หม่อมเหม็น หรือ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กรมขุนกษัตรานุชิต หรือ เจ้าฟ้าเหม็น (17 กันยายน พ.ศ. 2322 — 13 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประสูติแต่เจ้าครอกฉิมใหญ่ พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ แต่หลังการปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์ได้รับการละเว้นจากการประหาร ก่อนได้รับการเฉลิมพระนามใหม่เป็น เจ้าฟ้าอภัยธิเบศ และเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ก่อนทรงกรมเป็น กรมขุนกษัตรานุชิต
ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงถูกฟ้องร้องว่าคิดวางแผนก่อการกบฏ จึงถูกถอดยศเป็น "หม่อมเหม็น" และถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ที่วัดปทุมคงคา พร้อมทั้งประหารพระโอรสทั้งหกพระองค์ด้วยการไปล่มน้ำที่ปากอ่าว
หม่อมเหม็น ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 11 จ.ศ. 1141 หรือวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2322 ได้รับพระนามเมื่อประสูติว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ แต่คนทั่วไปเรียกว่า เจ้าฟ้าเหม็น เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี กับเจ้าครอกฉิมใหญ่ (ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่) พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ดังปรากฏใน จดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี ซึ่งได้บันทึกเรื่องราวดังกล่าวไว้ ความว่า
"เจ้าฟ้ากษัตริย์ศึกเข้าเมืองได้ ณ วันจันทร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ เจ้าเมืองหนี ได้พระแก้วพระบาง พระไอยกาเข้าเมืองได้ ๓ วัน เจ้าลูกทรงครรภ์ประสูตร์เจ้า ณ วันศุกร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๑๐ ประสูตร์เปนพระราชกุมาร ประโคมแตรสังข์ลั่นฆ้องไชย แมงมุมทั้งไข่จิ้งจกตกพร้อมกัน แมงมุมอนิจกรรม จิ้งจกไปได้ ๑๒ วัน เจ้าแม่สิ้นพระชนม์ ส่วนเจ้าลูกให้พระพี่นางเธอเอาไปเลี้ยง ให้นามเจ้าสุพันทวงษ์"
ซึ่งนิมิตดีคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทำศึกตีเวียงจันทน์แตกได้พระแก้วมรกตและพระบางมาสู่พระนคร ส่วนลางร้ายคือแมงมุมและจิ้งจกตกลงมาพร้อมกัน หลังจากนั้นสิบสองวันเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ก็สิ้นพระชนม์ แต่ขณะเดียวกันการ "ประโคมแตรสังข์ลั่นฆ้องไชย" เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าพระราชโอรสที่ประสูติเป็นเจ้าฟ้าทั้ง ๆ ที่ผู้ให้กำเนิดเป็นเพียงเจ้าจอมมารดาเท่านั้น ซึ่งกรณีในกรณีดังกล่าวจัดว่าเป็นเจ้าฟ้าตั้ง
หลังการสิ้นชีพของมารดาเจ้าฟ้าเหม็นก็ตกอยู่ภายใต้การดูแลของยายสา (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น กรมพระเทพสุดาวดี) และมีพระพี่เลี้ยงชื่อหม่อมบุญศรี (เชื้อพระวงศ์กรุงศรีอยุธยาเก่า)
ต่อมาอีก 3 ปีก็กำพร้าบิดาเมื่อพระราชบิดาคือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงถูก "เจ้าคุณตา" สำเร็จโทษ แต่ด้วยทรงอาลัยในเจ้าฟ้าเหม็นจึงทรงรอดพ้นจากการประหาร ดังปรากฏพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ความว่า
"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังฯ เสด็จลงมาเฝ้า กราบทูลว่าบรรดาบุตรชายน้อย ๆ ของเจ้าตากสิน จะขอรับพระราชทานเอาใส่เรือไปล่มน้ำเสียให้สิ้น คำบุราณกล่าวไว้ ตัดหวายอย่าไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก ซึ่งจะเลี้ยงไว้นั้นหาประโยชน์ไม่ จะเป็นเสี้ยนหนามต่อไปภายหน้า สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระอาลัยอยู่ในเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ พระราชนัดดา จึงดำรัสแก่สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ขอชีวิตไว้ทั้งสิ้น"
