สหภาพแรงงาน (Trade Union) คือการรวมตัวกันของกลุ่มลูกจ้างโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้มีการดำเนินการตาม หรือเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
เมื่อประมาณสามร้อยปีที่แล้ว สหภาพแรงงานได้ถือกำเนิดขึ้นและได้พัฒนาไปในรูปแบบที่แตกต่างกัน เนื่องจากบริบททางการเมืองและเศรษฐกิจที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ดังนี้จึงส่งผลให้วัตถุประสงค์ และกิจกรรมหลักของสหภาพแรงงานจึงแตกต่างกันไปด้วย อย่างไรก็ตามอาจสรุปหน้าที่หลักของสหภาพแรงงานได้ดังนี้
จากสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทั้ง ด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเป็นเสรี กฎหมาย และหลักการด้านสิทธิแรงงานสากล ที่ได้รับอิทธิพลจาก องค์การแรงงานสากล (International Labor Organization) ที่แรงงานเสรีที่เคลื่อนย้ายจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง จะได้รับความคุ้มครองและปฏิบัติทางกฎหมายอย่างเท่าเทียม ทั้งจากกฎหมายสากล และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ภายในประเทศ สหภาพแรงงานโดยทั่วไปจึงมีจุดยืนที่ชัดเจนในการปฏิบัติงาน ที่ต้องเป็นไปโดยชอบ ในกรอบของกฎหมาย
ปัจจุบันแนวความคิดในการรวมตัวกันเพื่อต่อรองผลประโยชน์ของพนักงาน ที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของชนชั้นแรงงานโดยตรง เริ่มมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก เมื่อมีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากประเทศหนึ่ง ไปยังอีกประเทศหนึ่ง จะส่งผลกระทบเบื้องต้นที่ชัดเจน คือ อุปสรรคด้านภาษา และวัฒนธรรมการทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่ง เมื่อเกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง และมีการโต้ตอบกัน จนเกิดความรู้สึกถึงความไม่มั่นคงในตำแหน่งหน้าที่การงาน จึงต้องมีการรวมตัวกันของฝ่ายลูกจ้าง เพื่อค้นหาความยุติธรรม ที่จะได้รับจากฝ่ายนายจ้าง ซึ่งนายจ้างอาจมีทางเลือกในการโต้ตอบ เช่น การตั้งสหพันธ์นายจ้าง เพื่อโต้ตอบไปมาอีก ทั้งที่สาเหตุมาจากความไม่ยุติธรรมในองค์กรที่ต่างฝ่ายต่างไม่สนใจ และให้ความสำคัญ ที่เกิดจากความไม่เข้าใจถึงความรู้สึกของอีกฝ่าย
หากสหภาพแรงงานดำเนินการเพียงเพื่อผลประโยชน์ของสหภาพแรงงานเองเท่านั้นก็จะส่งผลกระทบดำเนินธุรกิจของบริษัทที่สหภาพแรงงานปฏิบัติงานอยู่ อย่างเช่นการประท้วงหยุดงานเพียงเพื่อต่อรองเงินโบนัสประจำปีและการเพิ่มสวัสดิการอื่นๆ โดยมิได้คำนึงถึงผลประกอบการในปีนั้นๆ หรือผลกระทบอื่นๆที่ตามมาจากการจ่ายโบนัสจำนวนมหาศาล ซึ่งย่อมส่งผลกระทบอย่างแน่นอนดำเนินงานของบริษัท และสังคมโดยรวม กล่าวคือ การตั้งข้อเรียกร้องฝ่ายเดียว ซึ่งปราศจากพื้นฐานของการทำความเข้าใจ ให้แต่ละฝ่ายได้หารือ สร้างความเข้าใจถึงปัญหา ย่อมส่งผลกระทบ ทั้งฝ่ายนายจ้าง และผลประโยชน์ของลูกจ้างเอง