ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สวางคบุรี

สวางคบุรี หรือ ฝาง เป็นเมืองโบราณที่มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของผู้คนสืบต่อเนื่องยาวนานมากที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัย เคยเป็นเมืองที่อยู่เหนือสุดปลายพระราชอาณาเขตและเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยาโบราณ โดยอาณาเขตเมืองสวางคบุรีโบราณครอบคลุมพื้นที่ ตำบลผาจุก, ตำบลคุ้งตะเภา และตำบลแสนตอ ในปัจจุบัน

เมืองสวางคบุรี ปรากฎหลักฐานการมีอยู่ในพงศาวดารเหนือ ระบุว่าเป็นที่ตั้งของพระมหาธาตุที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญของพระพุทธเจ้า และปรากฎชื่อเมืองในศิลาจารึกสุโขทัยหลายหลัก รวมถึงพระราชพงศาวดารตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ และจากการเคยเป็นเมืองชายแดนพระราชอาณาเขต ทำให้เมืองนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้คนจากแคว้นล้านนาและล้านช้าง ผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองส่วนใหญ่สืบทอดขนบวัฒนธรรมแบบคนหัวเมืองเหนือโบราณ (ภาษาถิ่นสุโขทัย) ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของเมืองนี้

หลังการสิ้นสุดลงของชุมนุมเจ้าพระฝาง ระหว่างปี พ.ศ. 2310-2313 ที่มีเมืองสวางคบุรีเป็นศูนย์กลาง และการขับไล่พม่ารวบรวมหัวเมืองล้านนาไว้ภายในพระราชอาณาเขตได้ในสมัยกรุงธนบุรี ประกอบกับตำแหน่งภูมิศาสตร์ทางการค้าลุ่มแม่น้ำน่านในยุคต่อมาเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เมืองสวางคบุรีร่วงโรยลงในระยะต่อมา

เมืองสวางคบุรีได้ลดฐานะความเป็นเมืองสำคัญทางศาสนาลงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเมืองสวางคบุรีไม่ได้เป็นเมืองเหนือสุดปลายพระราชอาณาเขตอีกต่อไป อีกทั้งชาวเมืองสวางคบุรีส่วนใหญ่ได้โยกย้ายไปอยู่ในบริเวณที่กลายมาเป็นเมืองบางโพ (ท่าอิฐ, ท่าเสา) และได้รับยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน

ตั้งแต่อดีต มีการเรียกชื่อเมืองสวางคบุรีในหลากหลายชื่อ เช่น เมืองฝาง เมืองพระฝาง หรือเมืองสวางคบุรี เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฎในหลักฐานทั้งศิลาจารึกและพระราชพงศาวดาร ดังนี้

เมืองฝาง เป็นชื่อที่เก่าแก่ที่สุด ปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัยสองหลัก ได้แก่ จารึกสุโขทัยหลักที่ 3 จารึกนครชุม และจารึกสุโขทัยหลักที่ 11 จารึกวัดเขากบ สำหรับที่มาของชื่อเมืองฝาง มีความเห็นต่างกันเป็นสองแนวคิด คือ

แนวคิดแรกเชื่อว่ามีที่มาจากสภาพที่ตั้งเมืองเป็นเมืองด่านสำหรับขวางข้าศึก จึงมีชื่อเมืองว่า “เมืองขวาง” ซึ่งมาจากคำว่า “ฉวาง” ในภาษาเขมรหมายความว่า “ขวาง”

ส่วนแนวคิดที่สองสันนิษฐานว่ามาจากชื่อต้นฝาง มีที่มาจากชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้นำไปต้มออกสีแดงคล้ำสำหรับย้อมผ้า ในสมัยอยุธยาเป็นที่ต้องการของชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก เป็นสินค้าที่ทำรายได้มาสู่ท้องพระคลังอย่างสม่ำเสมอ เมืองสวางคบุรีในสมัยโบราณจึงมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจโดยตรงอีกอย่างหนึ่งด้วย ซึ่งเดิมทีบริเวณแห่งนี้มีต้นฝางขึ้นอยู่มาก ในจดหมายเหตุ ลาลูแบร์ ซึ่งเป็นราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ประเทศฝรั่งเศสที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวถึงชื่อของเมืองฝางว่า “...สำหรับเมืองฝางนั้น โดยที่ฝางเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งซึ่งขึ้นชื่อว่าใช้ในการย้อมสี ที่ชาวปอรตุเกศเรียกว่า ซาปัน ลางคนก็แปลว่า เมืองป่าฝาง...” สำหรับแนวคิดที่สองนี้ค่อนข้างจะเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน

