สิทธิมนุษยชนในกัมพูชา เป็นปัญหาที่มีความสำคัญมากขึ้น โดยมีรายงานว่าในกัมพูชานั้น ผู้สื่อข่าวยังต้องพบกับความรุนแรง การเผยแพร่ข่าวต่อสาธารณะถูกจำกัด ผู้หญิงและเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ และตำรวจยังเพิกเฉยทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างผิดกฎหมาย
สิทธิมนุษยชนในกัมพูชามีภูมิหลงมาจากการรับวัฒนธรรมอินเดียและศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักในสังคมกัมพูชา ส่วนในสังคมสมัยใหม่จะได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศสในสมัยที่เป็นอาณานิคม และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมอย่างรุนแรงในการเปลี่ยนการปกครองจากระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญไปสู่ระบอบสาธารณรัฐในสมัยลน นลและคอมมิวนิสต์ในสมัยเขมรแดง ตามมาด้วยการยึดครองของเวียดนามและการปกครองของพรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชา จากนั้นเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านภายใต้การดูแลของสหประชาชาติหลังการลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีสเมื่อ พ.ศ. 2534
ในข้อตกลงปารีสได้เรียกร้องให้รัฐธรรมนูญกัมพูชารวมหลักการพื้นฐานรวมทั้งการยอมรับสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพและป้องกันไม่ให้ความผิดพลาดทางการเมืองในอดีตกลับมา ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2536 ได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของพลเมืองกัมพูชาไว้ 20 มาตรา โดยเกี่ยวกับสิทธิ 17 มาตรา และหน้าที่ 3 มาตรา หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญใน พ.ศ. 2536 สหประชาชาติได้จัดให้มีตัวแทนพิเศษของเลขาธิการทั่วไปทางด้านสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา และคณะกรรมาธิการทางด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้เปิดสำนักงานในกัมพูชา และมีกลุ่มสิทธิมนุษยชนในท้องถิ่นได้จับตาและบันทึกเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนไว้
การละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกได้แก่การขาดการเข้าถึงสื่อ มีการต่อต้านเสรีภาพในการแสดงออก
การจัดตั้งศาลที่เป็นอิสระในกัมพูชาเป็นหัวข้อที่มีการกล่าวถึงเป็นทศวรรษแต่ยังมีปัญหาอยู่ ศาลยังไร้ประสิทธิภาพ ฉ้อราษฎร์บังหลวง และถูกควบคุมโดยพรรคประชาชนกัมพูชา
ปัญหาความรุนแรงของสตรีถือเป็นปัญหาสำคัญ แม้จะมีการต่อต้านความรุนแรงในครอบครัวและการจำกัดสิทธิทางเพศ
เลสเบียน เกย์ รักสองเพศ และกลุ่มข้ามเพศ มีปัญหาเกี่ยวกับอาชญากรรมและการข่มขืน รวมทั้งการถูกขับออกจากสังคม ในพ.ศ. 2553 ศูนย์สิทธิมนุษยชนแห่งกัมพูชาพยายามปรับปรุงสิทธิของคนกลุ่มนี้ในกัมพูชา
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเกี่ยวกับผู้มีอิทธิพลกระทำผิดแล้วไม่ถูกจับกุม การบังคับย้ายถิ่นฐานโดยทหาร เหตุรุนแรงทางการเมืองโดยสังหารคู่แข่ง แรงงานเด็ก การล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก ความรุนแรงต่อสตรีในครอบครัว เป็นต้น