ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต

สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (รัสเซีย: ????? ?????????? ????????????????? ?????????? - CCCP; อังกฤษ: Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (อังกฤษ: Soviet Union) เป็นรัฐลัทธิมากซ์–เลนนินบนทวีปยูเรเซีย มีอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1922 ถึง 1991 ปกครองแบบรัฐพรรคการเมืองเดียวโดยพรรคคอมมิวนิสต์ มีกรุงมอสโกเป็นเมืองหลวง เป็นสหภาพของหลายสาธารณรัฐโซเวียตต่ำกว่าประเทศ (subnational) การปกครองและเศรษฐกิจรวมศูนย์อย่างมาก

สหภาพโซเวียตมีรากเหง้าในการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 ซึ่งโค่นจักรวรรดิรัสเซีย จากนั้น พรรคบอลเชวิก กลุ่มแยกฝ่ายข้างมากของพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตย นำโดย วลาดีมีร์ เลนิน นำการปฏิวัติที่สองซึ่งโค่นรัฐบาลชั่วคราวและสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (เปลี่ยนชื่อเป็น สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียใน ค.ศ. 1936) เปิดฉากสงครามกลางเมืองระหว่างรัสเซียแดงนิยมการปฏิวัติและรัสเซียขาวซึ่งค้านการปฏิวัติ กองทัพแดงเข้าทลายดินแดนของอดีตจักรวรรดิรัสเซีย และช่วยนักคอมมิวนิสต์ท้องถิ่นยึดอำนาจผ่านสภาโซเวียตซึ่งกระทำการแทนคนงานและชาวนาในนาม ใน ค.ศ. 1922 ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ชัย ตั้งสหภาพโซเวียตโดยรวมสาธารณรัฐรัสเซีย ทรานส์คอเคซัส ยูเครนและไบโลรุสเซีย หลังเลนินถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1924 ประมุขภาพร่วมตรอยกาและการแย่งอำนาจช่วงสั้น ๆ โจเซฟ สตาลินเถลิงอำนาจในกลางคริสต์ทศวรรษ 1920 สตาลินปราบปรามฝ่ายค้านการเมืองต่อเขา ยึดมั่นอุดมการณ์ของรัฐกับลัทธิมากซ์–เลนิน (ซึ่งเขาสร้าง) และริเริ่มเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วนกลาง ผลคือ ประเทศเข้าสู่สมัยการปรับให้เป็นอุตสาหกรรมและการทำให้เป็นระบบรวมอำนาจการผลิต (collectivisation) ซึ่งปูพื้นฐานของความพยายามสงครามในภายหลังและภาวะครอบงำหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทว่า สตาลินเกิดหวาดระแวงทางการเมือง และเริ่มการจับกุมตามอำเภอใจขนานใหญ่ ซึ่งต่อมาทางการส่งคนจำนวนมาก (ผู้นำทหาร สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ พลเมืองสามัญ) ไปค่ายแรงงานดัดสันดานหรือตัดสินประหารชีวิต

เมื่อเริ่มสงครามโลกครั้งที่สอง หลังสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสปฏิเสธพันธมิตรกับสหภาพโซเวียตต่อนาซีเยอรมนี สหภาพโซเวียตลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกับเยอรมนี ซึ่งชะลอการเผชิญหน้าระหว่างสองประเทศ แต่ถูกฉีกใน ค.ศ. 1941 เมื่อนาซีบุกครอง เปิดฉากเขตสงครามใหญ่สุดและมีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ กำลังพลสูญเสียของโซเวียตในสงครามคิดเป็นสัดส่วนมากที่สุดของสงครามโลกครั้งที่สอง แต่พลิกกลับมาได้เปรียบเหนือฝ่ายอักษะในยุทธการอันดุเดือดอย่างสตาลินกราด สุดท้ายกำลังโซเวียตยกผ่านยุโรปตะวันออกและยึดกรุงเบอร์ลินใน ค.ศ. 1945 ทำให้ฝ่ายเยอรมันสูญเสียกำลังพลไปเป็นส่วนใหญ่ ดินแดนยึดครองของโซเวียตที่พิชิตจากกำลังอักษะในยุโรปกลางและตะวันออกกลายเป็นรัฐบริวารของกลุ่มตะวันออก ความแตกต่างทางอุดมการณ์และการเมืองกับกลุ่มตะวันตกซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำนำไปสู่การตั้งสนธิสัญญาทางเศรษฐกิจและทางทหารจนลงเอยด้วยสงครามเย็นอันยืดเยื้อ

หลังสตาลินถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1953 เกิดสมัยการปรับให้เสรี (liberalization) ทางสังคมและเศรษฐกิจสายกลางภายใต้รัฐบาลนิกิตา ครุสชอฟ จากนั้น สหภาพโซเวียตริเริ่มความสำเร็จทางเทคโนโลยีสำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งรวมการปล่อยดาวเทียมดวงแรกและเที่ยวบินอวกาศของมนุษย์เที่ยวแรกของโลก นำไปสู่การแข่งขันด้านอวกาศ (Space Race) วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ค.ศ. 1962 เป็นสมัยความตึงเครียดสุดขีดระหว่างสองอภิมหาอำนาจ ถือว่าใกล้เผชิญหน้านิวเคลียร์ระหว่างทั้งสองที่สุด ในคริสต์ทศวรรษ 1970 เกิดการผ่อนคลายความสัมพันธ์ แต่กลับตึงเครียดอีกเมื่อสหภาพโซเวียตเริ่มให้ความช่วยเหลือทางทหารในอัฟกานิสถานด้วยคำขอของรัฐบาลสังคมนิยมใหม่ใน ค.ศ. 1979 การทัพนั้นผลาญทรัพยากรธรรมชาติและลากยาวโดยไร้ผลลัพธ์ทางการเมืองที่มีความหมายใด ๆ

ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ผู้นำโซเวียตคนสุดท้าย มีฮาอิล กอร์บาชอฟ มุ่งปฏิรูปสหภาพและขับเคลื่อนประเทศในทิศทางสังคมประชาธิปไตยแบบนอร์ดิก เริ่มใช้นโยบายกลัสนอสต์และเปเรสตรอยคาในความพยายามยุติสมัยเศรษฐกิจชะงักและปรับการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย ทว่า นำไปสู่ขบวนการชาตินิยมและแยกตัวออกเข้มข้น ทางการกลางริเริ่มการลงประชามติซึ่งถูกสาธารณรัฐบอลติก อาร์มีเนีย จอร์เจียและมอลโดวาคว่ำบาตร ซึ่งพลเมืองที่ลงมติส่วนใหญ่ออกเสียงเห็นชอบการรักษาสหภาพเป็นสหพันธรัฐทำใหม่ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1991 สายแข็ง (hardliner) พยายามรัฐประหารต่อกอร์บาชอฟ โดยเจตนาย้อนนโยบายของเขา รัฐประหารล้มเหลว โดยประธานาธิบดีรัสเซีย บอริส เยลต์ซิน มีบทบาทเด่นทำให้รัฐประหารยอมจำนน ส่งผลให้มีการห้ามพรรคคอมมิวนิสต์ ในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991 กอร์บาชอฟลาออกและสาธารณรัฐองค์ประกอบที่เหลือสิบสองสาธารณรัฐกำเนิดขึ้นจากการยุบสหภาพโซเวียตเป็นรัฐเอกราชหลังโซเวียต สหพันธรัฐรัสเซีย (เดิมคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย) สืบสิทธิและข้อผูกพันของสหภาพโซเวียตและได้รับการยอมรับเป็นนิติบุคคลต่อ

สหภาพโซเวียตถูกก่อตั้งมาจากการยึดอำนาจของพรรคบอลเชวิก นำโดยวลาดิมีร์ เลนิน โดยยึดอำนาจจากพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 เรียกการปฏิวัติครั้งนั้นว่าการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 เกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2460 ซึ่งอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การปฏิวัติครั้งนั้นส่งผลให้ รัฐบาลของกษัตริย์ถูกยกเลิก ระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ถูกยกเลิก ก่อเกิดรัฐสังคมนิยมขึ้นมาแทน และเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ราชวงศ์โรมานอฟในเวลาต่อมา ผลอื่นๆคือ กิจการธนาคารและโรงงานทั้งหมดถูกโอนเป็นของรัฐ และบัญชีส่วนบุคคลทั้งหมดถูกโอนให้แก่รัฐ และสหภาพโซเวียตถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1

