ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สังคมวิทยา

สังคมวิทยา (อังกฤษ : sociology) คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตทางสังคมของมนุษย์, กลุ่มคน, และสังคม สิ่งที่สาขาวิชานี้สนใจคือ กฎเกณฑ์ และกระบวนการทางสังคม ที่ยึดเหนี่ยวหรือแบ่งแยกผู้คน ทั้งในสภาวะที่เป็นปัจเจก และในฐานะของสมาชิกของสมาคม, กลุ่ม, หรือสถาบัน

สังคมวิทยาสนใจพฤติกรรมมนุษย์ ในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตทางสังคม ดังนั้นการศึกษาทางด้านนี้ จึงครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์การพบปะกันของคนที่ไม่รู้จักกันบนท้องถนน ไปจนถึงการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางสังคมในระดับโลก

เมื่อเทียบกับสาขาวิชาอื่น ๆ ในสังคมศาสตร์ เช่น เศรษฐศาสตร์, รัฐศาสตร์, มานุษยวิทยา, หรือจิตวิทยา วิชาสังคมวิทยาจัดเป็นสาขาวิชาที่ค่อนข้างใหม่ อย่างไรก็ตาม ประวัติของการศึกษาด้านนี้ สามารถสืบสาวไปได้ยาวนานโดยมีรากฐานมาจากความรู้ทั่วไปของมนุษย์, ผลงานทางศิลปะ, และปรัชญา

การศึกษาสังคม ในลักษณะที่เป็นสาขาวิชาที่ใช้หลักวิทยาศาสตร์ เริ่มขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีปัจจัยกระตุ้นหลักจากสภาวะความเป็นสมัยใหม่ (modernity) อันเป็นผลมาจากทั้งการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม และพัฒนาการทางการเมือง ผลก็คือสภาพสังคมในยุคนั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย เช่น เกิดการขยายตัวของเมือง หรือการที่ชนชั้นนายทุนเข้ามามีอำนาจแทนที่เจ้าขุนมูลนาย. ความเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้นักคิดหลายคนพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยอาศัยวิธีคิดวิเคราะห์เช่นเดียวกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ผู้ที่บัญญัติคำว่า sociology คือ ออกุสต์ คองต์ (Auguste Comte) โดยมีรากศัพท์มาจาก socius ซึ่งเป็นภาษาละตินแปลว่า กลุ่มคน และคำว่า logia แปลว่า การศึกษา คองต์ตั้งเป้าว่าจะเชื่อมรวมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ทั้งหมด รวมทั้งประวัติศาสตร์, จิตวิทยา, และเศรษฐศาสตร์. สังคมวิทยาของเขานั้น มีลักษณะร่วมสมัยกับความคิดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 กล่าวคือ เขาเชื่อว่าวิวัฒนาการทางสังคมจะมีลักษณะเป็นลำดับขั้น และถ้าเข้าใจลำดับกระบวนการนี้ได้ ก็จะสามารถชี้ทางแก้ปัญหาสังคมได้ด้วย

หนังสือเล่มแรกที่ใช้คำว่า 'สังคมวิทยา' ในชื่อหนังสือเขียนขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดย เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) นักปรัชญาชาวอังกฤษ. ในสหรัฐอเมริกา มีการเรียนการสอนวิชาสังคมวิทยาครั้งแรกที่ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคนซัส ลอว์เร็นซ์ (University of Kansas, Lawrence) เมื่อ พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890). สำหรับภาควิชาสังคมวิทยาแบบเต็มรูปแบบที่แรกนั้น ตั้งขึ้นที่ มหาวิทยาลัยชิคาโก โดย Albion W. Small ในปี พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) ที่สหรัฐอเมริกา. ส่วนในฝั่งยุโรป ภาควิชาสังคมวิทยาถูกตั้งเป็นที่แรก ที่ฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) โดย อีมิล เดอร์ไคหม์ (Emile Durkheim) ในมหาวิทยาลัยบอร์โดซ์ (University of Bordeaux), และต่อมาที่เยอรมนี เมื่อ พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) โดย มักซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่ มหาวิทยาลัยมิวนิก (Lugwig Maximilians University of Munich), และที่โปแลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) โดย Florian Znaniecki. ส่วนในสหราชอาณาจักร ภาควิชาสังคมวิทยาแห่งแรกนั้น ก่อตั้งภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

