ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สำนักงานสถิติแห่งชาติ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (อังกฤษ: National Statistical Office) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย ระดับกรม สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีภารกิจในฐานะเป็นหน่วยงานกลางของรัฐ ในการดำเนินการเกี่ยวกับสถิติตามหลักวิชาการ และจัดทำสถิติเพื่อติดตามประเมินผลและสนับสนุนการดำเนินการตามนโยบายและแผนงานของรัฐ

ราชการสถิติของประเทศไทย ได้กำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๘ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้ง "กรมสถิติพยากรณ์" ขึ้นในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๑ วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๔๕๗ โดยมีพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดี ทำหน้าที่รวบรวมหัวข้อทะเบียน และรายงานของกระทรวง ทบวง กรม เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และพยากรณ์ภาวการณ์ล่วงหน้า โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเป็นที่ปรึกษา หลังจากนั้น กรมสถิติพยากรณ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ และสังกัดอีกหลายครั้ง แต่การปฏิบัติราชการสถิติก็มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยมิได้หยุดยั้ง เรื่องราวต่างๆ ได้ถูกลำดับตามช่วงเวลาและขั้นตอนที่สำคัญๆ ซึ่งควรแก่การจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ของหน่วยงานดังนี้คือ

เดือนกันยายน ๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริ เห็นสมควรขยายขอบเขตหน้าที่ การปฏิบัติงาน ของกรมสถิติพยากรณ์ไปทางด้านพาณิชย์ด้วย จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์" แต่ยังคงสังกัดอยู่ใน กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ โดยมีการขยายงานเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติสาขาต่างๆ และได้จัดพิมพ์หนังสือสถิติรายงาน ประจำปี พ.ศ. ๒๔๕๙ (Statistical Yearbook) ออกเผยแพร่ เป็นเล่มแรกของประเทศไทย ซึ่งจัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ

เดือนสิงหาคม ๒๔๖๓ ได้มีการยกฐานะ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ขึ้นเป็น "กระทรวงพาณิชย์" งานสถิติที่สังกัดอยู่ในกระทรวงนี้มีฐานะเป็นกรม และมีชื่อว่า "กรมสถิติ พยากรณ์สาธารณะ" ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ๒๔๖๔ ได้โอนกรมสถิติพยากรณ์สาธารณะ มาสังกัดกรมบัญชาการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีชาวต่างประเทศเป็นหัวหน้าหน่วยงาน โดยมีหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ และพิมพ์รายงานประจำปีออกเผยแพร่ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ หัวหน้าหน่วยงานซึ่งเป็นชาวต่างประเทศ ได้เดินทางกลับไป หม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี ทรงเข้ารับหน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วยงานแทน และเมื่อทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกรม ในเดือนพฤษภาคม ๒๔๗๖ ได้มีการโอน กรมสถิติพยากรณ์สาธารณะ ไปสังกัดอยู่กับกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ และลดฐานะเป็น "กองสถิติพยากรณ์" โดยมีหม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี ทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้ากอง และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กองประมวลสถิติพยากรณ์" เมื่อเดือนตุลาคม ๒๔๗๘ จากนั้น ได้ย้ายมาสังกัดกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยหม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี ทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองเช่นเดิม โดยทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลาง สำหรับการให้บริการข้อมูลสถิติ

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการสถิติ ออกใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก เรียกว่า "พระราชบัญญัติการสถิติพยากรณ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙" ซึ่งได้กำหนดหน้าที่ในการบริหารราชการสถิติของประเทศ และหน้าที่ของประชาชน ที่พึงปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๕ ได้โอนกองประมวลสถิติพยากรณ์ ไปสังกัดกรมการสนเทศ กระทรวงพาณิชย์ และในเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๖ ได้โอนกองประมวลสถิติพยากรณ์ กลับมาสังกัดกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรีตามเดิม ในระยะนี้มีผู้ต้องการใช้ข้อมูลสถิติเพิ่มขึ้น อีกทั้งมีความต้องการใช้สถิติใหม่ๆด้วย จึงมีการพิจารณาปรับปรุงจัดวางมาตรฐานในการบริหารงานสถิติ รวมทั้งมีการบัญญัติศัพท์สถิติขึ้นใช้เป็นครั้งแรก เพื่อให้ส่วนราชการที่มีงานสถิติใช้ร่วมกัน ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๙๓ มีการโอนกองประมวลสถิติพยากรณ์ ไปสังกัดสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งในขณะนั้นเป็นทบวงการเมืองอิสระ มีฐานะเทียบเท่ากรม กองประมวลสถิติพยากรณ์ภายใต้สังกัดใหม่ ได้ขยายงาน และ ได้จัดทำงานสถิติที่สำคัญร่วมกับกระทรวงเกษตราธิการ คือ จัดทำสำมะโนเกษตรทั่วราชอาณาจักรขึ้นเป็นครั้งแรก ในเดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๓

ต่อมาได้มีการจัดตั้ง "สำนักงานสถิติกลาง (Central Statistical Office)" ขึ้นใน สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ เมื่อเดือนธันวาคม ๒๔๙๓ โดยมีหม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ เกษมศรี เป็นผู้อำนวยการสำนักงานสถิติกลางคนแรก ในช่วงนี้ได้พัฒนาและขยายงานสถิติออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าเดิมและได้นำเครื่องจักรกล มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลสถิติ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ เพื่อใช้ในการประมวลผลข้อมูลงานสำมะโนเกษตร หลังจากนั้นมีการประกาศใช้ "พระราชบัญญัติสถิติ ๒๔๙๕" ซึ่งทำให้สำนักงานสถิติกลาง มีอำนาจหน้าที่อย่างสมบูรณ์ ทั้งในด้านการบริหารกิจการสถิติของรัฐ การส่งเสริม และประสานงานสถิติ การทำสำมะโน สำรวจ การศึกษาอบรมวิชาสถิติ ตลอดจนการวิจัยในด้านวิชาการสถิติ

