ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สิทธิพลเมือง

สิทธิพลเมือง (Civil Rights) หมายถึง การที่พลเมืองของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐสมัยใหม่สามารถกระทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมายบ้านเมืองของสังคมนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ สิทธิพลเมืองจึงซ้อนทับอยู่กับสิทธิทางการเมือง (political rights) เนื่องจากในสังคม และการเมืองการปกครองสมัยใหม่นั้น เสรีภาพเป็นคุณธรรมรากฐานประการหนึ่งที่ระบบการเมือง และระบบกฎหมายจะต้องธำรงรักษาไว้ ทว่าหากพลเมืองทุกคนมีเสรีภาพอย่างไม่จำกัดแล้วไซร้ การใช้เสรีภาพของพลเมืองคนหนึ่งๆ ก็อาจนำมาซึ่งการละเมิดการมีเสรีภาพของพลเมืองคนอื่นๆ ในรัฐได้เช่นกัน ดังนั้น เสรีภาพของพลเมืองจึงต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายที่รัฐกำหนดว่า สิ่งใดที่พลเมืองไม่อาจกระทำเพราะจะเป็นการละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น หรือ สิ่งใดที่พลเมืองสามารถกระทำได้อย่างอิสระโดยปราศจากการควบคุมของรัฐ เป็นที่มาของการเกิดสิ่งซึ่งเรียกว่า สิทธิทางการเมือง หรือ สิทธิพลเมือง (Kurian, 2011: 235) ซึ่งในแง่นี้สิทธิพลเมืองจะมีความหมายและขอบเขตแคบกว่าสิทธิมนุษยชน (Human Rights) เพราะสิทธิพลเมืองจะเป็นสิทธิที่พลเมืองทุกๆ คนมีในฐานะพลเมืองของรัฐ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามความคุ้มครองโดยกฎหมายของรัฐที่ตนเป็นพลเมืองอยู่ แต่สิทธิมนุษยชนนั้นเป็นสิทธิสากลที่มนุษย์ทุกผู้คนบนโลกนี้ พึงมีเหมือนๆ กันไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ใด หรือ เป็นพลเมืองของรัฐใดก็ตาม

สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ สิทธิทางแพ่งและสิทธิทางการเมือง คือความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ที่มอบให้พลเมืองทุกคนตามกฎหมาย สิทธิพลเมืองนั้นเป็นสิทธิที่แยกออกจาก "สิทธิมนุษยชน" และ "สิทธิธรรมชาติ" กล่าวคือสิทธิพลเมืองเป็นสิทธิที่มอบให้โดยชาติและมีอยู่ภายในเขตแดนนั้น ในขณะที่สิทธิธรรมชาติหรือสิทธิมนุษยชนนั้น เป็นสิทธิที่นักวิชาการจำนวนมากอ้างว่าปัจเจกบุคคลมีอยู่แต่กำเนิดโดยธรรมชาติ

แน่นอนว่าแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองนั้นย่อมจะต้องเกิดขึ้นหลังจากที่สถานภาพของมนุษย์ในสังคมการเมืองนั้นได้ถูกแปรเปลี่ยนจาก “ไพร่” (subject) มาเป็น “พลเมือง” (citizen) เสียก่อน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ได้เกิดขึ้นครั้งแรกภายหลังการปฏิวัติใหญ่ในปี ค.ศ. 1789 ในฝรั่งเศส ที่ได้เปลี่ยนความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมจากเดิมที่มีสถานภาพเป็นชนชั้น หรือ ฐานันดรต่างๆ มาเป็นพลเมือง (citizen) ที่มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น การเกิดขึ้นของพลเมืองนี้ทำให้เกิดสัญญาประชาคมใหม่ที่พันธะของรัฐที่มีต่อพลเมืองเปลี่ยนไปจากเดิม หรือในอีกนัยหนึ่ง ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้ปกครอง และผู้ถูกปกครองนั้นได้เปลี่ยนไป