ที่ทรงเป็นหลานคนโตของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ) พระราชทานนามใหม่เป็น เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ คนทั่วไปเรียกว่าเจ้าฟ้าอภัยทศ แต่เนื่องจากพระนามพ้องกับเจ้าฟ้าอภัยทศ แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ พ้องกับเจ้าฟ้าอภัย ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ซึ่งได้รับพระราชอาญาสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ในช่วงผลัดแผ่นดิน ทรงสดับรับสั่งว่า ไม่เป็นมงคล โปรดให้เปลี่ยนเป็นเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ต่อมาปี พ.ศ. 2349 เป็นกรมขุนกษัตรานุชิต ครั้งทรงเจริญพระชันษา จึงโปรดเกล้าพระราชทานวังถนนหน้าพระลาน ด้านตะวันตก ซึ่งเรียกว่า "วังท่าพระ"
ในปี พ.ศ. 2352 หลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ เสด็จสวรรคตได้เพียง 3 วัน เกิดการกล่าวโทษว่าพระองค์คบคิดกับขุนนางจำนวนหนึ่งว่าคิดแย่งชิงราชสมบัติ จนเกิดคดีเป็นกบฏ หลังจากไต่สวนได้ความเป็นจริง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงโปรดให้ชำระโทษถอดพระยศ ลงพระราชอาญา ให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ที่วัดปทุมคงคา เมื่อวันพุธ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 10 จ.ศ. 1171 หรือวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2352 พร้อมพระอนุชาต่างมารดา คือพระองค์เจ้าชายอรนิกา และพระขนิษฐา พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณ ซึ่งถูกข้อหาสมรู้ร่วมคิด ผู้ร่วมสมรู้ร่วมคิดอื่นได้ถูกประหารชีวิตที่สำเหร่ รวมทั้งพระโอรสทั้งหมดในเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตถูกสำเร็จโทษด้วยวิธีการถ่วงน้ำ ในเหตุกบฏเจ้าฟ้าเหม็นด้วย
ในจำนวนนี้ทราบแต่เพียงว่าหม่อมเจ้าหญิงสารภี ประสูติแต่หม่อมห้ามชื่อ หม่อมคลี่จากสกุลอมาตยกุล ซึ่งพระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) ได้จดบันทึกไว้ว่าเป็นคนในสกุลอมาตยกุล ความว่า "...บุตรหลวงยศคงชื่อสิงเป็นบุตรเขยเจ้าพระยาธรรมา (มั่ง) แล้วได้เป็นหลวงยศแทนบิดาคน๑ น้องหลวงยศคงเป็นหญิงชื่อหม่อมคลี่เป็นห้ามหม่อมเหม็นคน๑ มีบุตรกับหม่อมเหม็นเป็นหญิง ชื่อภีคน๑..." แต่หม่อมห้ามท่านอื่น ๆ นั้นไม่พบว่ามีการบันทึกเกี่ยวกับหม่อมห้ามของหม่อมเหม็นไว้เลย และต้องสืบหากันต่อไป
หลังคดีกบฏเจ้าฟ้าเหม็น เจ้าฟ้าเหม็นถูกถอดพระยศและถูกสำเร็จโทษ ส่วนพระโอรสทั้งหกถูกประหารชีวิตทั้งหมด ขณะที่พระธิดาที่ยังเหลืออยู่ก็ถูกถอดให้มีพระยศเป็น คุณ หรือ หม่อม และยังพบว่าพระธิดาของหม่อมเหม็นสองท่านคือ หม่อมเจ้าตลับ และหม่อมเจ้าหอ ปรากฏตัวเมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปกรุงเก่าทางชลมารค ระหว่างนั้นก็มีเรือเก๋งพายเข้ามาเคียงเรือพระที่นั่งอย่างไม่เกรงพระอาญา นำโดยเจ้าจอมมารดาน้อย (ธิดาพระอินทรอภัย) พร้อมด้วยหม่อมเจ้าอีกสองท่านดังกล่าว เรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาเล่าความแก่เจ้าจอมมารดาพึ่ง ดังปรากฏความว่า "...อยากจะใคร่ให้เอาไปตัดหัวเสียตามสกุลพ่อมัน แซ่นี้มักเป็นเช่นนั้นเหมือนคุณสำลี...ข้าได้ยินว่าคนพวกเจ้าตลับ เจ้าครอกหอ ไปด้วย พวกนั้นเปนพวกใกล้เคียงกับยายป้าน้อยของเต่า เต่าอย่าไปไถ่ถามว่ากล่าวอะไรวุ่นวายน้อยมันจะด่าให้อายเขา..."