นับตั้งแต่สตาลินได้ถูกแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1922 สตาลินได้ดำเนินนโยบายแบบรวมอำนาจ แข็งกร้าว และรุนแรง เขาได้ริเริ่มแผนปฏิรูป 5 ปี เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม แผนดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการทหารและเศรษฐกิจ โดยเน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก นโยบายดังกล่าวได้ทำให้เกิดการก่อตั้งนารวม (Collective farm) ขึ้น ส่งผลให้ชาวนาผู้ถือครองที่ดินอยู่ก่อนเกิดความไม่พอใจ สตาลินจึงสร้างค่ายกักกัน (Gulak) ขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ในการคุมขังผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเขา ตลอดการปกครองของสตาลินมีผู้คาดการณ์ว่ามีนักโทษเสียชีวิตในค่ายกักกันถึง 60 ล้านคน สตาลินได้ทำการกวาดล้างผู้ต่อต้านครั้งใหญ่ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1930 ซึ่งบุคคลเหล่านั้นรวมถึงสมาชิกพรรคบอลเชวิคหลายๆคนซึ่งเคยร่วมกับเลนินทำการปฏิวัติรัสเซียปี ค.ศ. 1917 ด้วย

ในปี ค.ศ. 1932 สหภาพโซเวียตได้มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อลดอาวุธ ณ กรุงเวียนนา ในปีถัดมาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้ถูกสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการ

ในปลายทศวรรษที่ 1930 สหภาพโซเวียตได้ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับนาซีเยอรมนีและในปีเดียวกันความล้มเหลวในการเจรจาให้ฟินแลนด์เลื่อนเขตแดนให้ห่างจากเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (เลนินกราดในสมัยนั้น) ออกไปอีก 25 กิโลเมตร ทำให้สหภาพโซเวียตได้ใช้กำลังบุกฟินแลนด์ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของสหภาพโซเวียต

แม้ว่าสหภาพโซเวียตและนาซีเยอรมนีจะได้ทำข้อตกลงไม่รุกราน แต่นาซีเยอรมนีได้ละเมิดข้อตกลงและรุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 แม้ว่ากองทัพของสหภาพโซเวียตจะมียุทโธปรณ์ที่ทันสมัยซึ่งเป็นผลมาจากแผนปฏิรูป 5 ปี แต่กองทัพแดง ขาดผู้นำทางการทหารซึ่งเป็นผลมาจากการกวาดล้างครั้งใหญ่ของสตาลิน ทำให้กองทัพแดงขาดบุคลากรไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ในช่วงแรกของสงครามสหภาพโซเวียตพ่ายแพ้มาโดยตลอด แต่เมื่อกำลังเสริมจากไซบีเรียมาถึงสงครามจึงเปลี่ยนไป ฝ่ายเยอรมนีประสบกับความพ่ายแพ้มาตลอดจนเสียกรุงเบอร์ลินให้แก่สหภาพโซเวียต และสิ้นสุดสงครามเมื่อปี ค.ศ. 1945 อย่างไรก็ตาม สงครามดังกล่าวส่งผลให้ชาวรัสเซียเสียชีวิตไปกว่า 10 ล้านคน บ้านเรือน ไร่ นาเสียหายอย่างใหญ่หลวง เมื่อสิ้นสุดสงครามสหภาพโซเวียตได้สถาปนาการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ขึ้นในรัฐต่างๆที่ถูกปลดแอกจากการยึดครองของนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น โปแลนด์ โรมาเนีย เป็นต้น

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้ซ่อมแซมบ้านเมืองที่เสียหายจากสงคราม ฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ พร้อมทั้งแผ่ขยายอำนาจและก่อตั้งรัฐบริวารในยุโรบตะวันออก ต่อมาได้ก่อตั้งคณะกรรมการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ (Comecon) ในปีค.ศ. 1949 และสถาปนาสนธิสัญญาวอร์ซอในปี ค.ศ. 1955 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นับเป็นการเริ่มตันของสงครามเย็นอย่างแท้จริง ซึ่งเปลี่ยนประเทศพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่าง สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา ให้กลายเป็นศัตรูกับสหภาพโซเวียต

สตาลิน ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1953 โดยไม่มีการแต่งตั้งทายาททางการเมือง นิกิตา ครุสชอฟ ได้รับเลือกตั้งขึ้นเป็นเลขานุการคนที่ 1 ของ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (Communist Party of the Soviet Union) ซึ่งเปรียบเสมือนตำแหน่งผู้นำของประเทศ หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1956 เขาก็ทำให้โลกตะลึงด้วยการด้วยการประณามความเลวร้ายของสตาลิน ผู้ทำการปฏิวัติระบบนารวม (Commune) ให้ทรัพย์สินของทุกคนเป็นของส่วนรวม และนำสหภาพโซเวียตทำ สงครามเย็น กับสหรัฐอเมริกา

