฒนาทางวัฒนธรรมที่มากขึ้น สโลวาเกียจึงยังคงมีความสำคัญในรัฐใหม่แห่งนี้ เป็นเวลาเกือบสองศตวรรษที่ราชรัฐนีตรามีการปกครองตนเองภายในราชอาณาจักรฮังการี การตั้งถิ่นฐานของชาวสโลวักได้ขยายเข้าไปในตอนเหนือและตะวันออกเฉียงใต้ของฮังการีในปัจจุบัน ในขณะที่ชาวแมกยาร์ก็เริ่มตั้งหลักแหล่งทางใต้ของสโลวาเกีย การผสมผสานทางชาติพันธุ์มีความหลากหลายมากขึ้นหลังจากการเข้ามาของชาวเยอรมันคาร์เพเทียนในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชาววลาคในคริสต์ศตวรรษที่ 14 และชาวยิว

การสูญเสียประชากรขนานใหญ่เกิดขึ้นเมื่อพวกมองโกลจากเอเชียกลางเข้ามารุกรานในปี ค.ศ. 1241 (พ.ศ. 1784) ซึ่งก่อให้เกิดทุพภิกขภัยตามมา อย่างไรก็ตาม เมืองต่าง ๆ สโลวาเกียในยุคกลางก็พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีการก่อสร้างปราสาทหลายแห่ง รวมทั้งมีการพัฒนาศิลปะ ในปี ค.ศ. 1467 (พ.ศ. 2010) มัตตีอัส กอร์วีนุสได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกขึ้นในบราติสลาวา แต่สถาบันแห่งนี้ก็ดำรงอยู่ได้ไม่นาน

ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากที่จักรวรรดิออตโตมันได้เริ่มขยายอาณาเขตเข้ามาในฮังการีและสามารถยึดครองเมืองสำคัญ คือ บูดา (Buda) และแซแคชแฟเฮร์วาร์ (Szekesfeh?rv?r) ไว้ได้ ศูนย์กลางของอาณาจักรฮังการี (ภายใต้ชื่อ รอแยลฮังการี) ได้ย้ายขึ้นไปสู่สโลวาเกีย บราติสลาวา (ขณะนั้นรู้จักกันในชื่อ เพรสส์บูร์ก โพโชนย์ เพรชพอรอค หรือ โปโซนีอุม) ได้กลายเป็นเมืองหลวงของรอแยลฮังการีในปี ค.ศ. 1536 (พ.ศ. 2079) แต่สงครามออตโตมันและการจลาจลต่อต้านราชวงศ์ฮับสบูร์กที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งได้ก่อให้เกิดการทำลายล้างที่ใหญ่หลวงโดยเฉพาะในเขตชนบท ความสำคัญของสโลวาเกียภายในฮังการีลดลงเมื่อพวกเติร์กได้ล่าถอยออกไปจากอาณาจักรในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่บราติสลาวายังคงสถานะเป็นเมืองหลวงของฮังการีจนกระทั่งปี ค.ศ. 1848 (พ.ศ. 2391) จึงย้ายเมืองหลวงกลับไปที่บูดาเปสต์

ระหว่างการปฏิวัติในปี 1848-1849 (พ.ศ. 2391-2392) ชาวสโลวักให้การสนับสนุนจักรพรรดิออสเตรียด้วยความหวังที่จะแยกตัวจากฮังการี แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ในยุคสมัยของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1867-1918 (พ.ศ. 2410-2461) ชาวสโลวักต้องประสบกับการกดขี่ทางวัฒนธรรมอย่างเข้มงวดจากนโยบายทำให้เป็นแมกยาร์ที่รัฐบาลฮังการีเป็นผู้ส่งเสริม

ในปี ค.ศ. 1918 (พ.ศ. 2461) สโลวาเกียได้ร่วมกับแคว้นโบฮีเมีย (Bohemia) และแคว้นโมเรเวีย (Moravia) ซึ่งเป็นดินแดนข้างเคียงเพื่อก่อตั้งประเทศเชโกสโลวาเกีย (Czechoslovakia) เป็นอิสระจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี โดยได้รับการรับรองจากสนธิสัญญาแซงแชร์แมงและสนธิสัญญาตรียานง ในปีถัดมา คือ ค.ศ. 1919 (พ.ศ. 2462) เป็นช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายที่ตามมาหลังการแตกแยกของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ดินแดนสโลวาเกียได้ถูกโจมตีจากสาธารณรัฐโซเวียตฮังการี (Hungarian Soviet Republic) พื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 ของสโลวาเกียได้ถูกยึดครองและตั้งเป็นสาธารณรัฐโซเวียตสโลวัก (Slovak Soviet Republic) อยู่ไม่ถึงหนึ่งเดือน จึงถูกกองทัพเชโกสโลวักยึดพื้นที่คืนมาได้

