ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ด

สโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ด (อังกฤษ: Sheffield United Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพอังกฤษ ตั้งอยู่ในเมืองเชฟฟีลด์ เซาท์ยอร์กเชียร์

พวกเขาเป็นสโมสรแรกที่ใช้ชื่อต่อท้ายว่า "ยูไนเต็ด" และฉายา ดาบคู่ (The Blades) ของพวกเขาก็มาจากการที่เมืองของเขามีอุตสาหกรรมเหล็กกล้าที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก สนามเหย้าของพวกเขาคือ บรามอลล์เลน ซึ่งเป็นสนามฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังใช้อยู่

สโมสรเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดประสบความสำเร็จในช่วงระหว่างปี 1897 ถึง 1902 โดยได้แชมป์ลีกในปี ค.ศ. 1898 และได้แชมป์เอฟเอคัพในปี ค.ศ. 1899 และ 1902 และอีกครั้งในปี 1915 และ 1925 พวกเขายังเคยเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศอีกสองครั้งในปี 1901 และ 1936 เข้าถึงรอบรองชนะเลิศอีกสี่ครั้งในปี 1961, 1993, 1998 และปี 2003 นอกจากนี้ในถ้วยลีกคัพ ผลงานที่ดีที่สุดของพวกเขาก็คือการเข้าถึงรอบรองชนะเลิศในปี 2003 อีกเช่นเดียวกัน

ผลงานในช่วงที่ผ่านมา ทีมดาบคู่ สามารถเลื่อนชั้นมาเล่นพรีเมียร์ ลีกได้ในปี 2006 แต่อยู่ได้แค่ปีเดียวกตกชั้นไปอีกครั้ง พวกเขาสามารถเข้าถึงรอบเพลย์ออฟเลื่อนชั้นได้ในปี 2009 แต่จากความไว้วางใจในตัวผู้เล่นที่ยืมมาประกอบกับการขายดาวดังไป ทำให้ทีมต้องตกชั้นไปสู่ลีก วัน เป็นครั้งในรอบ 23 ปี

สโมสรเชฟฟีลด์ยูไนเต็ด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ.1889 ที่โรงแรมอเดลฟี ในเมืองเชฟฟีลด์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงภาพยนตร์ครูซิเบิ้ล Crucible Theatre) โดยผู้ก่อตั้งคือ เซอร์ ชาร์ลส์ เคร็ก ประธานสโมสรคริกเก็ต เชฟฟีลด์ เว้นส์เดย์ ซึ่งเคยใช้สนามบรามอลล์ เลนมาก่อน ก่อนจะย้ายไปที่โอลีฟ โกรฟ ท่านเซอร์จึงต้องหาทีมใหม่มาเช่าสนามแทน ซึ่งก็คือเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดนี่เอง

ไม่ต้องสงสัยเลยว่ายุคที่รุ่งเรืองที่สุดของเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดอยู่ในช่วง 40 ปีแรกของสโมสร ระหว่างปี 1895-1935 เมื่อพวกเขาในแชมป์ลีกสูงสุดในฤดูกาล 1897-98 รองแชมป์ในปี 1896-97 และ 1899-1900 ชนะเลิศเอฟเอ คัพ ปี 1899, 1902 ,1915 และ 1925 รองชนะเลิศปี 1901 และปี 1936 จากปี 1925 เป็นต้นมา พวกเขาก็ไม่เคยสัมผัสถ้วยแชมป์อีกเลย หลังจากนั้นพวกเขาก็มักจะขึ้นชั้น ตกชั้น สลับกันไป พวกเขาเคยเข้าถึงรอบรองชนะเลิศบอลถ้วยในประเทศทั้งสองถ้วยและยังได้เตะเพลย์ออฟเลื่อนชั้นในเดอะ แชมเปี้ยนชิพอีกในฤดูกาล 2002-03 แต่ก็พลาดทั้งหมด

ช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดอยู่ในช่วงปี 1975 ถึง 1981 จากที่จบอันดับ 6 ดิวิชัน 1 ในฤดูกาล 1974-75 ปีต่อมาพวกเขากลับตกชั้นสู่ดิวิชัน 2 และอีก 3 ปีก็ตกชั้นอีกสู่ดิวิชัน 3 เท่านั้นยังไม่พอในปี 1981 พวกเขาก็ตกชั้นสู่ดิวิชัน 4 (ซึ่งเทียบเท่า ลีก ทูในปัจจุบัน) แต่อยู่ได้แค่ปีเดียวพวกเขาก็กลับสู่ดิวิชัน 3 และ แค่ 2 ปีก็เลื่อนชั้นกลับสู่ดิวิชัน 2 อีกครั้ง

