เวียดนาม (เวียดนาม: Vi?t Nam) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม: C?ng h?a x? h?i ch? ngh?a Vi?t Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน ติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (เวียดนาม: Bi?n ??ng, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก
อารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ในเวียดนามมีชื่อเสียงมากโดยเฉพาะอารยธรรมยุคหินใหม่ ที่มีหลักฐานคือกลองมโหระทึกสำริด และชุมชนโบราณที่ดงเซิน เขตเมืองแทงหวา ทางใต้ของปากแม่น้ำแดง สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของชาวเวียดนามโบราณผสมผสานระหว่างชนเผ่ามองโกลอยด์เหนือจากจีนและใต้ ซึ่งเป็นชาวทะเล ดำรงชีพด้วยการปลูกข้าวแบบนาดำและจับปลา และอยู่กันเป็นเผ่า บันทึกประวัติศาสตร์ยุคหลังของเวียดนามเรียกยุคนี้ว่าอาณาจักรวันลาง มีผู้นำปกครองสืบต่อกันหลายร้อยปีเรียกว่า กษัตริย์หุ่ง แต่ถือเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์
เวียดนามเริ่มเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์หลังจากตอนใต้ของจีนเข้ารุกรานและยึดครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำแดง จากนั้นไม่นานจักรพรรดิจิ๋นซีซึ่งเริ่มรวมดินแดนจีนสร้างจักรวรรดิให้เป็นหนึ่งเดียว โดยได้ยกทัพลงมาและทำลายอาณาจักรของพวกถุกได้ ก่อนผนวกดินแดนลุ่มแม่น้ำแดงทั้งหมด ให้ขึ้นตรงต่อศูนย์กลางการปกครองหนานไห่ ที่เมืองพานอวี่หรือกว่างโจวในมณฑลกวางตุ้งปัจจุบัน หลังสิ้นสุดราชวงศ์ฉิน ข้าหลวงหนานไห่คือจ้าวถัว ประกาศตั้งหนานไห่เป็นอาณาจักรอิสระ ชื่อว่า หนานเยว่ หรือ นามเหวียต ในสำเนียงเวียดนามซึ่งเป็นที่มาของชื่อเวียดนามในปัจจุบัน ก่อนกองทัพฮั่นเข้ายึดอาณาจักรนามเหวียด ได้ในปี พ.ศ. 585 และผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจีน ใช้ชื่อว่า เจียวจื้อ ขยายอาณาเขตลงใต้ถึงบริเวณเมืองดานังในปัจจุบัน และส่งข้าหลวงปกครองระดับสูงมาประจำ เป็นช่วงเวลาที่ชาวจีนนำวัฒนธรรมจีนทางด้านต่างๆ ไปเผยแพร่ที่ดินแดนแห่งนี้ พร้อมเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทรัพยากรจากชาวพื้นเมืองหรือชาวเวียดนามจนนำไปสู่การต่อต้านอย่างรุนแรงหลายครั้งเช่น:
การปกครองของจีนในเวียดนามขาดตอนเป็นระยะตามสถานการณ์ในจีนเอง ซึ่งเป็นโอกาสให้ชาวพื้นเมืองในเวียดนามตั้งตนเป็นอิสระ ในช่วงเวลาที่เวียดนามอยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์ถาง พุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่เวียดนาม เมืองต้าหลอหรือฮานอย เป็นเมืองใหญ่ที่สุดเป็นศูนย์กลางการค้าการเดินทางของชาวจีนและอินเดีย พระสงฆ์และนักบวชในลัทธิเต๋าจากจีนเดินทางเข้ามาอาศัยในดินแดนนี้ ต่อมาราชวงศ์ถางได้เปลี่ยนชื่อเขตปกครองนี้ใหม่ว่า อันหนาน (หรืออันนัม ในสำเนียงเวียดนาม) หลังปราบกบฏชาวพื้นเมืองได้ แต่ถือเป็นช่วงเวลาสุดท้ายที่จีนครอบครองดินแดนแห่งนี้
ไดโก่เวียด เริ่มสร้างระบบการปกครองแบบจีนมากกว่ายุคก่อนหน้า และตั้งตนเป็น จักรพรรดิดิงห์เตียน หรือ ดิงห์เตียนหว่าง เสมือนจักรพรรดิจิ๋นซีผู้รวบรวมจีน ถือเป็นการเริ่มใช้ตำแหน่งจักรพรรดิหรือ หว่างเด๋ ในเวียดนามเป็นครั้งแรก
ราชวงศ์เลช่วงแรกเป็นช่วงสร้างความมั่นคงและฟื้นฟูประเทศในทุกด้าน โดยเฉพาะในสมัยเลไถโต๋หรือเลเหล่ย เช่นการสร้างระบบราชการ จัดสอบคัดเลือกขุนนาง ตรากฎหมายใหม่ แบ่งเขตการปกครองใหม่ ฟื้นฟูการเกษตร รวมถึงการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนทำให้เวียดนามเข้าสู่ยุคสงบสุขปลอดจากสงครามอีกครั้ง