เมืองสวางคบุรี ชื่อนี้ปรากฏหลักฐานในสมัยอยุธยาตอนปลายสืบเนื่องมาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้สันนิษฐานว่ามีที่มาจาก “สว่างบุรี” แปลว่า เมืองสว่าง หมายความว่าเป็นเมืองที่ได้รับความสว่างจากพระพุทธศาสนา ต่อมาได้กลายเป็น “เมืองสวางคบุรี” โดยไม้เอกหายไปมีตัว ค เข้ามาแทน ส่วนในเอกสารประกาศเทวดาบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 4 พบการเรียกชื่อเมืองนี้ว่า “เมืองฉวาง” ซึ่งน่าจะเกิดจากการรับรู้เกี่ยวกับการออกเสียงที่ต่างกัน จึงทำให้เกิดการเขียนพยัญชนะต่างกันตามไปด้วย

ถึงแม้ว่าในระยะหลังจะมีการเรียกเมืองฝางว่าเมืองสวางคบุรี แต่ชื่อเมืองฝางก็ยังมีการใช้เรียกปะปนกับชื่อสวางคบุรีมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอกสารประวัติศาสตร์ล้านนา เช่น ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และตำนานพื้นเมืองน่าน หรือแม้แต่ในพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเรียกว่า “เมืองฝาง” แสดงให้เห็นว่าชื่อเมืองฝางจะเป็นที่รับรู้ของผู้คนโดยทั่วไปมากกว่าชื่อสวางคบุรี ซึ่งน่าจะเป็นชื่อที่มีการตั้งชื่อขึ้นใหม่โดยราชสำนักที่กรุงศรีอยุธยาในภายหลัง

เมืองสวางคบุรี มีใจกลางอยู่ในเขตบ้านพระฝาง ตำบลผาจุก อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ เป็นชุมชนที่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบขนาดเล็ก ตั้งอยู่ริมฝั่งทางด้านใต้ของลำน้ำน่าน

ลักษณะเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่าขนานไปกับลำน้ำ ปัจจุบันร่องรอยของแนวคันดินเหลือให้เห็นบางตอนทางด้านใต้เท่านั้น บริเวณส่วนหนึ่งของเมืองถูกน้ำเซาะทลายลง สิ่งที่เหลือเป็นหลักฐานสำคัญก็คือ วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ เป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด ภายในวัดมีพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุ มีวิหารหลวงและพระประธาน รวมทั้งโบสถ์ขนาดเล็ก จากลักษณะผังเมืองและโบราณวัตถุสถานที่พบแสดงให้เห็นว่า เมืองสวางคบุรีน่าจะเป็นชุมชนขนาดใหญ่มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

บริเวณเมืองสวางคบุรี ริมแม่น้ำน่าน เป็นจุดที่เรือสินค้าขนาดใหญ่จากทางใต้สามารถเดินทางมาจอดเทียบเรือเป็นจุดเหนือสุดในเส้นทางแม่น้ำน่านตอนล่าง เนื่องจากเหนือตัวเมืองสวางคบุรีโดยแม่น้ำน่านขึ้นไปเล็กน้อย เป็นบริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่า “ด่านคุ้งยาง” คุ้งยางเป็นคุ้งน้ำในแม่น้ำน่านที่มีต้นยางขึ้นอยู่มาก ใต้คุ้งยางลงมาก็มีแก่งและโขดหินขนาดใหญ่ขวางกระแสน้ำน่านอยู่ ในหน้าแล้งสามารถเดินข้ามแม่น้ำไปได้

ในขณะเดียวกันบริเวณนั้นก็เป็นที่ตั้งด่านของเมืองสวางคบุรี ซึ่งมีฐานะเป็นด่านชายแดนพระราชอาณาจักรของกรุงศรีอยุธยาที่ติดต่อกับเมืองน่านด้วย บริเวณดังกล่าวจึงมีชุมชนชื่อว่า “บ้านด่าน” และปรากฏชื่อบ้านด่านนี้ในแผนที่โบราณสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วย