พวกเขาตกชั้นสู่ดิวิชัน 3 อีกครั้งในปี 1988 แต่หลังจากได้ผู้จัดการทีมคนใหม่คือ เดฟ บาสเซตต์ เขาก็ทำให้เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด กลับสู่ยุคที่ถือว่าประสบความสำเร็จอีกครั้ง เมื่อใช้เวลาแค่ 2 ปีนำเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดคืนสู่ ลีกสูงสุดอีกครั้งในปี 1990 หลังจาก 14 ปีที่ตกชั้นไป คราวนี้พวกเขาอยู่ได้ถึง 4 ฤดูกาล (เป็นหนึ่งในทีมที่อยู่ในยุคก่อตั้งพรีเมียร์ ลีก) และเข้าถึงรอบรองชนะเลิศเอฟเอ คัพในฤดูกาล 1992-93 ก่อนตกชั้นไปในปี 1994

พวกเขาไม่ได้อยู่ในลีกสูงสุดถึงอีก 12 ปี โดยในช่วงเวลาเหล่านั้นพวกเขาเกือบที่จะได้เลื่อนชั้นมาอยู่หลายครั้งเช่น เข้าถึงรอบเพลย์ออฟเลื่อนชั้นในปี 1997 ซึ่งคุมโดย โฮเวิร์ด เคนดัลล์ ผู้รับตำแหน่งต่อจากเดฟ บาสเซตต์ อีกครั้งในปี 1998 โดยผู้จัดการทีมชั่วคราว สตีฟ ทอมป์สัน ปีถัดมาพวกเขาได้นีล วอร์น็อกเข้ามาคุม แต่กลับสู่สภาวะที่ยากลำบากอีกครั้งเมื่อจบอันดับเกือบท้ายตารางและสถานการณ์ทางการเงินที่เข้าขั้นวิกฤตจึงไม่สามารถที่จะหาผู้เล่นมาเสริมทีมได้ตามที่ต้องการ เมื่อถึงฤดูกาล 2002-03 ก็เป็นอีกฤดูกาลที่น่าจดจำของสโมสรเมื่อเข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลถ้วยภายในประเทศทั้งสองรายการ และได้เพลย์ออฟ เลื่อนชั้น แต่ก็น่าเสียดาย ที่พลาดทั้งหมด โดยรอบเพลย์ออฟเลื่อนชั้น แพ้ วูล์ฟแฮมป์ตันไป 3-0 อย่างไรก็ตาม นีล วอร์น็อกก็สามารถนำทีมเลื่อนชั้นได้สำเร็จในปี 2006 เมื่อพาทีมจบตำแหน่งรองชนะเลิศในลีกแชมเปี้ยนชิพ แต่อยู่ได้ปีเดียวก็ต้องตกชั้นไป ท่ามกลางการโต้เถียงที่รุนแรงกับ คาร์ลอส เตเบซ (ถ้าจำกันได้ ปีนั้นแมทช์สุดท้าย คาร์ลอส เตเบซ เป็นคนยิงให้เวสต์แฮมบุกไปเอาชนะแมน ยูไนเต็ดถึงถิ่น ซึ่งก่อนแข่งเวสต์แฮมมีแต้มเท่ากับเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดแต่ลูกได้เสีย เชฟฟีลด์ยูไนเต็ดดีกว่า ทำให้เวสต์แฮม รอดตกชั้น ส่วนเชฟฟีลด์ยูไนเต็ด ตกชั้น) หลังจากนั้นเขาก็ลาออก