ในปี ค.ศ. 1939 ประธานาธิบดียอเซฟ ตีซอ ผู้นิยมนาซีเยอรมนี ได้ประกาศให้สาธารณรัฐสโลวักที่ 1 (First Slovak Republic) เป็นเอกราชจากเชโกสโลวาเกีย จึงเกิดขบวนการต่อต้านนาซีขึ้นซึ่งได้ก่อการประท้วงที่รู้จักกันในชื่อ การลุกฮือของชาวสโลวัก (Slovak National Uprising) ในปี ค.ศ. 1944 (พ.ศ. 2487) แม้ว่ากลุ่มผู้ก่อการจลาจลจะถูกปราบปรามลงได้ แต่การสู้รบแบบกองโจรก็ยังดำเนินต่อไป จนกระทั่งกองทัพโซเวียต (ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพโรมาเนีย) เข้ามาขับไล่นาซีออกไปจากสโลวาเกียในปี ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488)

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เชโกสโลวาเกียได้รับการจัดตั้งเป็นประเทศขึ้นใหม่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตและสนธิสัญญาวอร์ซอตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) เป็นต้นมา ต่อมาในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) ประเทศนี้ได้กลายเป็นรัฐสหพันธ์ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเช็ก (Czech Socialist Republic) และสาธารณรัฐสังคมนิยมสโลวัก (Slovak Socialist Republic)

การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ในเชโกสโลวาเกียสิ้นสุดลงเมื่อถึงปี ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532) ซึ่งอยู่ในช่วงการปฏิวัติเวลเวต (Velvet Revolution) อันเป็นไปอย่างสันติ ตามมาด้วยการสลายตัวของประเทศออกเป็นรัฐสืบสิทธิ์สองรัฐ นั่นคือ สโลวาเกียและสาธารณรัฐเช็กได้แยกออกจากกันหลังวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) เหตุการณ์นี้บางครั้งเรียกว่าการแยกทางเวลเวต (Velvet Divorce) อย่างไรก็ตาม สโลวาเกียยังคงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสาธารณรัฐเช็กเช่นเดียวกับประเทศยุโรปกลางอื่น ๆ ในกลุ่มวีเซกราด สโลวาเกียได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547)

ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อปี 2549 นาย Robert Fico และพรรค Smer ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายซ้ายเอาชนะรัฐบาลเก่าของนาย Mikulas Dzurinda หัวหน้าพรรค Slovak Democratic Coalition (SDK) ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 8 ปี และมีนโยบายบริหารประเทศ โดยเน้นการปฏิรูปเศรษฐกิจแบบเสรี การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน และการให้ความสำคัญกับการเข้าเป็นสมาชิกนาโต้และสหภาพยุโรป จึงทำให้สโลวาเกียภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรี Dzurinda ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศมากขึ้น และประสบความสำเร็จในการผลักดันสโลวาเกียเข้าเป็นสมาชิก OECD สหภาพยุโรป และ นาโต้ในปี 2548 อย่างไรก็ตามความนิยมในรัฐบาลในระยะหลังกลับลดลง เนื่องจากความไม่แน่ใจของประชาชนเกี่ยวกับอนาคตของสโลวาเกียภายหลังการเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ความขัดแย้งและการทุจริตภายในรัฐบาล อัตราการว่างงานที่สูงขึ้น และความแตกต่างระหว่างคนรวยและคนจนในประเทศ ส่งผลให้พรรค SDK ของนาย Dzurinda พ่ายแพ้การเลือกตั้งต่อพรรค Smer ของนาย Robert Fico ในที่สุด

รัฐบาลปัจจุบันของนาย Robert Fico ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายบริหาร คือเน้นความเป็นชาตินิยม ประกอบไปด้วยการให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคม และการระงับการปฏิรูปทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่แล้ว ปัจจุบัน ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะยังคงได้การยอมรับจากประชาชนสโลวาเกียในระดับที่น่าพอใจ แต่ก็มีผู้ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลนี้ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจและนานาประเทศที่เห็นว่านโยบายของรัฐบาลจะส่งผลให้สโลวาเกียมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ถดถอยลง

สโลวาเกียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 แคว้น (Regions - kraje) แต่ละแคว้นมีชื่อเรียกตามเมืองหลักของแคว้นนั้น โดยมีอำนาจในการปกครองตนเองมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545)