การที่กล่าวว่าพลเมืองฝรั่งเศสในสมัยนั้นมีความเท่าเทียมกันก็เพราะภายหลังที่เกิดการปฏิวัติในเดือนสิงหาคมได้มีการร่างและการประกาศ “ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมือง” (declaration of the rights of man and of the citizen) ซึ่งปฏิญญาดังกล่าวนี้เองที่เป็นสิ่งรับประกันในความเท่าเทียมของการมีสิทธิทางการเมือง หรือ สิทธิพลเมือง ของประชาชนฝรั่งเศสทุกๆ คน และเป็นที่มาของการเกิดสิ่งที่เราเรียกว่า “พลเมือง” ของรัฐที่เท่าเทียมกันขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกสมัยใหม่

หลักสิทธิพลเมืองที่ปฏิญญาดังกล่าวนี้ได้แถลงไว้ ได้แก่ การมี และใช้เสรีภาพภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด สิทธิในการถือครองกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคล (property rights) สิทธิในการต่อต้านการใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมของรัฐ (rights of resistance) สิทธิในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ สิทธิของผู้ต้องหา (rights of the accused) และที่สำคัญที่สุดก็คือ สิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ (freedom of expression) เป็นต้น

ภายหลังเมื่อรัฐต่างๆ ในโลกได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่สมัยใหม่ และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแล้ว แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิพลเมือง หรือ สิทธิพื้นฐานทางการเมืองที่พลเมืองทุกๆ คนของรัฐพึงมีนั้นจึงได้แพร่หลายออกไป เพราะในระบอบประชาธิปไตยนั้นประชาชนทุกๆคนคือที่มาของอำนาจอันชอบธรรมของการใช้อำนาจรัฐ ดังนั้น แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองจึงได้หยั่งรากลึก และขยายขอบเขตออกไปกว้างขวางกว่าเดิมในสภาวการณ์ของโลกที่ปกครองด้วยระบอบเสรีประชาธิปไตย

การขยายตัวดังกล่าวเห็นได้ชัดเจนในสหรัฐฯ ที่เกิดขบวนการที่รู้จักกันในชื่อ “ขบวนการเรียกร้องสิทธิพลเมือง” (civil rights movement) อันเกิดจากปัญหาความขัดแย้งที่มีที่มาจากแนวคิด “แบ่งแยกแต่เท่าเทียม” (Separate but Equal) ของคนที่มีสีผิวแตกต่างในสังคมอเมริกันในช่วงศตวรรษที่ 20 อันก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของพลเมืองอเมริกันขึ้น โดยมีการกีดกัน (segregation) คนผิวดำ ตั้งแต่การแบ่งแยกการใช้ห้องสุขา การใช้รถสาธารณะ ไปจนถึงการห้ามคนผิวดำพักค้างคืนในเมือง (ภายใต้กฎหมายที่ชื่อ “Sundown Ordinance” ของมลรัฐโอไฮโอ และโอเรกอน) จนกระทั่งเมื่อหญิงสาวผิวดำที่ชื่อ โรซา พาร์ค (Rosa Parks) ได้ปฏิเสธนโยบายการแบ่งแยกสีผิวในรถเมล์ด้วยการเข้าไปนั่งในบริเวณของคนผิวขาวในปี ค.ศ. 1955 ซึ่งได้กลายเป็นชนวนเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิพลเมืองที่เท่าเทียมกันในช่วงทศวรรษ 1950–1980 ขึ้น จนกระทั่งท้ายที่สุดรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้มีการประกาศรัฐบัญญัติสิทธิพลเมือง (Civil Rights Act of 1875) ขึ้นในปี ค.ศ. 1875 อันทำให้พลเมืองสหรัฐฯ ทุกๆ คนนั้นมีสิทธิที่เท่าเทียมกัน ภายใต้หลักการให้ความคุ้มครองอย่างเสมอภาคภายใต้กฎหมาย (equal protection of the laws) ของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ที่มีมาแต่เดิมนั่นเอง (Wasserman, 2000,123-127)

