ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา เป็นภาษาไทยถิ่นใต้กลุ่มหนึ่งที่พูดกันมากในจังหวัดสงขลา บางส่วนของจังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ถือเป็นภาษาไทยถิ่นใต้ที่มีเอกลักษณ์พิเศษ โดยมีลักษณะที่เด่นคือ หางเสียงจะไม่ขาดห้วน แต่จะค่อยๆเบาเสียงลง ซึ่งลักษณะดังกล่าวช่วยให้ภาษาสงขลาฟังแล้วไม่หยาบกระด้างอย่างสำเนียงใต้ถิ่นอื่น นอกจากนี้ ยังมีคำที่ใช้บ่อยในสำเนียงนี้คือ คำว่า เบอะ หรือ กะเบอะ ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยมาตรฐานว่า เพราะว่า, ก็เพราะว่า เรียกเงินว่า เบี้ย ในขณะที่ถิ่นอื่นนิยมเรียกว่า ตางค์ และคำที่นิยมใช้อีกคำหนึ่ง คือ ไม่หอน ซึ่งมีความหมายว่า ไม่เคย เช่น ฉานไม่หอนไป เป็นต้น
คือ ภาษาที่ชาวหาดใหญ่ คลองหอยโข่ง สะเดา นาทวี จะนะ เทพา และสะบ้าย้อย พูดจาสื่อสารกัน ภาษาสงขลากลุ่มนี้จะมีเอกลักษณ์ เรื่องภาษาสำเนียงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เช่น
โดยเฉพาะชาวสงขลาที่อยู่ในเขตอำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ และอำเภอระโนด แม้ส่วนใหญ่จะมีสำเนียงใกล้เคียงกับชาวสงขลาเหนือน้ำ (โหม่เหนือ) แต่ก็มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัด คือ