ในช่วงปลายของ ค.ศ. 1950 เกิดการแตกแยกระหว่างจีนกับโซเวียต ในเรื่องของอุดมการณ์ของคอมมิวนิสต์ เนื่องจากจีน โดย เหมา เจ๋อตง ไม่เห็นด้วยกับการยอมรับระบบทุนของโซเวียต และเห็นว่าควรรักษาแนวคิดระบบนารวมเอาไว้ การแตกแยกครั้งนี้ส่งผลให้ แอลบาเนีย กัมพูชา และ โซมาเลีย เลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับจีนแทนโซเวียต

ในช่วงเวลานี้ของสหภาพโซเวียตดำเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องในการหาประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเปิดตัวดาวเทียมเทียมดวงแรกของโลก สปุตนิก 1 ส่งสุนัขไลก้าขึ้นสู่อวกาศ มนุษย์คนแรกของโลกที่ขึ้นสู่อวกาศคือ ยูริ กาการิน ในปี ค.ศ. 1963 ส่งผู้หญิงคนแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศคือ วาเลนตีนา เตเรชโควา ในปี ค.ศ.1965 ส่ง อเล็กซี ลีโอนอฟ มนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศ รวมทั้งส่งโรเวอร์คันแรกไปยังดวงจันทร์ ได้แก่ Lunokhod 1 และ Lunokhod 2

แม้ครุสชอฟจะดำเนินนโยบายเน้นสันติภาพ และพยายามผ่อนคลายสงครามเย็น แต่เขาก็ดำเนินนโยบายทางการเมืองผิดพลาดหลายครั้ง อาทิ วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ในปี ค.ศ. 1962 ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้เขายังส่งทหารเข้าไปยังโปแลนด์และฮังการีเพื่อสนับสนุนการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ในที่สุดเขาก็ถูกยึดอำนาจในปี ค.ศ. 1964

ในเดือน ตุลาคม ปี ค.ศ. 1964 คณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ (Committee for State Security หรือ KGB) นำโดย เลโอนิด เบรจเนฟ และ โคชิกิน ได้เข้าทำรัฐประหารยึดอำนาจจากครุสชอฟ โดยครุสชอฟถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่ง

เบรจเนฟ ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคและประธานาธิบดี โดยมีนายโคซิกิน เป็นนายกรัฐมนตรี จึงเรียกยุคนี้ว่าสมัยผู้นำร่วม เบรจเนฟ-โคชิกิน การดำเนินนโยบายต่างประเทศมีลักษณะผ่อนคลาย มีการดำเนินการเจรจาการจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 (SALT I,SALT II) ในปี ค.ศ.1972และ ค.ศ.1979 ตามลำดับ มีการดำเนินการเจรจาเพื่อความร่วมมือกันในยุโรปที่กรุงเฮลซิงกิ ในปี ค.ศ. 1975 มีการประกาศใช้ หลักการของเบรจเนฟ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ.1968 เพื่อยืนยันสิทธิและพันธกิจของสหภาพโซเวียต ในการพิทักษ์ความปลอดภัยแก่ลัทธิสังคมนิยม

ในด้านการบริหารของพรรคคอมมิวนิสต์ เบรจเนฟได้ตั้งกฎการเปลี่ยนตัวบุคคลจากภายในโปลิตบูโรขึ้นมาใหม่โดยจัดให้มีการเปลี่ยนบุคคลต่างๆ โดยไม่ต้องผ่านสมัชชา แต่ผ่านแค่คณะกรรมการกลางพรรคเท่านั้น ซึ่งตามธรรมนูญของพรรคแล้วถือว่าสมัชชาพรรคเป็นองค์กรสูงสุดของพรรค ที่สามารถดำเนินเป็นอิสระจากฝ่ายผู้นำได้ ที่ประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตประกอบด้วยสมาชิกถาวรทั้ง 14 คน กับสมาชิกสมทบทั้ง 10 คนของโปลิตบูโร เบรจเนฟ ถึงแก่อสัญกรรมวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 ด้วยความสงบ

แอนโดรปอฟ ขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่ใน วันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 ในช่วงเวลานั้นได้มีการเจรจาให้สหรัฐถอดขีปนาวุธรอบชายแดน แลกกับการถอนกองกำลังในอัฟกานิสถาน แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ หลังสงครามอันยาวนานจึงมีแผนการถอดทัพแต่ยูริ แอนโดรปอฟถึงแก่อสัญกรรมวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 ไปก่อน จากนั้นกอนสตันติน ยู เชอร์เนนโก (Constantine U. Chernenko) ขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 และเพียงหนึ่งปีก็ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1985