หลังสมัยเลเหล่ย เริ่มเกิดความขัดแย้งระหว่างขุนนางพลเรือนกับบรรดาขุนศึกที่ร่วมทัพกับเลเหล่ยในการสู้รบกับจีน ความขัดแย้งบานปลายจนนำไปสู่การแบ่งพรรคแบ่งพวกในหมู่ข้าราชสำนัก จนเกิดการรัฐประหารครั้งแรกของราชวงศ์เลใน พ.ศ. 2002 มีการประหารพระชนนีและจักรพรรดิขณะนั้น ต่อมาบรรดาขุนนางจึงสนับสนุนให้ราชนิกูลอีกพระองค์หนึ่งมาเป็นจักรพรรดิแทน ต่อมาคือจักรพรรดิเลแถงตง (พ.ศ. 2003-2040)
รัชกาลจักรพรรดิเลแถงตงถือว่ายาวนานและรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เวียดนาม มีการปฏิรูปประเทศหลายด้านโดยยึดรูปแบบจีนมากกว่าเดิม ทั้งระบบการสอบรับราชการที่จัดสอบครบสามระดับตั้งแต่อำเภอจนถึงราชธานี จำนวนขุนนางเพิ่มขึ้นทวีคูณและทำให้ระบบราชการขยายตัวมากกว่ายุคสมัยก่อนหน้า นอกจากนั้นยังมีการประมวลกฎหมายใหม่พระองค์ทรงสร้างเวียดนามให้เป็นมหาอำนาจและเป็นศูนย์กลางด้วยการทำสงครามกับเพื่อนบ้านที่มักขัดแย้งกับเวียดนามคือจัมปาและลาว อิทธิพลของเวียดนามรับรู้ไปจนถึงหัวเมืองเผ่าไทในจีนตอนใต้และล้านนา หลังรัชกาลนี้ราชวงศ์เลเริ่มประสบปัญหาความขัดแย้งในหมู่ขุนนาง เชื้อพระวงศ์ ปัญหาเศรษฐกิจจนที่สุดก็ถูกรัฐประหารโดยขุนศึกหมักดังซุง ในปี พ.ศ. 2071 เชื้อพระวงศ์ราชวงศ์เลหลบหนีด้วยการช่วยเหลือของขุนศึกตระกูลเหวียนและจิ่ง ที่มีอิทธิพลในราชสำนักมาแต่แรก
ราชวงศ์เลเริ่มการฟื้นฟูกอบกู้อำนาจคืนโดยมีแม่ทัพเป็นคนตระกูลเหวียนและจิ่ง ทำสงครามกับราชวงศ์หมักจนถึงปี พ.ศ. 2136 จึงสามารถยึดเมืองทังลองคืนได้และฟื้นฟูราชวงศ์เลปกครองเวียดนามต่อไป
องค์ชายเหงวียนแอ๋งหรือเหงวียนฟุกอ๊าน (องเชียงสือ) ผู้นำตระกูลเหงวียน ซึ่งตั้งตนเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่แห่งราชวงศ์เหงวียน ในปี พ.ศ. 2345 สถาปนาราชธานีใหม่ที่เมืองเว้ แทนที่ทังลอง ซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ฮานอย
องค์ชายเหงวียนแอ๋งหรือจักรพรรดิยาลอง จักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์เหวียนเริ่มฟื้นฟูประเทศ เวียดนามมีอาณาเขตใกล้เคียงกับปัจจุบัน ดินแดนภาคใต้ขยายไปถึงปากแม่น้ำโขงและชายฝั่งอ่าวไทย ทรงรักษาสัมพันธ์กับชาวตะวันตกโดยเฉพาะชาวฝรั่งเศสที่ช่วยรบกับพวกเตยเซิน นายช่างชาวฝรั่งเศสช่วยออกแบบพระราชวังที่เว้ และ ป้อมปราการเมืองไซ่ง่อน
ราชวงศ์เหงวียนรุ่งเรืองที่สุดในสมัยจักรพรรดิมินหมั่ง จักรพรรดิองค์ที่สอง ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ด่ายนาม ขยายแสนานุภาพไปยังลาวและกัมพูชา ผนวกกัมพูชาฝั่งตะวันออก ทำสงครามกับสยามต่อเนื่องเกือบยี่สิบปี แต่ภายหลังต้องถอนตัวจากกัมพูชาหลังถูกชาวกัมพูชาต่อต้านอย่างรุนแรง
สมัยนี้เวียดนามเริ่มใช้นโยบายต่อต้านการเผยแพร่คริสต์ศาสนาของบาทหลวงชาวตะวันตก มีการจับกุมและประหารบาทหลวงชาวตะวันตกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงชาวเวียดนามที่นับถือคริสต์ศาสนา จนถึงรัชกาลจักรพรรดิองค์ที่ 4 คือจักรพรรดิตึดึ๊ก ทรงต่อต้านชาวคริสต์อย่างรุนแรงต่อไป จนในที่สุดบาทหลวงชาวฝรั่งเศสขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลของตนให้ช่วยคุ้มครอง พ.ศ. 2401 เรือรบของกองทัพเรือฝรั่งเศสเข้ามาถึงน่านน้ำเมืองดานัง (หรือตูราน) ฐานทัพเรือใกล้เมืองหลวงเว้ นำไปสู่การสู้รบกันของทั้งฝ่าย