เหนือจากด่านคุ้งยางไปตามแม่น้ำน่านราว 10 กิโลเมตรบริเวณตำบลแสนตอ ด้านใต้ของบ้านผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นบริเวณหลักเขตแดนระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเมืองน่าน ปรากฏในแผนที่โบราณว่า “หลักประโคน” ซึ่งหมายถึง เสาใหญ่ปักหมายเขตแดนระหว่างประเทศหรือเมือง ปัจจุบันยังปรากฏหลักฐานอยู่ ชาวบ้านเรียกว่า “หลักมั่นหลักคง”

สำหรับบ้านผาเลือดซึ่งอยู่เหนือหลักประโคนขึ้นมานี้ เดิมขึ้นอยู่กับเมืองท่าปลาในเขตปกครองของเมืองน่าน และเป็นชุมชนสุดท้ายชายแดนของเมืองน่านทางทิศใต้ด้วย แต่ด้วยความที่เมืองท่าปลาอยู่ใกล้ศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์มากกว่าศาลากลางจังหวัดน่าน พ.ศ.2465 กระทรวงมหาดไทยจึงตัดเขตพื้นที่ของจังหวัดน่านมาอยู่ในความปกครองของจังหวัดอุตรดิตถ์ กลายเป็นอำเภอท่าปลาในปัจจุบัน

บริเวณใต้เมืองสวางคบุรีโดยแม่น้ำน่าน หรือขอบเขตด้านตะวันตกของเมืองสวางคบุรี โดยทางบก เป็นพื้นที่บึงกะโล่ พื้นที่ชุ่มน้ำรับน้ำหลากโบราณ และเป็นพื้นที่ที่เรียกกันในปัจจุบันว่า "ทุ่งบ่อพระ" เนื่องจากเคยเป็นสมรภูมิคราวปราบชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรีในสมัยธนบุรี พ.ศ. 2313

นอกจากนี้ ใต้เมืองสวางคบุรีทางฝั่งซ้ายแม่น้ำน่าน บริเวณที่เรียกกันในปัจจุบันว่าวัดคุ้งตะเภา สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่ตั้งของค่ายหาดสูงในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี คราวพักทัพหลังจากปราบชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรี ปรากฎหลักฐานการอพยพเคลื่อนย้ายการสร้างวัดและตั้งถิ่นฐานของผู้คนจากเมืองสวางคบุรี การค้นพบหลักฐานพระราชกำหนดบทพระอัยการสมัยอยุธยาจำนวนมาก และซากโบราณสถานทั้งที่เป็นไม้และอิฐโบราณ ในเขตพื้นที่โบราณสถานวัดคุ้งตะเภาในปัจจุบัน

ซึ่งบริเวณดังกล่าวสันนิษฐานว่าอาจเคยเป็นศูนย์กลางทางการปกครองชั่วคราวของเมืองสวางคบุรีในสมัยธนบุรี ก่อนจะมีการเคลื่อนย้ายผู้คนไปอยู่บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำบางโพ ท่าอิฐ ท่าเสา เนื่องจากการเปลี่ยนเส้นทางการค้ากับหัวเมืองล้านนาในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในระยะต่อมา

เมืองสวางคบุรีนั้นมีพัฒนาการของการเป็นชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากนั้นก็กลายมีพระมหาธาตุเป็นศูนย์กลาง จนในที่สุดกลายมีบทบาททางการเมืองหลังจากเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

เมืองสวางคบุรี มีนักวิชาการประวัติศาสตร์หลายท่านสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากชุมชนทางการค้า ในขณะเดียวกันภาพปูนปั้นที่โบสถ์ของวัดพระฝางสวางคบุรียังเป็นรูปปั้นที่คล้ายพ่อค้าแขกเปอร์เซียยืนถือกริช ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพทางการค้าของสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่ขุนนางราชสำนักส่วนใหญ่เป็นเปอร์เซียที่คุมการค้าในกรมท่าขวา ทำให้เกิดการพบปะของผู้คนมากมายหลายเชื้อชาติที่มาทำการค้า และนอกเหนือจากความรุ่งเรืองทางศาสนาที่ทำให้เมืองสวางคบุรีต้องขยายตัวแล้ว เมืองสวางคบุรียังได้ขยายตัวจากการค้าของป่าที่รุ่งเรืองในสมัยอยุธยาตอนปลายและอาจจะเป็นตลาดใหญ่ในหัวเมืองเหนือ ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ถูกส่งมาจากหัวเมืองลาว ทั้งลาวในกลุ่มวัฒนธรรมล้านนาและล้านช้าง แต่หลังจากการปราบปรามชุมนุมเจ้าพระฝางของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี คงทำให้ตลาดการค้าของป่าที่เมืองสวางคบุรีซบเซา และย้ายตลาดการค้ามาอยู่ที่บริเวณเมืองบางโพ-ท่าอิฐ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้เมืองสวางคบุรีลงมา