เมื่อรัฐบาล ได้จัดตั้งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้นใน สำนักนายกรัฐมนตรี ในเดือนกันยายน ๒๕๐๒ เป็นผลให้สำนักงานสถิติกลางได้รับการปรับปรุง และขยายงานเพิ่มขึ้น ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ สำนักงานสถิติกลาง ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติหลายโครงการ ที่สำคัญๆ คือ โครงการสำมะโนประชากร พ.ศ. ๒๕๐๓ (เป็นสำมะโนประชากรครั้งที่ ๖ ของประเทศไทย และเป็นสำมะโนประชากรครั้งแรกของสำนักงานสถิติกลาง) และโครงการสำรวจการใช้จ่ายของครอบครัว

สำนักงานสถิติกลาง ได้แยกส่วนราชการออกจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ และได้ยกฐานะเป็น "สำนักงานสถิติแห่งชาติ" มีฐานะเป็นกรม สังกัดอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๐๖ ซึ่งถือว่าเป็นวันก่อตั้งสำนักงาน โดยมีนายบัณฑิต กันตะบุตร เป็นเลขาธิการสถิติแห่งชาติคนแรก ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๕๐ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๐๖ และเป็นหน่วยราชการแห่งแรกของประเทศไทย ที่ได้มีการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ประมวลผลงานสำมะโนและสำรวจ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๖ นอกจากนี้มีการขยายงานสถิติไปยังส่วนภูมิภาค โดยได้จัดตั้งสำนักงานสถิติจังหวัดขึ้นทุกจังหวัด ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ แต่ยังเป็นราชการบริหารส่วนกลาง

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้มีการพัฒนางานสถิติมาตามลำดับ โดยดำเนินงานโครงการสถิติที่สำคัญๆ หลายโครงการ และมีบทบาทในการประสานงานสถิติของรัฐ ซึ่งเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การจัดทำผังรวมงานสถิติของประเทศ ในเดือนสิงหาคม ๒๕๐๘ ได้ประกาศใช้ "พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๐๘" แทนพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๔๙๕ โดยปรับปรุงในบางมาตรา และกำหนดอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานสถิติของประเทศให้สมบูรณ์มากขึ้น

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยแบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็น ๙ กอง ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๙๑ ลงวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๕

ต่อมาในปี ๒๕๓๖ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้มีการปรับปรุงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติอีกครั้ง โดยกำหนดให้มีสำนักงานสถิติจังหวัด เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๓๖

จากการปฏิรูประบบราชการ ในปี ๒๕๔๕ ตาม พรบ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม มีผลให้สำนักงานสถิติแห่งชาติเข้ามาอยู่ในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น ๓ สำนัก ๑ ศูนย์ ๓ กอง ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๙ ตอนที่ ๑๐ ก. ลงวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๕

ในปี ๒๕๕๐ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๕๐” แทนพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๔ ตอนที่ ๕๓ ก. ลงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๐ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ หลังมีความชัดเจนในการดำเนินการในฐานะหน่วยงานกลางด้านงานสถิติของรัฐ ตลอดจนมีความคล่องตัวในการผลิตสถิติให้ทันสถานการณ์เป็นประโยชน์นำไปใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในการบริหารงานของรัฐมากขึ้น นอกจากนี้ ตามพรบ.สถิติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ไม่กำหนดให้มีคณะกรรมการสถิติแห่งชาติ ทำให้สำนักงานสถิติแห่งชาติไม่มีสถานะเป็นหน่วยงานเลขานุการ ของคณะกรรมการสถิติแห่งชาติต่อไป ดังนั้น ชื่อตำแหน่ง หัวหน้าหน่วยงาน จึงได้เปลี่ยนจากเดิม “เลขาธิการสถิติแห่งชาติ” เป็น “ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ” โดยมีสถานะและระดับตำแหน่งเท่าเดิม

จากกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๕ ตอนที่ ๑๑๔ ก. ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ สำนักงานสถิติแห่งชาติจึงได้แบ่งส่วนราชการออกเป็นราชการบริหารส่วนกลางมี ๖ สำนัก ๒ ศูนย์ ส่วนสำนักงานสถิติจังหวัดเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค

จากการที่สำนักงานสถิติแห่งชาติได้จัดโครงการประกวดตราสัญลักษณ์ (โลโก้) สำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อนำผลงานที่ชนะเลิกใช้เป็นตัวแทนและเป็นสื่อประชาสัมพันธ์สำนักงานฯ นั้น คณะกรรมการฯได้ทำการคัดเลือกและตัดสินเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2553 ซึ่งรางวัลชนะเลิศ เป็นผลงานของ นายวีระศักดิ์ พุทธรักษา ตราสัญลักษณ์สื่อถึงหน้าที่ วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และพันธกิจ ของสำนักงานฯ เพื่อให้ตราสัญลักษณ์เป็นเสมือนของตัวแทนองค์กร ที่จะสื่อสารออกไปสู่สังคมไทย ถึงความสำคัญของข้อมูลสถิติ และสารสนเทศที่มีสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นองค์กรหลักที่รับผิดชอบดูแล

จากกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. 2551 สำนักงานสถิติแห่งชาติ แบ่งส่วนราชการดังนี้

จาก พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 มีผลให้ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม เลขาธิการสถิติแห่งชาติ เป็นผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301