ต่อมากองกำลังฝรั่งเศสได้บุกโจมตีดินแดนภาคใต้บริเวณปากแม่น้ำโขงและยึดครองพื้นที่ได้เกือบทั้งหมด จักรพรรดิตึดึ๊กจึงต้องยอมสงบศึกและมอบดินแดนภาคใต้ให้แก่ฝรั่งเศส ชาวเวียดนามเริ่มต่อต้านการยึดครองของฝรั่งเศสแต่ไม่อาจต่อสู้กับแสนยานุภาพทหางทหารที่เหนือกว่าได้ ฝรั่งเศสจึงเข้าควบคุมเวียดนามอย่างจริงจังมากขึ้นและแบ่งเวียดนามออกเป็น 3 ส่วน คืออาณานิคมโคชินจีน ในภาคใต้ เขตอารักขาแคว้นอันนัม ในตอนกลาง และ เขตอารักขาตังเกี๋ยในภาคเหนือ และเวียดนามยังมีจักรพรรดิเป็นประมุขเช่นเดิม แต่ต้องผ่านการคัดเลือกโดยข้าหลวงฝรั่งเศส และมีฐานะเป็นสัญลักษณ์ อำนาจในการบริหารการคลัง การทหาร และ การทูตเป็นของฝรั่งเศส ถือว่าเวียดนามสิ้นสุดฐานะเอกราชนับแต่นั้น
ฝรั่งเศสแสวงหาผลประโยชน์จากการปกครองเวียดนามทางด้านเศรษฐกิจ เวียดนามเป็นแหล่งปลูกข้าวและพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ เช่นกาแฟ และยางพารา ส่งออกไปยังฝรั่งเศสและเป็นวัตถุดิบแก่โรงงานในฝรั่งเศส ที่ดินในเวียดนามถูกยึดและตกเป็นของชาวฝรั่งเศส และเริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเวียดนาม ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรมฝรั่งเศสให้แพร่หลายในเวียดนาม ชาวเวียดนามส่วนหนึ่งได้รับการศึกษาแบบใหม่และเริ่มต้องการอิสระทำงานและมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ นำไปสู่การก่อตัวของกลุ่มชาตินิยมต่าง ๆ ที่เข้มแข็งที่สุดคือพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนที่ตั้งขึ้นโดยโฮจิมินห์ ในปี พ.ศ. 2473 และต่อมาปรับเปลี่ยนเป็น กลุ่มเวียดมินห์ ได้นำชาวนาก่อการต่อต้านฝรั่งเศสในชนบท
พ.ศ. 2488 โฮจิมินห์รับมอบอำนาจจากจักรพรรดิบ๋าวได่และรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกหลังประกาศเอกราช แต่หลังจากนั้นฝรั่งเศสได้กลับเข้ามาขับไล่รัฐบาลของโฮจิมินห์และไม่ยอมรับเอกราชของเวียดนาม นำไปสู่สงครามจนในที่สุดฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่กองกำลังเวียดมินห์ที่ค่ายเดียนเบียนฟู ในปี พ.ศ. 2497 และมีการทำสนธิสัญญาเจนีวา ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ยอมรับเอกราชของเวียดนาม แต่สหรัฐอเมริกาและชาวเวียดนามในภาคใต้บางส่วนไม่ต้องการรวมตัวกับรัฐบาลของโฮจิมินห์ ต่อมาได้ก่อตั้งดินแดนเวียดนามภาคใต้เป็นอีกประเทศหนึ่ง คือ สาธารณรัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) มีเมืองหลวงคือ ไซ่ง่อน ใช้เส้นละติจูดที่ 17 องศาเหนือแบ่งแยกกับเวียดนามส่วนเหนือใต้การปกครองของโฮจิมินห์ (เวียดนามเหนือ)
เวียดนามเหนือไม่ยอมรับสถานภาพของเวียดนามใต้ ขณะที่สหรัฐอเมริกาได้ให้การช่วยเหลือทางทหารแก่เวียดนามใต้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งทหารมาประจำในเวียดนามใต้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เวียดนามเหนือประกาศทำสงครามเพื่อขับไล่และ ปลดปล่อย เวียดนามใต้จากสหรัฐอเมริกาและรวมเข้าเป็นประเทศเดียวกัน พร้อมให้การสนับสนุนกลุ่มชาวเวียดนามใต้ที่ต่อต้านสหรัฐอเมริกา (เวียดกง) ทำสงคราม
การรบส่วนใหญ่กลายเป็นการรบระหว่างทหารสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรจากต่างประเทศ กับกองกำลังเวียดกงและเวียดนามเหนือ ทั้งในชนบทและการโจมตีในเมือง แม้สหรัฐอเมริกาได้ทุ่มเทแสนยานุภาพอย่างเต็มที่แต่ก็ไม่อาจทำให้สงครามยุติลงได้ หลังการรุกโจมตีครั้งใหญ่ของเวียดนามเหนือและเวียดกงในปี พ.ศ. 2511 ที่เมืองเว้และเมืองหลักอื่น ๆ ในเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาเริ่มเตรียมการถอนกำลังจากเวียดนามใต้และให้เวียดนามใต้ทำสงครามโดยลำพัง
สหรัฐอเมริกาถอนทหารจากเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2516 กองกำลังเวียดนามเหนือและเวียดกงจึงสามารถรุกเข้ายึดไซ่ง่อนและเวียดนามใต้ได้ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2518 การรวมเวียดนามทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันเกิดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นับแต่นั้น
1.การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพ เนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดเพียงพรรคการเมืองเดียว ผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (collective leadership) ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผู้นำ ได้แก่
2.เวียดนามได้มีการเลือกตั้งสภาแห่งชาติ สมัยที่ 11 เมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 มีผู้ได้รับการเลือกตั้งทั้งสิ้น 498 คน เป็นผู้เลือกตั้งอิสระเพียง 2 คน ที่เหลือเป็นผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกจากพรรคคอมมิวนิสต์ สภาแห่งชาติมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีหน้าที่ตรากฎหมาย แต่งตั้งหรือถอดถอนประธานาธิบดี ประธานรัฐสภา และ นายกรัฐมนตรี
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ หลายคนเคยดำรงรัฐมนตรีช่วยในกระทรวงนั้น ๆ มาแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการตั้งกระทรวงใหม่ 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม และกระทรวงภายใน ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางการปฏิรูปเศรษฐกิจและการบริหารประเทศมากขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาในประเด็นนี้ ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามที่ดำเนินไปด้วยดีในปัจจุบัน
4.แผนงานการปฏิรูประบบราชการสำหรับปี ค.ศ. 2001-2010 เน้น 4 ประเด็น ได้แก่ การปฏิรูประบบกฎหมาย การปฏิรูปโครงสร้างองค์กร การยกระดับความสามารถของข้าราชการ และการปฏิรูปด้านการคลัง
เวียดนามมีลักษณะเป็นแนวยาว และ มีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงกั้นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ทางตอนเหนือและใต้ แต่มีภูเขาที่มีป่าหนาทึบแค่ 20% โดยมีพันธุ์ไม้ 13,000 ชนิด และพันธุ์สัตว์กว่า 15,000 สายพันธุ์
ทั้งหมด 4,638 กิโลเมตร (2,883 ไมล์) โดยติดกับประเทศกัมพูชา 1,228 กิโลเมตร (763 ไมล์) ประเทศจีน 1,281 กิโลเมตร (796 ไมล์) และประเทศลาว 2,130 กิโลเมตร (1,324 ไมล์)
มีผลผลิตได้แก่ ข้าวเจ้า ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย (ในปี พ.ศ. 2549 ส่งออกกว่า 116,000 ตัน) การประมง เวียดนามจับปลาได้เป็นอันดับ 4 ของสินค้าส่งออก เช่น ปลาหมึก กุ้ง ตลาดที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์
อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมทอผ้า ศูนย์กลางอยู่ที่โฮจิมินห์ซิตีและมีนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้เบียนโฮ การทำเหมืองแร่ที่สำคัญ คือ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ เวียดนามเป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย
เวียดนามมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเผชิญภาวะขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า จึงมีการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ตั้งแต่กันยายนปี 2004 แม้ว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจจะเป็นเหตุผลที่มีความสำคัญรองจากเหตุผลทางการเมืองและยุทธศาสตร์ในการที่อาเซียนรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก แต่ก็ยังคงความสำคัญในระดับหนึ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้ความสัมพันธ์ทวิภาคีทางเศรษฐกิจระหว่างเวียดนามและประกาศถอนทหารออกจากกัมพูชา และเมื่อเวียดนามได้ลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่กรุงปารีสในปี 1991