ด้วยเมืองสวางคบุรีที่ตั้งอยู่ที่เหนือสุดในที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านตอนล่าง มีความอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และติดกับแหล่งน้ำซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการอุปโภคบริโภค รวมทั้งเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญด้วย จึงเหมาะสมอย่างยิ่งในการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของมนุษย์

จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดพระฝาง พบว่า ในชั้นดินล่างสุด เป็นชั้นดินสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งน่าจะมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ระหว่าง 3,500-2,000 ปี มาแล้ว มีการพบเครื่องมือหินขัดที่พบมีขนาดใหญ่ 8 x 25 เซนติเมตรและเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมากตามริมฝั่งแม่น้ำน่านที่ระดับ 4 เมตรจากผิวดิน ต่อมาชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ก็ได้มีพัฒนาการทางสังคมเกิดขึ้น โดยคงมีการรวมกันเป็นชุมชนขนาดใหญ่อยู่บริเวณริมฝั่งทางด้านซ้ายของแม่น้ำน่าน และกลายเป็นเมืองขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 11-16

พัฒนาการของเมืองสวางคบุรีน่าจะเริ่มต้นจากการขยายตัวทางการค้าของจีนในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งจีนได้เปลี่ยนนโยบายทางการค้าจากเดิมที่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มพ่อค้าแคว้นศรีวิชัย มาเป็นการค้าที่จีนส่งคนเข้ามาทำการค้าโดยตรงกับบ้านเมืองต่างๆ ในบริเวณสุวรรณภูมิ

ในพุทธศตวรรษที่ 18 การค้าก็ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการขยายตัวของกลุ่มคนไปตามที่ราบลุ่มแม่น้ำสายใหญ่ๆ และตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งที่มีทรัพยากรสำคัญซึ่งเป็นสินค้าที่จีนต้องการ หรือตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่เป็นชุมทางการคมนาคม ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ทำให้เมืองสวางคบุรีได้ก่อตัวขึ้นเป็นชุมชนขนาดใหญ่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน อันเป็นพื้นที่ที่มีไม้ฝางซึ่งเป็นสินค้าที่จีนต้องการ และอยู่บนเส้นทางคมนาคมระหว่างบ้านเมืองทางตอนในนี้ด้วย นอกจากเมืองสวางคบุรีแล้ว ยังมีเมืองอื่นๆ ที่เกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน อย่างเช่น เมืองทุ่งยั้งที่เป็นชุมทางการค้าทางบกและเมืองนครไทย ซึ่งมีสินค้าจำพวกของป่ามากมาย

เมื่อเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 19 บ้านเมืองที่อยู่บนเส้นทางคมนาคมหลักได้พัฒนาการเป็นรัฐขึ้น เช่น รัฐสุโขทัย รัฐอโยธยา นครรัฐน่านและรัฐล้านช้าง (หลวงพระบาง) เมืองสวางคบุรีได้กลายเป็นเมืองชายขอบของรัฐสุโขทัยที่ติดต่อกับนครรัฐน่านและรัฐล้านช้าง ทำให้เมืองสวางคบุรีมีสภาพหรือฐานะเป็นเมืองด่านที่ควบคุมเส้นทางคมนาคมที่จะต่อไปยังเมืองน่านและบรรดาเมืองทางลุ่มแม่น้ำโขง ในแถบเมืองหลวงพระบางด้วย อาจกล่าวได้ว่าตำแหน่งที่เมืองสวางคบุรีตั้งอยู่นี้ อยู่ในบริเวณตอนเหนือสุดของลุ่มแม่น้ำน่านตอนล่าง หรืออีกนัยหนึ่งอยู่ตอนเหนือสุดเขตแคว้นสุโขทัย