นโยบายต่างประเทศในปัจจุบัน ภายใต้การนำของนาย Jan Kubis รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตนักการทูต ซึ่งเชี่ยวชาญการทูตพหุภาคี เปลี่ยนแนวทางจากการให้ความสำคัญและสร้างความใกล้ชิดกับสหรัฐฯ มาเป็นการให้ความสำคัญกับสหภาพยุโรป และปรับนโยบายต่างประเทศตามแนวทางของสหภาพยุโรปแทน

ปัจจุบันสโลวาเกียมีบทบาทที่สำคัญในเวทีระหว่างประเทศต่างๆ โดยปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งองค์การสหประชาชาติ วาระปี 2549-2550 นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกของ OSCE OECD นาโต้ และ สหภาพยุโรป ตั้งแต่ปี 2547

ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างสโลวาเกียกับฮังการีเป็นประเด็นที่อ่อนไหวในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสโลวาเกีย อันเนื่องมาจากปัญหาชนกลุ่มน้อยเชื้อสายฮังกาเรียนใน สโลวาเกีย ซึ่งมีอยู่ประมาณประมาณ 600,000 คน หรือ ร้อยละ 9.7 (ฮังการีเคยปกครองสโลวาเกียอยู่กว่า 1,000 ปีภายใต้จักรวรรดิออสโตร-ฮังการเรียน จึงมีชาวฮังการีในสโลวาเกียจำนวนมาก) ในสมัยของนายกรัฐมนตรี Meciar ได้เคยออกกฎหมายที่ละเมิดสิทธิของชาวฮังกาเรียน เช่น ประกาศใช้ภาษาสโลวักเป็นภาษาทางการเพียงภาษาเดียว อีกทั้งยังห้ามใช้ป้ายภาษาฮังการีแม้แต่ในย่านที่อยู่อาศัยของชาวฮังกาเรียนกลุ่มน้อย ในขณะที่ฮังการีได้ออกกฎหมายที่จะให้สิทธิและความคุ้มครองชนเชื้อสายฮังการีแม้จะเป็นประชากรของประเทศอื่น ๆ จึงส่งผลให้ประเทศทั้งสองมีความขัดแย้งกันในระดับหนึ่ง

เศรษฐกิจของสโลวาเกียเริ่มมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงขึ้นภายหลังจากที่รัฐบาลของนาย Mikulas Dzurinda ได้เข้ามาบริหารประเทศในปี 2541 โดยนโยบายหลักของรัฐบาลคือการปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ไปสู่ระบบเศรษฐกิจการตลาด การสร้างเสถียรภาพ และการปฏิรูปโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจมหภาค ตลอดจนดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและระบบธนาคาร ซึ่งส่งผลให้สภาวะทางเศรษฐกิจของสโลวักมีความมั่นคงและการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น สโลวาเกียเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ (Foreign Direct Investment) ที่สูงมากเนื่องจากนโยบายรัฐบาลที่เอื้ออำนวยการลงทุนจากต่างชาติ (ธนาคารส่วนใหญ่ในประเทศเป็นของคนต่างชาติ) ศักยภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่สูง เนื่องจากในสมัยสังคมนิยมถูกกำหนดให้เป็นศูนย์อุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าจักรกล อุปกรณ์โดยเฉพาะอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ นอกจากนี้สโลวาเกียยังมีข้อได้เปรียบเรื่องค่าแรงที่ถูก และแรงงานมีการศึกษา มีระบบโครงสร้างภาษีที่เอื้ออำนวยต่อนักลงทุน ปัจจุบันมีบริษัทต่างชาติ อาทิ U.S. Steel, Volkswagen, Siemens, Plastic Omnium Matsushita, Deutsche Telecom และ Sony เข้าไปลงทุนในสโลวาเกีย นอกจากนี้ สโลวาเกียยังเป็นฐานการผลิตสินค้าราคาถูกสำหรับประเทศในสหภาพยุโรปอีกด้วย

ภายหลังจากที่นาย Robert Fico เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2549 มีนโยบายที่เน้นความเป็นชาตินิยมและการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมให้แข็งแกร่งขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจลดน้อยลงกว่า 2-3 ปีก่อน โดยมีการคาดการณ์กันว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจน่าจะอยู่ในระดับร้อยละ 6.5-7 ในปี 2550

ประชากร 5.4 ล้านคน (2543) ชาวสโลวัก (85.7%) ชาวฮังกาเรียน (10.6%) ชาวโรมาเนีย (1.6%) ชาวเช็ก ชาวเยอรมัน ชาวโปแลนด์ และอื่นๆ (ที่มา/กระทรวงต่างประเทศ)


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406