ในด้านการลงทุน ทั้งเวียดนามและประเทศในกลุ่มอาเซียนจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกันจากการที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนเข้าไปลงทุนในเวียดนามโดยเวียดนามจะสามารถดูดซึมเทคนิค วิทยาการและเทคโนโลยีที่ผ่านมากับการลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของการร่วมทุน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการผลิตของเวียดนาม และขณะเดียวกัน นับตั้งแต่เวียดนามเปิดประเทศและประกาศกฎหมายว่าด้วยการลงทุนต่างชาติ ประเทศสมาชิกอาเซียนต่างก็ให้ความสนใจลพยายามแสวงหาโอกาสเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ทั้งนี้เพราะอาเซียนก็สนใจในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกันทั้งด้านการค้าและการลงทุน เนื่องจากเวียดนามเป็นตลาดใหญ่มีประชากรถึง 73 ล้านคน มีความสมบูรณ์ทางทรัพยาธรรมชาติ มีแรงงานที่มีศักยภาพและมีราคาถูก การมีเวียดนามเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นจะทำให้อาเซียนมีประชากรเพิ่มเป็น 420 ล้านคน และจะมีผลผลิตมวลรวมภายในถึง 500 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ อันจะทำให้อาเซียนมีศักยภาพในการขยายตัวกางเศรษฐกิจได้มากขึ้นไปอีก
ในปัจจุบัน ประเทศที่ได้รับการอนุมัติด้วยมูลค่าลงทุนมากที่สุดได้แก่สิงคโปร์ ซึ่งมีโครงการการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติจำนวนโครงการ ด้วยมูลค่า 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียนในเวียดนามคิดได้เป็นร้อยละ 27.69 ของมูลค่าของการลงทุนต่างชาติทั้งสิ้นในเวียดนาม กล่าวคือในมูลค่า 8.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าของการลงทุนต่างชาติทั้งสิน 29.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีโครงการทั้งสิ้น 337 โครงการ โดยมาเลเซียลงทุนเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ ไทยลงทุนเป็นอันดับ 3 ประเภทของการลงทุนที่สมาชิกอาเซียนดำเนินการในเวียดนาม ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต การก่อสร้างสำนักงาน ที่อยู่อาศัย การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและการแปรรูปอาหาร เวียดนามหวังว่าการลงทุนจากประเทศสมาชิกอาเซียนนี้จะมีส่วนช่วยถ่วงดุลการลงทุนจากเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และญี่ปุ่น
ในขณะเดียวกันอาเซียน เหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้อาเซียนยินดีรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกก็คือ การเข้ารวมกลุ่มอาเซียนของเวียดนามนั้นจะมีผลไปเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอีกทั้งอำนาจในการต่อรองทางการเมืองทั้งหลายต่างก็มีผลประโยชน์ที่สอดคล้องกัน ทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจร่วมกันอันนำไปสู่การยอมรับในที่สุด
เวียดนามมีท่าอากาศยานขนาดใหญ่ 6 แห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย (Noi Bai) ในกรุงฮานอย, ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต (Tan Son Nhat) ในนครโฮจิมินห์, โครงการท่าอากาศยานนานาชาติล็องถั่ญ (Long Thanh) ในจังหวัดด่งนาย, ท่าอากาศยานจูลาย (Chu Lai) ในจังหวัดกว๋างนาม และท่าอากาศยานนานาชาติดานัง (Danang) ในนครดานัง