นักทฤษฎีทางสังคมวิทยาในยุคบุกเบิกตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ คาร์ล มาร์กซ, เฟอร์ดินานด์ โทเอนนีส์ (Ferdinand Toennies), อีมิล เดอร์ไคหม์, วิลเฟรดโด ปาเรโต (Vilfredo Pareto) และ มักซ์ เวเบอร์. ในลักษณะเช่นเดียวกับคองต์ นักคิดเหล่านี้ไม่มีใครเรียกตนเองว่าเป็น 'นักสังคมวิทยา' แท้ๆ งานของพวกเขาศึกษาตั้งแต่เรื่อง ศาสนา การศึกษา เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา ศีลธรรม ปรัชญา และ เทววิทยา. อย่างไรก็ตาม ยกเว้นเพียงมาร์กซ์เท่านั้น ผลงานของพวกเขาที่มีผลมาจนถึงทุกวันนี้ก็เป็นทางด้านสังคมวิทยา และทฤษฎีของพวกเขาหลายๆ อันก็ยังสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์ปัจจุบันได้

เมื่อเริ่มแรก การศึกษาด้านสังคมวิทยาถูกมองว่า ไม่ต่างจากการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ฟิสิกส์ หรือ ชีววิทยา ดังนั้นเหล่านักคิดด้านสังคมจึงได้นำวิธีการ รวมถึงระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ โดยแทบไม่มีการปรับเปลี่ยน แนวทางดังกล่าวที่เน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และผลลัพธ์ที่วัดได้ ทำให้สาขาสังคมวิทยาแตกต่างจาก เทววิทยา หรือ อภิปรัชญา แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนโดยคองต์ ทำให้เกิดระเบียบวิธีวิจัยที่เรียกว่า ปฏิฐานนิยม โดยมีรากฐานมาจากปรัชญาสายธรรมชาตินิยม

กระทั่งสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักวิทยาศาสตร์เช่น วิลเฮม ดิลธี หรือ ไฮน์ริช ริคเคอร์ต ก็ได้ตั้งข้อสงสัยกับการนำแนวคิดปฏิฐานนิยมและธรรมชาตินิยม มาใช้ในการศึกษาสังคม โดยกล่าวว่า โลกธรรมชาตินั้นแตกต่างจากโลกของสังคม ทั้งนี้เนื่องจากสังคมมนุษย์มีลักษณะหนึ่งเดียวบางประการ เช่น การให้ความหมาย, การใช้สัญลักษณ์, การตั้งกฎเกณฑ์และบรรทัดฐาน, และการให้คุณค่า โดยทั้งหมดนี้รวมเรียกว่าเป็นวัฒนธรรม มุมมองนี้ได้ถูกพัฒนาต่อโดย แมกซ์ เวเบอร์ ผู้นำแนวคิดอปฏิฐานนิยม (antipositivism) หรือสังคมวิทยาแนวมนุษย์นิยม ซึ่งวางอยู่บนหลักการที่ว่า สังคมวิทยาต้องมุ่งศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์และคุณค่าทางวัฒนธรรม นี่ทำให้เกิดข้อถกเถียง เกี่ยวกับการแบ่งแยกระหว่างงานวิจัยเชิงจิตวิสัยและงานวิจัยเชิงวัตถุวิสัย และก่อให้เกิดการศึกษาด้านอรรถปริวรรตศาสตร์ (hermeneutics)


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406