ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา

สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา (อังกฤษ: People's Republic of Kampuchea; PRK; ภาษาเขมร:??????????????????????????? สาธารณรฏฺฐปฺรชามานิตฺกมฺพูชา) เป็นรัฐบาลที่จัดตั้งในกัมพูชาโดยแนวร่วมสามัคคีประชาชาติกู้ชาติกัมพูชา ซึ่งเป็นกลุ่มของกัมพูชาฝ่ายซ้ายที่อยู่ตรงข้ามกับกลุ่มของเขมรแดง ล้มล้างรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยของพล พต โดยร่วมมือกับกองทัพของเวียดนาม ทำให้เกิดการรุกรานเวียดนามของกัมพูชา เพื่อผลักดันกองทัพเขมรแดงออกไปจากพนมเปญ มีเวียดนามและสหภาพโซเวียตเป็นพันธมิตรที่สำคัญ

สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาไม่ได้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติเพราะไม่ได้รับการสนับสนุนจากจีน อังกฤษและสหรัฐอเมริกา ที่นั่งในสหประชาชาติของประเทศกัมพูชาในขณะนั้นเป็นของแนวร่วมเขมรสามฝ่ายที่จัดตั้งรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย ซึ่งกลุ่มเขมรแดงของพล พตเข้าร่วมกับกลุ่มที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์อีก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มของนโรดม สีหนุ และซอน ซาน อย่างไรก็ตาม สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาได้ประกาศเป็นรัฐบาลของกัมพูชาระหว่าง พ.ศ. 2522-2536 โดยมีความสัมพันธ์กับต่างประเทศที่จำกัด

สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐกัมพูชา (State of Cambodia (SOC)) ในช่วงสี่ปีสุดท้าย เพื่อให้เกิดการยอมรับในระดับนานาชาติ ในขณะเดียวกันได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงระบบจากระบบรัฐเดียวไปสู่การฟื้นฟูราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ ในช่วง พ.ศ. 2522 - 2534 โดยนิยมลัทธิมากซ์-เลนินแบบสหภาพโซเวียต การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศกำลังอ่อนแอ จากการทำลายล้างของระบอบเขมรแดง และเป็นรัฐหุ่นเชิดของเวียดนามที่เข้ามาแทรกแซงทางเศรษฐกิจ จนรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเข้มแข็ง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเป็นรัฐที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวแต่ก็ฟื้นฟูและสร้างชาติกัมพูชาได้ใหม่

ในระยะเริ่มแรก พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามสนับสนุนกลุ่มเขมรแดงในการต่อต้านรัฐบาลสาธารณรัฐเขมรของนายพลลน นลระหว่าง พ.ศ. 2513 – 2518 แต่ไม่นานหลังจากเขมรแดงขึ้นครองอำนาจ ความขัดแย้งได้เริ่มขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ทหารเขมรแดงบุกยึดเกาะฝูกว๊ก (Phu Quoc) และเกาะโท้เชา (Tho Chau) ฆ่าพลเรือนชาวเวียดนามไป 500 คน เวียดนามตอบโต้การยึดเกาะทั้งสองอย่างรุนแรง สุดท้ายสามารถเจรจากันได้

การฆ่าชนกลุ่มน้อยชาวเวียดนามในกัมพูชาและการทำลายโบสถ์คาทอลิกของเวียดนามเกิดขึ้นตลอดช่วงที่ปกครองด้วยระบอบกัมพูชาประชาธิปไตย, โดยเฉพาะในภาคตะวันออกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2518 ช่วงต้นปี พ.ศ. 2521 ผู้นำเวียดนามตัดสินใจสนับสนุนผู้ต่อต้านพล พตในกัมพูชา ในขณะที่เขมรแดงก็มีปัญหาทางด้านชายแดนกับเวียดนาม ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2521 เกิดการลุกฮือ นำโดยโส พิม ในภาคตะวันออกของกัมพูชา วิทยุพนมเปญประกาศว่า ถ้าทหารกัมพูชา 1 คนฆ่าชาวเวียดนามได้ 30 คน ทหารเพียง 2 ล้านคนก็เพียงพอที่จะฆ่าชาวเวียดนามได้ทั้งประเทศ และแสดงความต้องการที่จะยึดดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงคืนจากเวียดนาม ในเดือนพฤศจิกายน ผู้นำเขมรแดงที่นิยมเวียดนามคือวอน เว็ตก่อการรัฐประหารแต่ไม่สำเร็จ วอน เว็ตถูกจับและถูกประหารชีวิต. มีการโจมตีตามแนวชายแดนกัมพูชา ทำให้ชาวเวียดนามและชาวกัมพูชาต้องลี้ภัยเข้าสู้เวียดนาม

แนวร่วมสามัคคีประชาชาติกู้ชาติกัมพูชาเป็นองค์กรที่มีบทบาทในการโค่นล้มอำนาจของเขมรแดงและก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา แนวร่วมนี้เป็นองค์กรผสมระหว่างผู้ลี้ภัยที่นิยมและไม่นิยมคอมมิวนิสต์ที่ต้องการโค่นล้มพล พตและสร้างชาติกัมพูชาขึ้นมาใหม่ ผู้นำขบวนการคือเฮง สัมรินและแปน โสวัณณ์ ประกาศก่อตั้งโดยวิทยุฮานอยเมื่อ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2521 โดยเฮง สัมรินเป็นประธานาธิบดี โจรัน พอลลีเป็นรองประธานาธิบดี นอกจากนั้นเป็นกลุ่มเขมรอิสระที่นิยมเวียดมิญซึ่งลี้ภัยไปอยู่เวียดนาม รส สมัย เลขาธิการทั่วไปของแนวร่วมเคยเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารในพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา

รัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยประกาศว่าแนวร่วมปลดปล่อยเป็นองค์กรทางการเมืองของเวียดนามที่มีชื่อเป็นเขมร เพราะสมาชิกหลักคืออดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาที่นิยมเวียดนามซึ่งมีสหภาพโซเวียตหนุนหลังอีกทีหนึ่ง สมาชิกของแนวร่วมปลดปล่อยส่วนใหญ่เป็นเขมรฝ่ายซ้ายที่อยู่ตรงข้ามกับเขมรแดง

ผู้นำเวียดนามตัดสินใจครั้งสุดท้ายที่จะใช้กำลังทางทหารเมื่อ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 กำลังทหารประมาณ 120,000 คน ได้รุกเข้าสู่กัมพูชาทางตะวันออกเฉียงใต้และยึดพนมเปญได้เมื่อ 7 มกราคม พ.ศ. 2522 กองทัพเขมรแดงที่พ่ายแพ้ได้ล่าถอยและเผายุ้งข้าวไปหมดทำให้เกิดความอดอยากในกัมพูชาไปจนถึงกลางปี พ.ศ. 2523.

ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2522 คณะกรรมการกลางของแนวร่วมปลดปล่อยประกาศนโยบายเร่งด่วนในการปลดปล่อยการปกครองของเขมรแดง อย่างแรกคือการสลายคอมมูนแบบเดิมและนำพระสงฆ์เข้ามามีบทบาทในชุมชน. มีการจัดตั้งคณะกรรมการปกครองตนเองของประชาชน คณะกรรมการนี้เป็นหน่วยย่อยที่สุดของโครงสร้างการปกครองด้วย[[สภาประชาชนปฏิวัติกัมพูชาที่จัดตั้งขึ้นเมื่อ 8 มกราคม พ.ศ. 2522 ในฐานะศูนย์กลางการบริหารของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา และใช้ต่อมาจนถึง 27 มิถุนายน พ.ศ. 2524 จึงมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้ให้มีการเลือกตั้งสภารัฐมนตรี แปน โสวัณณ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรี มีรองนายกรัฐมนตรี 3 คนคือ ฮุนเซน จัน ซี และเจีย สต

ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2522 กองทัพเขมรแดงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และกองทัพเวียดนามเข้ายึดครองพนมเปญได้ แนวร่วมปลดปล่อยฯได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ซึ่งเป็นการปกครองที่นิยมโซเวียตได้รับการสนับสนุนจากกองทัพและที่ปรึกษาพลเรือนจากเวียดนาม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชายุติลง แต่จีนที่สนับสนุนเขมรแดงและสหรัฐต้องการให้ขับไล่เวียดนามออกไปจากกัมพูชา ทำให้เกิดปัญหากัมพูชาขึ้น

นอกจากการสนับสนุนการรุกรานและการควบคุมของเวียดนามแล้ว รวมทั้งการสูญเสียเอกราชในระหว่างนี้ ระบอบใหม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนที่หวาดกลัวเขมรแดง แต่เมืองหลวงคือพนมเปญก็ต้องตกอยู่ในความว่างเปล่า เพราะทหารเวียดนามขนส่งสินค้ากลับไปเวียดนาม ภาพพจน์ด้านนี้ถูกนำไปเผยแพร่โดยฝ่ายต่อต้านสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา อย่างไรก็ตาม การคงอยู่ของกองทัพเวียดนามก็มีประโยชน์ในการบูรณะเมืองใหม่หลังจากถูกเขมรแดงทำลายไปโดยสิ้นเชิง

สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ ซึ่งสืบปฏิวัติสังคมนิยมโดยเขมรแดง เพียงแต่เขมรแดงใช้นโยบายแบบลัทธิเหมาและใช้ความรุนแรง แต่สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาใช้การปฏิวัติสังคมนิยมตามแบบของสหภาพโซเวียตและโคเมคอน สหภาพโซเวียตได้จัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเป็นประเทศสังคมนิยมที่ยังไม่พัฒนา 1 ใน 6 ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาได้ยอมรับความหลากหลายของสังคมกัมพูชา ทั้งชาวไทย ชาวจาม ชาวเวียดนามและชนเผ่าทางตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวจีนในกัมพูชาถูกมองว่าเป็นกลุ่มของศัตรูและอยู่ในความควบคุม การพูดภาษาจีนกลางและภาษาจีนแต้จิ๋วเป็นสิ่งต้องห้าม เช่นเดียวกับสมัยของพล พต อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงยังคงมีอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา Rudolph Rummel ประมาณว่ามีอาชญากรรมที่ก่อโดยรัฐบาลจนมีผู้เสียชีวิตประมาณ 230,000 คนในช่วง พ.ศ. 2522 - 2530

ภารกิจที่สำคัญของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาคือการฟื้นฟูพุทธศาสนา มีการบูรณะวัด และให้พระสงฆ์เข้าจำพรรษา ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2522 พระสงฆ์จำนวน 7 รูป เข้ามาจำพรรษาที่วัดอุณาโลมในกรุงพนมเปญอีกครั้ง และมีการบวชพระใหม่ในกัมพูชา ระหว่าง พ.ศ. 2522 – 2524 เริ่มจากในพนมเปญแล้วจึงกระจายไปยังจังหวัดต่างๆ มีการซ่อมแซมวัดมากกว่า 700 แห่ง จากวัดทั้งหมดราว 3,600 แห่งที่ถูกทำลายไปและมีการเฉลิมฉลองเทศกาลทางศาสนา ปัญญาชนจำนวนมากถูกกำจัดไปในสมัยเขมรแดง ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการฟื้นฟูประเทศ คนที่มีการศึกษาจำนวนมากหนีออกมาด้วยการเดินเท้า เข้าสู่ค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดน แล้วจึงอพยพไปยังโลกตะวันตก การบริหารของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะระบบต่างๆในประเทศถูกทำลายลงไปจนหมด ทุกสิ่งค่อยๆสร้างขึ้นมาใหม่อย่างช้าๆ การขาดผู้มีความรู้และทักษะเป็นปัญหาสำคัญในการฟื้นฟูประเทศ

วัฒนธรรมของกัมพูชาฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ โรงภาพยนตร์เปิดฉายอีกครั้ง ส่วนใหญ่มาจากเวียดนาม สหภาพโซเวียต และประเทศสังคมนิยมในยุโรปตะวันออก รวมทั้งภาพยนตร์จากอินเดีย ภาพยนตร์ที่ไม่เหมาะสมกับการปกครองระบอบโซเวียต เช่นภาพยนตร์จากฮ่องกงถูกห้ามฉาย นักถ่ายทำภาพยนตร์และนักแสดงจำนวนมากในช่วง พ.ศ. 2503 – 2513 ส่วนใหญ่ถูกฆ่าตายในสมัยเขมรแดงหรืออพยพออกไป ฟิล์มและสิ่งพิมพ์จำนวนมากถูกทำลาย ขโมย หรือสูญหายไป ที่เหลืออยู่ก็มีคุณภาพไม่ดี อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของกัมพูชาได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นช้าๆ

สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาต้องมีการโฆษณาชวนเชื่ออย่างมากในการสร้างประเทศใหม่ ส่งเสริมความเป็นเอกภาพและสถาปนาระบอบการปกครองของตนขึ้นมา ผู้ที่รอดชีวิตจากสมัยเขมรแดงจะมีแต่ความหวาดกลัวและความไม่แน่นอนโดยเฉพาะการที่หวาดกลัวว่าเขมรแดงจะได้ครองอำนาจอีกครั้ง ชาวกัมพูชาส่วนใหญ่มีความหวาดกลัวในจิตใจและคิดว่าจะไม่รอดชีวิตถ้าเขมรแดงคืนสู่อำนาจอีก สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาได้กระตุ้นให้ประชาชนปลดแอกตัวเองโดยโค่นพล พตลงจากอำนาจ มีการแสดงหัวกะโหลกและกระดูก ภาพถ่ายและภาพวาดเกี่ยวกับความโหดร้ายของเขมรแดงเพื่อใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อ มีการจัดพิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตวล แซลง ที่คุกตวล แซลงในสมัยกัมพูชาประชาธิปไตย มีการกำหนดวันแห่งความเกลียดชังเพื่อต่อต้านเขมรแดงและประกาศคำขวัญว่า “เราต้องทำทุกอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้ยุคมืดของเชมรแดงกลับมาอีก”

ชาวกัมพูชามากกว่า 600,000 คนต้องอพยพออกจากเมืองในยุคเขมรแดงจนในเมืองว่างเปล่า หลังการรุกรานของเวียดนาม ชาวกัมพูชาที่เคยถูกกวาดต้อนมาอยู่ในคอมมูนเป็นอิสระและกลับไปสู่บ้านเดิมเพื่อตามหาครอบครัวและญาติสนิทที่พลัดพรากกันไป หลังจากระบบคอมมูนถูกยกเลิก ประชาชนจำนวนมากไม่มีอาชีพและไม่มีอาหารเพียงพอ ใช้เวลานานถึง 6 เดือนในการอพยพประชาชนกลับสู่พนมเปญ มีการซ่อมแซมระบบไฟฟ้า น้ำประปา สาธารณสุข ซ่อมแซมถนนและกำจัดขยะ

มีการทำลายระบบทางสัมอย่างมากในปีศูนย์ (พ.ศ. 2518 – 2522) การเริ่มต้นใหม่ของกัมพูชาเป็นไปอย่างยากลำบาก ไม่มีตำรวจ ไม่มีหนังสือพิมพ์ ไม่มีโรงพยาบาล ไม่มีไปรษณีย์ และระบบโทรศัพท์ ไม่มีกฎหมายและเครือข่ายทางการค้าทั้งของรัฐและเอกชน ทำให้กัมพูชาขณะนั้นอยู่ในสภาพสิ้นหวัง ชาติตะวันตก จีนและอาเซียนปฏิเสธที่จะช่วยฟื้นฟูกัมพูชา จีนและสหรัฐปฏิเสธการรับรองสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาในระดับนานาชาติ ทำให้สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาไม่ได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติ ความช่วยเหลือส่วนใหญ่มาจากโลกคอมมิวนิสต์แต่บางประเทศเช่น โรมาเนียก็ปฏิเสธที่จะช่วยเหลือ. ความช่วยเหลือจากนานาชาติส่วนใหญ่มุ่งตรงมายังค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนไทย

ด้วยภาพของประเทศที่ล่มสลายและปฏิเสธการรับความช่วยเหลือในการสร้างชาติใหม่ และถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของเวียดนามที่เป็นมิตรกับสหภาพโซเวียต มีชาวกัมพูชาจำนวนมากอพยพมายังค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนไทย ซึ่งเป็นที่ที่มีความช่วยเหลือจากนานาชาติโดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา ในจุดหนึ่ง มีชาวกัมพูชาอยู่มากกว่า 500,000 คน ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และมีอีกราว 100,000 คน ในศูนย์อพยพภายในประเทศไทย ความช่วยเหลือจากยูนิเซฟและโปรแกรมอาหารโลกมีถึง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐระหว่าง พ.ศ. 2522 – 2525 และเป็นกลยุทธหนึ่งของสหรัฐระหว่างสงครามเย็นเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ในเวียดนามคิดเป็นเงินเกือบ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในขณะที่กองทัพเขมรแดงของพล พตได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นใหม่และได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากจีน รวมทั้งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกองทัพไทย เขมรแดงได้ประกาศต่อต้านสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา โดยอาศัยฐานกำลังจากค่ายผู้อพยพและจากกองทหารที่ซ่อนตัวตามแนวชายแดนไทย แม้ว่ากองกำลังของเขมรแดงจะมีความโดดเด่นขึ้นมา แต่มีกลุ่มต่อต้านที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์เกิดขึ้นด้วย ซึ่งกลุ่มเหล่านี้เคยต่อสู้กับเขมรแดงหลัง พ.ศ. 2518 กลุ่มเหล่านี้ได้แก่ อดีตทหารในสมัยสาธารณรัฐเขมรได้ประกาศจัดตั้งกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมรที่นำโดยซอน ซาน อดีตนายกรัฐมนตรี และมูลินนากา (ขบวนการเสรีภาพแห่งชาติกัมพูชา) ที่จงรักภักดีต่อพระนโรดม สีหนุ ใน พ.ศ. 2522 ซอน ซานได้จัดตั้งแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมรในการต่อสู่เพื่อเอกราชของกัมพูชา ส่วนพระนโรดม สีหนุ ได้จัดตั้งองค์กรของฝ่ายพระองค์คือพรรคฟุนซินเปกและกองทัพเจ้าสีหนุ ใน พ.ศ. 2524 แต่การต่อต้านของฝ่ายที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ไม่เคยมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ในสงครามกลางเมืองช่วงที่เหลือต่อไปนี้จึงเป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายเขมรแดงกับฝ่ายรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่

ในช่วงที่สงครามกลางเมืองดำเนินไป กองทัพเวียดนามประมาณ 200,000 คน เข้าควบคุมศูนย์กลางและเขตชนบทของประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2522 – เดือนกันยายน พ.ศ. 2532 ในขณะที่ทหารของฝ่ายเฮง สำรินมีเพียง 30,000 คน และมีบทบาทน้อยในการรักษาความสงบของประเทศ

กลุ่มผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชาจำนวนมากที่อำเภออรัญประเทศถูกผลักดันให้กลับเข้าประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2523 และส่วนใหญ่ต้องเข้าไปอยู่ในเขตควบคุมของเขมรแดง กระบวนการนี้เกิดขึ้นโดยกลุ่มที่นิยมกัมพูชาประชาธิปไตยแต่เข้ามาปรากฏตัวในฐานะอาสาสมัคร รวมทั้งการที่สหรัฐต่อต้านระบอบของเวียดนาม นอกจากนั้น ประเทศต่างๆ เช่น ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ยังสนับสนุนให้มีการผลักดันประชาชนให้กลับไปต่อสู้

ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 การต่อสู้ในสงครามกลางเมืองเป็นไปตามจังหวะของฤดูฝนและฤดูแล้ง กองทัพเวียดนามจะโจมตีในฤดูแล้ง กองทัพที่สนับสนุนโดยจีนและสหรัฐจะโจมตีในฤดูฝน ใน พ.ศ. 2525 เวียนามได้โจมตีฐานที่มั่นของเขมรแดงที่พนมมาลัยและเทือกเขาบรรทัดแต่ไม่สำเร็จมากนัก ในฤดูแล้ง พ.ศ. 2527 – 2528 เวียดนามได้โจมตีฐานที่มั่นของกลุ่มต่อต้านทั้งสามกลุ่มอย่างหนัก โดยเวียดนามประสบความสำเร็จในการโจมตีฐานที่มั่นของเขมรแดงให้ถอยร่นเข้าสู่แนวชายแดนไทย แผนที่เวียดนามใช้ในการสู้รบคือแผน K5 ที่กำหนดโดยนายพลเล ดึ้ก แอ็ญ ซึ่งเป็นการป้องกันการก่อการร้ายเข้าสู่กัมพูชาผ่านทางชายแดนไทย

หากไม่มีความช่วยเหลือจากเวียดนาม โซเวียตและคิวบา เฮง สัมรินมีความสำเร็จน้อยในการจัดตั้งระบอบสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา เนื่องมาจากสงครามกลางเมืองยังไม่ยุติ การคมนาคมมักถูกโจมตี การปรากฏของทหารเวียดนามทั่วประเทศได้เติมเชื้อไฟให้กับการต่อต้านเวียดนาม โดยจำนวนชาวเวียดนามในสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาทั้งที่อยู่มาก่อนและอพยพเข้ามาใหม่คาดว่ามีประมาณ 1 ล้านคน

ใน พ.ศ. 2529 ฮานอยได้กล่าวอ้างว่าจะเริ่มถอนทหารเวียดนามออกมา ในขณะเดียวกันเวียดนามเร่งสร้างความเข็มแข็งให้กับสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาและกองทัพปฏิวัติประชาชนกัมพูชา การถอนทหารยังคงต่อเนื่องไปอีก 2 ปี โดยไม่สามารถทราบจำนวนที่แท้จริงได้ แผนการถอนทหารเวียดนามถูกกดดันมากขึ้นในช่วง พ.ศ. 2532 – 2533 เพราะสหรัฐและจีนเข้ามากดดันมากขึ้น และสหภาพโซเวียตงดให้ความช่วยเหลือ ทำให้กัมพูชาต้องปฏิรูปเศรษฐกิจและรัฐธรรมนูญเพื่ออนาคตทางการเมือง ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2532 รัฐบาลฮานอยและพนมเปญออกมาประกาศว่าการถอนทหารจะสิ้นสุดภายในเดือนกันยายนของปีนี้

ในวันที่ 29–30 เมษายน พ.ศ. 2532 สภาแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาภายใต้การนำของเฮง สัมรินได้จัดประชุมสมัยวิสามัญโดยมีการแก้ไขชื่อประเทศจากสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชามาเป็นรัฐกัมพูชา มีการนำสีน้ำเงินกลับมาใช้ในธงชาติ เปลี่ยนตราแผ่นดินและตรากองทัพ กองทัพปฏิวัติประชาชนกัมพูชาถูกเปลี่ยนไปเป็นกองทัพประชาชนกัมพูชา พุทธศาสนาที่เคยฟื้นฟูขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2522 ได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติ ทางด้านเศรษฐกิจได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการถือครองทรัพย์สินและตลาดเสรี พรรครัฐบาลประกาศจะเจรจากับฝ่ายค้านทุกกลุ่ม

รัฐกัมพูชาดำรงอยู่ในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและรัฐคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก การลดความช่วยเหลือของโซเวียตต่อเวียดนามทำให้เวียดนามต้องถอนทหารออกไป กองทหารสุดท้ายของเวียดนามกล่าวว่าพวกเขาออกจากกัมพูชาเมื่อ 26 กันยายน พ.ศ. 2532 แต่บางกลุ่มเชื่อว่ายังคงอยู่ถึง พ.ศ. 2533 ชาวเวียดนามส่วนใหญ่อพยพกลับสู่เวียดนาม ดพราะไม่มั่นใจความสามารถของรัฐบาลกัมพูชาในการควบคุมสถานการณ์เมื่อไม่มีทหารเวียดนาม

นอกจากการประกาศอย่างแข็งกร้าวของฮุนเซน รัฐกัมพูชาอยู่ในฐานะที่จะกลับมาเป็นเพียงพรรคหนึ่งในการครองอำนาจ โครงสร้างผู้นำและการบริหารเป็นแบบเดียวกับสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา โดยมีพรรคเป็นผู้กุมอำนาจสูงสุด รัฐกัมพูชาไม่สามารถฟื้นฟูราชวงศ์ในกัมพูชาแม้จะเริ่มนำสัญลักษณ์ของราชวงศ์มาใช้ ซึ่งเคยเลิกใช้ไปเป็นเวลานานหลังจากที่พระนโรดม สีหนุเข้าร่วมกับแนวร่วมเขมรสามฝ่าย ในกลางปี พ.ศ. 2534 ทั้งโดยแรงกดดันจากในและนอกประเทศ รัฐกัมพูชาได้ทำข้อตกลงในการยอมรับพระนโรดม สีหนุเป็นประมุขรัฐ ปลายปี พ.ศ. 2534 สีหนุได้เดินทางกลับกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ทั้งฮุน เซน และเจียซิมได้จัดงานเลี้ยงรับรองอย่างเป็นทางการ

ในช่วงเปลี่ยนผ่านในฐานะรัฐกัมพูชาแนวคิดปฏิวัติได้เลือนหายไป การฉ้อราษฏร์บังหลวงเพิ่มขึ้น ทรัพยากรของรัฐถูกขายไปโดยไม่เกิดกำไรแก่รัฐ ชนชั้นสูงและทหารสร้างความร่ำรวยจากความเหลื่อมล้ำ ผลจากการกระทำนี้ทำให้เกิดการเดินขบวนประท้วงในกรุงพนมเปญเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534 เกิดการปราบปรามอย่างรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิต 8 คน

สถานะของชาวกัมพูชาเชื้อสายจีนดีขึ้นหลัง พ.ศ. 2532 ความเข้มงวดที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐกัมพูชาลดลง รัฐบาลของรัฐกัมพูชายอมให้ชาวจีนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา และเปิดโรงเรียนสอนภาษาจีนได้อีก ใน พ.ศ. 2534 ได้มีการเฉลิมฉลองตรุษจีนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เขมรแดงครองอำนาจเมื่อ พ.ศ. 2518

การเจรจาสันติภาพระหว่างระบอบที่มีเวียดนามหนุนหลังกับกองทัพฝ่ายตรงข้ามเริ่มขึ้นทั้งเป็นและไม่เป็นทางการตั้งแต่ พ.ศ. 2528 การเจรจาเป็นไปด้วยความยากลำบาก เขมรแดงต้องการให้ล้มล้างการบริหารของฝ่ายรัฐบาลพนมเปญก่อนการเจรจา ในขณะที่ฝายรัฐบาลต้องการให้ขับเขมรแดงออกไปจากรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์เป็นแรงฟลักดันที่สำคัญที่ทำให้ฝ่ายรัฐบาลกัมพูชาเข้ามาสู่การเจรจา สุดท้ายจึงบรรลุข้อตกลงในสนธิสัญญาสันติภาพปารีส พ.ศ. 2534 โดยสหประชาชาติเข้ามาจัดการเลือกตั้งที่เป็นอิสระและเป็นธรรมซึ่งกำหนดใน พ.ศ. 2536 มีการจัดตั้งอันแทคในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการเจรจาสงบศึกและดูแลการเลือกตั้งทั่วไป

พรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชาเป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวในการปกครองของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาตั้งแต่ พ.ศ. 2522 และการเปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐกัมพูชาใน พ.ศ. 2534 และเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคประชาชนกัมพูชาระหว่างที่สหประชาชาติเข้ามาจัดการเลือกตั้ง สมาชิกของพรรคส่วนใหญ่เคยเป็นสมาชิกของเขมรแดงที่หนีไปเวียดนามหลังจากที่ได้เห็นนโยบายที่ทำลายระบบสังคมของกัมพูชาด้วยการคลั่งลิทธิเหมาและนโยบายเกลียดชังต่างชาติ บุคคลเหล่านี้รวมทั้งเฮง สัมรินและฮุน เซนซึ่งเคยเป็นสมาชิกเขมรแดงโซนตะวันออกใกล้แนวชายแดนกัมพูชา-เวียดนาม ต่อมาเข้าร่วมกับกองทัพเวียดนามในการโค่นล้มเขมรแดง

พรรคที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2524 เป็นพรรคที่นิยมลัทธิมาร์ก-เลนิน อย่างไรก็ตาม หลัง พ.ศ. 2528 ได้มีการผ่อนปรนให้กับการถือครองทรัพย์สินของเอกชนมากขึ้น และนโยบายเชิงสังคมนิยมของพรรคลดลงในช่วงเปลี่ยนผ่านมาสู่พรรคประชาชนกัมพูชา สถานะของการปฏิวัติสังคมนิยมในพรรคสิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2534 ฮุน เซนที่เป็นนายกรัฐมนตรีในปัจจุบันเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในพรรค เป็นผู้นำของพรรคที่สืบเนื่องคือพรรคประชาชนกัมพูชา ซึ่งเป็นพรรคที่ไม่มีนโยบายสังคมนิยมเลย

หลังจากที่มีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา เวียดนามเป็นประเทศแรกที่ประกาศรับรอง และสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเวียดนามทันที ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เฮง สัมรินในฐานะตัวแทนของของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาและฝั่ม วัน ดงได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพมิตรภาพและความร่วมมือ

สหภาพโซเวียต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน สาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรีย สาธารณรัฐสังคมนิยมโรมาเนีย สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวาเกีย สาธารณรัฐประชาชนฮังการี สาธารณรัฐประชาชนมองโกเลีย สาธารณรัฐคิวบา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเยเมน สาธารณรัฐประชาธิปไตยอัฟกานิสถาน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเอธิโอเปีย สาธารณรัฐประชาชนคองโก และประเทศกำลังพัฒนาที่นิยมโซเวียต เช่นอินเดียได้รับรองรัฐบาลใหม่ในกัมพูชา ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2523 มี 29 ประเทศที่รับรองสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ในขณะที่อีกเกือบ 80 ประเทศรับรองรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยของเขมรแดง

รัฐบาลจีนที่เป็นผู้สนับสนุนเขมรแดงได้กล่าวหาว่าสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเป็นรัฐหุ่นเชิดของเวียดนามและประกาศไม่รับรอง ไทยและสิงคโปร์ประกาศตัวอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับการรุกรานของเวียดนาม รัฐบาลของพล พตได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและยุโรปในการต่อต้านเวียดนาม

สภาความมั่นคงของสหประชาชาติประณามการรุกรานของเวียดนามว่าเป็นการแสดงความก้าวร้าวต่อกัมพูชาประชาธิปไตย ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและสิทธิของชาวกัมพูชา

ผลจากการต่อต้านสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ทำให้เขมรแดงยังคงได้ที่นั่งในสหประชาชาติแม้ว่าจะมีข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ กัมพูชาประชาธิปไตยยังคงได้ที่นั่งในสหประชาชาติต่อมาอีก 3 ปี หลังการสิ้นอำนาจของพล พต ต่อมา ใน พ.ศ. 2535 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตยและได้ที่นั่งในสหประชาชาติจนถึง พ.ศ. 2536

จีนและประเทศตะวันตกรวมทั้งประเทศในแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกาส่วนหนึ่งยังคงสนับสนุนเขมรแดงและโหวตให้กัมพูชาประชาธิปไตยครองที่นั่งในสหประชาชาติ การถอนการสนับสนุนเขมรแดงของสวีเดนเกิดขึ้นหลังจากมีชาวสวีเดนจำนวนมากเขียนจดหมายถึงสมาชิกสภาต้องการให้เปลี่ยนแปลงนโยบายต่อระบอบของพล พต ฝรั่งเศสประกาศเป็นกลางในเรื่องนี้ โดยกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายไม่ควรเป็นตัวแทนกัมพูชาในสหประชาชาติ ต่อมา สหรัฐได้ออกนโยบายสนับสนุนขบวนการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในหลายประเทศที่เป็นบริวารของสหภาพโซเวียต ทำให้รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเป็นเป้าหมายของปฏิบัติการนี้ด้วย ดังที่สหรัฐให้การสนับสนุนอัลกออิดะห์และฏอลีบันในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในอัฟกานิสถาน และกลุ่มต่อต้านรัฐบาลในอังโกลา แต่ปฏิบัติการในกัมพูชาไม่สำเร็จ

ในการอ้างถึงกัมพูชาในฐานะรัฐ ในที่ประชุมทั่วไปของสหประชาชาติใช้คำว่ากัมพูชาประชาธิปไตย (Democratic Kampuchea) และกัมปูเจีย(Kampuchea) เป็นเวลากว่าทศวรรษ เพิ่งมาใช้ กัมพูชา (Cambodia) ใน พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านของรัฐกัมพูชา

ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2523 ประธานสภาปฏิวัติประชาชนคือ รส สมัย ได้จัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญโดยเขียนเป็นภาษาเขมร โดยนำรัฐธรรมนูญของเวียดนาม เยอรมันตะวันออก สหภาพโซเวียต ฮังการี และบัลแกเรีย รวมทั้งรัฐธรรมนูญในอดีตของกัมพูชา เช่นของราชอาณาจักรกัมพูชาและสาธารณรัฐเขมร แต่ร่างของรส สมัย ไม่ผ่านการตรวจสอบของเวียนาม

การใช้ถ้อยคำในรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาถูกกดดันด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชากับเวียดนาม นายกรัฐมนตรี แปน โสวัณณ์ ยอมรับว่าฝ่ายเวียดนามได้ขอให้แก้ไขถ้อยคำบางคำที่พวกเขาไม่เห็นด้วยในท้ายที่สุด เมื่อ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2524 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ที่ได้รับความเห็นชอบจากเวียดนาม โดยกำหนดว่ากัมพูชาเป็นรัฐประชาธิปไตยที่มุ่งไปสู่ความเป็นสังคมนิยม การเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมนิยมนั้นนำโดยลัทธิมาร์ก-เลนิน ทำให้กัมพูชากลายเป็นรัฐบริวารของโซเวียต ศัตรูที่สำคัญของประเทศใหม่คือการขยายตัวของจีน จักรวรรดินิยมอเมริกาและอำนาจอื่นๆ

ในทางเทคนิค รัฐธรรมนูญได้ยอมรับสิทธิอย่างกว้างเกี่ยวกับเสรีภาพของพลเมืองและสิทธิถือครอง แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการ เช่นจะต้องไม่กระทำการเพื่อให้ร้ายผู้อื่น เปลี่ยนแปลงสังคม ระเบียบสาธารณะ หรือความปลอดภัยแห่งชาติ รัฐธรรมนูญได้ให้หลักการของวัฒนธรรมภายในรัฐบาล การศึกษา สวัสดิการสังคม และสาธารณสุข พัฒนาการด้ายภาษา วรรณกรรม ศิลปะและวิทยาศาสตร์มีความจำเป็นสำหรับการอนุรักษ์วัฒนธรรม การสนับสนุนการท่องเที่ยว และความร่วมมือทางวัฒนธรรมกับประเทศอื่น

องค์ประกอบของรัฐประกอบด้วยสมัชชาแห่งชาติ สภาแห่งรัฐ สภารัฐมนตรี คณะกรรมการปฏิวัติประชาชนท้องถิ่นและระบบศาล ลำดับขั้นของการบริหารเป็นไปตามลัทธิมาร์ก-เลนิน ที่ถือเป็นหลักของประเทศ มีการเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายปกครองและประชาชนระดับรากหญ้า โดยองค์กรที่อยู่ภายใต้การควบคุมของแนวร่วมสามัคคีประชาชาติเพื่อการสร้างและปกป้องชาติ

มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน พ.ศ. 2532 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับนโยบายทางด้านตลาดของรัฐกัมพูชา รัฐนี้สืบเนื่องมาจากสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาซึ่งเป็นไปตามนโยบายเปิด-ปรับของมิคาอิล กอร์บาชอฟ ซึ่งทำให้ความช่วยเหลือของสหภาพโซเวียตมายังเวียดนามและกัมพูชาน้อยลง จึงต้องปรับตัวเพื่อให้ได้การยอมรับในระดับนานาชาติมากขึ้น รวมทั้งการใช้ระบบตลาดเสรี

รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาไม่ได้กล่าวถึงตำแหน่งประมุขรัฐซึ่งอาจเป็นการเว้นที่ว่างให้พระนโรดม สีหนุ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญแห่งรัฐกัมพูชากำหนดให้ประธานสภาแห่งรัฐเป็นประมุขรัฐ

โครงสร้างการบริหารภายในของรัฐบาลไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนักในช่วง พ.ศ. 2522 – 2523 จนกระทั่งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2524 จึงเกิดโครงสร้างใหม่เป็นสมัชชาแห่งชาติ สภาแห่งรัฐ และสภารัฐมนตรี องค์กรใหม่นี้เกิดขึ้นอย่างช้าๆ บางส่วนยังทำงานไม่ได้จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 เพื่อให้สมัชชาแห่งชาติออกกฎหมายเฉพาะออกมาก่อน

ถ้าไม่นับที่ปรึกษาชาวเวียดนาม รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาประกอบด้วยชาวกัมพูชาที่เป็นสมาชิกแนวร่วมปลดปล่อยฯ ในระยะแรกที่ปรึกษาจากเวียดนามเช่น เล ดึ้ก โถ่ ได้ให้สัญญาว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของกัมพูชา อย่างไรก็ตาม หลังจากที่สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา เล ดึ้ก โถ่ทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมต่อระหว่างรัฐบาลที่ฮานอยและพนมเปญ โดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาต้องเดินในช่องทางแคบๆระหว่างชาตินิยมเขมรกับความเป็นหนึ่งเดียวของอินโดจีนกับเวียดนาม โดยจะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อเวียดนาม สมาชิกของรัฐบาลที่แสดงอาการต่อต้านเวียดนามจะถูกเปลี่ยนตัวไป เช่น รส สมัย แปน โสวัณณ์ และจัน ซี จัน ซีนั้นเสียชีวิตอย่างน่าสงสัยที่มอสโกเมื่อ พ.ศ. 2527

องค์กรสูงสุดแห่งรัฐคือสมัชชาแห่งชาติ ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอยู่ในตำแหน่งวาระละ 5 ปี การเลือกตั้งครั้งแรกของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเกิดขึ้นเมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 มีสมาชิก 117 คน ในช่วงแรก สมัชชาทำหน้าที่ในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่และคัดเลือกบุคลากรสำหรับหน่วยงานของรัฐที่กำหนดโดยรัฐธรรมนูญ สมัชชามีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมาย และตรวจสอบการปฏิบัติงาน ตรวจสอบนโยบาบทั้งภายในและต่างประเทศ ปรับปรุงโครงการเกี่ยวกับเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ควบคุมงบประมาณของรัฐ เลือกหรือปลดออกซึ่งสมาชิกภาพของสภาแห่งรัฐและสภารัฐมนตรี นอกจากนั้น ยังให้คำรับรองสนธิสัญญาที่ทำกับต่างประเทศ เช่นเดียวกับรัฐสังคมนิยมอื่นๆ การทำงานจริงๆของสมัชชาคือการออกกฎหมายและตรวจสอบการทำงานของสภาแห่งรัฐและสภารัฐมนตรี

สมัชชาแห่งชาติปกติประชุมปีละ 2 ครั้ง โดยมีหน้าที่พิจารณาเกี่ยวกับแผนงานของรัฐและงบประมาณ และให้ผ่านด้วยเสียงอย่างน้อยสองในสาม ตรวจสอบการทำงานที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศของสภารัฐมนตรี สภารัฐมนตรีไม่สามารถถอดถอนสมัชชาแห่งชาติได้ อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2529 ได้มีการประกาศต่ออายุสมัชชาแห่งชาติออกไปอีก 5 ปี

สมัชชาแห่งชาติเลือกตัวแทน 7 คนเข้าสู่สภาแห่งรัฐ ประธานสภาแห่งรัฐจะเป็นประมุขของประเทศ แต่อำนาจในการบังคับบัญชากองทัพสูงสุดถูกลบออกจากร่างสุดท้ายของรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาแห่งรัฐทั้ง 7 คน คือผู้นำที่มีอำนาจมากในสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา มีอำนาจถอดถอนสมาชิกสภารัฐมนตรีได้

หน่วยงานที่มีอำนาจสูงสุดในรัฐบาลคือสภารัฐมนตรี ซึ่งในปลายปี พ.ศ. 2530 ประธานสภารัฐมนตรีคือฮุน เซน (ดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2527) ซึ่งเทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรี รองประธานสภาสองคน เทียบเท่ารองนายกรัฐมนตรี และมีรัฐมนตรี 20 คน สมัชชาแห่งชาติเป็นผู้เลือกสภารัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี

สภารัฐมนตรีประชุมสัปดาห์ละครั้ง รัฐมนตรีในสภาจะรับผิดชอบในด้าน เกษตรกรรม การสื่อสาร คมนาคมและไปรษณีย์ การศึกษา การคลัง การต่างประเทศ สาธารณสุข การค้าภายในและต่างประเทศ อุตสาหกรรม สารสนเทศและวัฒนธรรม มหาดไทย ยุติธรรม การป้องกันประเทศ และกิจการสังคม นอกจากนั้น ยังมีรัฐมนตรีที่ดูแลทางด้านกิจกรรมการเกษตรและการปลูกยางพารา ซึ่งเพิ่มเข้าในสำนักงานของสภารัฐมนตรี เลขาธิการทั่วไปของสภารัฐมนตรี ซึ่งรับผิดชอบทางด้านการคมนาคมและเครือข่ายการป้องกันตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และประธานธนาคารประชาชนแห่งชาติกัมพูชา

การฟื้นฟูระเบียบและกฎหมายเป็นภาระหลักของระบบเฮง สัมริน ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 การบริหารงานยุติธรรมอยู่ในอำนาจของศาลประชาชนปฏิวัติ ซึ่งจัดตั้งขึ้นในพนมเปญ กฎหมายใหม่เริ่มประกาศใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 ภายใต้กฎหมายนี้ ศาลประชาชนสูงสุดเป็นศาลสูงสุดของประเทศ

ในปลายปี พ.ศ. 2530 การปกครองภายในประเทศถูกแบ่งเป็น 18 จังหวัด (เขต) และเขตบริหารพิเศษ 2 แห่ง (กรง) คือพนมเปญและกัมปงโสมที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลกลางโดยตรง แต่ละจังหวัดแบ่งเป็น สรก (ตำบล) และขุม (ชุมชน) และภูมิ (หมู่บ้าน)

เป็นส่วนที่มาจากการเลือกตั้ง ประกอบด้วยประธาน รองประธาน 1 คน และมีสมาชิก 11 คน คณะกรรมการนี้ มีทั้งในระดับจังหวัดและตำบลมีวาระ 5 ปี ส่วนในระดับชุมชนและหมู่บ้าน มีวาระ 3 ปี

กองทัพของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาคือกองทัพปฏิวัติประชาชนกัมพูชา มีความจำเป็นในการสร้างภาพในการบริหารแบบนิยมเวียดนามในพนมเปญ ซึ่งเป็นไปตามระบบของโซเวียต การเกิดขึ้นของกองทัพภายในไม่ได้เป็นปัญหากับการยึดครองของเวียดนาม เพราะเวียดนามเคยมีประสบการณ์ในการฝึกหัดและร่วมมือทางทหารกับลาวมาก่อน

กองทัพปฏิวัติประชาชนกัมพูชาจัดตั้งขึ้นจากกองทัพที่เคยเป็นสมาชิกของเขมรแดงมาก่อน กองทัพนี้ได้รับการฝึกและสนับสนุนจากเวียดนาม แต่กองทัพนี้ก็อ่อนแอ ไร้ความสามารถที่จะต่อสู้กับเขมรสามฝ่ายได้โดยลำพัง ระบบของกองทัพมีระบบของศาลทหาร และระบบคุกทหาร ต่อมา ใน พ.ศ. 2532 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกองทัพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ข้อตกลงปารีส พ.ศ. 2534 มีการเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นรัฐกัมพูชา กองทัพเปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพประชาชนกัมพูชา หลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2536 กองทัพประชาชนกัมพูชาได้รวมเข้ากับกองทัพของฝ่ายนิยมเจ้า ชาตินิยม และกลุ่มอื่น เข้าเป็นกองทัพแห่งชาติ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301