มีจำนวน 84.23 ล้านคน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 253 คนต่อตารางกิโลเมตร เป็นชาวญวนร้อยละ 86 (บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศ) ต่าย ชาวไท เหมื่อง ฮั้ว (จีน) ชาวเขมร นุง ชาวม้ง
การสื่อสารใช้ภาษาเวียดนาม ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2463 วงการวิชาการเวียดนามได้ลงประชามติที่จะใช้ตัวอักษรโรมัน (quoc ngu) แทนตัวอักษรจีน (Chu Nom) ในการเขียนภาษาเวียดนาม
จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2557 ประเทศเวียดนามมีประชากรนับถือศาสนา 90 ล้านคน แบ่งได้ดังนี้ ศาสนาพื้นบ้านเวียดนามและอศาสนา 24 ล้านคน (73.2%) ศาสนาพุทธ 11 ล้านคน (12.2%) ศาสนาคริสต์ 7.6 ล้านคน (8.3%) ลัทธิเฉาได 4.4 ล้านคน (4.8%) ลัทธิฮหว่าหาว 1.3 ล้านคน (1.4%) และศาสนาอื่น ๆ (0.1%) เช่น ศาสนาอิสลาม 75,000 คน ศาสนาบาไฮ 7,000 คน ศาสนาฮินดู 1,500 คน
ประเทศเวียดนามได้มีการพัฒนาการศึกษาควบคู่ไปกับพัฒนาของประเทศ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นระยะ ๆ ย่อ ๆ ในเชิงประวัติศาสตร์ดังนี้ (Pham Minh Hac,1995, 42-61)
ในระยะนี้ประเทศเวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์จีน ดังนั้นผู้บริหารของประเทศจีน จึงเป็นผู้ก่อตั้งระบบการศึกษาในประเทศเวียดนามทั้งในแบบของรัฐและเอกชน ซึ่งในสมัยก่อนเน้นเฉพาะการศึกษาของบุตรชายและการฝึกอบรมบุคคลเพื่อเข้าไปรับราชการและบริหารประเทศ มีนโยบาย "Feudal Intelligentsia" ซึ่งจะคัดเลือกเฉพาะบุตรชายจากครอบครัวขุนนางไปรับราชการกับราชวงศ์จีน ระบบการศึกษาต่อเนื่องของชาวเวียดนามในบางศตวรรษพบว่า บุคคลชาวเวียดนามที่มีฐานะทางสังคมดีและมีสติปัญญาดีจะได้รับอนุญาตให้เข้าไปศึกษาต่อในประเทศจีน โดยมีการสอบแข่งขันหลายขั้นตอนและครั้งสุดท้ายจะสอบที่กรุงปักกิ่ง เมื่อสอบผ่านจะได้วุฒิเทียบเท่า Doctor’s Degree ระบบการศึกษาดังกล่าวสืบทอดมาจนถึง ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 - ค.ศ. 907) ระบบการศึกษาที่เลียนแบบมาจากประเทศจีนประกอบด้วย การศึกษาเบื้องต้น (Primary Education) ที่มีระยะเวลาการศึกษาน้อยกว่า 15 ปี และการศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher Education) ที่มีระยะเวลาการศึกษามากกว่า 15 ปีขึ้นไป
ในปี ค.ศ. 938 Ngo Dinh ได้รบชนะจีนและก่อตั้งราชวงศ์ Ngo Dinh และราชวงศ์ Le ตอนต้น (ค.ศ. 939 - ค.ศ. 1009) การศึกษาส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการโดยเอกชนและโรงเรียนพุทธศาสนา จนกระทั่งราชวงศ์ Le (ค.ศ.1009 - ค.ศ. 1225) เริ่มให้ความสำคัญกับการศึกษาเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ เช่น เมืองหลวง Thang Long หรือ Ha Noi ในปัจจุบัน มีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศเวียดนามเป็นแห่งแรก ใน ค.ศ. 1076 ที่มีชื่อเรียกว่า "Quoc Tu Gian หรือ Royal College" เพื่อเป็นแหล่งการศึกษาของบุตรชายของครอบครัวที่มีฐานะดี ในยุคนี้มีการสร้างโรงเรียนของรัฐขึ้นอีกทั้งในส่วนกลางและจังหวัดต่างๆ เพื่อให้บุตรชายของสามัญชนเข้ารับการศึกษา ทำให้ระบบการศึกษาในประเทศเวียดนามในยุคนี้แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
อาจสรุปได้ว่าการศึกษาในระยะต้น ๆ ของประเทศเวียดนามอยู่ในระบบศักดินา ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการคัดเลือกคนเข้าไปเรียนเพื่อเป็นขุนนางและข้าราชการในระดับต่างๆ