เมื่อ มิคาอิล กอร์บาชอฟได้ขึ้นครองอำนาจเขาได้ดำเนินนโยบายปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจในสหภาพโซเวียตที่เรียกว่าแผน "เปเรสตรอยคา" (Perestroika) ที่ให้เสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน ซึ่งเป็นนโยบายที่ไม่มีผู้นำโซเวียตคนใดทำมาก่อน นอกจากนี้ เขาได้ดำเนินโยบายถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ในปีค.ศ. 1988 การปฏิรูปของกอร์บาชอฟได้ส่งผลให้เกิดกฎหมาย Law on Cooperatives Law on Cooperatives ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่สมัยเลนิน กฎหมายนี้ได้อนุญาตให้ประชาชนมีทรัพย์สินส่วนบุคคล และดำเนินกิจการเอกชนได้ ซึ่งขัดต่อลัทธิมาร์กซ์อย่างสิ้นเชิง

ต่อมา ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 ที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ได้มีมติเห็นชอบยกเลิกการรวมอำนาจไว้ที่พรรคคอมมิวนิสต์ นั่นหมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์ได้กระจายอำนาจสู่ประชาชนและทำให้เกิดการเลือกตั้ง ส่งผลให้อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา รัฐจำนวน 15 รัฐของสหภาพโซเวียตได้รับรองกฎหมายเลือกตั้งทั่วไป และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียในปี ค.ศ. 1991 คือ บอริส เยลซิน ได้คะแนนสูงสุดถึง 57.3% (มีการเลือกตั้งในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1991) เนื่องจากกอร์บาชอฟมีความพยายามที่จะลดความเป็นศูนย์กลางอำนาจของสหภาพโซเวียตสหภาพโซเวียตตึงได้มีแผนจะผ่านสนธิสัญญา New Union Treaty ซึ่งจะมาแทน สนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียต ปี ค.ศ. 1922 ซึ่งมีแผนจะลงนามในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1991 มีเนื้อหาแปลงสหภาพโซเวียตให้เป็นสหพันธรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำของรัฐนั้น ๆ

การปฏิรูปของกอร์บาชอฟส่งผลให้เกิดความไม่พอใจในหมู่สมาชิกซ้ายจัดของพรรคคอมมิวนิสต์ และเกิดเป็นความพยายามที่จะยึดอำนาจการบริหารจากกอร์บาชอฟ เรียกการรัฐประหารครั้งนั้นว่า รัฐประหารเดือนสิงหาคม แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเนื่องจากเกิดการต่อต้านจากประชาชนส่วนมากในประเทศและเยลต์ซินสามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ ผลคือ คณะรัฐประหารถูกจับกุมและถูกสังหาร สนธิสัญญาถูกเห็นชอบ หลังจากผ่านสนธิสัญญารัฐย่อยต่าง ๆ ของสหภาพโซเวียตซึ่งมีความพยายามจะแยกตัวมากก่อนหน้านี้แล้ว ได้มีการลงประชามติเห็นชอบการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต รัฐย่อยต่าง ๆ จึงได้แยกตัวจากสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์ ท้ายสุดในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991 กอร์บาชอฟได้เห็นชอบโอนอำนาจการบริหารทั้งหมดจากประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต ให้กับ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และในคืนวันนั้นธงชาติสหภาพโซเวียตได้ถูกเชิญลงจากยอดเสาที่เครมลิน อันเป็นการสิ้นสุดสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์

อำนาจสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์เป็นคณะกรรมการกลางการเลือกตั้งที่พรรคการประชุมและการประชุมคณะกรรมการกลางในการเปิดลงคะแนนสำหรับกลุ่มโปลิตบูโร(เรียกว่ารัฐสภาระหว่าง 1952-1966)เลขาธิการและเลขาธิการ(เลขานุการเอก 1953-1966)สูงที่สุดในสหภาพโซเวียต ขึ้นอยู่กับระดับของการรวมอำนาจมันเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งโปลิตบูโร เป็นตัวส่วนรวมหรือเลขาธิการที่เคยเป็นหนึ่งในสมาชิกโปลิตบูโร, ที่มีประสิทธิภาพนำพรรคและประเทศ(ยกเว้นช่วงเวลาอำนาจสูงสุดของสตาลินที่ใช้โดยผ่านตำแหน่งในสภารัฐมนตรีมากกว่ากลุ่มโปลิตบูโรหลังจากที่ 1941) พวกเขาไม่ได้ควบคุมการเป็นสมาชิกพรรคทั่วไปเป็นหลักการที่สำคัญขององค์กรเป็นพรรคอำนาจในระบอบประชาธิปไตยต้องการการอยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัดเพื่อหน่วยที่สูงขึ้นและการเลือกตั้งก็ไม่มีใครโต้แย้งรับรองอย่างเป็นทางการของที่ผู้สมัครเสนอจากเบื้องบน

พรรคคอมมิวนิสต์ดูแลการปกครองของตนเหนือรัฐส่วนใหญ่โดยควบคุมผ่านระบบของการนัดหมาย เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับสูงและเจ้าหน้าที่ส่วนศาลฎีกาโซเวียตเป็นสมาชิกของ CPSU ของหัวหน้าพรรคตนเอง สตาลินใน 1941-1953 และครุสชอฟอใน 1958-1964 เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเกษียณอายุบังคับของครุสชอฟหัวหน้าพรรคไม่ได้รับอนุญาตจากการใด ๆจากการเป็นสมาชิกสองครั้งนี้แต่ต่อมารัฐมนตรีทั่วไปเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงตำแหน่งของตนอย่างน้อยในบางที่ถูกครอบครองตำแหน่งพิธีการส่วนมากของประธานรัฐสภาศาลฎีกาโซเวียตหัวหน้าน้อยของรัฐ สถาบันอยู่ในระดับล่างได้รับการดูแลและในบางครั้งแทนที่ด้วยพรรคองค์กรหลัก

ในทางปฏิบัติ แต่ระดับของการควบคุมพรรคก็สามารถที่จะใช้ในช่วงระบบราชการของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการตายของสตาลินก็ยังห่างไกลจากการรวมระบบราชการด้วยการใฝ่หาผลประโยชน์ที่แตกต่างกันที่มีในช่วงเวลาที่อยู่ในความขัดแย้งกับบุคคลที่ หรือเป็นพรรคของตัวเองเป็นเสาหินจากบนลงล่างแม้ว่าฝ่ายไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ.

กองทัพโซเวียต หรือ กองทัพแห่งสหภาพโซเวียต มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า กองทัพแห่งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (รัสเซีย: ??????????? ???? ????? ????????? ???????????????? ?????????, ??????????? ???? ?????????? ?????) หมายถึง กองกำลังทหารของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (1917–1922) และสหภาพโซเวียต (1922–1991) นับแต่การเริ่มต้นหลังสงครามกลางเมืองรัสเซียสิ้นสุดกระทั่งล่มสลายในเดือนธันวาคม 1991 ตามกฎหมายราชการทหารทั่วสหภาพ เดือนกันยายน 1925 กองทัพโซเวียตประกอบด้วยห้าเหล่า ได้แก่ กองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือ หน่วยอำนวยการการเมืองรัฐ (OGPU) และ กองกำลังภายใน (convoy guards) ภายหลัง OGPU แยกเป็นอิสระและรวมเข้ากับ NKVD ในปี 1934 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีการเพิ่มหน่วยขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ (1960) กองกำลังป้องกันภัยทางอากาศ (1948) และกำลังประชาชนแห่งชาติทั่วสหภาพ (1970) ซึ่งจัดเป็นอันดับที่หนึ่ง สามและหกในการนับความสำคัญเปรียบเทียบอย่างเป็นทางการของโซเวียต (โดยกำลังภาคพื้นดินมีความสำคัญเป็นอันดับสอง กองทัพอากาศเป็นอันดับสี่ และกองทัพเรือเป็นอันดับห้า) อำนาจทางทหารของโซเวียตในขณะนั้นใหญ่ที่สุดและทรงอำนาจที่สุดของโลก

โดยในช่วงต้นปี 1940 เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตได้กลายเป็นความพอเพียง; สำหรับส่วนมากของรอบระยะเวลาจนถึงการสร้างเพียงหุ้นขนาดเล็กมากของผลิตภัณฑ์ในประเทศมีการซื้อขายในระดับสากล หลังจากการสร้างค่ายตะวันออกหมู่ การค้าภายนอกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ยังคงมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกในสหภาพโซเวียตถูก จำกัด ด้วยราคาสินค้าภายในประเทศคงที่และการผูกขาดของรัฐในการค้าต่างประเทศ ในระหว่างการแข่งขันทางด้านอาวุธในสงครามเย็นที่เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตได้รับภาระโดยค่าใช้จ่ายทางทหารอย่างหนักห้โดยระบบราชการที่มี

ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม ในขณะเดียวกันสหภาพโซเวียตกลายเป็นผู้ส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่สาม จำนวนเงินที่สำคัญของทรัพยากรของสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็นถูกจัดสรรในการช่วยเหลือไปยังรัฐสังคมนิยมอื่น ๆ โดยรวมระหว่างปี 1960 และปี 1989 อัตราการเติบโตของรายได้ต่อหัวในสหภาพโซเวียตเล็กน้อยสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก (ขึ้นอยู่กับ 102 ประเทศ) จากช่วงทศวรรษที่ 1930 จนถึงการล่มสลายในช่วงปลายทศวรรษ 1980 เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตดำเนินการยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากหลัก

ในปี 1987, มีฮาอิล กอร์บาชอฟ พยายามที่จะปฏิรูปและฟื้นฟูเศรษฐกิจกับผนการเปเรสตรอยคา นโยบายของเขาผ่อนคลายการควบคุมของรัฐมากกว่าผู้ประกอบการแต่ก็ยังไม่ยอมมีการสร้างแรงจูงใจในการค้า ในที่สุดมีผลให้การส่งออกการผลิตลดลง เศรษฐกิจเลวร้ายจากรายได้จากการส่งออกน้ำมันปิโตรเลียมลดลงและเริ่มจะล่มสลาย ราคายังคงได้รับการแก้ไขและทรัพย์สินยังคงเป็นส่วนใหญ่ที่รัฐเป็นเจ้าของจนกระทั่งหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

ในปี 1991 สหภาพโซเวียตมีเครือข่ายท่อส่งของ 82,000 กิโลเมตร (51,000 ไมล์) น้ำมันดิบและอีก 206,500 กิโลเมตร (128,300 ไมล์) สำหรับก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติโลหะ, ไม้, ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและความหลากหลายของสินค้าที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรที่และอุปกรณ์ทางทหารถูกส่งออกในปี 1970 และ 1980, สหภาพโซเวียตอย่างหนักพึ่งพาการส่งออกเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างหนักจงทำให้ค่าเงินแข็งตัวที่จุดสูงสุดในปี 1988 มันเป็นผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุดและผู้ส่งออกน้ำมันดิบที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากซาอุดีอาระเบีย

หลังจากที่เกิดวิกฤตข้าวในช่วง 1928 โจเซฟ สตาลินรู้ถึงระบบล้าหลังของฟาร์มจึงปฏิรูปและได้รับสนับสนุนเครื่องจักรกลจากทางรัฐ การผลิตข้าวในฟาร์มเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับในช่วงต้นปี 1931 ทำลายความอดอยากในโซเวียตได้จากการช่วยของรัฐ หลังจากนั้นเกษตรกรรมโซเวียตก็พัฒนาไปอย่างกลาง จนโซเวียตล้มสลาย

การท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมาจาก กลุ่มพันธมิตรโซเวียต ส่วนในโลกตะวันตกเริ่มต้นในสมัยประธานาธิบดีนิกิตา ครุสชอฟ ได้การผ่อนคลายความสัมพันธ์กับโลกตะวันตก เปิดเมืองมอสโกและ เลนินกราด (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก)ให้นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกเข้ามาท่องเที่ยวแต่ต้องมีการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่

ในสมัยประธานาธิบดีเลโอนิด เบรจเนฟ ได้มีการผ่อนคลายการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวและเปิดสถานที่ท่องเที่ยวมากขึ้น แต่ก็ไม่ช่วยทำให้เศรษฐกิจท่องเที่ยวมีรายได้มากขึ้นและยังลดเนื่องจากเกิดสงครามเวียดนาม หลังจากนั้นก็ได้เพิ่มความสัมพันธ์กับอเมริกาทำให้การท่องเที่ยวกลับมาเหมือนเดิม

ในสมัยประธานาธิบดียูริ อันโดรปอฟ ได้ทำสงครามกับอัฟกานิสถาน ทำให้โลกตะวันตกคว่ำบาตร ทำให้มีผลท่องเที่ยวในช่วงนั้นมาก

ในสมัยประธานาธิบดีมีฮาอิล กอร์บาชอฟ ปฏิรูปและฟื้นฟูเศรษฐกิจกับแผนการเปเรสตรอยคา ทำให้มีการเปิดประเทศอย่างเสรีทำให้เศรษฐกิจท่องเที่ยวมีรายได้มากขึ้นจนสหภาพล้มสลาย สหภาพโซเวียตมีสายการบินประจำชาติคือแอโรฟลอต(รัสเซีย: ?????????, อังกฤษ: Aeroflot) มีฐานบินหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชเรเมเตียโว กรุงมอสโคว

การขนส่งทางรถไฟโซเวียตเป็นที่ใหญ่ที่สุดและใช้มากที่สุดในโลก; พัฒนาดีกว่าโลกตะวันตกมากในช่วงปลายปี 1970 และต้นปี 1980 นักเศรษฐศาสตร์โซเวียตถูกเรียกร้องให้มีการก่อสร้างถนนมากขึ้นเพื่อบรรเทาบางส่วนของภาระจากทางรถไฟและการปรับปรุงงบประมาณของรัฐโซเวียตเครือข่ายถนนและอุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงด้อยพัฒนาและมีถนนลูกรังนอกเมืองใหญ่จำนวนมากโครงการบำรุงรักษาโซเวียตพิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถที่จะดูแลถนนได้ โดยในช่วงต้นถึงกลางทศวรรษที่ 1980, เจ้าหน้าที่ของสหภาพโซเวียตพยายามที่จะแก้ปัญหาท้องถนนด้วยการสั่งการก่อสร้างใหม่.ในขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์มีการเติบโตในอัตราที่เร็วกว่าการก่อสร้างถนนเครือข่ายถนนด้อยพัฒนานำไปสู่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการขนส่งสาธารณะ.

สหภาพโซเวียตให้ความสำคัญในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแต่ความสำเร็จที่โดดเด่นที่สุดของสหภาพโซเวียตในเทคโนโลยีดาวเทียมแรกของโลกโดยมีการสนับสนุนจากกองทัพ เลนินที่เชื่อกันว่าสหภาพโซเวียตไม่สามารถแซงประเทศที่พัฒนาแล้วถ้ายังมีเทคโนโลยีล้าหลัง ทำให้หลังเลนินเสียชีวิตก็มีความพยายามพัฒนาวิทยาการเป็นจำนวนมากจนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีวิทยาการและเทคโนโลยีมากที่สุด

Anatoly Lunacharsky กลายเป็นผู้ก่อตั้งกรมเพื่อการศึกษาโซเวียต ที่จุดเริ่มต้นเจ้าหน้าที่ของโซเวียตให้ความสำคัญในการรู้หนังสือ คนที่มีความรู้ได้รับการว่าจ้างโดยอัตโนมัติขณะที่ครู สำหรับช่วงเวลาสั้น ๆ ให้นักเรียนมีคุณภาพ 1940 โจเซฟสตาลินจะประกาศว่าการไม่รู้หนังสือไม่มีในสหภาพโซเวียต ตลอดช่วงทศวรรษที่ 1930 การเคลื่อนไหวทางสังคมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งได้รับการปฏิรูปการศึกษาในสหภาพโซเวียต ในผลพวงของสงครามรักชาติที่ยิ่งใหญ่, ระบบการศึกษาของประเทศที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว การขยายตัวนี้มีผลอย่างมาก ในปี 1960 เด็กในสหภาพโซเวียตเกือบทั้งหมดมีการเข้าถึงการศึกษายกเว้นเพียงเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นห่างไกล นิกิตา ครุสชอฟ พยายามที่จะทำให้การศึกษาเข้าถึงมากขึ้นทำให้มันชัดเจนกับเด็กว่าการศึกษาที่เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับความต้องการของสังคม การศึกษาก็กลายเป็นสิ่งสำคัญในการเกิดโซเวียตรุ่นใหม่

ก่อน เลโอนิด เบรจเนฟ ขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขโซเวียต ได้มีความนิยมผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข Yevgeny Chazov กับ รัฐสภาพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตในขณะได้ให้ความสำคัญทางการแพทย์ของโซเวียตส่วนใหญ่และพัฒนาโรงพยาบาลให้อยู่ในระดับสากล ได้มีการปรับปรุงระบบใหม่เป็นเงิน หลายพันล้านรูเบิลโซเวียต

สหภาพโซเวียตมีความหลากหลายเชื้อชาติมากที่มีมากกว่า 100 กลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันประชากรทั้งหมดของอยู่ที่ประมาณ 293 ล้านคนในปี 1991 ตามประมาณการ 1990 ส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซีย 50.78% ตามด้วย ชาวยูเคลน 15.45% และ ชาวอุซเบกิ 5.84%

ภาษาที่พูดอย่างกว้างขวางที่สุดแห่งสหภาพโซเวียตคือ ภาษารัสเซีย สันนิษฐานว่าภาษาประจำชาติอย่างเป็นทางการใน 1990

ในปี 1990, ศาสนา 20% รัสเซียออร์โธดอก 10% อิสลาม,7% โปรเตสแตนต์ จอร์เจียออร์โธดอก อาร์เมเนียร์โธดอกซ์และโรมันคาทอลิก 1% ยูดายและ 60%เชื่อว่ามีพระเจ้า


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180