เมืองสวางคบุรีจึงตั้งอยู่ในจุดกึ่งกลางบนเส้นทางคมนาคมระหว่างรัฐโบราณถึง 3 รัฐ นั่นก็คือ 1. รัฐสุโขทัยซึ่งต่อมาก็จะเป็นส่วนหนึ่งของรัฐอยุธยา 2. รัฐล้านช้างซึ่งระยะแรกมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหลวงพระบางต่อมาได้ย้ายลงมาอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ และ 3. นครรัฐน่าน

เมืองสวางคบุรีได้รับการพัฒนาเป็นเมืองหน้าด่านและเป็นเมืองสำคัญทางพระพุทธศาสนาของอาณาจักรสุโขทัยไปด้วยกัน ในศิลาจารึกหลักที่ 3 จารึกนครชุม พบที่วัดพระบรมธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จารึกเมื่อ ปีมหาศักราช 1279 (พ.ศ. 1900) ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) มีเนื้อหาบางส่วนกล่าวถึงศิลาจารึกและรอยพระพุทธบาทต่างๆ ที่พระธรรมราชาทรงสร้างในหัวเมืองต่างๆในอาณาเขตของพระองค์ พบเนื้อความที่กล่าวถึงเมืองฝางด้วย

ถ้าหากพิจารณาข้อมูลแล้วจะทำให้พบว่า เมืองสวางคบุรีได้พัฒนาความเป็นเมืองมาจากข้าพระธาตุ ที่ต่อมามีมากจนกลายเป็นชุมชนที่ดูแลพระมหาธาตุโดยเฉพาะ ในระยะหลังก็คงมีประชาชนส่วนอื่นมาอาศัยอยู่ร่วมด้วย เมืองสวางคบุรีในยุคนี้คงเป็นชุมชนที่สงบเรียบง่าย และยึดมั่นในความเชื่อทางด้านพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง

ความสำคัญของการถือกำเนิดขึ้นมาของเมืองสวางคบุรีในระยะแรกนั้น คงไม่ได้มีความสำคัญอยู่ในเรื่องเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองเพียงด้านเดียว แต่น่าจะอยู่ที่พระมหาธาตุอันเป็นเรื่องทางศาสนาและพิธีกรรมด้วย เพราะการปลอดการครอบงำทางการเมือง จะเป็นเหตุให้คนจากบ้านเมืองต่างๆ รวมทั้งเจ้านายและขุนนางได้พามากราบไหว้กันได้สะดวก นับได้ว่าเป็นเบ้าหลอมทางวัฒนธรรม ที่ทำให้ผู้คนหรือผู้นำที่ต่างบ้านเมืองกัน มามีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่มีวัฒนธรรมร่วมสมัยเดียวกัน

เมืองสวางคบุรีได้ขยายตัวอย่างมากจากการค้าของป่าที่รุ่งเรืองในสมัยอยุธยาตอนปลาย และอาจจะเป็นตลาดใหญ่ในหัวเมืองเหนือ ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ถูกส่งมาจากหัวเมืองลาว ทั้งลาวในกลุ่มวัฒนธรรมล้านนาและล้านช้าง

และเนื่องจากไม้ฝาง ที่มีอยู่ทั่วไปโดยรอบเมืองสวางคบุรี เป็นหนึ่งในสินค้าต้องห้ามในสมัยอยุธยา โดยมากตัดมาจากป่าทางภาคเหนือและทางตะวันตก ไม้ชนิดนี้เหมาะกับงานยอมผ้า ฟรังซัวส์ อังรี ตุรแปง บันทึกว่าสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ราชสำนักอยุธยาส่งไม้ฝางลงเรือสำเภาไปขายที่จีนและญี่ปุ่นปีละหลายลำ โดยเฉพาะจีนนั้นนอกจากอยุธยาจะส่งออกไปจำหน่ายแล้ว ยังส่งเป็นบรรณาการแด่ฮ่องเต้จีนตั้งแต่เริ่มแรกอีกด้วย เมืองสวางคบุรีคงเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งทางหัวเมืองเหนือ ที่ส่งไม้ฝางไปยังกรุงศรีอยุธยา

หลังจากเหตุการณ์ที่พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาจนต้องเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 บรรดาหัวเมืองใหญ่ที่มีกำลังมากและไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับพม่า ต่างก็ตั้งตัวเป็นอิสระ และขยายอำนาจรวบรวมเมืองใกล้เคียงที่อ่อนแอกว่าไว้ในอำนาจ เพื่อสร้างอาณาจักรขึ้นมาใหม่ เมืองสวางคบุรีซึ่งเดิมตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามครั้งนี้ ก็ได้ตั้งตัวเป็นอิสระในการปกครองอีกครั้งหนึ่ง ภายใต้การนำของพระพากุลเถร สังฆราชาแห่งเมืองสวางคบุรี หรือที่คุ้นชื่อกันดีในนาม “เจ้าพระฝาง” แต่หลังจากที่มีความรุ่งเรืองอยู่ไม่นานก็ถูกกองทัพของพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบปรามลง ในปี พ.ศ. 2313 จนทำให้เมืองถูกทำลายเป็นอย่างมาก

สาเหตุที่กองทัพเจ้าพระฝางพ่ายแพ้ต่อกองทัพของพระเจ้ากรุงธนบุรีอย่างง่ายดายนั้น นอกจากจะมีกำลังพลที่น้อยกว่าและขาดอาวุธที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพแล้ว ยังมีนักวิชาการบางท่านวิเคราะห์ว่า กองทัพเจ้าพระฝางซึ่งแม้จะตีพิษณุโลกได้แล้วก็มิได้ย้ายศูนย์อำนาจจากเมืองฝางหรือสวางคบุรีมาตั้งมั่นที่เมืองพิษณุโลก เพราะอำนาจปาฏิหาริย์ของเจ้าพระฝาง หัวหน้าชุมนุมผูกพันอยู่กับความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุเมืองฝางซึ่งผู้คนนับถือมาก จึงทำให้ชุมนุมนี้มีคนเข้าร่วมอย่างกว้างขวาง แต่ขาดระเบียบและการบริหารที่ดี เมื่อกองทัพของพระเจ้ากรุงธนบุรียกมาตีจึงแตกโดยง่าย

หลังชุมนุมเจ้าพระฝางถูกปราบลงสำเร็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงพักทัพอยู่ที่ค่ายพระตำหนักหาดสูง เมืองสวางคบุรี 3 เดือน ตลอดฤดูน้ำ เพื่อบัญชาการจัดระเบียบคณะสงฆ์หัวเมืองเหนือใหม่ทั้งหมดในปีเดียวกันนั้น และให้เกลี่ยกล่อมรวบรวมราษฎรที่หลบหนีภัยสงครามตามป่าเขา และจัดการการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ พร้อมทั้งสร้างวัดคุ้งตะเภา และสร้างศาลาบอกมูลฯ ขึ้นในจุดที่ตั้งของที่พักทัพไพร่พลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คราวกระทำศึกปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการรวบรวมชุมชนและเป็นที่พำนักสั่งสอนของพระสงฆ์ผู้ทรงภูมิธรรมที่ทรงอาราธนานิมนต์มาจากกรุงธนบุรี ปัจจุบันปรากฏซากเสาอาคารไม้ เศษอิฐโบราณ นอกจากนี้ยังพบหลักฐานสมุดไทยดำพระราชกำหนดบทพระอัยการลักษณะต่าง ๆ จำนวนมาก แสดงถึงการเป็นจุดศูนย์รวมสำคัญของชุมนุมผู้คนในสมัยอดีต ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ตกค้างมาจากการที่บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางชั่วคราวของเมืองสวางคบุรีในอดีตหลังสงครามปราบชุมนุมเจ้าพระฝางยุติลง

หลังจากการทำสงครามดังกล่าวเสร็จสิ้น เจ้าพระฝางก็หายสาบสูญไป อำนาจที่ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเมืองสวางคบุรีของเจ้าพระฝางก็ล่มสลายลง ศูนย์กลางเมืองเหลือไว้แต่เพียงวัดพระมหาธาตุเมืองฝาง อันเคยเป็นศูนย์รวมใจของชาวเมืองสวางคบุรี ที่มีสภาพทรุดโทรมลงในระยะต่อมาจากการเคลื่อนย้ายของผู้คน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากการปราบปรามชุมนุมเจ้าพระฝางของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ส่งผลให้ตลาดการค้าของป่าที่เมืองสวางคบุรีซบเซา เพราะบอบช้ำจากภัยสงคราม และผู้คนจำนวนหนึ่งก็ค่อย ๆ อพยพย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น บริเวณคุ้งตะเภา ท่าเสา ท่าอิฐ บางโพ ตามลำดับ จึงอาจเรียกได้ว่าภาวะจลาจลหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เป็นยุคที่เมืองสวางคบุรีมีความผกผันจากจุดรุ่งเรืองสูงสุด ลงสู่จุดที่บ้านเมืองมีสภาพบอบช้ำจากการสงครามในเวลาไม่นานนัก

ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองบางโพ-ท่าอิฐ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้เมืองสวางคบุรีลงมา ได้กลายเป็นตลาดชุมทางการค้าที่มีบทบาทไม่ต่างไปจากเมืองฝาง เนื่องจากเป็นชุมทางการค้าขนาดใหญ่และขยายตัวอย่างรวดเร็ว ที่เจริญขึ้นมาจากการค้าขายทั้งทางน้ำและทางบกกับหัวเมืองล้านนาและล้านช้างในบริเวณดังกล่าว นอกจากนั้น ยังมีความเหมาะสมในทางภูมิศาสตร์ไม่ต่างไปจากเมืองสวางคบุรี และยังสามารถเป็นทั้งชุมทางการค้าทางน้ำและทางบกที่สามารถเชื่อมต่อยังเมืองแพร่และเมืองสวรรคโลกได้ จนทำให้ได้รับพระราชทานชื่อ "อุตรดิตถ์" ในสมัยรัชกาลที่ 4 จนภายหลังมีการสร้างทางรถไฟ ได้มีการย้ายเมืองพิชัยมาตั้งอยู่ที่นั่น และกลายเป็นที่ตั้งของตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน

ตำแหน่งที่ตั้งของเมืองสวางคบุรีเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำน่าน มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมเป็นอย่างมาก ที่ราบลุ่มแห่งนี้ถูกล้อมรอบด้วยภูเขาถึงสามด้านด้วยกัน ยกเว้นทางทิศตะวันตกด้านเดียวเท่านั้นที่ไม่มีภูเขากั้น มีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบลุ่มหุบเขา และถือว่าเป็นที่ราบลุ่มแห่งแรกในลุ่มแม่น้ำน่านตอนล่าง สภาพที่ตั้งเมืองสวางคบุรีจึงถือได้ว่าอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแก่การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์

ไม่เพียงแต่จะเป็นที่ราบลุ่มเท่านั้น บริเวณที่ตั้งเมืองสวางคบุรีนี้ยังเป็นชายขอบอำนาจการปกครองอาณาจักรสุโขทัย ต่อมาก็เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาและมีสถานะเป็นเมืองชายขอบเช่นเดิม การที่เมืองฝางเป็นเมืองชายขอบอำนาจรัฐ และอยู่บริเวณติดกับเขตแดนรอยต่อระหว่างกรุงศรีอยุธยากับรัฐล้านช้างและนครรัฐน่าน ทำให้ในบางครั้งอำนาจจากส่วนกลางก็ไม่สามารถควบคุมเมืองสวางคบุรีโดยตรงได้ บางครั้งอาณาจักรล้านนาก็ยกทัพลงมายึดเอาเมืองสวางคบุรี

นอกจากนี้ การที่เมืองสวางคบุรีตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยากับรัฐล้านช้างและนครรัฐน่าน ทำให้เมืองฝางได้รับอิทธิพลทางศิลปกรรมจากรัฐต่างๆ เหล่านี้ อย่างเช่น การวางผังวิหารหลวงกับพระมหาธาตุแบบที่นิยมกันในสมัยสุโขทัย รูปแบบโบสถ์วัดพระฝางที่มีสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนกลาง-ตอนปลาย พระพุทธรูปพระฝางที่ประดิษฐานในโบสถ์ก็เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัยสมัยอยุธยาตอนปลาย พระพุทธรูปไม้สลักซึ่งเป็นศิลปะผสมระหว่างสกุลช่างท้องถิ่นกับสกุลช่างเมืองน่าน หลวงพ่อเชียงแสนซึ่งพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ พุทธลักษณะก็เป็นศิลปะผสมผสานระหว่างศิลปะสุโขทัย ล้านนาและล้านช้าง ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการเดินทางหรือติดต่อสัมพันธ์ของผู้คนจากถิ่นต่างๆ กับชาวเมืองฝางเกิดขึ้นภายในเมืองนี้


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301