ในระยะที่ประเทศเวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนี้ ระยะแรกๆ ยังคงใช้ระบบการศึกษาตามลัทธิขงจื้ออยู่ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1917 จึงได้มีการเริ่มระบบการศึกษาแบบฝรั่งเศส แต่ให้ความสำคัญกับการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีโรงเรียนประถมศึกษาเกิดขึ้นในหมู่บ้านที่มีพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่น
การศึกษาในเบื้องต้นมีเกรด 1-2 มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน Ecole Communale ใช้เรียกการศึกษาในทางตอนเหนือ Ecole Auxilier Preparatoire ใช้เรียกการศึกษาทางตอนใต้ และ Ecole Preparatoire ใช้เรียกการศึกษาในตอนกลางของประเทศ ในบางเมืองมีการศึกษาพื้นฐาน 6 ปี ในเมืองใหญ่ ๆ เช่น Ha Noi, Haiphong และ Vinh มีการศึกษาที่สูงกว่า ระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นอีก 4 ปี และมีเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ เท่านั้นที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับมัธยมศึกษา คือ Ha Noi, Hue และ Saigon
ตอนต้นศตวรรษที่ 20 ประเทศฝรั่งเศสมีการพัฒนาการศึกษาวิชาชีพ (Professional Education) ขึ้น โดยมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาที่มีรูปแบบตะวันตก ในปี ค.ศ. 1902 มีวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์เกิดขึ้นเป็นแห่งแรกที่กรุงฮานอย และมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาหลายแห่งในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีสถาบันการศึกษาทางด้านเทคนิคและอุตสาหกรรมอีกหลายแห่ง ซึ่งมีระยะเวลาในการศึกษา 2 ปี เน้นการฝึกอบรมทักษะทำงานกับเครื่องจักรกล สถาบันการศึกษาในระดับนี้เรียกว่า โรงเรียนฝึกวิชาชีพชั้นสอง จนกระทั่ง ค.ศ. 1919 จึงมีระบบการศึกษาแบบมหาวิทยาลัยที่มีการศึกษาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่ วิชาฟิสิกส์ เคมี จนกระทั่งถึง ค.ศ. 1923 ได้เริ่มมีการจดทะเบียนผู้ที่ศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย
โดยทั่วไปแล้วระบบการศึกษาของประเทศเวียดนามภายใต้การปกครองของประเทศฝรั่งเศส ยังมีความจำกัดอยู่มาก โดยพบว่ามีจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนประมาณรัอยละ 2.6 ของประชากรในวัยเรียนทั้งหมดของประเทศ ในขณะที่มีประชากรทั้งหมด 17,702,000 คน ในปี ค.ศ. 1931
1. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (Pre-School Education) ประกอบด้วยการเลี้ยงดูเด็ก สำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี และอนุบาลสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี
5. การศึกษาต่อเนื่อง เป็นการศึกษาสำหรับประชาชนที่พลาดโอกาสการศึกษาในระบบสายสามัญและสายอาชีพ
การศึกษาสามัญ 12 ปี (General Education) ของเวียดนามนั้นเวียดนามมีวัตถุประสงค์ที่จะ ให้ประชาชนได้มีวิญญาณในความเป็นสังคมนิยม มีเอกลักษณ์ประจำชาติ และมีความสามารถในด้านอาชีพ ในอดีตการศึกษาสามัญของเวียดนามมีเพียง 10 ปีเท่านั้น และไม่มีอนุบาลศึกษามาก่อนจนถึงปีการศึกษา 2532 - 2533 จึงมีการศึกษาถึงชั้นปีที่ 9 ทั้งประเทศ ซึ่งได้เรียกการศึกษาสามัญ 9 ปี ดังกล่าวนี้ว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Basic Education) และเมื่อได้ขยายไปถึงปีที่ 12 แล้วจึงได้เรียกการศึกษาสามัญ 3 ปีสุดท้ายว่า มัธยมชั้นสูง (Upper Secondary School) ปี 2535-2536 ระบบการศึกษาสามัญในเวียดนามจึงกลายเป็นระบบ 12 ชั้นเรียนทั้งประเทศ โดยเด็กที่เข้าเรียนในชั้นปีที่ 1 จะมีอายุย่างเข้าปีที่ 6