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้สืบเชื้อสายของหม่อมเหม็นได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "อภัยกุล" เป็นนามสุกลพระราชทานลำดับที่ 3941 เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Abhayakul นายพิศาล เป็นบุตรหม่อมหลวงแฉล้ม หม่อมหลวงแฉล้มเป็นบุตรพระยาทิพรัตนอมร เป็นผู้ขอพระราชทาน พระราชทานเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2460
กรมพระยาเทพสุดาวดี • กรมพระยาเดชาดิศร • กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร • กรมพระยาบำราบปรปักษ์ • กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ • กรมพระยาวชิรญาณวโรรส • กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช • กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ • กรมพระยาดำรงราชานุภาพ • กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ • กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
กรมพระศรีสุดารักษ์ • กรมพระปรมานุชิตชิโนรส • กรมพระรามอิศเรศ • กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ • กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ • กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ • กรมพระจักรพรรดิพงษ์ • กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ • กรมพระสมมตอมรพันธ์ • กรมพระเทพนารีรัตน์ • กรมพระจันทบุรีนฤนาถ • กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ • กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ • กรมพระนครสวรรค์วรพินิต • กรมพระสุทธาสินีนาฏ • กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ • กรมหลวงธิเบศรบดินทร์ • กรมหลวงนรินทรรณเรศร์ • กรมหลวงจักรเจษฎา • กรมหลวงอิศรสุนทร () • กรมหลวงเทพหริรักษ์ • กรมหลวงศรีสุนทรเทพ • กรมหลวงเสนานุรักษ์ • กรมหลวงพิทักษ์มนตรี • กรมหลวงเทพยวดี • กรมหลวงเทพพลภักดิ์ • กรมหลวงรักษ์รณเรศ • กรมหลวงเสนีบริรักษ์ • กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิสุขวัฒนวิไชย • กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ • กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ • กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา • กรมหลวงวงศาธิราชสนิท • กรมหลวงนรินทรเทวี • กรมหลวงวรศักดาพิศาล • กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ • กรมหลวงพิชิตปรีชากร • กรมหลวงวรเสรฐสุดา • กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ • กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม • กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร • กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ • กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ • กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร • กรมหลวงปราจิณกิติบดี • กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช • กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ • กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ • กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ • กรมหลวงอดิศรอุดมเดช • กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ • กรมหลวงนครราชสีมา • กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ • กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา () • กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ • กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ • กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี • กรมหลวงสงขลานครินทร์ • กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร • กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ • กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
กรมขุนสุนทรภูเบศร์ • กรมขุนกษัตรานุชิต • กรมขุนอิศรานุรักษ์ • กรมขุนศรีสุนทร • กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ • กรมขุนกัลยาสุนทร • กรมขุนสถิตย์สถาพร • กรมขุนนรานุชิต • กรมขุนธิเบศวร์บวร • กรมขุนพินิตประชานาถ () • กรมขุนวรจักรธรานุภาพ • กรมขุนราชสีหวิกรม • กรมขุนรามินทรสุดา • กรมขุนอนัคฆนารี • กรมขุนเทพนารี • กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล • กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ • กรมขุนขัตติยกัลยา • กรมขุนเทพทวาราวดี () • กรมขุนอรรควรราชกัลยา • กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ • กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา • กรมขุนสุพรรณภาควดี • กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย • กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ • กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี • กรมขุนสิริธัชสังกาศ • กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ • กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา • กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ • กรมหมื่นพิทักษ์เทวา • กรมหมื่นศักดิพลเสพ • กรมหมื่นนราเทเวศร์ • กรมหมื่นนเรศร์โยธี • กรมหมื่นเสนีเทพ • กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ () • กรมหมื่นอินทรพิพิธ • กรมหมื่นจิตรภักดี • กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ • กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ • กรมหมื่นสุนทรธิบดี • กรมหมื่นนรินทรเทพ • กรมหมื่นศรีสุเทพ • กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ • กรมหมื่นเสพสุนทร • กรมหมื่นอมรมนตรี • กรมหมื่นนเรนทร์บริรักษ์ • กรมหมื่นไกรสรวิชิต • กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ • กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ • กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ • กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ • กรมหมื่นถาวรวรยศ • กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา • กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ • กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ • กรมหมื่นภูมินทรภักดี • กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส • กรมหมื่นมนตรีรักษา • กรมหมื่นเทวานุรักษ์ • กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร • กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ • กรมหมื่นอุดมรัตนราษี กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย • กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ • กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช • กรมหมื่นอมเรศรัศมี • กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ • กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ • กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ • กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ • กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ • กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ • กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ • กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์ • กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร • กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย • กรมหมื่นปราบปรปักษ์ • กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ • กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา • กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ • กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป • กรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร • กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม • กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ • กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ • กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี • กรมหมื่นกวีสุพจน์ปรีชา • กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ • กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส • กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ • กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช • กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย • กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร • กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต • กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ • กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ • กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์