ประเทศไทยนั้นกล่าวถึงสิทธิพลเมืองขึ้นครั้งแรกภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ที่ได้เปลี่ยนสถานภาพคนไทยจาก “ไพร่” มาเป็น “พลเมือง” ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้อำนาจนั้น “เป็นของราษฎรทั้งหลาย” (พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2475) เพราะภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ฐานที่มาของความชอบธรรมในการใช้อำนาจรัฐได้เปลี่ยนแปลงจากเบื้องบน คือจากตัวพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นจากเบื้องล่าง คือจากประชาชนชาวไทยทุกๆ คน ผ่านระบบตัวแทนจากการเลือกตั้งที่เสรี และเป็นธรรม (free and fair elections) โดยมีการกำหนดบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิของประชาชนชาวไทยไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนตั้งแต่ไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรก (คือรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475) ดังจะเห็นจากมาตรา 12 ของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ว่า

“...บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดก็ดี โดยแต่งตั้งก็ดี หรือประการอื่นใดก็ดีไม่กระทำให้เกิดเอกสิทธิ์อย่างใดเลย” หรือในมาตรา 14 ที่ว่า “...บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในร่างกาย เคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ”

จะเห็นได้ว่าสิทธิพื้นฐานทางการเมืองเหล่านี้ซึ่งได้รับอิทธิพล และแบบอย่างมาจากตะวันตกอย่างชัดเจน ได้กลายมาเป็นมาตรฐานที่รัฐให้การรับรอง และถูกบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญทุกๆ ฉบับที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมา (โดยไม่นับรวมธรรมนูญการปกครองของคณะรัฐประหาร) หรือแม้แต่การบัญญัติสิทธิพลเมืองเพิ่มเติม เช่น สิทธิในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เป็นต้น ทว่าในทางปฏิบัติ สิทธิพลเมืองบางอย่าง เช่น สิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี (freedom of expression) ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมไทยว่ายังคงถูกจำกัดภายใต้กรอบคิดบางประการ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

อาสวกิเลส อวิชชา เอ็มพีแอลเอส ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา แวน สมาร์ทโฟน ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์) แอลทีอี 4 จี 3 จี วีโอไอพี บริการข้อความสั้น ใยแก้วนำแสง ระบบโทรศัพท์ การกล้ำสัญญาณ เนตเวิร์กสวิตช์ เราต์เตอร์ สัญญาณดิจิทัล ซิมเพล็กซ์ สายอากาศ เสาอากาศ แลน Transmission Control Protocol อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล แพ็กเกตสวิตชิง ดาวเทียมสื่อสาร การพูด การสื่อสารภายในบุคคล การประชาสัมพันธ์ การโฆษณาชวนเชื่อ การตลาด การสื่อสารระหว่างบุคคล ไอแซค อสิมอฟ เขามาจากดาวอังคาร อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน สโลว์สเต็ป สัญกรณ์โอใหญ่ พรีไบโอติกส์ ป. อินทรปาลิต การเวก (พืช) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สีเทา สีขาว สีน้ำตาล ม่วง เขียว น้ำเงิน สีกากี ชมพู ระบบสี RGB SVG เบราว์เซอร์ แม่สีแสง CSS RGB เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม เว็บจีแอล จาวาสคริปต์ Font family (HTML) ซีเอสเอส สไตล์ชีต ด็อม ซี-เอชทีเอ็มแอล เอกซ์เอชทีเอ็มแอล เอชทีเอ็มแอล5 COLOR ISO 11940 ธอง แม่กุญแจสีม่วง ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก แม่กุญแจสีทอง ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า เคนต์ โลตัส อีลิส โรวัน แอตคินสัน พยัคฆ์ร้าย ศูนย์ ศูนย์ ก๊าก พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก จอมมฤตยู 007 เอียน เฟลมมิง พยัคฆ์ร้ายสะบัดลาย โคเวนทรี ระบบส่งกำลัง โปรตอน เอ็กซ์โซร่า โปรตอน วาจา โปรตอน เพอร์โซนา โปรตอน เพรเว่ นิตยสารฟอร์บส Thai language Japanese language Polish language Italian language Dutch language Hindi 2007 พระแม่กาลี มหาธิการิณี

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23944