เมื่อเวียดนามได้ใช้ระบบการศึกษาเป็น 12 ปีแล้ว จำนวนนักเรียนในทุกระดับชั้นยังมีน้อย ดังนั้นปี 2534 สภาแห่งชาติของเวียดนามจึงได้ออกกฎหมายการกระจายการศึกษาระดับประถมศึกษา (Law of Universal Primary Education) ซึ่งถือเป็นกฎหมายฉบับแรกว่าด้วยการศึกษาของเวียดนาม
สื่อของเวียดนามได้รับการควบคุม โดยรัฐบาลตามกฎหมายปี 2004 ในการเผยแพร่ โดยทั่วไปจะมองเห็นว่า ภาคสื่อของเวียดนามถูกควบคุม โดยรัฐบาลไปตามเส้นทางของพรรคคอมมิวนิสต์ แม้ว่าหนังสือพิมพ์บางฉบับจะค่อนข้างตรงไปตรงมา เสียงของเวียดนามเป็นบริการกระจายเสียงทางวิทยุแห่งชาติที่รัฐ ออกอากาศผ่านทางเอฟเอ็มโดยใช้เครื่องส่งสัญญาณให้เช่าในประเทศอื่นๆ และการให้การออกอากาศจากเว็บไซต์ของ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศเวียดนาม เป็นบริษัทวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
ตั้งแต่ปี 1997 เวียดนามมีการควบคุมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสาธารณะอย่างกว้างขวาง โดยใช้วิธีการทางกฎหมายและทางเทคนิค เพื่อล็อกผลจะเรียกกันอย่างแพร่หลายว่า "แบมบู ไฟร์วอลล์" โครงการความร่วมมือโอเพ่นเน็ตริเริ่มจัดระดับของเวียดนามการเซ็นเซอร์ทางการเมืองจะเป็นการ "แพร่หลาย" ในขณะที่ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเวียดนามพิจารณาให้เป็นหนึ่งใน 15 ของโลก "ศัตรูของอินเทอร์เน็ต" แม้ว่ารัฐบาลของเวียดนามอ้างว่าเพื่อป้องกันประเทศกับเนื้อหาลามกอนาจารหรือไม่เหมาะสมทางเพศผ่านความพยายามสกัดกั้นของหลายทางการเมืองและศาสนาเว็บไซต์ที่มีความสำคัญเป็นสิ่งต้องห้ามยัง
เพลงเวียดนามแบบดั้งเดิมแตกต่างระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศ ดนตรีคลาสสิกเหนือเป็นรูปแบบดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดของเวียดนามและเป็นประเพณีที่เป็นทางการมากขึ้น ต้นกำเนิดของดนตรีเวียดนามสามารถโยงไปถึงการรุกรานของมองโกลในศตวรรษที่ 13 เมื่อเวียดนามจับกุมคณะงิ้ว
เวียดนามมีเทศกาลตามปฏิทินจันทรคติมากมาย เทศกาลที่สำคัญที่สุดคือการเฉลิมฉลองปีใหม่ตรุษญวน งานแต่งงานเวียดนามแบบดั้งเดิมยังคงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและมักจะมีการเฉลิมฉลองโดยชาวเวียดนามในประเทศตะวันตก
อาหารเวียดนามแบบดั้งเดิมที่มีการรวมกันของ 5 รสชาติพื้นฐาน "องค์ประกอบ" (เวียดนาม: ng? v?) เผ็ด (โลหะ), เปรี้ยว (ไม้), ขม (ไฟ), เค็ม (น้ำ) และหวาน (โลก) ส่วนผสมที่พบบ่อย ได้แก่ น้ำปลา, กะปิ, ซอสถั่วเหลือง, ข้าว, สมุนไพรสด, ผลไม้และผัก สูตรเวียดนามใช้ตะไคร้, ขิง, สะระแหน่, สะระแหน่เวียดนาม, ผักชีฝรั่ง, อบเชยญวน, พริกขี้หนู, มะนาว, โหระพา การทำอาหารเวียดนามแบบดั้งเดิมเป็นที่รู้จักกันสำหรับส่วนผสมที่สดใหม่ใช้น้อยที่สุดของน้ำมันและความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสมุนไพรและผักและถือเป็นหนึ่งในอาหารเพื่อสุขภาพทั่วโลก
ในภาคเหนือของเวียดนามอาหารท้องถิ่นมักจะมีรสเผ็ดน้อยกว่าอาหารภาคใต้ ที่ภาคเหนืออากาศหนาวเย็นจำกัดการผลิตและความพร้อมของเครื่องเทศ พริกไทยดำใช้แทนพริกขี้หนูการในทำอาหารรสชาติเผ็ด การใช้เนื้อสัตว์เช่นเนื้อหมู, เนื้อวัวและไก่ที่ค่อนข้างถูกจำกัด ในอดีตที่ผ่านมาเป็นปลาน้ำจืด กุ้ง - โดยเฉพาะปู - หอยและกลายเป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย น้ำปลา, ซีอิ๊ว, ซอสกุ้ง และน้ำมะนาวเป็นหนึ่งในส่วนผสมเครื่องปรุงหลัก อาหารในเวียดนาม เช่น ซุปเส้นหมี่ และ ก๋วยเตี๋ยวม้วน กำเนิดในภาคเหนือและถูกพาไปยังภาคกลางและภาคใต้ของเวียดนาม โดยผู้อพยพ
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม