ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สวนสาธารณะ

สวนสาธารณะ (อังกฤษ: parks หรือ public parks) หมายถึงบริเวณสาธารณะที่ภาครัฐ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จัดให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ประชาชนตามชุมชนและเมืองต่างๆ โดยรัฐเป็นเจ้าของและเป็นผู้ดูแลรักษา ปัจจุบัน การจัดที่พักผ่อนหย่อนใจถือเป็นหน้าที่ของรัฐ แต่สวนสาธารณะในความหมายนี้ อาจจัดสร้างโดยเอกชนแล้วอุทิศให้แก่ประชาชนก็ได้

สวนสาธารณะในความหมายปัจจุบันเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกในประเทศอังกฤษในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม ตรงกับช่วงระหว่างกลางสมัยกรุงธนบุรีถึงต้นสมัยรัตนโกสินทร์ การพัฒนาอุตสาหกรรมทำให้แรงงานมากมายจากชนบทอพยพมาทำงาน และอยู่ในเมืองกันอย่างแออัดในบริเวณ "สลัม" ที่ขาดสุขลักษณะ กรรมกรเหล่านี้จึงบุกรุกไปใช้ที่ว่างเปล่าเพื่อพักผ่อนและเล่นกีฬาและบางครั้งลุกล้ำเข้าไปใช้สวนส่วนตัวของขุนนางและกษัตริย์จนถูกลงโทษอยู่เนืองๆ จนลุกลามเป็นจลาจลรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และเกิดการเรียกร้องที่กลายเป็น "ขบวนการอุทยานเพื่อประชาชน" (People’s Parks Movement) ที่เริ่มจากการยอมให้ประชาชนเข้าไปใช้อุทยานอย่างมีเงื่อนไข ไปจนถึงช่วงที่มีการบุกพังรั้วเข้าไปใช้อุทยานไฮด์หรือไฮด์ปาร์ก (Hyde Park) เพื่อทำกิจกรรมการพักผ่อนตามความพอใจ

ตั้งแต่นั้นมาอุทยานต่างๆ ที่ยอมเปิดให้ประชาชนเข้าไปใช้จะถูกเรียกว่า "อุทยานประชาชน" (people's parks) เพื่อให้แตกต่างอุทยานของขุนนางและกษัตริย์และได้กลายเป็น อุทยานหรือสวนสาธารณะ (public parks) ในปัจจุบัน

สวนสาธารณะเบอร์เก็นเฮด (Birkenhead Park) ใกล้เมืองลิเวอร์พูล ในประเทศอังกฤษถือเป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของโลกที่สร้างด้วยเงินภาษีของประชาชน เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2390 จากนั้นมา แนวคิดการจัดทำสวนสาธารณะได้แพร่หลายไปตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก รวมทั้ง "เซ็นทรัลปาร์ก" ในนครนิวยอร์ก (ออกแบบโดย เฟรเดอริก ลอว์ ออล์มสเตด พ.ศ. 2401 ใช้เวลาสร้างมากกว่า 10 ปี) ปัจจุบัน สวนสาธารณะได้กลายเป็นมาตรฐานในการวางแผนและพัฒนาเมือง

ด้านรูปแบบ สวนสาธารณะจะเน้นหนักกิจกรรมนันทนาการ หรือการพักผ่อนหย่อนใจเท่ากับหรือมากกว่าด้านความสวยงาม ซึ่งแบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ ได้แก่การพักผ่อนหรือนันทนาการแบบผ่อนคลาย (passive recreation) และนันทนาการแบบกระฉับกระเฉง (active recreation) ปกติกิจกรรมทั้งสองประเภทนี้มักขัดแย้งกัน การจัดแบ่งเขตหรือโซนจึงมีความจำเป็น อย่างไรก็ดีการแบ่งโซนเด็ดขาดมักสร้างปัญหา และการกำหนดชนิดของกิจกรรมเองก็มักมีปัญหาไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ สวนสาธารณะที่ดีจึงต้องสนองประโยชน์ใช้สอยสูงสุดและต้องสวยงามด้วย การออกแบบสวนสาธารณะจึงมีความสำคัญ

ประเทศไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมาแต่โบราณ แม้ในเมืองก็ยังมีที่โล่งว่างไม่แออัดมาก จึงไม่มีความต้องการสวนสาธารณะดังความหมายปัจจุบัน อย่างไรก็ดี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดิน 360 ไร่ ณ ทุ่งศาลาแดงสำหรับสร้างสยามรัฐพิพิธภัณฑ์และจัดให้เป็น "วนสาธารณะ" ให้ประชาชนใช้พักผ่อนอย่างต่างประเทศ จึงถือกันว่าสวนลุมพินีเป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย แม้ก่อนหน้านั้นจะมีการสร้างอุทยานหรือสวนหลายแห่งมาก่อน เช่น สวนดุสิต สวนสุนันทาหรืออุทยานสราญรมย์เป็นต้น แต่ไม่ถือเป็นสวนสาธารณะ สมัยรัชกาลที่ 7-8 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกและมีสงครามโลกครั้งที่สองจึงไม่มีการสร้างสวนสาธารณะหรืออุทยานเกิดขึ้นอีก

สวนลุมพินีก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 7 ดูแลโดยกรมนคราทร (กรมโยธาธิการและผังเมืองปัจจุบัน) ต่อมาได้โอนให้เทศบาลนครกรุงเทพฯ ในสมัยนั้น การใช้สวนลุมพินีในช่วงแรกๆ มีการใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์กันมาก เช่น ใช้เป็นที่จัดงานต่างๆ รวมทั้งใช้เป็นที่สร้างโรงไฟฟ้า โรงเรียน ทั้งไทยและจีน ให้เช่าทำภัตตาคารทั้งบนบกและในน้ำ รวมถึงภัตตาคารกินรีนาวา ผู้ใช้ที่ใช้สวนเพื่อพักผ่อนออกกำลังกายจริงๆ จังๆ มักเป็นชาวต่างประเทศ คนไทยจำนวนน้อยที่ใช้ มักเป็นคนยากจนใช้เป็นที่พักผ่อนและหารายได้จากการขายของ ส่วนคนไทยมีอันจะกินมักเข้าไปใช้ภัตตาคาร การใช้ในทางที่ผิดทำให้สวนลุมพินีทรุดโทรม ไม่ปลอดภัย ไม่เหมาะกับการเป็นสวนสาธารณะตามความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

ประมาณปี พ.ศ. 2514 เทศบาลนครหลวงได้ตั้งกรรมการปรับปรุงสวนลุมพินีขึ้น เนื่องจากการมีเสียงเรียกร้องจากประชาชนและองค์กรเอกชน ต่อมา เทศบาลฯ จึงเริ่มให้ความสำคัญในการจัดเพิ่มสวนสาธารณะ เช่น การปรับปรุงสถานเพาะชำฝั่งธนบุรีให้เป็นสวนธนบุรีรมย์ ปรับปรุงอุทยานสราญรมย์ที่ถูกใช้เป็นที่ทำการของคณะราษฎรและที่จัดงานวชิราวุธ รวมทั้งสวนสาธารณะพระนครที่ลาดกระบังเดิมที่มีสภาพทรุดโทรมให้มีสภาพใช้งานได้ แต่งานส่วนใหญ่เน้นการสร้างอย่าง "สวนหย่อม" ซึ่งไม่ถือเป็นสวนสาธารณะ สำหรับในต่างจังหวัด เทศบาลต่างๆ เริ่มตื่นตัวสร้างสวนสาธารณะมากขึ้น เช่น การปรับปรุงพรุบาโกยจังหวัดยะลาและการสร้างและปรับปรุงที่ว่างให้เป็นสวนสาธารณะในจังหวัดอื่นๆ หลายแห่ง ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีการสร้างสวนสาธารณะเพิ่มมากขึ้นทั่วประเทศ

ประเทศไทยก็มี "ขบวนการสวนสาธารณะ" เช่นกัน แต่มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนประเทศอื่นใดในโลก คือเกิดด้วยพระราชดำริและพระบารมีของพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2516 เวลาประมาณ 9.40 น. ท่ามกลางเรียงเรียกร้องหาสวนสาธารณะที่ไร้ผลของสาธารณชน หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ได้โทรศัพท์แจ้งการรถไฟแห่งประเทศไทยความว่า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า พระองค์มีพระราชทรัพย์อยู่จำนวน 1,000,000 บาท มีพระราชประสงค์จะสร้างสวนสาธารณะสักแห่งในบริเวณกรุงเทพมหานคร เพื่อประชาชนได้ใช้เป็นที่พักผ่อนในยามว่าง ทรงเห็นว่าการรถไฟมีพื้นที่มาก เช่น ย่านพหลโยธิน จึงใคร่ขอให้การรถไฟฯ ได้พิจารณาและให้ความร่วมมือในด้านนี้ด้วย

การรถไฟฯ จึงได้จัดที่ดินจำนวน 93 ไร่ที่ใช้ทำเป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟอยู่แล้วจัดสร้างสวน ซึ่งต่อมาคือสวนจตุจักรที่เทศบาลนครหลวงและการรถไฟฯ ร่วมกันสร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวาระพระชนมายุครบ 4 รอบ ซึ่งต่อมามีการขยายพื้นที่เพิ่มอีก 100 ไร่ ในสมัยท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติสิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร

ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า สวนจตุจักรคือจุดเริ่มของขบวนการสวนสาธารณะสมัยใหม่ของประเทศไทยและเกิดจากพระราชดำริ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจให้มีการสร้างสวนสาธารณะอีกมากมายหลายแห่งทั่วประเทศเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนอย่างแท้จริงในเวลาต่อมา

ในปี พ.ศ. 2523 มีการเริ่มทยอยสร้างสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ตามเขตการศึกษาต่างๆ 12 แห่งโดยเริ่มต้นที่จังหวัดศรีสะเกษ นอกจากนี้ยังมีหน่วยของรัฐและท้องถิ่นรวมทั้งองค์กรเอกชนต่างร่วมมือร่วมใจกันสร้างสวนสาธารณะและสวนสุขภาพมากมายทั่วประเทศเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จย่าฯ ในวาระพระชนมายุครบ 80 พรรษา

ในวาระมหามงคลพระชนมายุ 60 พรรษาของทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (2530) และสมเด็จพระบรมราชินีนารถ (2535) ก็ได้มีการสร้างสวนสาธารณะที่สำคัญและสวยงามอีกหลายแห่ง เช่น สวนหลวง ร.9 อุทยานเบญจสิริ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ สวนรมณีนาถ สวนเบญจกิติ (บึงยาสูบ) สวนสันติชัยปราการ สวนวชิรเบญจทัศ รวมทั้งสวนภัทรมหาราชินีที่จังหวัดสุพรรณบุรี และในวาระครบรอบ 72 พรรษา (พ.ศ. 2542) ก็ได้มีการสร้างสวนสาธารณะอีกเพื่อเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบเป็นจำนวนมาก เช่น ที่เชิงสะพานพระราม 9 ฝั่งพระนครและในที่อื่นๆ หลายแห่ง รวมทั้งสวนสาธารณะเชิงสะพานพระราม 8 ทั้งนี้ยังไม่นับถึงต่างจังหวัดที่ทั้งเทศบาลและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวาระต่างๆ รวมแล้วน่ามีสวนสาธารณะทั้งเล็กและใหญ่รวมทั้งสวนสุขภาพที่สืบเนื่องจากพระราชดำริทั่วประเทศซึ่งน่าจะมากกว่า 100 แห่ง

สวนบางประเภท แม้เปิดให้ประชาชนเข้าไปใช้ฟรีแต่ก็ไม่นับรวมไว้ในประเภทของสวนสาธารณะในความหมายของบทความนี้ เช่น สวนพฤกษศาสตร์ (botanic garden) สวนรุกขชาติ (arboretum) อุทยานสาธารณะ (public garden) สวนสนุก (amusement park) สวนสัตว์ (zoological gardens) อุทยานแห่งชาติ (national park) และวนอุทยาน (forest park) รวมทั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (wildlife sanctuary) และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า (non-hunting Area) ทั้งนี้ เนื่องจากสวนหรือสถานที่ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เฉพาะและมีข้อจำกัดในการใช้งาน มีการบริหารจัดการและแหล่งงบประมาณจัดสร้างแตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังมี สวนหย่อม ตามถนนหรือสวนสัตว์จำลองตามบาทวิถีต่างๆ ในกรุงเทพมหานครในยุคปัจจุบันที่ไม่นับเป็นสวนสาธารณะ แต่ถือเป็นเป็นพื้นที่สีเขียวของเมือง

เนื่องจากสวนสาธารณะซึ่งต้องใช้เงินงบประมาณสูงจึงมักประสบความล้มเหลวในการใช้งานบ่อยขึ้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ปกติทั้งโลก ดังนั้น การออกแบบและวางแผนจึงมีความสำคัญและมีข้อพิจารณามากขึ้น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406