พวกเขาประสบกับช่วงเวลาที่ยากลำบากอีกครั้งในเดอะ แชมเปี้ยนชิพ ด้วยค่าเหนื่อยที่ไม่เหมาะสมกับระดับฝีเท้าของนักเตะประกอบกับช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จสั้นเกินไป ในปี 2009 เควิน แบล็กเวลล์ พาทีมเข้าถึงรอบเพลย์ออฟเลื่อนชั้นอีกครั้ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ทีมเข้าสู่ยุคมืดมนอีกครั้ง ฤดูกาล 2010-11 ถือเป็นหายนะอย่างแท้จริง เมื่อพวกเขาเปลี่ยนผู้จัดการทีมไปถึง 3 คน สุดท้ายก็ต้องตกชั้น ซึ่งคุมโดยมิกกี้ อดัมส์ นั่นหมายความว่าพวกเขาต้องตกชั้นสู่ลีกวันเป็นครั้งแรกในรอบ 23 ปี และเพียง 5 ปีเท่านั้นหลังจากที่อยู่ในพรีเมียร์ลีก

สโมสรเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดเล่นที่สนามบรามอลล์ เลน ใกล้กับใจกลางเมืองเชฟฟีลด์ สนามบรามอลล์ เลนเป็นสนามฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังใช้เตะอยู่ในปัจจุบัน โดยเกมแรกต้องย้อนไปถึงปี 1862 โดยเป็นการพบกันระหว่างทีมฮัลลัมกับทีมเชฟฟีลด์ คลับ เป็นสนามแรกในโลกที่มีการเปิดไฟในสนามเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ปี 1878 โดยทีมที่มาเตะนั้นถูกเลือกโดยสมาคมฟุตบอลเมืองเชฟฟีลด์เอง โดยไฟนั้นได้มาจากเครื่องปั่นไฟ 2 ตัว มีผู้ชมประมาณ 20,000 คน ผลการแข่งขัน 2-0 ตอนแรกสนามแห่งนี้ถูกใช้เป็นสนามคริกเก็ตโดยแมทช์แรกที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการพบกันระหว่างทีมยอร์กเชียร์กับทีมซัสเซ็กส์ในปี 1855 สโมสรคริกเก็ตของเมืองได้เกิดในปี 1854 โดยใช้ชื่อว่า สโมสรคริกเก็ต เชฟฟีลด์ยูไนเต็ดและสนามบรามอลล์ เลนถูกเช่าโดยสโมสรจากดยุคแห่งนอร์ฟอล์ค สนามได้เปิดการแข่งขันคริกเก็ตเมื่อวันที่ 30 เมษายน 1855 สโมสรคริกเก็ต ยอร์กเชียร์ เคาน์ตี้ ได้ถือกำเนิดขึ้นที่สนามแห่ง และใช้สนามแห่งนี้จนถึงแมทช์สุดท้ายเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 1973 โดยพบกับคู่อริเก่า แลงคาเชียร์ สนามแห่งนี้ได้รับการต่อเติมเพิ่มที่นั่งอีก 3,000 ที่นั่ง ในปี 2006 บริเวณมุมของสนาม ทำให้สนามมีที่นั่งเพิ่มเป็น 32,609 ที่นั่ง ในปี 2009 สโมสรได้อนุญาตให้มีการต่อเติมสนามอีกครั้ง โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกจะขยายสนามฝั่งเดอะ คอปออกไป ซึ่งจะทำให้สนามมีความจุประมาณ 37,000 ที่นั่ง และจะเอาสแตนด์ฝั่งหลักออกจากนั้นจะติดตั้งจอยักษ์เข้าไปที่หลังคา ในช่วงสอง สแตนด์ฝั่งวาลัด (แสตนด์ฝั่งอาโนลด์ ลาเวอร์เก่า) จะถูกต่อเติมทำให้มีความจุประมาณ 40,000 ที่นั่ง โดยเป้าหมายรองของการต่อเติมคราวนี้ก็เพื่อการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกของอังกฤษในปี 2018 หรือ 2022 ซึ่งเมืองเชฟฟีลด์ถูกเลือกเป็นหนึ่งในเมืองที่จะใช้จัดการแข่งขัน อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ปี 2009 สมาคมฟุตบอลของอังกฤษได้เลือกสนามฮิลส์โบโร่ ของเชฟฟีลด์เวนส์เดย์ แทนหากอังกฤษได้เป็นเจ้าภาพ เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้เทรเวอร์ เบิร์ช ประธานบริหารของเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดต้องพักโครงการนี้ไว้ชั่วคราว จนกว่าสโมสรจะกลับสู่พรีเมียร์ ลีกอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม หลังจากการตกชั้นในปี 2011 ดูเหมือนว่าโครงการนี้จะยิ่งเป็นไปไม่ได้ไปกันใหญ่

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301